เลขา สพฉ.ร่วมถอดบทเรียนการให้ความช่วยเหลือทีมหมู่ป่า ระบุความร่วมมือของทุกฝ่ายทำให้การช่วยเหลือมีประสิทธิภาพ ยกผู้ว่าฯเชียงรายบัญชาการเหตุการณ์ดี เสนอฝึกอบรมผู้นำจังหวัดให้พร้อมเป็นผู้บัญชาการเหตุการณ์หากเกิดเหตุการณ์วิกฤตได้ ขณะที่นักวิชาการชี้ไทยขาดผู้เชี่ยวชาญด้านถ้ำ ทั้งประเทศมีแค่ 1 คน
บทเรียนช่วยทีมหมู่ป่า สพฉ.แนะฝึกอบรมผู้นำจังหวัดให้พร้อมเป็นผู้บัญชาการเหตุการณ์วิกฤต
ธเนศปั่นป่วน EP2 เสวนาจักรญาณวิทยา #2
คลิปเสวนา "ธเนศ ปั่นป่วน"ฉลอง 60 ปีแห่งความปั่นป่วนของธเนศ วงศ์ยานนาวา ในปีที่ 61 เมื่อ 22 มิถุนายน 2561 ที่พิพิธภัณฑ์บ้านไทย จิม ทอมป์สัน (ห้องไอยรา) ช่วงที่ 2 "เสวนาจักรญาณวิทยา #2"อภิปรายโดย ปรีดี หงส์ต้น, ประจักษ์ ก้องกีรติ, อาทิตย์ ศรีจันทร์ ดำเนินรายการโดย พศุตม์ ลาศุขะ เล่าเรื่องหนังสือและวัฒนธรรมการอ่าน 'อ่าน'วรรณกรรม/วรรณคดีไทย หนังสือในดวงใจ ความทรงจำการอ่านร่วมสมัยในสังคมไทย ฯลฯ
ห้ามฉาย! 'When Mother's Away'สารคดีชีวิตนักกิจกรรมสิ่งแวดล้อมชาวเวียดนาม
FCCT ยกเลิกฉาย 'When Mother's Away'หลังสถานทูตเวียดนามร้องเรียน สน. ลุมพินี โดยสารคดีเกี่ยวกับชีวิตนักกิจกรรมชาวเวียดนาม ผู้เขียนบล็อกเผยแพร่ปัญหาสิ่งแวดล้อม-เสรีภาพการแสดงออก-ความอยุติธรรม และถูกตั้งข้อหาเผยแพร่โฆษณาชวนเชื่อเพื่อต่อต้านพรรคคอมมิวนิสต์เวียดนาม ศาลตัดสินจำคุก 10 ปี
'When Mother's Away'ภาพยนตร์สารคดีชีวิตบล็อกเกอร์นักกิจกรรมชาวเวียดนาม ‘มี นาม’ หรือ ‘Mother Muchroom’ ซึ่งถูกตัดสินจำคุกในปี 2560 10 ปี หลังเผยแพร่ผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมที่เกิดจากสารพิษรั่วจากโรงงานเหล็ก มีกำหนดฉายที่สโมสรผู้สื่อข่าวต่างประเทศประจำประเทศไทย (FCCT) เมื่อบ่ายวานนี้ (4 ก.ค. 61) ถูกเจ้าหน้าที่ตำรวจขอให้ยกเลิกการฉายหลังได้รับการร้องเรียนจากสถานทูตเวียดนามประจำประเทศไทยตามรายงานของไอลอว์ซึ่งอ้างจากบางกอกโพสต์
‘Mother Muchroom’ หรือ ‘เหงียน ง็อก งือ กวิน’ (Nguyen Ngoc Nhu Quanh) หนึ่งในสตรี 13 คนจากทั่วโลก ผู้ได้รับรางวัลสตรีผู้กล้าหาญสากล ของกระทรวงการต่างประเทศสหรัฐฯ ประจำปี 2560 ถูกคุมขังในเรือนจำมาตั้งแต่เดือนตุลาคมปี 2559 หลังจากที่เธอเขียนบล็อกเผยแพร่เรื่องราวเกี่ยวกับปัญหาสิ่งแวดล้อม เสรีภาพการแสดงออกและความอยุติธรรมในเวียดนาม และถูกตั้งข้อหาเผยแพร่โฆษณาชวนเชื่อเพื่อต่อต้านพรรคคอมมิวนิสต์เวียดนาม
FCCT แถลงถึงการยกเลิกการจัดฉายภาพยนตร์ว่า ในช่วงเช้าของวันที่ 4 กรกฎาคม มีหนังสือจากสวนลุมพินีส่งมาถึง FCCT ขอความร่วมมือให้งดการจัดฉายภาพยนตร์ หลังจากนั้นได้รับการร้องเรียนจากสถานทูตเวียดนาม และมีนายตำรวจชั้นผู้ใหญ่เดินทางมาพูดคุยกับทาง FCCT ขอให้งดการฉายภาพยนตร์ FCCT ระบุด้วยว่า "เราเสียใจกับความไม่สะดวกที่เกิดขึ้นกับผู้ที่วางแผนจะมาร่วมชมภาพยนตร์เรื่องนี้"
ไอลอว์ได้สอบถามไปยัง Voice องค์กรที่ทำงานรณรงค์ประเด็นสิทธิมนุษยชนในประเทศเวียดนาม ซึ่งเป็นผู้จัดการฉายภาพยนตร์นี้ครั้งแรกวันที่ 27 มิ.ย. ที่ผ่านมา ที่ FCCT โดยการจัดฉายครั้งแรกดำเนินไปด้วยดีไม่มีการแทรกแซงใดๆ แต่เจ้าหน้าที่ของ Voice ที่อยู่ในงานสังเกตว่ามีชายคนหนึ่งตั้งกล้องวิดีโอบันทึกการเสวนาหลังการฉายภาพยนตร์โดยตลอดแต่ไม่สามารถยืนยันได้ว่าชายคนดังกล่าวเป็นใคร
เจ้าหน้าที่ของ Voice ตั้งข้อสังเกตด้วยว่าเหตุที่กิจกรรมฉายภาพยนตร์ครั้งแรกดำเนินไปโดยไม่มีการแทรกแซงอาจเป็นเพราะมีการประชาสัมพันธ์อย่างจำกัด แต่เนื่องจากการจัดฉายในรอบแรกมีกระแสตอบรับดี FCCT จึงจัดฉายภาพยนตร์ดังกล่าวเองอีกครั้งก่อนที่จะถูกแจ้งให้ยกเลิก
ไอลอว์ตั้งข้อสังเกตว่าครั้งนี้ไม่ใช่ครั้งแรกที่การจัดกิจกรรมเกี่ยวกับสถานการณ์สิทธิมนุษยชนในประเทศเวียดนามที่ FCCT ถูกขอให้ยกเลิก
15 พฤศจิกายน 2560 การแถลงข่าว“เวียดนาม - นักโทษแห่งมโนธรรม 165 คน 999 ปีหลังลูกกรง” ก็ถูกยกเลิกหลังตัวแทน FCCT เข้าประชุมร่วมกับเจ้าหน้าที่ทหารและตำรวจสน.ลุมพินีสองครั้ง และก่อนหน้านั้นในวันที่ 26 มิถุนายน 2558 เจ้าหน้าที่ก็เคย "ขอความร่วมมือ"ให้ยกเลิกการแถลงข่าวเปิดตัวรายงานของ Human Rights Watch เกี่ยวกับการละเมิดสิทธิมนุษยชนต่อชนกลุ่มน้อยในเวียดนาม "Vietnam: End “Evil Way” Persecution of Montagnard Christians"โดยเจ้าหน้าที่สน.ลุมพินีระบุเหตุในการ "ขอความร่วมมือ"ครั้งนั้นว่าการแถลงข่าวดังกล่าวอาจกระทบต่อความสัมพันธ์ระหว่างประเทศของไทย
‘เหงียน ง็อก งือ กวิน’ (ภาพจากเฟซบุ๊ค mothermushroom)
สารคดีเรื่อง When Mother's Away เล่าถึงครอบครัวและความเป็นแม่ท่ามกลางความเปลี่ยนแปลงในประเทศเวียดนาม โดยเล่าเรื่องผ่าน ‘เหงียน ง็อก งือ กวิน’ ซึ่งต้องพลัดพรากจากครอบครัวหลังถูกพิพากษาจำคุกเป็นเวลา 10 ปี ในวันที่ 29 มิถุนายน พ.ศ. 2560 โดยเล่าเรื่องผ่าน แม่ของ ‘เหงียน ง็อก งือ กวิน’ ที่ต้องทำหน้าที่เป็น "แม่"คนที่สองดูแลหลานในยามที่แม่ตัวจริงต้องสูญสิ้นอิสรภาพ และต้องตอบคำถามว่าทำไมแม่ของพวกเขาทั้งสองไม่สามารถกลับมาบ้านได้ แม้สารคดีเรื่องนี้เต็มไปด้วยอารมณ์เศร้าและความเจ็บปวดแต่ก็พยายามสื่อถึงความหวังและแรงบันดาลใจที่ยังพอมีอยู่ในสังคมเวียดนามผ่านความช่วยเหลือของญาติๆและเพื่อนๆที่มีต่อครอบครัว ในวันที่เธอไม่อยู่
‘เหงียน ง็อก งือ กวิน’ เริ่มเขียนบทความบนโลกออนไลน์มาตั้งแต่ปี 2549 และเป็นผู้ก่อตั้งเครือข่ายนักเขียนบล็อกของเวียดนาม ซึ่งเป็นหนึ่งในเว็บไซต์อิสระที่มีอยู่ไม่มากนักในประเทศที่การควบคุมสื่ออย่างเบ็ดเสร็จ บทความที่เธอเขียนนำไปสู่การลุกฮือต่อต้านรัฐบาลเวียดนามหลายครั้ง และมีผู้ประท้วงจำนวนมากถูกจับกุม ตัวของเธอเองเคยถูกคุมขังมาแล้วครั้งหนึ่ง หลังเขียนบทความเกี่ยวกับโครงการทำเหมืองแห่งหนึ่งในเวียดนาม ที่มีรัฐวิสาหกิจจีนเป็นผู้ลงทุนรายใหญ่
สนช.ผ่านร่าง พ.ร.บ.สงฆ์ 3 วาระรวด ถวายคืนพระราชอำนาจแต่งตั้งมหาเถรสมาคม
สนช.ผ่าน ร่าง พ.ร.บ.คณะสงฆ์ 3 วาระรวด ถวายคืนพระราชอำนาจในการแต่งตั้ง สถาปนา และถอดถอนสมณศักดิ์ของพระภิกษุในคณะสงฆ์ และแต่งตั้งกรรมการมหาเถรสมาคม
การประชุม สนช. (แฟ้มภาพ)
5 ก.ค.2561 สื่อหลายสำนักรายงานตรงกันว่า การประชุมสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) โดยนายพรเพชร วิชิตชลชัย ประธาน สนช.ทำหน้าที่ประธานการประชุม เพื่อพิจารณาร่าง พ.ร.บ.คณะสงฆ์ ตามที่คณะรัฐมนตรี (ครม.) เป็นผู้เสนอ โดยมี วิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรี แถลงสาระสำคัญของการจัดทำร่างพ.ร.บ.คณะสงฆ์ ต่อที่ประชุม สนช. จากนั้นที่ประชุม สนช.มีมติเอกฉันท์ 217 คะแนน เห็นชอบให้ร่าง พ.ร.บ.คณะสงฆ์ ประกาศใช้เป็นกฎหมาย โดยการพิจารณาของ สนช.นั้นไม่ได้มีการตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญขึ้นมาพิจารณาเป็นการเฉพาะ แต่ได้พิจารณาสามวาระทั้งวาระรับหลักการ การพิจารณาเป็นรายมาตรา และให้ความเห็นชอบไปในคราวเดียวกัน
โพสต์ทูเดย์รายงานมีสาระสำคัญ ของร่าง พ.ร.บ.ฉบับดังกล่าวว่า คือ มาตรา 3 ที่บัญญัติว่า เพื่อให้การอุปถัมภ์และคุ้มครองพระพุทธศาสนา ตลอดจนการดูแลการปกครองคณะสงฆ์เป็นไปเพื่อส่งเสริมการเผยแพร่หลักของพระพุทธศาสนาให้เกิดการพัฒนาจิตใจและปัญญา และมีการรักษาพระธรรมวินัยของคณะสงฆ์ให้เป็นไปอย่างถูกต้องดีงามโดยเคร่งครัด เป็นที่เลื่อมใสศรัทธาแก่พุทธศาสนิกชนทั่วไป พระมหากษัตริย์จึงทรงไว้ซึ่งพระราชอำนาจในการแต่งตั้ง สถาปนา และถอดถอนสมณศักดิ์ของพระภิกษุในคณะสงฆ์ และแต่งตั้งกรรมการมหาเถรสมาคม (มส.)
