เตรียมขยายลาคลอดบุตรจาก 90 เป็น 98 วัน
พบมีคำสั่งย้าย 'ผู้ว่าเชียงราย'ตั้งแต่เดือน เม.ย. 2561 แล้ว
ซ้อมใหญ่ระบบขนย้าย "13 เยาวชน"ติดถ้ำหลวง-ขุนน้ำนางนอน
ซ้อมใหญ่แผนช่วยเหลือเยาวชนทีมฟุตบอล "หมูป่าอะคาเดมี"ติดถ้ำ ผวจ.เชียงรายระบุทดสอบระบบ เพื่อให้การทำงานมีประสิทธิภาพ ขณะที่แผนสูบน้ำออกจากถ้ำกลับมาได้ผล สมาคมน้ำบาดาลสำรวจพบตาน้ำ 2 จุด ขุดได้ 2 บ่อตั้งเป้า 5 บ่อ ส่วนหน่วยซีลสามารถเข้าถึงโถง 3 ได้อีกครั้ง
คณะทำงานซ้อมใหญ่แผนช่วยเหลือ 13 ชีวิตออกจากถ้ำเมื่อช่วงเช้าวันที่ 30 มิ.ย. 2561 โดยผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงรายระบุเป็นการซ้อมทั้งระบบ เพื่อให้ปฏิบัติได้อย่างถูกต้อง (ที่มา: สวท.เชียงราย)
ความคืบหน้าการปฏิบัติการช่วยเหลือทีมนักฟุตบอลหมูป่าอะคาเดมีแม่สาย 13 ชีวิตที่ติดอยู่ในถ้ำหลวงขุนน้ำนางนอน ต.โป่งผา อ.แม่สาย จ.เชียงราย ตั้งแต่เมื่อวันที่ 23 มิ.ย. นั้น ล่าสุดเช้าวันนี้ (30 มิ.ย.) ซึ่งเข้าสู่วันที่ 8 ของการค้นหา สำนักประชาสัมพันธ์เขต 3รายงานว่า ณรงศักดิ์ โอสถธนากร ผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงราย ในฐานะผู้บัญชาการศูนย์บัญชาการเหตุการณ์ ได้นำคณะทำงานซ้อมใหญ่แผนช่วยเหลือ 13 ชีวิตออกจากถ้ำเพื่อส่งไปยังโรงพยาบาล เป็นการทดสอบระบบ เพื่อให้การทำงานมีประสิทธิภาพ หากพบเด็กทั้งหมดที่พลัดหลง เพื่อให้ทราบว่าผู้ใดมีหน้าที่ใด เมื่อเกิดเหตุการณ์จริง จะได้ปฏิบัติอย่างถูกต้อง ทั้งทีมกู้ชีพ กู้ภัย บุคลากรทางการแพทย์ ยานพาหนะ และการควบคุมสถานการณ์รอบด้านทั้งหมด
สถานการณ์ภายในถ้ำหลวง-ขุนน้ำนางนอน เมื่อวันที่ 30 มิ.ย. ที่มา: เพจ Thai NavySEAL
ส่วนสถานการณ์ช่วยเหลือล่าสุดนั้น เมื่อเวลา 12.00 น. ที่ผ่านมา เพจ Thai NavySEALเผยภาพสำรวจถ้ำล่าสุดโดยกำลังพลจากกองทัพบก และหน่วยซีล กองทัพเรือ ช่วยลำเลียงเครื่องสูบน้ำ เข้าไปวางในถ้ำ เร่งดึงน้ำออกจากถ้ำให้เร็วที่สุดระดับน้ำลดลงเร็วขึ้นแล้ว มนุษย์กบ เตรียมลำเลียงขวดอากาศเข้าไปตั้งกองบัญชาการที่โถง 3 เพื่อวางเชือกนำทางเข้าสู่บริเวณสามแยก โดยทีมช่วยชีวิตได้ไปถึงโถง 3 อีกครั้งตั้งแต่วานนี้ (29 มิ.ย.)