องค์ประกอบของมหาเถรสมาคม ประกอบด้วย สมเด็จพระสังฆราช ซึ่งทรงดำรงตำแหน่งประธานกรรมการโดยตำแหน่ง และกรรมการอื่นอีกไม่เกิน 20 รูป ซึ่งพระมหากษัตริย์ทรงแต่งตั้งจากสมเด็จพระราชาคณะ พระราชาคณะ หรือพระภิกษุซึ่งมีพรรษาอันสมควรและจริยวัตรในพระธรรมวินัยที่เหมาะสมแก่การปกครองสงฆ์ ซึ่งการแต่งตั้งให้เป็นไปตามพระราชอัธยาศัย โดยจะทรงปรึกษาหารือกับสมเด็จพระสังฆราชก่อนก็ได้
สำหรับกรรมการมหาเถรสมาคมซึ่งพระมหากษัตริย์ทรงแต่งตั้ง จะอยู่ในตำแหน่งคราวละ 2 ปี และอาจะได้รับการแต่งตั้งอีกก็ได้ ส่วนการพ้นจากตำแหน่งนั้นนอกจากพ้นจากตำแหน่งตามวาระการดำรงตำแหน่งแล้ว ยังพ้นจากตำแหน่งเมื่อมรณภาพ พ้นจากความเป็นพระภิกษุ ลาออก พระมหากษัตริย์มีพระบรมราชโองการให้ออก
วานนี้ (4 ก.ค.61) มีกลุ่มเครือข่ายองค์กรพุทธเข้ายื่นหนังสือร้องเรียนต่อประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติเพื่อขอให้ สนช. ระงับการพิจารณา ร่างกฎหมายแก้ไขเพิ่มเติม พ.ร.บ.คณะสงฆ์ พ.ศ.2505 และเข้าชื่อนำส่งศาลรัฐธรรมนูญตีความว่าขัดต่อกฎหมายรัฐธรรมนูญ ม.77 และ ม.148 แห่งกฎหมายรัฐธรรมนูญ พ.ศ.2560 ด้วย
ทั้งนี้ เมื่อ 29 ธ.ค.2559 สนช. ก็มีมติผ่าน 3 วาระรวด เห็นชอบการแก้ไข พ.ร.บ.คณะสงฆ์ แล้วครั้งหนึ่ง โดยถวายคืนพระราชอำนาจให้พระมหากษัตริย์ทรงสถาปนาสมเด็จพระสังฆราช และให้นายกรัฐมนตรีลงนามรับสนองพระบรมราชโองการ โดยเป็นการแก้ไขจากกฎหมายฉบับเดิมคือ พ.ร.บ.คณะสงฆ์ พ.ศ. 2505 แก้ไขเพิ่มเติม พ.ร.บ.คณะสงฆ์ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2535 ในมาตรา 7 ที่กำหนดให้การสถาปนาสมเด็จพระสังฆราช จะต้องผ่านการพิจารณาให้ความเห็นชอบของมหาเถรสมาคมก่อน โดยให้ที่ประชุมมหาเถรสมาคมเสนอนามสมเด็จพระราชาคณะผู้มีอาวุโสสูงสุดโดยสมณศักดิ์และนำขึ้นทูลเกล้าฯ เพื่อทรงสถาปนาเป็นสมเด็จพระสังฆราช แต่ร่างที่ สนช.เสนอแก้ไขนี้ เสนอมาตรา 3 ให้เป็นการแก้ไขมาตรา 7 ดังกล่าว บัญญัติให้พระมหากษัตริย์ทรงสถาปนาสมเด็จพระสังฆราชองค์หนึ่ง และให้นายกรัฐมนตรีลงนามรับสนองพระบรมราชโองการ (อ่านรายละเอียดเพิ่มเติม)
วิกิพีเดียอิตาลี ปิดเว็บชั่วคราวประท้วงกฎหมายลิขสิทธิออนไลน์ของสหภาพยุโรป
เว็บไซต์วิกิพีเดียฉบับภาษาอิตาลีปิดหน้าเว็บชั่วคราวตั้งแต่วันที่ 3 ก.ค. 2561 เพื่อประท้วงร่างกฎหมายลิขสิทธิ์ออนไลน์ของสหภาพยุโรป โดยกฎหมายดังกล่าวถูกวิพากษ์วิจารณ์ว่าอาจจะสร้างผลกระทบต่อวัฒนธรรมบนโลกอินเทอร์เน็ตหลายอย่าง ไม่ว่าจะเป็นมีม การตัดต่อล้อเลียน หรือการตัดต่อดัดแปลงอื่นๆ ทั้งนี้ยังอาจจะส่งผลกระทบต่องานข้อมูลทางอินเทอร์เน็ตจากการที่ร่าง กม. ดังกล่าวสั่งให้ต้องจ่ายค่าการเชื่อมโยงลิงค์ข่าวต่างๆ ด้วย
5 ก.ค. 2561 ในขณะที่ร่างกฎหมายลิขสิทธิ์ออนไลน์ของสหภาพยุโรปกำลังอยู่ในขั้นตอนการลงมติ เว็บไซต์วิกิพีเดียฉบับภาษาอิตาลีก็ประท้วงด้วยการปิดตัวเองชั่วคราวเปลี่ยนให้การเชื่อมโยงเข้าสู่บทความทุกหน้ากลายเป็นการเชื่อมโยงไปสู่หน้าแถลงการณ์ของพวกเขาที่ระบุว่าถ้าหากกฎหมายดังกล่าวมีการบังคับใช้ "วิกิพีเดียเองก็เสี่ยงจะปิดตัวลง"
วิกิพีเดียอิตาลีระบุต่อไปว่ากฎหมายลิขสิทธิฉบับใหม่ของอียู "อาจจะทำให้เป็นไปไม่ได้ที่จะแชร์บทความหนังสือพิมพ์ลงบนโซเชียลเน็ตเวิร์กหรือค้นข้อมูลได้ตามหน้าเว็บเครื่องมือค้นหา"
สำหรับเว็บไซต์วิกิพีเดียที่เป็นภาษาอังกฤษนั้นแม้ว่าจะไม่มีการปิดตัวชั่วคราวหรือถูกตัดออกจากหน้าบทความ แต่ก็มีการเผยแพร่แบนเนอร์โฆษณาขนาดใหญ่ที่ขอร้องให้ผู้อ่านติดต่อกับผู้แทนยุโรปหรือ ส.ส. ช่วงก่อนการโหวต
วิกิพีเดียเป็นเว็บไซต์ที่มีคนทั่วโลกเข้าชมจำนวนมากติดอันดับที่ 5 จากการสำรวจของอเล็กซา พวกเขาเป็นองค์กรที่ทำการต่อต้านอย่างหนักมาโดยตลอดต่อมาตรการเรื่องลิขสิทธิจากอียูที่เป็นตลาดดิจิทัลรวมตลาดเดียว มีสองมาตราจากร่างกม.ฉบับดังกล่าวที่ถูกวิพากษ์วิจารณ์อย่างมากในโลกออนไลน์คือมาตรา 11 และมาตรา 13
มาตรา 13 ของร่างกม. ลิขสิทธิ์ออนไลน์อียูระบุว่าเว็บไซต์จะต้องบังคับใช้มาตรการทางลิขสิทธิแม้แต่กับเนื้อหาที่ผู้ใช้เป็นผู้สร้างขึ้นมาเอง นั่นหมายความว่าเว็บไซต์โซเชียลมีเดียต่างๆ จะต้องคอยตรวจเช็คเนื้อหาทุกเนื้อหาที่ถูกอัพโหลดขึ้นเว็บซึ่งถ้าใช้คนทำจะยุ่งยากมากในระดับเป็นไปไม่ได้ เมื่อเป็นเช่นนั้นเว็บต่างๆ ก็จะถูกบีบให้ใช้วิธีการตรวจเช็คอัตโนมัติแทน แต่นั่นก็มีปัญหาตามมาอีกเพราะระบบตรวจเช็คนี้จะแพงมากและมีโอกาสผิดพลาดสูง เรื่องระบบตรวจลิขสิทธิอัตโนมัติที่ผิดพลาดนี้เคยเป็นที่วิพากษ์วิจารณ์กันมาแล้วในกรณีของเว็บไซต์ยูทูบ
ชาวเน็ตที่ต่อต้านมาตรา 13 นี้ต่างก็พากันเรียกว่าเป็น "เครื่องมือเซนเซอร์"หรือ "เครื่องกรองการอัพโหลด"ชวนให้กังวลว่าอาจจะทำให้วัฒนธรรมหรือสื่อบันเทิงที่ผลิตเผยแพร่กันเองบนอินเทอร์เน็ต อย่างมีม การตัดต่อรีมิกซ์ การยั่วล้อ และผลิตผลอื่นๆ อาจจะไม่สามารถเผยแพร่ได้อีกต่อไป
ถึงแม้ว่าร่างกฎหมายดังกล่าวจะระบุว่ามีการงดเว้นการบังคับใช้กับ "สารานุกรมออนไลน์ที่ไม่แสวงผลกำไร"แต่ก็ทำให้วิกิพีเดียกังวลในเรื่องนี้อยู่ดี นอกจากจิมมี เวลส์ ผู้ก่อตั้งวิกิพีเดียจะต่อต้าน กม. นี้แล้ว ทิม เบิร์นเนอร์-ลี ผู้คิดค้นเวิร์ลไวด์เว็บก็ต่อต้านในเรื่องนี้ด้วย
อีกมาตราหนึ่งคือมาตราที่ 11 ว่าด้วยการจ่ายค่าธรรมเนียมการทำลิงค์สู่เนื้อหาต่างๆ ทำให้ผู้คนเรียกว่าเป็นมาตรา "ภาษีลิงค์"และสร้างภาระให้กับบรรษัทไอทีใหญ่ๆ ที่มีลิงค์ในเว็บมากมายอย่างกูเกิล และเฟสบุ๊คมาก และขณะเดียวกันก็จะสร้างภาระให้กับสื่อหรือผู้นำเสนอเนื้อหาขนาดเล็ก นอกจากนี้ตัวกฎหมายเองก็มีปัญหาไม่มีการกำหนดนิยามชัดเจนว่า "ลิงค์"คืออะไร ซึ่งผู้วิจารณ์กฎหมายนี้กังวลว่าจะถูกรัฐบาลนำมาอ้างใช้ลิดรอนเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นได้
นอกจากชาวไอทีแล้วนักวิชาการยุโรป 169 ราย ลงนามในจดหมายต่อต้านกฎหมายนี้โดยระบุว่ามันเป็น "กฎหมายชุดที่แย่"ที่อาจจะถูกใช้จำกัดการรับส่งข้อมูลข่าวสารซึ่งเป็นส่วนสำคัญของประชาธิปไตยได้
ผู้ที่เป็นตัวตั้งตัวตีในการออกกฎหมายนี้คือ แอ็กเซิล ฟอสส์ สมาชิกสภายุโรปชาวเยอรมนี เขาปกป้องกฎหมายฉบับนี้และอ้างว่ามี "กลุ่มที่มีฐานใหญ่โต"อยู่เบื้องหลัง "การใส่ร้าย"กฎหมายฉบับนี้ ฟอสส์บอกว่าในปัจจุบันระบบลิขสิทธิ์มีลักษณะ "ไม่สมดุลอย่างมาก"จึงต้องมีกฎหมายนี้ ฟอสส์อบกอีกว่าการสร้างลิงค์ "เพื่อจุดประสงค์ส่วนบุคคล"จะถูกยกเว้นไม่ถูกนับรวมในการบังคับกฎหมายนี้ ซึ่งจะนำมาบังคับใช้กับส่วนที่ใช้ด้วยจุดประสงค์ทางการค้าเท่านั้น
ฟอสส์บอกอีกว่ามันจะไม่กลายเป็นเครื่องกรองการอัพโหลดแบบที่ผู้ตีความ มันจะส่งผลต่ออินเทอร์เน็ตในระดับ ร้อยละ 1 ถึง ร้อยละ 5 เท่านั้น ฟอสส์ระบุว่ากฎหมายนี้จะส่งผลต่อ "กลุ่มคนที่เผยแพร่เนื้อหาที่ได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์จริงๆ"และได้รับเงินจากการเผยแพร่เนื้อหาดังกล่าวเท่านั้น
สื่อบีบีซีระบุว่าถ้าหากมีการผ่านร่างกม. นี้แต่ละประเทศจะต้องนำไปใช้ร่างกม.ในแบบของประเทศตัวเอง ซึ่งในกรณีสหราชอาณาจักรนั้นจะต้องทำตามถ้าหากกม.นี้ประกาศมีผลบังคับใช้ในระดับอียูก่อนวันที่ 29 มี.ค. 2562 ซึ่งเป็นวันสุดท้ายที่สหราชอาณาจักรจะออกจากอียูอย่างเป็นทางการ
เรียบเรียงจาก
Italy Wikipedia shuts down in protest at EU copyright law, BBC, 03-07-2018
วิกิพีเดียอิตาลี
https://it.wikipedia.org/wiki/Wikipedia:Comunicato_3_luglio_2018
เอกชัย ยันเป็นห่วงทีมหมูป่าฯ ไม่ต่างกัน แต่ประสิทธิภาพของทหารก็ต้องตั้งคำถาม
หลังกลุ่มคนรุ่นใหม่ใส่ใจสังคม 15 คน มาประณามที่หน้าบ้าน ‘เอกชัย หงส์กังวาน’ เหตุตั้งคำถามปมประสิทธิภาพรัฐ-กองทัพในการช่วยเหลือทีมหมูป่า เจ้าตัวเผยไม่ได้รู้สึกอะไร ย้ำมีสิทธิประท้วงตนได้ แต่ควรแจ้งล่วงหน้า ยันเป็นห่วงทีมหมูป่าไม่ต่างกัน แต่ประสิทธิภาพของทหารก็เป็นเรื่องที่ต้องตั้งคำถาม
จากกรณีที่ ‘กลุ่มคนรุ่นใหม่ใส่ใจสังคม’ เดินทางมารวมตัวที่บริเวณหน้าบ้านของ เอกชัย หงส์กังวาน นักกิจกรรมทางการเมือง หลังจากที่เขาเขียนเฟสบุ๊คแสดงความคิดเห็นต่อประสิทธิภาพในการช่วยเหลือกรณีนักฟุตทีมหมูป่าที่ติดอยู่ในถ้ำหลวง และได้เดินทางไปทำเนียบรัฐบาลเพื่อเรียกร้องให้มีหน่วยกู้ภัยแห่งชาติขึ้นมา
โดยเวลาประมาณ 11.00 น. วันนี้(5 ก.ค. 2561) กลุ่มคนรุ่นใหม่ใส่ใจสังคม ทั้งหมด 15 คนได้เดินทางมาถึงที่บริเวณหน้าบ้านของเอกชัย ทั้งนี้ทางกลุ่มได้ชูแผ่นป้ายเขียนข้อความประณามเอกชัย พร้อมสลับกันพูดประณามเอกชัย โดยใช้เครื่องขยายเสียง(โทรโข่ง) พร้อมอ่านแถลงการณ์ซึ่งมีใจความว่า
จากสถานการณ์การช่วยน้องๆ ทั้ง 13 คน ผู้คนทั้งประเทศ หน่วยงานต่างๆ ระดมกำลังกันอย่างเต็มที่ท่ามกลางความกดดันเพื่อที่จะช่วย น้องๆ ให้ดีที่สุด สิ่งเหล่านี้เป็นการแสดงออกถึงความเสียสละของเจ้าหน้าที่ในการทำภารกิจช่วยเหลือคน ถือเป็นการกระทำที่น่ายกย่องตามหลักมนุษยธรรม แต่กลับมีผู้ไม่หวังดีคือคุณ เอกชัย หงส์กังวาน ที่พยายมสร้างกระแสหยิบยกประเด็นต่างๆ เพื่อทำลายกำลังใจของผู้ปฎิบัติหน้าที่ และมุ่งหวังเชื่อมโยงทางการเมือง ถือเป็นพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสมตามหลักการแสดงออกที่หวังผลทางการเมือง ที่ไม่แยกแยะผิดชอบชั่วดี ความเหมาะสมตามหลักมนุษยธรรมและความเห็นใจคนไยด้วยกัน แสดงออกถึงการไร้ซึ่งการไร้วุฒิภาวะ พยายามปลุกปั่นให้เกิดความเกลียดชังกันในสังคมไทยโดยไม่มีเหตุอันชอบธรรมทางกลุ่มจึงขอประณาม เอกชัย หงส์กังวาน ในพฤติกรรมต่ำทรามไร้สามัญสำนึก
ขณะเดียวกันหนึ่งในกลุ่มคนรุ่นใหม่ใส่ใจสังคม ระบุว่า กลุ่มตนเองได้ให้กำลังเจ้าหน้าที่ทุกคน แต่กลุ่มพบว่ามีบุคคล หรือกลุ่มบุคคลที่พยายามจะดิสเครดิตเจ้าหน้าที่รัฐ เพื่อทำให้การให้การช่วยเหลือเด็กๆ ล่าช้า พยายามตีกินทางการเมือง โดยไม่คำนึงถึงหลักมนุษยธรรม ซึ่งเป็นเรื่องที่กลุ่มตนเองรับไม่ได้ เลยต้องพาเพื่อนที่ไม่เห็นด้วยเหมือนมาในวันนี้ เพื่อแสดงออกให้เห็นว่า พวกเราอยู่เคียงข้างกับทหารหน่วยซิล และเป็นกำลังใจให้กับทหารทุกท่าน ทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง
ขณะที่ เอกชัย ชี้แจงว่า ตนเองก็เป็นห่วงเด็กทั้ง 13 คนไม่น้อยไปกว่าพวกคนไทยทั้งประเทศ แต่สิ่งที่ตนตั้งคำถามคือ ทำไมคนไทยถึงยังแต่อยู่กับความคิดว่า ทหาร คือหน่วยกู้ภัย ซึ่งเป็นความคิดที่ไม่ถูกต้อง เพราะสิ่งที่ผ่านมาก็เห็นชัดเจนว่าไม่มีประสิทธิภาพในการทำงาน
“ทหารมีปัญญาซื้อเรือดำน้ำ แต่กลับไม่มีปัญญาซื้อถ่านฉาย มีเงินซื้อเรือดำน้ำ แต่ไม่พอถ่านไฟฉายคุณกลับเปิดรับบริจาคตั้งแต่วันแรกๆ เลย คุณบอกว่าเป็นหน่วยงานที่พร้อมที่สุด แต่ไม่มีกระทั่งถ่านไฟฉาย วันต่อมาก็ขอเครื่องสูบน้ำ จนกระทั่งเข้าวันที่ 7 เครื่องสูบน้ำถึงจะมา แล้วถ้าไม่มีเครื่องนี้จนป่านนี้ไม่รู้จะผ่านโถง 1 โถง 2 ได้หรือเปล่า”
ทั้งนี้ในขณะที่เอกชัยกำลังชี้แจง ทางกลุ่มฯ ก็ได้พูดแทรกโต้แย้งว่า อย่าเอาเรื่องดังกล่าวมาโยงกับการเมือง และค่อยๆเดินออกจากซอยบ้านของเอกชัยไป โดยระหว่างที่ทางกลุ่มได้เข้ามาทำกิจกรรม ได้มีเจ้าหน้าตำรวจมาดูแลความเรียบร้อยด้วย
เอกชัย เปิดเผยกับผู้สื่อข่าวประชาไทว่า เขาไม่ได้ทราบล่วงหน้ามาก่อนว่าจะมีกลุ่มดังกล่าวมาที่บ้าน เพิ่งจะรู้จากเพื่อนตอน 09.00 น. ทั้งนี้เห็นว่าการมาแสดงความคิดเห็น หรือประท้วงตนเองแบบนี้ เป็นสิทธิที่ทางกลุ่มสามารถทำได้ เพียงแต่ของให้มีการแจ้งล่วงหน้าก่อน เพราะตนเองไม่ได้อยู่บ้านทุกวัน
ชายพกมีดพับบุกประชิดเอกชัย หน้าทำเนียบ ตร.ล็อคตัวทัน
มือชกเอกชัย สารภาพถูกปรับ 1 หมื่น รอลงอาญา 2 ปี
‘เอกชัย’ ถูกควบคุมตัวไว้ที่ สน.ชนะสงคราม ตามหมายจับคดีชุมนุม 'คนอยากเลือกตั้ง'
สำหรับ เอกชัย นอกจากถูกเจ้าหน้าที่ทหารและตำรวจทั้งในและนอกเครื่องแบบไปหาที่บ้านพักเป็นประจำช่วงที่เขาทำกิจกรรมเคลื่อนไหวทางการเมืองแล้ว เขายังเคยถูกบุคคลผู้เห็นต่างทางการเมืองกับเขา คือ ฤทธิไกร ชัยวรรณศาสน์ ดักทำร้ายร่างกายที่บริเวณป้ายรถเมล์ปากซอยเข้าบ้านของเขา จนมีการแจ้งความดำเนินคดีและ ฤทธิไกร ถูกศาลพิพากษาจำคุก 6 เดือน ปรับ 20,000 บาท และเนื่องจากให้การรับสารภาพมีเหตุให้บรรเทาโทษกึ่งหนึ่ง คงเหลือโทษจำคุก 3 เดือน ปรับ 10,000 บาท โทษจำคุกให้รอลงอาญา 2 ปี อีกด้วย
ส่องการขึ้นเงินเดือน ‘ศาล-องค์กรอิสระ’ หลัง สนช. จ่อพิจารณาขึ้นอีก 10% ย้อนหลัง 4 ปี
จ่อขึ้นเงินเดือน ศาล-องค์กรอิสระ ประมาณ 10% ย้อนหลัง 4 ปี เตรียมงบฯ รวม 450 ล้าน ชี้ให้สอดคล้องกับที่เคยปรับขึ้นเงินเดือนข้าราชการพลเรือน-ทหาร-ตำรวจ พร้อมชวนย้อนดูปี 57 คสช. อนุมัติเพิ่มค่าครองชีพชั่วคราวข้าราชการตุลาการ-ดะโต๊ะยุติธรรม งบฯ 390 ล้าน ขณะที่ปี 58 สนช. ผ่านร่าง พ.ร.บ.ธรรมนูญศาลทหาร ปรับเพิ่มเงินเดือนของตุลาการทหาร กับอัยการศาลทหารให้เทียบเท่าศาลพลเรือน
4 ก.ค. 2561 วอยซ์ทีวีรายงานว่า ยุทธนา ทัพเจริญ โฆษกคณะกรรมาธิการวิสามัญกิจการสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (วิป สนช.) เปิดเผยว่า ในสัปดาห์หน้า สนช.จะมีวาระการพิจารณาปรับขึ้นเงินเดือนให้ ผู้บริหารระดับสูงของข้าราชการด้านกระบวนการยุติธรรม และองค์กรอิสระ ให้สอดคล้องกับที่เคยปรับขึ้นเงินเดือนให้ ข้าราชการพลเรือน ครู ทหาร ตำรวจ และรัฐสภา ไปเมื่อเดือนธ.ค. 2557 ตามการปรับแก้ร่างกฎหมายทั้ง 5 ฉบับคือ 1. ร่างพ.ร.บ.ระเบียบข้าราชการฝ่ายตุลาการศาลยุติธรรม 2. ร่างพ.ร.บ.จัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง 3. ร่างพ.ร.บ.เงินเดือน เงินประจำตำแหน่งและประโยชน์ตอบแทนอื่นของประธานกรรมการและกรรมการองค์กรอิสระตามรัฐธรรมนูญ 4. ร่างพ.ร.บ.เงินเดือน เงินประจำตำแหน่ง และประโยชน์ตอบแทนอื่นของประธานศาลรัฐธรรมนูญและตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ และ 5. ร่างพ.ร.บ.ระเบียบข้าราชการอัยการ
ยุทธนา กล่าวว่า การปรับขึ้นค่าตอบแทนจะย้อน (หมายความว่าจะได้ค่าส่วนต่างย้อนหลัง) ไปถึงวันที่ 1 ธ.ค. 2557 ส่วนคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ (กสม.) จะย้อนไปถึงปี 2548 เนื่องจากที่ผ่านมา กสม.ได้รับเงินเดือนตามพระราชกฤษฎีกา ไม่เป็นกฎหมายเหมือนองค์กรอิสระอื่น พร้อมกันนี้ได้เตรียมงบประมาณในส่วนการขึ้นค่าตอบแทนนี้ไว้แล้ว โดยแบ่งเป็นตั้งแต่ปี 2557-2561 วงเงิน 350 ล้านบาท และปี 2561-2562 วงเงิน 100 ล้านบาท รวม 450 ล้านบาท โดยทั้งหมดนี้ปรับขึ้นจากเดิมประมาณ 10% โดยบัญชีอัตราเงินเดือนและประจำตำแหน่งมีดังนี้
1.ข้าราชการตุลาการซึ่งปรับเงินครั้งล่าสุดปี 2554โดยประธานศาลฎีกา เงินเดือน 83,090 บาท จากเดิม 75,590 บาท และเงินประจำตำแหน่ง 55,000 บาท จากเดิม 50,000 บาท
2.ตุลาการศาลปกครองซึ่งปรับเงินครั้งล่าสุดปี 2554โดยประธานศาลปกครองสูงสุด เงินเดือน 83,090 บาท จากเดิม 75,590 บาท และเงินประจำตำแหน่ง 55,000 บาท จากเดิม 50,000 บาท