ทั้งนี้หลังจากระดับน้ำภายในถ้ำเริ่มลดลงอย่างน้อย 8 เซนติเมตร ทำให้หน่วยซีล เข้าถึงโถงที่ 3 โดยเป็นจุดที่อยู่ใกล้บริเวณ "จุดพัทยาบีช"ซึ่งทีมค้นหาเชื่อว่าเยาวชนทั้ง 13 คนจะไปอยู่ที่นั่น
ส่วนการทำงานของหน่วยซีลวันนี้ (30 มิ.ย.) แบ่งออกเป็น 3 ทีม โดยทีมแรกจะสำรวจพื้นที่ทางน้ำ ภายในถ้ำ สำรวจพื้นที่ภายในถ้ำ และชุดที่ 3 ดำน้ำเข้าไปในโถงถ้ำที่ื 3 เพื่อติดตั้งเครื่องสูบน้ำ
โดยการเข้าถึงโถงที่ 3 ครั้งนี้ถือเป็นรอบที่ 2 นับแต่มีการเข้าค้นหาทีมฟุตบอลเยาวชน โดยก่อนหน้านี้เข้าไปถึงครั้งแรกเมื่อ 26 มิ.ย. ก่อนถอยออกมาอยู่ที่โถง 2 เพราะระดับน้ำสูงขึ้นเมื่อ 27 มิ.ย. ทำให้หน่วยซีลเข้าไปปฏิบัติภารกิจค้นหาไม่ได้
ขณะที่ก่อนหน้านี้เมื่อวันที่ 25 มิ.ย.ที่ผ่านมา ทีมกู้ภัยได้ดำน้ำผ่านม่านน้ำลึก 5 เมตร เพื่อเข้าถึงห้องโถงใหญ่ซึ่งห่างจากจากปากถ้ำเข้าไป 7 กิโลเมตร และแจ้งว่าพบร่องรอยของกลุ่มเยาวชน แต่ยังไม่พบตัว คาดว่าทั้ง 13 คนจะเดินลึกเข้าไปอีกเพราะระดับน้ำสูงในถ้ำ
สมาคมน้ำบาดาลพบตาน้ำ 2 จุด ขุดได้ 2 บ่อตั้งเป้า 5 บ่อ
ภารกิจค้นหาตาน้ำของสมาคมน้ำบาดาลแห่งประเทศไทย (ที่มา: สวท.เชียงราย)
สวท.เชียงรายรายงานวันนี้เมื่อ 12.49 น. ว่า สมาคมน้ำบาดาลแห่งประเทศไทยได้นำเครื่องเจาะ สนับสนุนการปฏิบัติการของศูนย์บัญชาการเหตุการณ์จังหวัดเชียงราย พบตาน้ำบริเวณหน้าถ้ำ 1 จุด ได้น้ำระยะความลึก 70 เมตร ปริมาณน้ำ 30 ลูกบาศก์เมตร
และยังพบตาน้ำอีก 1 จุด ที่วนอุทยานขุนน้ำนางนอน เจาะได้ 2 บ่อ ที่ความลึก 20 เมตร ได้ปริมาณน้ำ 30 ลูกบาศก์เมตร จากเป้าหมาย 5 บ่อ ระยะห่างจากปากถ้ำ 1,500 เมตร ใช้เครื่องสูบน้ำ จำนวน 6 เครื่อง ใช้ระยะเวลาสูบ 11 ชั่วโมง โดยช่วงแรกก่อนการสูบ มีระดับน้ำ 63 เซ็นติเมตรปัจจุบันระดับน้ำอยู่ที่ 58 เซ็นติเมตร ขณะที่การสูบน้ำได้ผลเป็นอย่างดี สีน้ำเริ่มเปลี่ยนจากสีขุ่นแดงเป็นน้ำใส ล่าสุดท้องฟ้าเริ่มเปิดและหากฝนไม่ตกลงมาเพิ่ม ตลอดทั้งวันจะเป็นผลดีอย่างมาก เนื่องจากมีการสูบน้ำอย่างต่อเนื่อง
การค้นหาเข้าสู่วันที่ 8
สำหรับการค้นหาเยาวชนนักฟุตบอลทีม "หมูป่าอะคาเดมีแม่สาย"เริ่มต้นขึ้นหลังจากเมื่อวันที่ 23 มิ.ย. นักฟุตบอลเยาวชนอายุ 11-16 ปี และโค้ชอายุ 25 ปี คือเอกพล จันทะวงษ์ เดินทางไปเที่ยวที่ถ้ำหลวง-ขุนน้ำนางนอน ในช่วงบ่าย หลังเสร็จสิ้นการฝึกซ้อมฟุตบอลในช่วงเช้า ต่อมาเวลา 15.00 น. เจ้าหน้าที่วนอุทยานถ้ำหลวง-ขุนน้ำนางนอน สังเกตเห็นรถจักรยานจอดอยู่ 11 คัน บริเวณทางเข้าถ้ำหลวงอย่างผิดสังเกต และมีผู้ปกครองแจ้งว่าไม่สามารถติดต่อลูกชายได้ โดยตั้งแต่เวลา 22.00 น. ทีมกู้ภัยของมูลนิธิสยามรวมใจแม่สาย และศูนย์วิทยุ 191 สภ. แม่สาย ได้รับแจ้งเหตุว่ามีเด็กหายตัวเข้าไปในถ้ำหลวง จนมีเจ้าหน้าที่ตำรวจและทหาร และหน่วยงานกู้ภัยเข้ามาร่วมการค้นหาดังกล่าว
รถไฟฟ้าบีทีเอสเปลี่ยนอุปกรณ์สื่อสารแล้วคาดบริการปกติจันทร์นี้
รองประธานมูลนิธิปรีดี พนมยงค์ เสนอหลังเลือกตั้งให้มีการประชามติ 'แก้-ไม่แก้'รธน.