3.ศาลรัฐธรรมนูญซึ่งปรับเงินครั้งล่าสุดปี 2555โดยประธานศาลรัฐธรรมนูญ เงินเดือน 83,090 บาท จากเดิม 75,590 บาท และเงินประจำตำแหน่ง 55,000 บาท จากเดิม 50,000 บาท ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ เงินเดือน 81,920 บาท จากเดิม 73,240 บาท เงินประจำตำแหน่ง 50,000 บาท จากเดิม 42,500 บาท
4.ข้าราชการอัยการซึ่งปรับเงินครั้งล่าสุดปี 2554โดยอัยการสูงสุด เงินเดือน 81,920 บาท จากเดิม 73,240 บาท เงินประจำตำแหน่ง 50,000 บาท จากเดิม 42,500 บาท
5.องค์กรอิสระตามรัฐธรรมนูญ ประธานกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) ประธานผู้ตรวจการแผ่นดิน ประธานกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) ประธานกรรมการตรวจเงินแผ่นดิน ซึ่งปรับเงินเดือนครั้งล่าสุดปี 2555รวมทั้งประธานกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ (กสม.) เงินเดือน 81,920 บาท จากเดิมที่ 68,140 บาท เงินประจำตำแหน่ง 50,000 บาท จากเดิม 45,000 บาท ผู้ดำรงตำแหน่งกรรมการในองค์อิสระ เงินเดือน 80,540 บาท จากเดิม 67,060 เงินประจำตำแหน่ง 42,500 บาทซึ่งเท่ากับของเดิม
โดยก่อนหน้านี้ ไทยพับลิการายงานว่า ในปี 2557 หลังการรัฐประหาร คสช. ได้มีการอนุมัติเพิ่มค่าครองชีพชั่วคราวแก่ข้าราชการตุลาการและดะโต๊ะยุติธรรม โดยใช้งบประมาณกลางปี 2557 จำนวน 390 ล้านบาท มีผลใช้เมื่อวันที่ 1 ต.ค. 2557
นอกจากขึ้นเงินเดือนข้าราชการด้านกระบวนการยุติธรรม และองค์กรอิสระแล้ว ก่อนหน้านี้ปี 2558 สนช. ผ่านร่าง พ.ร.บ. ธรรมนูญศาลทหารฉบับใหม่ ปรับเพิ่มเงินเดือนของตุลาการทหาร กับอัยการศาลทหารเพื่อให้สอดคล้องกับค่าตอบแทนและเงินประจำตำแหน่งของผู้พิพากษาหรือตุลาการศาลอื่น โดยให้เหตุผลว่า พ.ร.บ.ฉบับนี้ บังคับใช้มาเป็นเวลานานตั้งแต่ปี 2498 หลายมาตราไม่เหมาะสมกับกาลสมัย เนื่องจากโครงสร้างและกิจการทางทหารได้เปลี่ยนแปลงไปจากเดิม และเพื่อเป็นการยกระดับศาลทหารให้เทียบเท่ามาตรฐานศาลพลเรือน
ทั้งนี้ ไอลอว์เคยรายงานไว้ว่า เงินเดือนรวมเงินประจำตำแหน่งสำหรับผู้พิพากษาเริ่มต้นที่ประมาณ 36,000 บาท ส่วนตำแหน่งพนักงานอัยการปัจจุบันเริ่มต้นที่ประมาณ 33,000 บาท ซึ่งอัตราเงินเดือนและเงินประจำตำแหน่งจะเพิ่มขึ้นตามจำนวนปีที่รับราชการและอาจสูงสุดได้ถึงประมาณ 140,000 บาท ซึ่งปกติตำแหน่งผู้พิพากษาในศาลพลเรือนจำเป็นต้องเรียนจบกฎหมายและสอบผ่านหลักสูตรของเนติบัณฑิตยสภาก่อน จึงจะมีคุณสมบัติครบถ้วน ขณะที่ผู้พิพากษาศาลทหารบางส่วนจบด้านกฎหมาย แต่อีกบางส่วนเช่นกันเป็นข้าราชการทหารที่ไม่ต้องมีความรู้กฎหมายก็ได้ ส่วนอัยการทหารแม้จะจบด้านกฎหมาย แต่ก็ไม่ได้ต้องผ่านการสอบของเนติบัณฑิตยสภามาก่อน
'โบว์ ณัฏฐา'แจ้งความ ศรีวราห์ ย้ำตำรวจต้องซื่อสัตย์ หวังหยุดสังคมอุดมมโน
'มหาดไทย'สั่ง ผู้ว่าฯ ณรงค์ศักดิ์ ช่วยผู้สูญหายที่ถ้ำหลวงจนเสร็จภารกิจ ก่อนย้ายไปพะเยา
ที่มาคำสั่งกระทรวงมหาดไทย จากเฟสบุ๊ค Thapanee Ietsrichai
6 ก.ค.2561 ปลัดกระทรวงมหาดไทย มีคำสั่งให้ ณรงค์ศักดิ์ โอสถธนากร ผู้ว่าราชการ จ.พะเยา ปฏิบัติหน้าที่ในพื้นที่ จ.เ
ทั้งนี้ เมื่อวันที่ 4 ก.ค.ที่ผ่านมา ราชกิจจานุเบกษา เผยแพร่ เรื่อง "แต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญ"โดยที่ ณรงค์ศักดิ์ เป็น 1 ใน 11 คน ของข้าราชการพลเรือนสามัญ สังกัดกระทรวงมหาดไทยที่พ้นจากตําแหน่งเดิม และแต่งตั้งให้ดํารงตําแหน่งประเภทบริหาร ระดับสูง โดยประกาศดังกล่าวเป็นผลมาจาก มติ คณะรัฐมนตรีตั้งแต่ 24 เม.ย.ที่ผ่านมา
นิติจุฬาฯ ย้ำ GDPR บังคับใช้แล้วต้องเริ่มทันที ผิด กม.ข้อมูลส่วนบุคคล ปรับสูง 20 ล้านยูโร
วงสัมมนาเชิงลึกโครงการแนวปฏิบัติเกี่ยวกับการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลเพื่อรองรับการมีผลบังคับใช้ของ GDPR ที่สหภาพยุโรปได้ประกาศใช้ นิติจุฬาฯ ย้ำต้องเริ่มทันที ผิดกฎหมายข้อมูลส่วนบุคคล โทษปรับสูงถึง 20 ล้านยูโร
เมื่อวันที่ 2 ก.ค.ที่ผ่านมา ที่ห้องบอลรูม 2 โรงแรมอินเตอร์คอนติเนนตัล ศูนย์วิจัยกฎหมายและการพัฒนา คณะนิติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยา จัดสัมมนาเชิงลึกโครงการแนวปฏิบัติเกี่ยวกับการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลเพื่อรองรับการมีผลบังคับใช้ของ GDPR ที่สหภาพยุโรปได้ประกาศใช้ หรือ EU General Data Protection Regulation โดยมี ดร.พิเชฐ ดุรงคเวโรจน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่
รมว.ดิจิทัลเพื่
ผศ.ดร.ปารีณา ศรีวนิชย์ คณบดีคณะนิติศาสตร์ จุฬาฯ กล่าวว่า ศูนย์วิจัยกฎหมายและการพัฒนา คณะนิติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยเล็งเห็นค
ผศ.ดร.ปิยะบุตร บุญอร่ามเรือง ที่ปรึกษา รมว.ดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม และอาจารย์ประจำคณะนิติศาสตร์ จุฬาฯ เปิดเผยว่า ปัจจุบันคนไทยใช้สื่อสังคมออนไล
- กรณีมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ถูกใช้
- กรณี ATM 21 แห่งของธนาคารออมสินถูกโจมตีด้ว
- กรณี McAfee ตรวจสอบพบว่ามหาวิทยาลัยธรรมศาส
- กรณี Niall Merrigan นักวิจัยด้านความปลอดภัย ที่คอยสำรวจและตรวจสอบการสร้างโ
ในส่วนของประเทศไทยนั้น ยังไม่มีกฎหมายเกี่ยวกับการคุ้ม
“เมื่อปี 2015 Mr. Schrems นักศึกษากฎหมายชาวออสเตรีย อายุ 23 ปี ได้ไปศึกษากฎหมายคุ้มครองข้อมูล
ทั้งนี้ สาระสำคัญของการประกาศใช้ GDPR (EU General Data Protection Regulation) โดยสหภาพยุโรป ซึ่งเป็นการแก้ไขปรับปรุงหลักกา
(1) กำหนดการใช้อำนาจนอกอาณาเขต (extraterritorial jurisdiction) คือ ข้อมูลส่วนบุคคลของสหภาพยุโรปอยู่
(2) บทลงโทษสูงขึ้น โดยองค์กรที่กระทำผิดอาจต้องจ่า
(3) การขอความยินยอมจากเจ้าของข้อมู
(4) การแจ้งเตือนเมื่อเกิดเหตุข้อมู
(5) ขอบเขตสิทธิของเจ้าของข้อมูล ผู้ควบคุมข้อมูลต้องแจ้งให้เจ้า
(6) สิทธิในการโอนข้อมูลไปยังผู้ประ
(7) สิทธิที่จะถูกลืม (Right to be Forgotten) เจ้าของข้อมูลสามารถขอให้หน่วยง
นอกจากการควบคุมการส่งข้อมูลภาย
ผู้สนใจที่ข้อมูลโดยละเอียดในกา
รบ. จีนจับนักเตะดาวรุ่งอุยกูร์รุ่นยู-19 เข้าค่ายปรับทัศนคติ เหตุเดินทางไปต่างประเทศ
ยุทธศาสตร์ชาติผ่านแล้ว ปัญหามาแน่ แก้เกมอย่างไร?
สนช. ผ่านร่างยุทธศาสตร์ชาติฉลุย ส่งประยุทธ์ทูลเกล้า ภายใน 20 วัน ชวนย้อนดูปัญหายุทธศาสตร์ฯ ที่ขาดการมีส่วนร่วม รบ.ใหม่จากการเลือกตั้งก็ต้องทำตามยุทธศาสตร์ฯ ไม่ทำมีบทลงโทษ นักวิชาการชี้ เนื้อหา ‘มั่นคง’ ไม่พูดเรื่อง ‘โปร่งใส’ ‘มั่งคั่ง’ ไม่พูดเรื่อง ‘ลดเหลื่อมล้ำ’ ‘ยั่งยืน’ ไม่พูดเรื่อง ‘มีส่วนร่วม’ พร้อมเปิดข้อเสนอแก้เกมจาก ‘'ปิยบุตร-อนุสรณ์'’
วันนี้ (6 ก.ค. 61) ไอลอว์รายงานว่า สภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) มีมติเอกฉันท์ เห็นด้วย 179 เสียง ไม่เห็นด้วย ไม่มี และงดออกเสียง 4 เสียง จากจำนวนผู้เข้าประชุมทั้งหมด 183 คน โดยใช้เวลาพิจารณาภายใน 1 ชั่วโมงเห็นชอบกับร่างยุทธศาสตร์ชาติ ซึ่งขั้นตอนต่อไป พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี นําขึ้นทูลเกล้าฯภายใน 20 วัน เพื่อให้มีพระบรมราชโองการประกาศใช้
หลังจากเมื่อวันที่ 15 มิ.ย. ที่ผ่านมา สนช. ได้ตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญเพื่อศึกษาร่างยุทธศาสตร์ชาติ ซึ่งใช้เวลา 22 วัน โดยคณะกรรมาธิการดังกล่าวได้ให้ข้อสังเกตและข้อเสนอแนะต่อร่างยุทธศาสตร์ คสช. ซึ่งข้อเสนอเหล่านี้จะนำไประบุเพิ่มเติมในแผนแม่บทต่อไป และสรุปผลการศึกษาว่า “เห็นควรให้ความเห็นชอบ” ต่อร่างยุทธศาสตร์ คสช.
คณะกรรมาธิการฯ ระบุว่า แผนแม่บทจะจัดทำในช่วงเดือนสิงหาคมถึงกันยายน โดยจะจัดทำเป็นแคมป์ให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องมาทำร่วมกัน และให้แล้วเสร็จทันปีงบประมาณ 2563 โดยตัวชี้วัดที่ชัดเจนของยุทธศาสตร์ชาติจะถูกนำไปใส่ในระดับแผนแม่บทหรือโครงการ เป็นชั้นๆ ให้เชื่อมโยงกันต่อไป และการติดตามผล จะออกระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีเพื่อติดตามผลจากหน่วยงานรัฐ และระบบโปรแกรมให้หน่วยงานรัฐใช้กรอกอีกขั้นหนึ่ง
ปัญหาการมียุทธศาสตร์ชาติ
สำหรับปัญหาของยุทธศาสตร์ชาตินั้น จากการประมวลข้อวิจารณ์ต่างๆ พบว่ามี 4 ประเด็นดังนี้
1. ไอลอว์ ระบุว่า ยุทธศาสตร์ชาติ เมื่อใช้บังคับแล้ว นอกจากหน่วยงานราชการที่ต้องปฏิบัติตามแผนยุทธศาสตร์ชาติแล้ว พรรคการเมืองที่จะเสนอนโยบายใดๆ ก็ต้องจัดทำให้อยู่ภายใต้กรอบของยุทธศาสตร์ชาติ และการแถลงนโยบายของรัฐบาลหรือการจัดทำงบประมาณก็ต้องอยู่ภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติเหมือนกันหมด รวมทั้งมีการกำหนดขั้นตอนลงโทษในกรณีที่หน่วยงานนั้นๆ ทำผิดจากยุทธศาสตร์ไว้ด้วย ในขณะที่คณะกรรมการยุทธศาสตร์ชาติไม่ต้องรับผิดใดๆ จึงอาจกล่าวได้ว่ากรอบที่ยุทธศาสตร์ชาติกำหนดไว้ จะสำคัญกว่านโยบายของพรรคการเมืองที่ประชาชนเป็นผู้เลือกมา (อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่)
2. จำนวนกรรมการยุทธศาสตร์ทั้งหมด 35 คน พบว่า มาจากฝ่ายกองทัพและความมั่นคง 7 คน กรรมการที่จะได้รับการแต่งตั้งอีก 17 คนโดย คสช. ประธานวุฒิสภาที่กฎหมายกำหนดให้เป็นรองประธานคณะกรรมการอีก 1 คน ซึ่งก็มาจากการแต่งตั้งของ คสช. เนื่องจากรัฐธรรมนูญ 2560 กำหนดให้สมาชิกวุฒิสภาชุดแรกมาจากการแต่งตั้งของหัวหน้า คสช. ย่อมเท่ากับว่า คณะกรรมการยุทธศาสตร์ชาติ 25 คนจาก 35 คน คือคนที่ คสช. วางเอาไว้ ก็เป็นไปได้ว่านายกรัฐมนตรีคนใหม่ที่มาจากการเลือกตั้งซึ่งต้องเป็นประธานคณะกรรมการยุทธศาสตร์ชาติตามกฎหมาย แทบจะไม่มีอำนาจต่อรองใดๆ ในคณะกรรมการชุดนี้ (อ่านเพิ่มเติมที่นี่)
3. นอกจากประเด็น ประเด็นที่ 1 แล้ว ไอลอว์ ยังมองว่า ยุทธศาสตร์ชาติถูกบังคับให้ต้องจัดทำตาม “พิมพ์เขียว” ที่มีก่อนหน้านี้โดยคณะกรรมการจัดทำยุทธศาสตร์ชาติตามมติ ครม. ปี 2558 เป็นผู้จัดทำฉบับร่างซึ่งเขียนไว้ล่วงหน้าก่อนรัฐธรรมนูญ 2560 (อันเป็นฉบับที่เขียนระบุให้มียุทธศาสตร์ชาติ) และร่างฉบับนี้ก็ไม่เปิดเผยให้ประชาชนได้รับรู้ จนกระทั่งไปยื่นเรื่องต่อคณะกรรมการวินิจฉัยการเปิดเผยข้อมูลข่าวสาร (อ่านเพิ่มเติมที่นี่)
4. ประชาชนไม่ได้มีส่วนร่วมอย่างแท้จริง เพราะพ.ร.บ. การจัดทำยุทธศาสตร์ชาติ ในมาตรา 28 เขียนเปิดช่องเอาไว้ว่า การรับฟังความคิดเห็นในร่าง พ.ร.บ.การจัดทำยุทธศาสตร์ชาติ ถือเป็นการแสดงความคิดเห็นใน พ.ร.บ.ยุทธศาสตร์ชาติด้วย (อ่านเพิ่มเติมที่นี่)
ทั้งนี้ร่าง พ.ร.บ.การจัดทำยุทธศาสตร์ชาติ เมื่อเข้าสู่การพิจารณาของ สนช. มีการเปิดรับฟังความคิดจากประชาชนผ่านเว็บไซต์ www.thaigov.go.th ตั้งแต่วันที่ 20 เมษายน - 20 พฤษภาคม 2560 มีประชาชนเข้าอ่านข้อมูล จำนวน 3,051 ครั้ง และแสดงตนเพื่อเสนอความเห็น เพียง 8 คน สนช. มีมติผ่านร่าง พ.ร.บ.การจัดทำยุทธศาสตร์ชาติเมื่อ 22 มิถุนายน 2560
ข้อวิจารณ์เกี่ยวกับยุทธศาสตร์ชาติ
นอกจาก 4 ประเด็นข้างต้นแล้ว ยังมีข้อวิจารณ์อื่นอีก เช่น อภิชาต สถิตนิรามัย อาจารย์ประจำคณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ วิจารณ์ร่างยุทธศาสตร์ชาติเดิมในปี 2558 ที่เป็นพิมพ์เขียวของยุทธศาสตร์ชาติปัจจุบัน ในกรณีการพัฒนา EEC อันเป็นส่วนหนึ่งในการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ชาติในด้านการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ ว่า นโยบายอุตสาหกรรมของยุทธศาสตร์ชาติเน้นการลดภาษีกลุ่มทุน (รัฐเสียรายได้ภาษี 2.2 แสนล้านบาทในปี 2559) แต่ไม่มีมาตรการ “การบังคับ” ให้ผู้ได้รับสิทธิพิเศษถ่ายทอดความสามารถทางเทคโนโลยีให้แก่ไทย ซึ่งเป็นบทเรียนสำคัญที่สุดจากประเทศเอเชียตะวันออกที่ข้ามพ้นกับดักรายได้ปานกลาง
สฤณี อาชวานันทกุล นักวิชาการอิสระ เขียนข้อวิจารณ์เกี่ยวกับยุทธศาสตร์ชาติไว้ว่า เนื้อหายุทธศาสตร์ชาติสรุปสั้นๆ ได้ว่า “พูดอีกก็ถูกอีก” เป็นเป้าหมายที่พึงประสงค์สำหรับสังคมไทย ปัญหาก็คือ เป้าหมายโลกสวย ‘มั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน’ นั้น เมื่อแยกส่วนออกมาดูแล้วอาจจะขัดแย้งกันก็ได้ ขึ้นอยู่กับการกำหนดนิยาม และยุทธศาสตร์ที่จะไปให้ถึงเป้าหมาย
สฤณี ตั้งข้อสังเกตว่า ยุทธศาสตร์ฉบับนี้มีลักษณะเด่นสามประการ 1.) นิยาม ‘ความมั่นคง’ ที่กว้างขวางอย่างยิ่ง ไม่มีเนื้อหาใดๆ ในยุทธศาสตร์ด้านความมั่นคง ที่พูดถึงการแก้ปัญหาและพัฒนากองทัพ โดยเฉพาะการยกระดับ ‘ความโปร่งใส’ (transparency) 2.) เป้าหมาย ‘มั่งคั่ง’ ในแผนยุทธศาสตร์ชาติ ไม่ได้พูดถึงการสร้างและคุ้มครอง ‘สนามแข่งขันที่เท่าเทียม’ (level playing field) ที่จะช่วยลดความเหลื่อมล้ำ 3.) เป้าหมาย ‘ยั่งยืน’ พูดถึง “การกระจายอำนาจไปสู่ท้องถิ่น ระบบธรรมาภิบาลและการมีส่วนร่วมเกิดขึ้น” แต่ยังมิได้ระบุยุทธศาสตร์ใดๆ ที่ชัดเจนเป็นรูปธรรม อีกทั้งยังมิได้สะท้อนรูปธรรมของ ‘การมีส่วนร่วม’
ผ่านแล้ว คว่ำยังไง?
คสช. อ้างว่า ยุทธศาสตร์ชาตินั้นถูกจัดทำขึ้นตามรัฐธรรมนูญมาตรา 65 “รัฐพึงจัดให้มียุทธศาสตร์ชาติเป็นเป้าหมายการพัฒนาประเทศอย่างยั่งยืน...” และยังกำชับอย่างเร่งรัดไว้ในรัฐธรรมนูญมาตรา 275 “ให้คณะรัฐมนตรีจัดให้มีกฎหมายตามมาตรา 65 วรรคสอง ให้แล้วเสร็จ ภายใน 120 สิบวันนับแต่วันประกาศใช้รัฐธรรมนูญนี้ และดําเนินการจัดทํายุทธศาสตร์ชาติให้แล้วเสร็จ ภายในหนึ่งปีนับแต่วันที่กฎหมายดังกล่าวใช้บังคับ”
โดยขั้นตอนคร่าวๆ ของการจัดทำยุทธศาสตร์ชาติ คือคณะกรรมการจัดทำยุทธศาสตร์เสนอร่างให้ ครม. หลังจากนั้นหากเห็นชอบจะส่งต่อให้ สนช. หากประชาชนพิจารณาแล้วเห็นว่ายุทธศาสตร์ชาติฉบับนี้ขาดการมีส่วนร่วมของภาคประชาชน วิธีการที่น่าสนใจคือการทำประชามติเพื่อจัดทำรัฐธรรมนูญฉบับใหม่เพื่อแก้กฎหมายหลักที่ทำให้เกิดยุทธศาสตร์ชาติ มีผู้เคยเสนอขั้นตอนการแก้ไข้ไว้คือ ปิยบุตร แสงกนกกุล คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และ อนุสรณ์ ธรรมใจ รองประธานมูลนิธิปรีดี พนมยงค์
ด้วยเหตุที่ยุทธศาสตร์ชาติจัดทำมาตามบทบัญญัติรัฐธรรมนูญ 2560 ดังนั้น ต้องแก้ไขที่รัฐธรรมนูญด้วย โดย ปิยบุตรเคยเสนอไว้ว่าลำดับแรกคือต้องแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญ 2560 เพื่อเปิดโอกาสให้ประชาชนออกเสียงประชามติในประเด็นที่ว่าสมควรให้มีการจัดทำรัฐธรรมนูญใหม่ทั้งฉบับเพื่อแทนที่รัฐธรรมนูญ 2560 หรือไม่ โดยมีวิธีการคือ (1.) เสนอร่างรัฐธรรมนูญแก้ไขเพิ่มเติ่ม พ.ศ. ... เพิ่มมาตรา 256/1 กำหนดให้มีการออกเสียงประชามติในประเด็นที่ว่าประชาชนเห็นชอบให้มีการจัดทำร่างรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยขึ้นใหม่ทั้งฉบับหรือไม่ โดยให้สภาร่างรัฐธรรมนูญที่มีสมาชิกจำนวน 100 คน มาจากการเลือกตั้งของประชาชน ทำหน้าที่ยกร่างรัฐธรรมนูญใหม่ทั้งฉบับ และให้ประชาชนออกเสียงประชามติให้ความเห็นชอบร่างรัฐธรรมนูญใหม่นั้นในขั้นตอนสุดท้าย (2.) เมื่อแก้ไขเพิ่มเติมมาตรา 256/1 แล้วเสร็จ ก็ให้ดำเนินการจัดการออกเสียงประชามติในประเด็นดังกล่าว (3.) เมื่อประชาชนเห็นชอบกับการจัดทำร่างรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยขึ้นใหม่ทั้งฉบับ ให้คณะรัฐมนตรีและรัฐสภาดำเนินการแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญ 2560 เพื่อกำหนดกระบวนการจัดทำร่างรัฐธรรมนูญใหม่ และนอกจากนี้ปิยบุตรยังเสนอให้ทบทวน พ.ร.บ. ทั้งหมดที่ออกมาโดยสภานิติบัญญัติแห่งชาติ
อนุสรณ์ เสนอว่าเมื่อมีการจัดตั้งรัฐบาลซึ่งมาจากการเลือกตั้งของประชาชนแล้วให้มีการจัดลงประชามติว่าสมควรมีการแก้ไขรัฐธรรมนูญซึ่งเป็นผลพวงจากการรัฐประหารในมาตราหรือเนื้อหาที่ไม่เป็นไปตามหลักการประชาธิปไตยหรือไม่ รวมทั้งถามประชาชนด้วยว่าควรจะมีการปรับเปลี่ยนยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี หรือไม่เพื่อให้ยุทธศาสตร์ชาติและแนวทางการปฏิรูปประเทศเกิดจากการเปิดกว้างในการมีส่วนร่วมของประชาชน
สำหรับร่างยุทธศาสตร์มีสาระสำคัญ 6 ด้านดังนี้ 1.ยุทธศาสตร์ชาติด้านความมั่นคงมีเป้าหมายการพัฒนาที่สำคัญ คือ ประเทศชาติมั่นคง ประชาชนมีความสุข เน้นการบริหารจัดการสภาวะแวดล้อมของประเทศให้มีความมั่นคง ปลอดภัย และมีความสงบเรียบร้อยในทุกระดับ ควบคู่ไปกับการป้องกันและแก้ไขปัญหาด้านความมั่นคงที่มีอยู่ในปัจจุบันและที่อาจจะเกิดขึ้นในอนาคต
2.ยุทธศาสตร์ชาติด้านการสร้างความสามารถในการแข่งขัน มุ่งเน้น การยกระดับศักยภาพของประเทศในหลากหลายมิติบนพื้นฐานแนวคิด 3 ประการ ได้แก่ (1) ต่อยอดอดีต โดยมองกลับไปที่รากเหง้านำมาประยุกต์ผสมผสานให้สอดรับกับ บริบทของเศรษฐกิจและสังคมโลกสมัยใหม่ (2) ปรับปัจจุบัน เพื่อปูทางสู่อนาคต ผ่านการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานของประเทศในมิติต่างๆ (3) สร้างคุณค่าใหม่ในอนาคตด้วยการเพิ่มศักยภาพของผู้ประกอบการ เพื่อตอบสนองต่อความต้องการของตลาด
3.ยุทธศาสตร์ชาติด้านการพัฒนาและเสริมสร้างศักยภาพทรัพยากรมนุษย์ เพื่อพัฒนาคนในทุกมิติและในทุกช่วงวัยให้เป็นคนดี เก่ง มีคุณภาพ และเป็นพลเมืองดีของชาติ
4.ยุทธศาสตร์ชาติด้านการสร้างโอกาสและความเสมอภาคทางสังคมให้ความสำคัญการดึงเอาพลังของ ภาคส่วนต่างๆ ร่วมขับเคลื่อน โดยการสนับสนุนการรวมตัวของประชาชนในการร่วมคิดร่วมทำเพื่อส่วนรวม
5.ยุทธศาสตร์ชาติด้านการสร้างการเติบโตบนคุณภาพชีวิตที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม มีเป้าหมายเพื่อนำไปสู่การบรรลุเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนในทุกมิติ
6.ยุทธศาสตร์ชาติด้านการปรับสมดุลและพัฒนาระบบการบริหารจัดการภาครัฐ มีเป้าหมายเพื่อปรับเปลี่ยนภาครัฐ โดยภาครัฐต้องมีขนาดที่เหมาะสมกับบทบาทภารกิจ และพร้อมที่จะปรับตัวให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลงของโลกอยู่ตลอดเวลา และสร้างจิตสำนึกในการปฏิเสธไม่ยอมรับการทุจริตประพฤติมิชอบอย่างสิ้นเชิง