สื่อ 'แคปปิทัลกาเซตต์'ออกหน้าว่างในหมวด 'ความคิดเห็น'ไว้อาลัยเหยื่อในสำนักงานตัวเองในเหตุกราดยิง
สื่อ 'เดอะแคปปิทัลกาเซตต์'ยังคงออกหนังสือพิมพ์ฉบับใหม่ต่อไปในวันถัดจากที่เกิดเหตุการณ์กราดยิงสำนักงานจนมีผู้เสียชีวิต 5 ราย โดยปล่อยหน้า 'ความคิดเห็น'ของพวกเขาให้เป็นหน้าว่างพร้อมข้อความ "วันนี้ พวกเราถูกทำให้พูดไม่ออก"นอกจากนี้ยังมีประชาชนในท้องถิ่นสำนักงานของสื่อนี้ออกมาร่วมชุมนุมแสดงความไว้อาลัยต่อผู้เสียชีวิต
สปสช.เผย 6 เดือนยอดผู้ป่วยผ่าตัดวันเดียวกลับเกือบ 1 พันราย ช่วยลดความแออัด รพ. ประหยัดงบ
ชี้รัฐใช้กฎหมายปิดปากนักเคลื่อนไหวด้านสิ่งแวดล้อม
วงเสวนา 'การฟ้องคดีปิดปากกรณีโรงไฟฟ้าและทางออก'ระบุรัฐใช้อำนาจกฎหมายปิดปากนักเคลื่อนไหวโรงไฟฟ้า หวังสกัดกั้น-หยุดนักวิชาการวิจารณ์โครงการรัฐ กรีนพีซชี้สื่อออนไลน์มีอิทธิพลเยอะขึ้น ความท้าทายคือทำอย่างไรให้การสื่อสารของเรามีประสิทธิภาพและไม่ไปละเมิดสิทธิผู้อื่นด้วย
สถานการณ์แรงงานประจำสัปดาห์ 25- มิ.ย.-1 ก.ค. 2561
20 ภาคีแรงงานหนุน 'ปฏิรูป สปส.'เน้น 'อิสระ-มืออาชีพ'พ้นราชการ/เตรียมขยายลาคลอดบุตรจาก 90 เป็น 98 วัน/รายงาน TIP Report ยกระดับไทยดีขึ้นสู่ “Tier 2”/คสรท. ชี้ครึ่งปีหลังเสี่ยงคนตกงานมากขึ้น พบภาคธุรกิจขนเครื่องจักรเทคโนโลยีลดต้นทุน/ก.แรงงาน เปิดศูนย์ตรีเทพ ช่วย ป.ตรีมีงานทำ 11 แห่งทั่วไทย
20 ภาคีแรงงานหนุน 'ปฏิรูป สปส.'เน้น 'อิสระ-มืออาชีพ'พ้นราชการ
เมื่อวันที่ 30 มิ.ย. 2561 นายบัณฑิตย์ ธนชัยเศรษฐวุฒิ ผู้อำนวยการมูลนิธิอารมณ์ พงศ์พงัน ในฐานะนักวิจัยสิทธิแรงงาน กล่าวว่าจริงๆ ประกันสังคมต้องปฏิรูปครั้งใหญ่ และต้องปฏิรูปในหลายๆ เรื่อง โดยเฉพาะการปรับให้เป็นองค์กรที่ทำงานโดยอิสระ ไม่ใช่เหมือนราชการทุกวันนี้ เนื่องจากประกันสังคมเป็น กองทุนขนาดใหญ่ที่มีเงินของผู้ประกันตนจำนวนมากกว่า 12 ล้านคน การทำงานต้องคล่องตัว เป็นอิสระมากกว่าที่จะอิงระบบราชการ เพราะที่ผ่านมากว่าจะพิจารณาแต่ละเรื่องต้องผ่านอนุกรรมการมากมาย อย่างกรณีการเลือกตั้งกรรมการประกันสังคมก็ยังไม่ดำเนินการ ล่าสุดตั้งอนุกรรมการยกร่างระเบียบการเลือกตั้งกรรมการประกันสังคมเมื่อเดือนเมษายนที่ผ่านมา ขณะที่บอร์ดชุดเก่าที่ตั้งขึ้นด้วย ม.44 ของคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) หมดวาระไปตั้งแต่วันที่ 7 พฤศจิกายน 2560 จะครึ่งปีแล้วยังไม่มีบอร์ดจริงๆ เสียที