สืบพยานเยาวชนจำเลยคดีล้นทรัพย์ต่างชาติที่สามร้อยยอดเสร็จแล้ว ระบุถูกซ้อมให้สารภาพ
ศาลจังหวัดหัวหินนัดสื
6 ก.ค.2561 มูลนิธิผสานวัฒนธรรม รายงานว่า สืบเนื่องจากที่ ณัฐวัตร หรือเจมส์ ธนัฏฐิกาญจนา จำเลยที่ 1 และอดิศักดิ์ หรือเจมส์ สีละมุด จำเลยที่ 2 กล่าวหาว่า ระหว่างที่ถูกควบคุมตัวโดยเจ้
5 ก.ค.ที่ผ่านมา ทนายความจำเลยทั้งสามได้
ทนายความจำเลยแถลงต่อศาลขอส่
ในคดีนี้ ผู้อำนวยการมูลนิธิผสา
เช็คนโยบายสังคมห้างดังในไทย ‘เทสโก้ โลตัส’ คะแนนนำ แต่ 3 ห้างไม่สามารถเข้าถึงข้อมูล
‘ทีมซูเปอร์มาเก็ตที่รัก’ ประเมินนโยบายทางสังคมของซูเปอร์มาเก็ตในไทย ผ่าน 4 ตัวชี้วัด พบ ‘เทสโก้ โลตัส’ ได้คะแนนมากกว่ารายอื่นเหตุพิจารณารวมกับนโยบายบริษัทแม่ที่อังกฤษ เผยข้อมูลโดยรวมยังเข้าถึงได้น้อย หวังปีหน้าจะปรับปรุง ระบุบริษัทค้าปลีกอาหารชั้นนำโตต่อเนื่อง แต่เกษตรกรรายย่อย-แรงงานยังยากจนและอำนาจต่อรองน้อย
5 ก.ค. 2561 ทีมซูเปอร์มาเก็ตที่รัก ซึ่งเกิดจากการรวมตัวของภาคประชาสังคม อาทิ เครือข่ายกินเปลี่ยนโลก มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค และอ็อกแฟมประเทศไทย ได้จัดงานข่าวข่าวเปิดผลประมาณนโยบายทางสังคมของซูเปอร์มาเก็ตรายใหญ่ 7 รายในประเทศไทยคือ บิ๊กซี , ซีพี เฟรชมาร์ท , ฟู้ดแลนด์ , กูร์เมต์มาร์เก็ต , แม็คโคร , เทสโก้โลตัส และ วิลล่ามาร์เก็ต (มีหนึ่งรายไม่ต้องการให้เปิดเผยผลการประเมิน) โดยมีเกณฑ์ชี้วัด 4 ด้านคือ 1.ความโปร่งใส และความรับผิดชอบ 2.สิทธิแรงงานงาน 3.เกษตรกร และผู้ผลิตรายย่อย 4.สิทธิสตรี โดยพบว่าสิทธิสตรีเป็นด้านที่มีผู้ได้คะแนนน้อยที่สุด โดยมีมีซูเปอร์มาเก็ตที่ได้คะแนนในการส่งเสริมสิทธิสตรีเพียง 1 รายคือ เทสโก้ โลตัส และได้ 1 คะแนน ขณะที่นโยบายด้านการส่งเสริมเกษตรกร และผู้ผลิตรายรายย่อย มีสัญญาณเชิงบวกมากที่สุด
เทสโก้ โลตัส ซึ่งได้คะแนนมากกว่ารายอื่น เป็นเพราะมีการพิจารณารวมกับนโยบายทางสังคมของบริษัทแม่ที่ประเทศอังกฤษ หากคิดเพียงประเทศไทยจะพบว่า มีคะแนนในด้านสิทธิและงาน 1 คะแนน และมีคะแนนด้านการส่งเสริมเกษตรกร และผู้ผลิตรายย่อย 2 คะแนน ส่วนซุเปอร์มาร์เก็ตที่ไม่มีคะแนนนั้น เป็นเพราะยังไม่มีข้อมูลที่ปรากฎต่อสาธารณะที่เป็นไปตามตัวชี้วัดทั้ง 4 ด้าน
ธีรวิทย์วิทย์ ชัยณรงค์โสภณ เจ้าหน้าที่องค์การออมแฟมในประเทศไทย ระบุว่า การประเมินในครั้งนี้ ถือว่าเกิดขึ้นเป็นครั้งแรกในประเทศไทย เป็นการประเมินพิจารณาจากนโยบายของบริษัทต่างๆ รวมไปถึงบริษัทแม่ ที่เผยแพร่สาธารณะซึ่งคนทั่วไปสามารถสอบและเข้าถึงได้เท่านั้น เช่น เว็บไซต์ รายงานประจำปี และรายการต่างๆ อย่างไรก็ตามยังคงพบว่า ภาพรวมของการเปิดเผยข้อมูลยังสามารถเข้าถึงได้น้อย
ทัศนีย์ แน่นอุดร ระบุว่าสำหรับบริษัทที่ไม่มีคะแนนนั้น ไม่ได้หมายความว่าบริษัทไม่ได้ทำนโยบายในด้านต่างๆ เพียงแต่ไม่มีปรากฎในทางสาธารณะเท่านั้น ซึ่งการประเมินครั้งนี้มีความคาดหวังว่าจะเป็นจุดเริ่มต้นที่ดีที่จะทำให้บริษัทต่างๆ ได้ปรับปรุง พัฒนา และเผยแพร่นโยบายที่รับผิดชอบต่อสังคมมากขึ้น
ทั้งนี้ เหล่าห้างร้านต่างๆ ที่ได้รับการประเมินนี้ถือเป็น ธุรกิจค้าปลีกสมัยใหม่ เป็นส่วนหนึ่งของกิจกรรมค้าปลีกค้าส่งซึ่งมีมูลค่าสูง ถึง 2.2 ล้านล้านบาท ตามข้อมูลในปี 2559 โดยมีสัดส่วนสูงถึงราว 15% ของผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (GDP) นอกเหนือจากมูลค่าตลาดขนาดใหญ่แล้ว ธุรกิจค้าปลีกค้าส่งยังมีความสำคัญอย่างยิ่งต่อ ตลาดแรงงาน โดยมีการจ้างงานราวร้อยละ 15 ของการจ้างงานในประเทศ หนึ่งในกลุ่มธุรกิจค้าปลีกที่สำคัญและมีความเกี่ยวข้องกับชีวิตของคนไทยในปัจจุบันอย่างมากคือซูเปอร์มาร์เก็ต ซึ่งมีจำนวนสาขา รวมกันทั่วประเทศมากกว่า 3,000 สาขา และมีอัตราการเติบโตของลูกค้าและยอดขายอย่างต่อเนื่องใน ตลอดสิบปีที่ผ่านมา
ในขณะที่บริษัทค้าปลีกอาหารชั้นนำมีการเติบโตอย่างต่อเนื่องมีมูลค่าทางเศรษฐกิจในหลักล้านล้านบาท แต่เกษตรกรรายย่อยและแรงงานในภาคการเกษตรและการผลิตอาหารยังคงประสบกับปัญหาความยากจนอย่างต่อเนื่อง มีความเปราะบางต่อสภาวะทางเศรษฐกิจ มีอำนาจการต่อรองที่จำกัด และในหลายกรณีพบว่ามีการถูกละเมิดและเอาเปรียบในการทำงานอยู่
จับตาสถิติมะเร็งลําไส้ใหญ่ฯ รั้งอันดับ 5 ของโลก หากไร้นโยบายคัดกรองจะเพิ่ม 2 เท่าใน 10 ปี
จับตาสถิติผู้ป่วยโรคมะเร็งลํ
6 ก.ค.2561 กลุ่มงานสื่อสารสังคม สำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ (สช.) รายงานว่า จากการเก็บข้อมูลอัตราผู้ป่
จากอัตราการเจ็บป่วยข้างต้น ส่งผลต่อเนื่องถึงยอดผู้เสียชี
ด้วยสถานการณ์ความรุ
ดร.ศุลีพร แสงกระจ่าง รองผู้อํานวยการด้านพัฒนาระบบสุ
ดร.ศุลีพร แสงกระจ่าง รองผู้อํานวยการด้านพัฒนาระบบสุ
สถาบันมะเร็งฯ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง มุ่งเน้นการหารือไปที่สาเหตุ
ดร.ศุลีพร ย้ำว่า แม้จะมีประโยชน์ในการถนอมอาหาร แต่สารไนเตรทและไนไตรท์ก็มี
“การบริโภคแม้ปริมาณน้อย แต่หากบริโภคติดต่อกันเป็
คนไทยช่วงอายุ 18-34.9 ปี นิยมบริโภคเนื้อสัตว์มากกว่าช่
สถาบันมะเร็งฯ อ้างอิงงานวิจัยของ องค์กรวิจัยมะเร็งนานาชาติ (IARC) เมื่อปี 2558 ที่จัดให้เนื้อแดงเป็นสารก่
ที่ผ่านมา กระทรวงสาธารณสุขออกมาตรการต่
ส่วนในผลิตภัณฑ์เนื้อแปรรูป ดร.ศุลีพร ระบุว่า ไม่ได้เป็นอาหารหลักจึงไม่มี
นพ.วีรวุฒิ อิ่มสำราญ ผู้อำนวยการสถาบันมะเร็งแห่
ในที่ประชุมมีหน่วยงานต่างๆ ผลัดเปลี่ยนให้ข้อคิดเห็นเพื่
โดยแนวทางการรณรงค์ ต้องเน้นให้ความรู้ความเข้าใจที่
ในขณะเดียวกัน จะต้องร่วมมือกับผู้ผลิตเนื้อสั
“แนวทางที่ได้จากการระดมความเห็
เหตุเรือล่มภูเก็ต 3 จุด เสียชีวิต 33 ราย อยู่ระหว่างค้นหา 23 ราย
กรณีเรือล่มที่ภูเก็ต 3 เหตุการณ์เมื่อ 5 ก.ค. มีผู้ประสบภัย 148 รายนั้น กรมเจ้าท่าสรุป จนท.ช่วยลูกเรือเซรานาต้าได้ทั้ง 41 ราย ช่วยเรือเจ็ทสกีล่ม 2 ราย ส่วนเรือฟีนิกไดวิ่งล่มที่เกาะเฮที่มีผู้โดยสารรวม 105 คน จนถึงเย็นวันที่ 6 ก.ค. ช่วยเหลือได้ 49 ราย เสียชีวิต 33 ราย อยู่ระหว่างค้นหา 23 ราย
ที่มาของภาพ: กองทัพเรือ Royal Thai Navy
กรณีเรือล่มใน จ.ภูเก็ต เมื่อวันที่ 5 ก.ค. รวม 3 เหตุการณ์ มีผู้ประสบภัย 148 ราย ได้แก่ 1. เรือ "ฟีนิกไดวิ่ง"ล่มบริเวณเกาะเฮ จำนวนผู้โดยสาร 105 คน (นักท่องเที่ยว 93 คน ลูกเรือและไกด์ 12 คน) 2. ผู้โดยสารพลัดตกเรือ "เซเรนาต้า"ที่กำลังล่มบริเวณเกาะไม้ท่อน ก่อนที่เรือจะล่มทั้งลำ จำนวนผู้โดยสาร 41 คน (นักท่องเที่ยว 39 คน ลูกเรือ 2 คน) 3. เรือเจ็ทสกีของนักท่องเที่ยวชาวรัสเซียล่มกลางทะเล ใกล้เกาะราชา ลูกเรือ 2 คน
ล่าสุดในวันที่ 6 ก.ค. กรมเจ้าท่า ได้ออกรายงานสถานการณ์เรือล่ม 3 ฉบับ [แถลงการณ์ (1), (2), (3)] สรุปความว่า กรณีเรือเซเนริก้า ผู้ประสบภัย 41 คน ช่วยเหลือได้ทั้งหมดแล้วในวันที่ 6 ก.ค. เวลา 08.30 น กรณีเรือเจ็ทสกี 2 คน ช่วยเหลือได้ 2 คน ขึ้นที่ท่าเรือแหลมพันวา มีเรือค้างบนเกาะราชา 12 ลำ ผู้โดยสาร 263 คน เรือที่ให้ความช่วยเหลือ คือ ทรภ.3, ตำรวจน้ำ, อบจ. และเรือประมง 4 ลำ
กรณีเรือฟินิกไดวิ่ง ที่มีผู้โดยสารรวม 105 คน ประสบเหตุเรือจมอยู่ทางด้านใต้ ห่างจากเกาะเฮ 1.5 ไมล์ทะเล (2.8 กิโลเมตร) จากการค้นหาเรือจมอยู่ทางทิศใต้ของเกาะเฮ ความลึก 30 เมตร โดยประมาณ หน่วยกู้ภัยได้ช่วยเหลือ ผู้โดยสารรวมลูกเรือและไกด์ มีจำนวนทั้งสิ้น 49 ราย ผู้ประสบภัยปลอดภัยและกลับบ้าน จำนวน 12 ราย บาดเจ็บและรักษาตัวอยู่ ร.พ.มิชชั่น และ ร.พ.องค์การบริหารส่วนจังหวัดภูเก็ต จำนวน 37 ราย
ทั้งนี้กรมเจ้าท่ายืนยันการเสียชีวิต จำนวน 21 ราย อยู่ระหว่างค้นหา 35 ราย ซึ่งยังไม่ยืนยันสถานะที่แน่ชัด ขณะที่นรภัทร ปลอดทอง ผู้ว่าราชการจังหวัดภูเก็ต แถลงเมื่อเวลา 18.00 น. เย็นนี้ (6 ก.ค.) ยืนยันมีผู้เสียชีวิตแล้ว 33 ราย อยู่ระหว่างค้นหาอีก 23 ราย
ข้อมูลจากกรมเจ้าท่าระบุว่า ผู้ควบคุมเรือฟินิกซ์คือสมจริง บุญธรรม ถือประกาศนียบัตรชั้นนายเรือของเรือเดินในประเทศ ขนาดไม่เกิน 500 ตันกรอส (ชำนาญงาน) วันหมดอายุ 30 มกราคม 2565 ชื่อผู้ควบคุมเรือเซเรนาต้า เมธา หลิ่มสกุล ถือประกาศนียบัตรชั้นนายเรือของเรือเดินในประเทศ ขนาดไม่เกิน 250 ตันกรอส (ชำนาญงาน) วันหมดอายุ 19 มีนาคม 2565
โดยกริชเพชร ชัยช่วย รองอธิบดีกรมเจ้าท่าด้านมาตรฐานการขนส่งทางน้ำ ได้ลงพื้นที่และเดินทางเข้าเยี่ยมผู้ประสบภัย พร้อมให้กำลังใจแก่เจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงาน
ทั้งนี้ผู้ว่าราชการจังหวัดภูเก็ตกล่าวว่าทีมกู้ชีพกู้ภัยจะวางเป้าหมายหลักทำการค้นหาในบริเวณซากเรือฟีนิกส์เป็นจุดสำคัญเพื่อหาผู้โดยสารที่ติดค้างในลำเรือให้ได้มากที่สุด ควบคู่กับการลาดตะเวนค้นหาในทะเลในรัศมี 10 กิโลเมตร และจะดำเนินการค้นหาอย่างต่อเนื่องทั้งทางอากาศ ทางน้ำและทางบก จนกว่าจะพบผู้สูญหายครบทั้งหมด
อนึ่งจังหวัดภูเก็ตได้จัดตั้งศูนย์บัญชาการ โดยจัดเจ้าหน้าที่ตลอด 24 ชั่วโมง ณ อาคารท่าเทียบเรือฉลอง นอกจากนี้กรมเจ้าท่าได้ออกประกาศสำนักงานเจ้าท่าภูมิภาคสาขาภูเก็ต ตามคำสั่งจังหวัดภูเก็ตที่ 3045/2557 เรื่อง แต่งตั้งคณะกรรมการพิจารณาห้ามเรือโดยสารออกจากฝั่งกรณีคลื่นลมแรง เพื่อป้องกันอุบัติเหตุทางน้ำ และให้การปฏิบัติการสั่งห้ามเรือโดยสารออกจากฝั่ง กรณีมีมรสุมคลื่นลมแรงตามประกาศกรมอุตุนิยมวิทยา โดยสำนักงานเจ้าท่าภูมิภาคสาขาภูก็ต ได้รับแจ้งจากกรมอุตุนิยมวิทยาภาคใต้ฝั่งตะวันตก ว่ามีฝนตกหนักและคลื่นลมแรงบริเวณภาคใต้ฝั่งทะเลอันดามัน มีกำลังแรง จะมีคลื่นสูงประมาณ 2 – 3 เมตร ในวันที่ 6 กรกฎาคม 2561 ทั้งนี้ ห้ามเรือที่มีความยาวน้อยกว่า 10 เมตรที่จะเดินทางไปเกาะพีพี เกาะราชา และพื้นที่ทะเลเปิด ออกจากฝั่งโดยเด็ดขาด ยกเว้นเรือที่จะไปอ่าวพังงา เกาะโหลน และเกาะบริเวณใกล้เคียงเกาะภูเก็ต ให้เดินเรือด้วยความระมัดระวัง
'ขวัญชัย ไพรพนา'พ้นโทษแล้ว หลังถูกจำคุก 2 ปี คดีพยายามฆ่า-รื้อเวทีพธม.
ขวัญชัย ไพรพนา พ้นโทษแล้ว หลังศาลฎีกาสั่งจำคุก 2 ปี คดีพยายามฆ่า-รื้อเวทีลุ่มพันธมิตรฯ ปี 51 ที่หนองประจักษ์ฯ จ.อุดร ขณะที่ 'ณัฐวุฒิ'บินไปต้อนรับ
ภาพ ณัฐวุฒิ กับ ขวัญชัย (ที่มาเพจ นายณัฐวุฒิ ใสยเกื้อ)
6 ก.ค.2561 มติชนออนไลน์รายงานว่า เมื่อวันที่ 5 ก.ค.ที่ผ่านมา อาภรณ์ สาราคำ ภรรยา ขวัญชัย สาราคำ หรือขวัญชัย ไพรพนา พร้อมญาติๆ เดินทางไปเยี่ยม ขวัญชัย ที่เรือนจำกลางจังหวัดอุดรธานี โดยเป็นการเยี่ยมครั้งสุดท้าย เนื่องจาก ขวัญชัย จะพ้นโทษ จำคุก 2 ปีเต็ม วันที่ 6 ก.ค.2561 โดย ณัฐวุฒิ ใสยเกื้อ แกนนำ นปช.ได้เดินทางมาเยี่ยม และรับตัว ขวัญชัย ออกจากเรือนจำกลางจังหวัดอุดรธานีด้วย
"เมื่อคืนไม่ได้นอน ขึ้นเครื่องมาอุดรฯ ตั้งใจจะมารอรับพี่ชาย แต่เขาปล่อยมาตั้งแต่ตี 5 เจ้าหน้าที่มาส่งที่บ้าน ลูกเมียยังไปรับไม่ทัน ลงเครื่องเดินมาได้ยินเสียงเรียก เต้น เต้น เต้น นึกในใจ ใครวะ? เสียงเหมือนลุงขวัญ เจอกันก็กอดกัน" ณัฐวุฒิ โพสต์ผ่านเฟสบุ๊คแฟนเพจ
สำหรับ ขวัญชัย ประธานชมรมคนรักอุดร เขาเป็นจำเลย ข้อหาพยายามฆ่า ทำร้ายผู้อื่นได้รับอันตรายสาหัสและทำให้เสียทรัพย์ จากกรณีนำกลุ่มมวลชนไปประท้วงต่อต้านการเคลื่อนไหวของกลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย (พธม.) เมื่อวันที่ 24 ก.ค.2551 ที่สวนสาธารณะหนองประจักษ์ศิลปาคม เขตเทศบาลเมืองอุดรธานี โดยเมื่อวันที่ 25 พ.ค.2559 ศาลจังหวัดอุดรธานีได้อ่านคำพิพากษาศาลฎีกาสั่งลงโทษจำคุก ขวัญชัย 2 ปี โดยไม่รอลงอาญา และปรับ 350,000 บาท
สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมีพระราชกระแสขอบใจทีมค้นหา 13 เยาวชน
"เหตุการณ์ครั้งนี้ได้แสดงให้เห็นเป็นที่ประจักษ์ว่า ความสมัครสมานสามัคคี และความรัก ความปรารถนาดีต่อเพื่อนมนุษย์นั้น เป็นสิ่งที่เราทุกคน ไม่ว่าจะเชื้อชาติใด ศาสนาใด ต่างก็ยังมีอยู่ในหัวใจอย่างเต็มเปี่ยม ข้าพเจ้าจึงขอแสดงความชื่นชมยกย่องต่อท่านทั้งหลายด้วยใจจริง และขอให้ทุกท่านมีกำลังใจที่จะปฏิบัติงานในขั้นต่อไป ด้วยความมีสติ มีสมาธิ มีปัญญาอันกล้าแข็ง และมีศรัทธาเชื่อมั่นไม่เสื่อมคลาย เพื่อให้ปฏิบัติการช่วยเหลือครั้งนี้สำเร็จลุล่วงไปอย่างดีที่สุด สมดังความหวังตั้งใจของทุกท่านทุกฝ่าย ตลอดจนประชาชนทั้งหลายที่เอาใจช่วยอย่างเต็มที่เสมอมา"
เมื่อวันที่ 5 ก.ค. พล.ท.สรรเสริญ แก้วกำเนิด โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวว่า พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและหัวหน้า คสช. เปิดเผยว่าสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร ทรงมีพระราชกระแสขอบใจ ชื่นชม และให้กำลังใจเจ้าหน้าที่กู้ภัยที่ได้พบนักฟุตบอลเยาวชนและผู้ฝึกสอนทีมหมูป่าอะคาเดมี รวม 13 คน ทุกคนปลอดภัยดี โดยทรงมีรับสั่งว่าความสำเร็จของการปฏิบัติการครั้งนี้เกิดจากความร่วมมือร่วมใจ ความรู้ความสามารถ และความเสียสละของทุกฝ่าย ทั้งชาวไทยและชาวต่างประเทศ
ที่มา: สำนักข่าว กรมประชาสัมพันธ์
โดยพระราชกระแส ที่พระราชทาน เผยแพร่ในเว็บไซต์สำนักข่าว กรมประชาสัมพันธ์เมื่อวันที่ 6 ก.ค. มีใจความว่า
สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงมีพระราชกระแสขอบใจทีมช่วยเหลือทุกฝ่ายทั้งชาวไทยและชาวต่างประเทศ (ที่มา: เพจ Thai NavySEAL)
ข้าพเจ้ามีความปลื้มใจยินดีและโล่งใจมาก ที่ได้ทราบว่า เมื่อวันที่ 2 กรกฎาคม 2561 เจ้าหน้าที่กู้ภัยได้พบนักฟุตบอลเยาวชนและผู้ฝึกสอนทีมหมูป่าอะคาเดมี รวม 13 คน ซึ่งสูญหายไปในถ้ำหลวง วนอุทยานถ้ำหลวง-ขุนน้ำนางนอน เมื่อวันที่ 23 มิถุนายน 2561 แล้ว โดยทุกคนปลอดภัยดี นับเป็นข่าวดีที่เราชาวไทย ตลอดจนชาวต่างประเทศ ที่ได้ติดตามความคืบหน้าของการค้นหามาโดยตลอด ต่างก็มีความชื่นชมยินดีถ้วนหน้า
เตรียม #RunForSaman วิ่งระดมทุนช่วยครอบครัวอดีตหน่วยซีลเสียชีวิตขณะกู้ภัยถ้ำหลวง
จ.อ.สมาน กุนัน พนักงาน ทอท. อดีต นตท.จู่โจม รุ่น 30 ที่เสียชีวิตระหว่างปฏิบัติหน้าที่ช่วยเหลือ 13 เยาวชนที่ถ้ำหลวงฯ ล่าสุดได้เคลื่อนย้ายศพไปที่ฐานทัพเรือสัตหีบ เพื่อรับพระราชทานน้ำหลวงอาบศพ ก่อนที่จะไปประกอบพิธีที่บ้านเกิด อ.จตุรพักตรพิมาน จ.ร้อยเอ็ด วันที่ 7 ก.ค. นี้ ขณะเดียวกันสมาพันธ์ชมรมเดินวิ่งเพื่อสุขภาพไทยเตรียมจัดงาน #RunForSaman วิ่งระดมทุนช่วยครอบครัว จ.อ.สมาน ที่สวนลุมพินี 8 ก.ค. นี้
ผู้บริหารและพนักงาน ทอท. รับศพ จ.อ.สมาน กุนัน เจ้าหน้าที่ตระเวนระงับเหตุ ฝ่ายรักษาความปลอดภัย ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ อดีตหน่วยซีล ที่เสียชีวิตระหว่างช่วยเหลือเยาวชนที่ถ้ำหลวงขุนน้ำนางนอน โดยเคลื่อนย้ายศพจากท่าอากาศยานแม่ฟ้าหลวง เชียงราย ไปยังฐานทัพเรือสัตหีบ จ.ชลบุรี เพื่อรับพระราชทานน้ำหลวงอาบศพ เมื่อ 6 ก.ค. 2561 (ที่มา: เพจ AOT Official)
ในการแถลงข่าวประจำวันที่ 6 ก.ค. ศูนย์ปฏิบัติการช่วยเหลือหน้าถ้ำหลวง-ขุนน้ำนางนอน อ.แม่สาย จ.เชียงใหม่ โดยภาสกร บุญญลักษม์ รองผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงราย และพล.ร.ต.อาภากร อยู่คงแก้ว ผู้บัญชาการสงครามพิเศษทางเรือ กองเรือยุทธการ หรือ หน่วยซีล ตามรายงานของวิทยุ สวพ.91รองผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงรายแจ้งข่าวว่า จ่าเอกสมาน กุนันน อดีตนักทำลายใต้น้ำจู่โจมนอกราชการ (นทต.จู่โจม รุ่น 30) อายุ 38 ปี เสียชีวิตเมื่อเวลา 02.00 น. ระหว่างขากลับของการปฏิบัติภารกิจนำขวดอากาศเข้าไปวางตามจุด ความทราบถึงพระเจ้าอยู่หัว ท่านทรงแสดงความเสียใจ และรับสั่งจัดงานศพอย่างสมเกียรติ ซึ่งคาดว่าจะมีในเย็นวันนี้ และจะนำส่งไปที่ฐานทัพเรือสัตหีบ โดยเครื่องบินกองทัพเรือ จะมีการประกอบพิธีหลวงที่นั่น และขอรับพระราชทานน้ำหลวงอาบศพ และทรงมีรับสั่งให้ดูแลครอบครัวและบุตรหลานอย่างดีที่สุด และยังเปิดเผยอีกว่า ญาติจะนำไปประกอบพิธีที่จังหวัดร้อยเอ็ด ซึ่งเป็นไปตามความประสงค์ของญาติต่อไป
ด้าน พล.ร.ต.อาภากร อยู่คงแก้ว ผู้บัญชาการหน่วยบัญชาการสงครามพิเศษทางเรือ กองเรือยุทธการ หรือ หน่วยซีล เปิดเผยว่า จ่าเอกสมาน กุนัน อายุ 38 ปี เป็นนักทำลายใต้น้ำจู่โจมนอกราชการ (นทต.จู่โจม รุ่น 30) อายุ 38 ปี ปัจจุบันเป็นเจ้าหน้าที่ตระเวนระงับเหตุฝ่าย รปภ.ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ บริษัทท่าอากาศยานไทย
โดยจ่าเอกสมาน เสียชีวิตขณะปฏิบัติงานในถ้ำหลวง-ขุนน้ำนางนอน เมื่อคืนที่ผ่านมา ขณะดำน้ำเข้าไปวางขวดอากาศ บัดดี้พยายามทำการปฐมพยาบาลในเบื้องต้นแต่ไม่เป็นผล ก่อนนำส่ง รพ.ค่ายเม็งรายมหาราช และเสียชีวิตในที่สุด