"นี่คือการทำงานที่ไม่คล่องตัว อิงระบบราชการทั้งที่ไม่ควรเกิดขึ้น ประกันสังคมต้องทำงานอย่างอิสระ มีการบริหารงานอย่างมืออาชีพ จะเป็นองค์การมหาชน หรือจะเป็นหน่วยงานแบบไหน ขอมีความเป็นอิสระเป็นพอ เพื่อให้มีการปรับปรุงสิ่งต่างๆ ได้รวดเร็วและเพื่อประโยชน์ผู้ประกันตน ยกตัวอย่าง 1.กรณีการปรับฐานค่าจ้างเพื่อนำมาคิดคำนวณปรับเงินสมทบในกลุ่มฐานเงินเดือน 15,000 บาทเป็น 20,000 บาท ผมเห็นด้วย เพียงแต่เรื่องนี้ก็อาจติดขัดอยู่ เพราะอาจมีคนเข้าใจผิดว่า การปรับฐานค่าจ้างเพื่อนำมาคิดคำนวณปรับเงินสมทบนั้นจะกระทบไปหมด แต่จริงๆ ไม่ใช่ เพราะคนที่เงินเดือนต่ำกว่า 15,000 บาทยังจ่ายเงินสมทบเท่าเดิม ไม่เพียงแต่เรื่องการปรับฐานเงินค่าจ้างเพื่อคิดการจ่ายเงินสมทบ"นายบัณฑิตย์กล่าว
นักวิจัยสิทธิแรงงานกล่าวอีกว่า 2.การปรับปรุงสูตรการคำนวณ เนื่องจากมีหลายเรื่องที่ไม่เป็นธรรมกับผู้ประกันตน อย่างการจ่ายเงิน 20% ของค่าจ้างตลอด 60 เดือนสุดท้ายก่อนออกจากงาน จริงๆ ควรมีแนวคิดเอาฐานค่าจ้างสูงสุดมาคำนวณให้ก่อนออกจากงานมากกว่า 3.ในแง่ของกฎหมายประกันสังคมก็ไม่มีการกำหนดหลักการคำนวณเงินบำนาญขั้นต่ำที่เพียงพอต่อค่าครองชีพของผู้ประกันตนที่รับบำนาญนั้นๆ ซึ่งจริงๆ ควรมีการคำนวณในแต่ละปีว่า ปีนี้สำหรับผู้ประกันตนที่รับบำนาญเงินที่ได้รับเพียงพอหรือไม่ เพื่อนำมาคำนวณว่า การเก็บเงินสมทบผู้ประกันตนควรเป็นอย่างไร นอกจากนี้ ในเรื่องของผู้ประกันตนที่รับบำนาญแล้ว แต่เสียชีวิตก่อน 60 ปี ทายาทจะได้รับไม่เกิน 10 เท่าของบำนาญที่ผู้ประกันตนจะได้รับ จริงๆ ต้องให้ตามความเป็นจริงที่ผู้ประกันตนจะได้ เช่น ผู้ประกันตนอายุ 55 ปี รับบำนาญไปไม่ถึง 2 เดือนเสียชีวิต ก็ควรให้ทายาทตามจำนวนที่เหลือก่อนผู้ประกันตนจะถึง 60 ปี หรือปรับจำนวนเท่าจาก 10 เท่า เป็น 15 เท่า หรือแล้วแต่สูตรการพิจารณาที่ให้ความเป็นธรรมกับผู้ประกันตน
"การทำงานควรต้องทำงานอย่างมืออาชีพ เอาคนเชี่ยวชาญมาบริหาร มีความเป็นอิสระ ไม่อิงกับระบบราชการ อย่างการขยายฐานเงินเดือนเพิ่มเพื่อนำมาคิดเงินสมทบเพิ่มนั้น จริงๆ ต้องควบคู่กัน ทั้งการขยายฐานเงินเดือน กับร้อยละการจ่ายเงินสมทบ เพื่อให้เพียงพอต่อการรับเงินบำนาญชราภาพ สมมุติว่า สปส.จะปรับร้อยละการจ่ายเงินสมทบ เพิ่มจากร้อยละ 3 เป็นร้อยละ 4 ก็ต้องมีวิธีประกาศหรือแจ้งเตือนผู้ประกันตนว่าจะปรับเพิ่มในอีก 2 ปีข้างหน้า แล้วเราจะได้สิทธิประโยชน์อะไร อย่างไปเพิ่มเงินบำนาญ ก็ต้องเพิ่มส่วนนั้น หรือจะเพิ่มส่วนไหนก็ต้องระบุให้ชัดเจน เป็นต้น ประเด็นคือ สปส.ยังทำงานที่ผ่านหลายขั้นตอน การจะพิจารณาหรือให้สิทธิประโยชน์ใดๆ กับผู้ประกันตนก็ต้องผ่านหลายอนุกรรมการกว่าจะเข้าคณะกรรมการชุดใหญ่ ซึ่งหากมีความเป็นอิสระก็จะดีกว่านี้"นายบัณฑิตย์กล่าว
นายมนัส โกศล ประธานเครือข่ายประกันสังคมคนทำงาน (คปค.) กล่าวว่า คปค.และภาคีเครือข่าย 20 องค์กร อาทิ สภาองค์การลูกจ้างพัฒนาแรงงานแห่งประเทศไทย สมาพันธ์แรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ กลุ่มคนรักหลักประกันสุขภาพ มูลนิธิอารมณ์ พงศ์พงัน มูลนิธิเพื่อนหญิง สมาคมเครือข่ายแรงงานนอกระบบประเทศไทย และสมาคมวิถีทางเลือกเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน ฯลฯ สนับสนุนการปฏิรูปประกันสังคม อย่างเรื่องการจ่ายเงินสมทบเพิ่มสำหรับผู้ประกันตนเงินเดือน 15,000 บาทขึ้นไปที่ทาง สปส.กำลังดำเนินการ ถือเป็นเรื่องที่ดี ทราบมาว่าขณะนี้อยู่ในขั้นการให้ความรู้ความเข้าใจ เพราะประชาพิจารณ์ผ่านไปแล้ว ส่วนใหญ่เห็นด้วย ซึ่งการเก็บเพิ่มส่วนนี้ประมาณ 800-1,000 บาท/คน ขึ้นกับเงินเดือนแต่ละคน จะทำให้ผู้ประกันตนที่จ่ายเพิ่มก็จะได้รับสิทธิประโยชน์เพิ่ม และจะส่งผลดีต่อสิทธิต่างๆ โดยเฉพาะเงินบำนาญเพิ่มขึ้น ฯลฯ
นายสมพร จองคำ รองประธานคณะกรรมการสมานฉันท์แรงงานไทย (คสรท.) กล่าวว่า เห็นด้วยกับการที่ สปส.ต้องเป็นองค์กรอิสระ เพื่อให้การบริหารงานให้รวดเร็วขึ้น ส่วนเรื่องการเก็บเงินสมทบเพิ่มสำหรับผู้มีเงินเดือน 15,000 บาท เป็น 20,000 บาท ไม่ได้เห็นต่าง แต่เห็นว่าข้ามขั้นตอนไป จริงๆ ต้องไปดูก่อนว่าให้รัฐเอาเงินที่ค้างจ่ายสมทบ 56,000 ล้านบาท เอามาช่วยในเรื่องให้สิทธิประโยชน์ผู้ประกันตนทุกกลุ่มก่อนดีกว่าหรือไม่ เพราะกรณีการเก็บเงินสมทบเพิ่มในผู้มีรายได้ 15,000 บาทขึ้นไปก็จะได้ประโยชน์เฉพาะกลุ่มฐานบน แต่ไม่ได้ทำอะไรที่เป็นประโยชน์เพื่อภาพรวมจริงๆ ข้างล่าง ซึ่งเป็นคนส่วนมาก 80% ก็ไม่ได้สิทธิประโยชน์ไปด้วย ต้องมาคุยก่อนว่าส่วนล่างได้อะไรด้วย จริงๆ การเอาเงินไปก็เหมือนมีนัยยะอะไรหรือไม่ เพราะเราไม่รู้ว่าการเก็บเงินจะเป็นอย่างไร ก็น่าคิดอยู่
เตรียมขยายลาคลอดบุตรจาก 90 เป็น 98 วัน
30 มิ.ย. 2561 นายอนันต์ชัย อุทัยพัฒนาชีพ อธิบดีกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน (กสร.) เปิดเผยว่า กสร. ได้เตรียมผลักดันในการแก้ไขกฎหมายคุ้มครองแรงงาน โดยเฉพาะการให้ลูกจ้างซึ่งเป็นหญิงตั้งครรภ์มีสิทธิลาเพื่อตรวจครรภ์ก่อนคลอดบุตรโดยให้ถือเป็นวันลาเพื่อคลอดบุตร และปรับเพิ่มสิทธิวันลาเพื่อคลอดบุตร จากเดิมที่สามารถลาคลอดบุตรหนึ่งครรภ์ได้ 90 วัน เป็น 98 วัน