ผู้บัญชาการหน่วยซีลย้ำว่า เจ้าหน้าที่หน่วยซีลทุกคน ไม่เคยทำงานโดยไม่มีแผน เพราะถูกฝึกมาเพื่อให้ทำงานภายใต้สภาวะความกดดันอย่างนี้อยู่แล้ว การเจ็บป่วย และการเสียชีวิตถือว่าเป็นสิ่งที่หน่วยซีลต้องเผชิญ ตลอดเวลา เหตุการณ์ครั้งนี้เราจะไม่เสียขวัญ และกำลังพลของเรายังคงทำงานช่วยเหลือทีมนักฟุตบอลเยาวชน หมูป่าอะคาเดมี่ และผู้ฝึกสอน 13 ชีวิต เหมือนเดิม เพื่อให้ภารกิจบรรลุเป้าหมาย การสูญเสีย จ่าเอกสมาน จะไม่สูญเปล่า
ทอท. ต้นสังกัด เสียใจอย่างสุดซึ้ง
ทอท. เขียนข้อความแสดงความเสียใจต่อการจากไปของ จ.อ.สมาน กุนัน (ที่มา: เพจ AOT Official)
ทั้งนี้ต้นสังกัดของจ่าเอกสมาน คือบริษัท การท่าอากาศยานไทย (ทอท.) ได้โพสต์แสดงความไว้อาลัยด้วย โดยนิตินัย ศิริสมรรถการ กรรมการผู้อำนวยการใหญ่ ทอท. เปิดเผยด้วยว่า จ่าเอกสมาน ปัจจุบันเป็นพนักงาน ทอท.ซึ่งปฏิบัติหน้าที่ ณ ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ ตำแหน่งเจ้าหน้าที่ตระเวนระงับเหตุ ฝ่ายรักษาความปลอดภัย
"ทอท.รู้สึกเสียใจ และมีความอาลัยอย่างยิ่งต่อการจากไปของจ่าเอก สมาน กุนัน และขอแสดงความเสียใจอย่างสุดซึ้งมายังครอบครัวของจ่าเอก สมาน กุนัน ซึ่งเป็นผู้ที่มีจิตใจสูงส่ง และเสียสละในการเข้าร่วมปฏิบัติภารกิจในครั้งนี้ด้วยความเต็มใจและมุ่งมั่น เป็นที่ภาคภูมิใจของประเทศชาติ และ ทอท.โดย ทอท.จะพิจารณาความดีความชอบให้เป็นกรณีพิเศษ เพื่อเป็นขวัญและกำลังใจให้กับครอบครัวของจ่าเอก สมาน กุนัน ต่อไป"
ในเพจของ ทอท.เปิดเผยด้วยว่า โดยนิตินัย ศิริสมรรถการ กรรมการผู้อำนวยการใหญ่ ทอท. พร้อมด้วยผู้บริหารและพนักงาน ทอท. ได้เดินทางไปยังโรงพยาบาลค่ายพญาเม็งรายมหาราช จ.เชียงราย ในวันที่ 6 กรกฎาคม 2561 เวลา 12.00 น. เพื่อรับศพจ่าเอก สมาน กุนัน และร่วมพิธีเคลื่อนย้ายศพจากท่าอากาศยานแม่ฟ้าหลวง เชียงราย ไปยังฐานทัพเรือสัตหีบ จ.ชลบุรี เพื่อรับพระราชทานน้ำหลวงอาบศพ ขณะเดียวกันได้มีคณะผู้บริหารและพนักงาน ทอท.เดินทางไปยังฐานทัพเรือสัตหีบ เพื่อร่วมพิธีดังกล่าวด้วย
ต่อจากนั้น จะมีการเคลื่อนย้ายศพจ่าเอก สมาน กลับไปประกอบพิธีที่บ้านเกิด อำเภอจตุรพักตรพิมาน จังหวัดร้อยเอ็ด ในวันที่ 7 กรกฎาคม 2561 เวลา 12.00 น.ต่อไป
หลังจากที่นายนิตินัย ศิริสมรรถการ กรรมการผู้อำนวยการใหญ่ ทอท. พร้อมด้วยผู้บริหารและพนักงาน ทอท. ยังได้เดินทางไปเยี่ยมเยียนและให้กำลังใจกับพนักงาน ทอท.ที่ยังคงเข้าร่วมปฏิบัติภารกิจช่วยเหลือทีมหมูป่า อะคาเดมี แม่สาย ณ ถ้ำหลวงขุนน้ำนางนอน จ.เชียงราย ด้วย โดยในใบแถลงข่าวของ ทอท. ย้ำด้วยว่า "ทอท. ขอแสดงความเสียใจกับครอบครัวของผู้เสียชีวิตและพร้อมให้การช่วยเหลือครอบครัวอย่างดีที่สุดต่อไป"
เตรียมจัดงาน #RunForSaman
ขณะเดียวกันในเพจ "เรื่องวิ่งเรื่องกล้วย"แจ้งข่าวจาก สมาพันธ์ชมรมเดินวิ่งเพื่อสุขภาพไทย ที่จะจัดงาน #RunForSaman เพื่อช่วยเหลือครอบครัวจ่าเอกสมาน กุนัน โดยผู้ร่วมกิจกรรมสามารถวิ่งได้ทั้ง Virtual Run และวิ่งด้วยกันที่สวนลุมพินี หรือบริจาคอย่างเดียวก็ได้ โดยนัดหมายจัดกิจกรรมวันอาทิตย์ที่ 8 กรกฎาคม เวลา 16:00 ที่หน้าห้องสมุด สวนลุมพินี โดยตัวแทนสมาพันธ์ฯ ภาคอีสานจะนำพวงหรีดและเงินบริจาคไปมอบที่งานศพของ จ.อ.สมาน ที่ จ.ร้อยเอ็ดอีกด้วย
กลุ่มพยาบาลอุดรฯ ยังไม่ได้รับการแก้ปัญหา แถมจะถูกสอบเรื่องให้ข้อมูลราชการแก่สาธารณะ
ภาพการเรียกร้องของกลุ่มพยาบาลโรงพยาบาลศูนย์อุดรธานี เมื่อเดือน พ.ค. 2561 (ที่มาภาพ: มติชนออนไลน์)
สืบเนื่องจากกรณีที่กลุ่มพยาบาลของโรงพยาบาลศูนย์อุดรธานี ได้ลงนามร้องทุกข์ขอให้โรงพยาบาลพิจารณาการทำงานของหัวหน้าพยาบาลรายหนึ่ง ตั้งแต่เดือน พ.ย. 2560 ต่อมาพยาบาลระดับหัวหน้าตึก รองหัวหน้า พยาบาลอาวุโส ลงนามร้องทุกข์ครั้งที่ 2 เมื่อวันที่ 9 มี.ค. 2561 และเมื่อวันที่ 9 พ.ค. 2561 กลุ่มพยาบาลวิชาชีพของโรงพยาบาลศูนย์อุดรธานี ประมาณ 50 คน ได้ออกมาประท้วงหน้าโรงพยาบาลศูนย์อุดรธานี
โดยในวันที่ 9 พ.ค. 2561 นั้นกลุ่มพยาบาลที่ออกมาเรียกร้องได้ระบุว่าในระหว่างการถูกร้องทุกข์ก็ยังคงมีการบริหารงานโดยขาดหลักธรรมาภิบาล ทั้งยังมีพฤติกรรมก้าวร้าว เสียงดัง ลุแก่อำนาจ ข่มขู่ คุกคามผู้ร้องทุกข์ เกิดความขัดแย้งเป็นวงกว้างต่อเนื่องและรุนแรงมากขึ้น ทั้งนี้ที่ผ่านมามีการตั้งคณะกรรมการ 3 คณะแต่กลุ่มพยาบาลไม่ได้รับการแก้ไขอย่างจริงใจและล่าช้า โดยกลุ่มผู้เรียกร้องยืนยันว่าไม่ต้องการหัวหน้าพยาบาลรายนี้อยากให้ย้ายออกไปนอกพื้นที่ให้การสอบสวนดำเนินไปอย่างโปร่งใส (อ่านรายละเอียดการเรียกร้องวันที่ 9 พ.ค. 2561: พยาบาลอุดรฯครึ่งร้อย ฮือไล่หัวหน้า ชี้ ลุแก่อำนาจ ออกคำสั่งนอก กม. มาสายโทษไล่ออก, มติชนออนไลน์, 9/5/2561)
ล่าสุดในช่วงต้นเดือน ก.ค. 2561 ที่ผ่านมากลุ่มพยาบาลที่ออกมาเรียกร้องได้ให้ข้อมูลว่าปัจจุบันปัญหาที่กลุ่มพยาบาลได้ออกมาร้องเรียนนั้นยังไม่ได้รับการแก้ปัญหา แม้จะได้มีการตั้งคณะกรรมการสอบข้อเท็จจริง แต่ก็จะมีการสอบเรื่อง 'การให้ข่าวสารของทางราชการ'ซึ่งยกมาตาม 'ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการให้ข่าวสารและบริการของทางราชการ พ.ศ. 2529'กับกลุ่มพยาบาลที่ออกมาร้องเรียนด้วย โดยมีการระบุว่าการชุมนุมเรียกร้องของกลุ่มพยาบาลเมื่อวันที่ 9 พ.ค. 2561 ที่ผ่านมานั้นได้มีการเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารที่เกี่ยวข้องกับทางราชการ โดยการบันทึกวีดีทัศน์หรือบันทึกเสียงที่เป็นข่าวหรือข้อเท็จจริงในทางราชการหรือเรื่องราวที่เกี่ยวข้องกับทางราชการของโรงพยาบาลอุดรธานี ซึ่งมิได้รับอนุญาตในการเผยแพร่ข้อมูลดังกล่าวออกสู่สาธารณะจากผู้มีอำนาจในส่วนราชการนั้นๆ อาจจะทำให้เกิดความเสียหายและเกิดความเข้าใจผิดหรือทัศนคติที่ไม่ดีต่อทางราชการได้ เมื่อช่วงต้นเดือน มิ.ย. 2561
ต่อมากลุ่มพยาบาลที่ออกมาเรียกร้องได้ทำหนังสือเรื่อง ขอความคุ้มครอง ถึงผู้ว่าราชการ จ.อุดรธานี เมื่อวันที่ 3 ก.ค. 2561 โดยระบุว่าสืบเนื่องจากการร้องทุกข์ หัวหน้าพยาบาล และคณะกรรมการบริหารฝ่ายการพยาบาล และ ผู้อำนวยการโรง พยาบาลอุดรธานี ของกลุ่มข้าราชการพยาบาลผู้ร้องทุกข์ เรื่องการบริหารงานโดยขาดหลักธรรมาภิบาล ซึ่งขณะนี้อยู่ระหว่างการดำเนินการสอบสวนหาข้อเท็จจริง ตามประเด็นการร้องทุกข์ กลุ่มผู้ร้องทุกข์ใคร่ขอความคุ้มครอง ตาม ประมวลจริยธรรมข้าราชการพลเรือน เล่มที่ 126 ตอนพิเศษ 162 ง. ราชกิจจานุเบกษา หน้า 83 ลงวันที่ 5 พ.ย. 2552 ข้อ 16 (2) ขอให้คุ้มครองข้าราชการกลุ่มผู้ร้องทุกข์ มิให้ถูกกลั่นแกล้ง หรือถูกใช้อำนาจโดยไม่เป็นธรรม กับกลุ่มข้าราชการพยาบาลผู้ร้องทุกข์ โดยไม่ให้ผู้บริหารและคณะกรรมการบริหารและผู้อำนวยการโรงพยาบาลอุดรธานี ดังกล่าวมีอำนาจดำเนินการเกี่ยวกับการออกคำสั่ง แต่งตั้ง โยกย้าย เลื่อนเงินเดือน แต่งตั้งคณะกรรมการสืบสวนข้อเท็จจริง หรือคณะกรรมการสอบสวนทางวินัยหรือดำเนินการใดๆ ที่เป็นผลร้ายหรือกระทบต่อสิทธิหน้าที่ของกลุ่มข้าราชการพยาบาลที่ร้องทุกข์