ทั้งนี้เพื่อให้สอดคล้องกับอนุสัญญาขององค์การแรงงานระหว่างประเทศ (ILO)ฉบับที่183 ว่าด้วยสิทธิการคุ้มครองความเป็นมารดาซึ่งได้กำหนดให้ภาครัฐต้องดูแลผู้หญิงตั้งครรภ์ ระหว่างและหลังคลอด และต้องให้วันหยุดมารดาหลังคลอด 14 สัปดาห์ โดยให้นับรวมการลาเพื่อตรวจครรภ์และลาคลอดบุตรใน 98 วัน เนื่องจากเป็นสิทธิการลาประเภทเดียวกัน ขณะนี้ร่างกฎหมายอยู่ในขั้นตอนการพิจารณาของสำนักงานกรรมการกฤษฎีกาและหากร่างดังกล่าวผ่านก็จะนำเสนอให้สนช.พิจารณาเพื่อประกาศเป็นกฎหมายต่อไป
สำหรับประเด็นที่มีการเสนอให้ออกกฎกระทรวงว่าด้วยการจัดสวัสดิการตามมาตรา 95 แห่ง พ.ร.บ.บัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 เกี่ยวกับการจัดสิ่งแวดล้อมให้สิ่งแวดล้อม ให้ส่งเสริมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่นั้น ที่ผ่านมา กสร. ได้ส่งเสริมให้มีการจัดตั้งมุมนมแม่ในสถานประกอบกิจการมาอย่างต่อเนื่องเพื่อส่งเสริม สนับสนุนให้นายจ้าง ลูกจ้างเห็นความสำคัญของการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ ซึ่งการจัดสวัสดิการนอกเหนือกฎหมายกำหนดและเป็นการดำเนินการโดยความสมัครใจและขึ้นอยู่กับความพร้อมของนายจ้างทั้งในเรื่องสถานที่ การบริหารจัดการและค่าใช้จ่าย ดังนั้นการจะออกกฎหมายดังกล่าวจะต้องมีการศึกษาและรับฟังความคิดเห็นจากนายจ้าง ลูกจ้างและผู้ที่เกี่ยวข้องอย่างรอบคอบก่อน
ที่มา: กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน, 30/6/2561
คสรท. ชี้ครึ่งปีหลังเสี่ยงคนตกงานมากขึ้น พบภาคธุรกิจขนเครื่องจักรเทคโนโลยีลดต้นทุน
นายชาลี ลอยสูง รองประธานสมานฉันท์แรงงานไทย หรือ คสรท. เปิดเผยกับสำนักข่าวไอเอ็นเอ็นถึงสถานการณ์แรงงานครึ่งปีหลัง 2561 ว่า ยังคงน่าเป็นห่วง เสี่ยงที่จะว่างงานมากขึ้น เนื่องจากภาคธุรกิจได้นำเทคโนโลยีและเครื่องจักร เข้ามาทดแทนแรงงานเพื่อลดต้นทุนมากขึ้น ขณะที่ชีวิตความเป็นอยู่ของแรงงาน ก็มีความลำบาก เพราะผู้ประกอบการ ลดหรือเลิกโอทีไปเลย ทำให้แรงงานขาดรายได้ที่จะนำมาจุนเจือครอบครัว ดังนั้นสิ่งที่จำเป็นสำหรับแรงงานในยุคไทยแลนด์ 4.0 คือ จะต้องพัฒนาฝีมือ ทักษะพร้อมกับฝึกอาชีพเสริม เพื่อที่จะได้นำมาประกอบอาชีพหลังทำงานประจำเสร็จ
รองประธาน คสรท. กล่าวอีกว่าสำหรับงานที่ตลาดต้องการมากในขณะนี้คือ งานที่เกี่ยวข้องกับทักษะ ฝีมือ เพื่อรองรับกับเทคโนโลยีที่กำลังจะเข้ามา
ที่มา: สำนักข่าวไอเอ็นเอ็น, 30/6/2561
รายงาน TIP Report ยกระดับไทยดีขึ้นสู่ “Tier 2”
ตามรายงานสถานการณ์การค้ามนุษย์ (TIP Report) ฉบับล่าสุดของสหรัฐฯ ประกาศยกระดับให้ประเทศไทย อยู่ในกลุ่ม “เทียร์ 2” ปรับอันดับดีขึ้นจาก เทียร์ 2 วอทช์ลิสต์ ที่อยู่ติดกันมา 2 ปี ขณะที่ “อินเดีย” และ “อินโดนีเซีย” ก็ถูกจัดให้อยู่ในกลุ่ม เทียร์ 2 เช่นกัน
โดยกระทรวงการต่างประเทศสหรัฐฯ ให้เหตุผลว่า รัฐบาลไทยได้พยายามอย่างมีนัยสำคัญในการดำเนินการปัญหาการค้ามนุษย์ เมื่อเทียบกับรายงานครั้งก่อน แต่การดำเนินการยังไม่ถึงมาตรฐานขั้นต่ำ
ทั้งนี้รายงานได้ระบุข้อเสนอแนะสำหรับประเทศไทยในรายงานปีนี้ ซึ่งมีเนื้อหาคล้ายคลึงกับปีที่ผ่าน อันได้แก่ การเสนอให้ไทยสอบสวนและดำเนินคดีกับเจ้าหน้าที่รัฐ ที่เข้าข่ายมีความผิดและมีส่วนในกระบวนการการค้ามนุษย์ รวมถึงการพิพากษาและลงโทษเจ้าหน้าที่ที่พบว่ามีความผิดจริงอย่างเข้มงวด
นอกจากนี้ได้เสนอให้ ไทย ควรเพิ่มความพยายามในการระบุอัตลักษณ์เหยื่อค้ามนุษย์ อาทิ ผู้อพยพ ชาวประมง บุคคลไร้สัญชาติ และเด็กผู้ลี้ภัย ขณะเดียวกัน ไทยควรดำเนินคดีนักค้ามนุษย์ด้วยการใช้แนวทางที่เน้นผู้ตกเป็นเหยื่อเป็นศูนย์กลาง
ขณะที่ “มาเลเซีย” ถูกปรับลดอันดับลงสู่ “เทียร์ 2 วอทช์ลิสต์” จากอันดับ เทียร์ 2 ในปี 2017 โดยรายงานระบุว่า แม้ว่ารัฐบาลมาเลเซียพยายามอย่างหนักในการต่อต้านการค้ามนุษย์ ซึ่งออกกฏมาตรการลงโทษผู้กระทำผิดต่างๆ แต่ผลงานเมื่อเทียบกับปีก่อนไม่ได้ดีขึ้นจนมีนัยสำคัญ พร้อมระบุว่า “ความพยายามในการปกป้องเหยื่อการค้ามนุษย์ของภาครัฐยังไม่เพียงพอ”
ส่วน “บังกลาเทศ” ยังคงระดับเดิมอยู่ที่ “เทียร์ 2 วอทช์ลิสต์” โดยให้เหตุผลว่า ปัญหาเรื่องการค้ามนุษย์ในบังกลาเทศยังคงเป็นปัญหาร้ายแรง และเมื่อปีที่ผ่านมามีการประกาศลงโทษผู้กระทำผิดน้อยกว่าเป้าที่ควรจะเป็น
ทั้งนี้ “ฟิลิปปินส์” ยังคงอันดับเดิมที่ “เทียร์ 1” เป็นปีที่ 3 ติดกัน อย่างไรก็ตาม รายงานระบุว่า การทำงานของรัฐบาลฟิลิปปินส์ไม่มีผลงานโดดเด่น คงรักษาคุณภาพไว้เท่าเดิม โดยเฉพาะการให้ความคุ้มครอง และการเข้าช่วยเหลือเหยื่อค้ามนุษย์ เช่น บริการการฟื้นฟูด้านสภาพจิตใจ และการฝึกอบรมเพื่อจัดหางาน เป็นต้น
ที่มา: ประชาชาติธุรกิจ, 29/6/2561
มอบเงินทดแทน 4,990,000 บาท แก่ทายาทแรงงานไทยที่เสียชีวิตขณะทำงานในสิงคโปร์
พล.ต.อ.อดุลย์ แสงสิงแก้ว รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงานพร้อมด้วย นายจรินทร์ จักกะพาก ปลัดกระทรวงแรงงาน และคณะผู้บริหาร ร่วมมอบเช็คเงินทดแทนให้แก่ทายาทของนายพงศ์ศักดิ์ มีแต้ม อายุ 45 ปี ชาวจังหวัดนครศรีธรรมราช แรงงานไทยที่เสียชีวิตจากการทำงานในประเทศสิงคโปร์ ณ ห้องรับรองรัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน ชั้น 6 อาคารกระทรวงแรงงาน โดยนายพงศ์ศักดิ์ มีแต้ม ปฏิบัติหน้าที่ลูกเรือของบริษัท RCL Shipmanagement Pte Ltd และเสียชีวิตด้วยสาเหตุกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลัน เนื่องจากเส้นเลือดที่เลี้ยงหัวใจอุดตัน ที่โรงพยาบาล สลังงอร์ ประเทศมาเลเซีย เมื่อวันที่ 10 สิงหาคม 2560 ซึ่งสำนักงานแรงงานในประเทศสิงคโปร์ (สนร.สิงคโปร์) ได้ดำเนินการประสานกระทรวงแรงงานสิงคโปร์ และนายจ้างเกี่ยวกับสิทธิประโยชน์ของผู้เสียชีวิต และเมื่อวันที่ 11 มิถุนายน 2561 กระทรวงแรงงานสิงคโปร์ ได้มีหนังสือแจ้งผลการพิจารณาสอบสวนพบว่า การเสียชีวิตของนายพงศ์ศักดิ์ฯ เกิดขึ้นเนื่องจากการทำงาน ทายาทของนายพงศ์ศักดิ์ฯ จึงมีสิทธิได้รับเงินทดแทน โดยกระทรวงแรงงานสิงคโปร์ได้ส่งเช็คธนาคารทหารไทย จำนวน 204,000 เหรียญสิงคโปร์ คิดเป็นเงินไทยประมาณ 4,990,000 บาท สั่งจ่ายในนามนายน้อม มีแต้ม ซึ่งเป็นบิดาของผู้เสียชีวิต กระทรวงแรงงานจึงได้ประสานให้ทายาทของนายพงศ์ศักดิ์ฯ มารับเช็คเงินทดแทนของผู้เสียชีวิต ทั้งนี้ บริษัทฯ ได้จัดทำบันทึกข้อตกลงระหว่างทายาท โดยแบ่งสิทธิประโยชน์เป็น 5 ส่วนเท่าๆ กัน คือ บิดา และบุตรของนายพงศ์ศักดิ์ฯ จำนวน 4 คน
พล.ต.อ. อดุลย์ฯ กล่าวเพิ่มเติมว่า การไปทำงานต่างประเทศอย่างถูกต้องตามกฎหมายจะส่งผลให้คนงานได้รับความคุ้มครอง รวมถึงสิทธิประโยชน์ อัตราค่าจ้าง สวัสดิการตามกฎหมายแรงงานของประเทศนั้นๆ กล่าวคือหากประสบภัย เจ็บป่วย หรือเสียชีวิต จะได้รับการคุ้มครองดูแลเกี่ยวกับสิทธิประโยชน์อย่างถูกต้องและเป็นธรรม อีกทั้งยังมีคุณภาพชีวิตที่ดี ไม่ต้องอยู่อย่างหวาดกลัว หลบซ่อนหรือวิตกกังวลว่าจะถูกจับได้ เพราะเข้ามาทำงานอย่างถูกต้องตามกฎหมาย นอกจากนี้ หากประสบปัญหาในต่างประเทศ สำนักงานแรงงานไทยหรือสถานเอกอัครราชทูตไทยในต่างประเทศ จะเป็นตัวแทนรัฐบาลในการดูแลแรงงานไทยในต่างประเทศเช่นกัน
ที่มา: กรุงเทพธุรกิจ, 27/6/2561
ก.แรงงาน เปิดศูนย์ตรีเทพ ช่วย ป.ตรีมีงานทำ 11 แห่งทั่วไทย
นางเพชรรัตน์ สินอวย รองปลัดกระทรวงแรงงาน ในฐานะโฆษกกระทรวงแรงงาน เปิดเผยถึงความคืบหน้าในการจัดตั้งศูนย์บริการเบ็ดเสร็จ (OSS) ซึ่งในเบื้องต้นจะใช้ชื่อ “ศูนย์ตรีเทพ” ดำเนินการภายใต้สโลแกน “ประชารัฐ ร่วมใจ เพื่อคนไทยมีงานทำ” ตามข้อสั่งการของ พล.ต.อ.อดุลย์ แสงสิงแก้ว รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน ซึ่งตั้งขึ้นทั้งในภูมิภาคและส่วนกลาง จำนวน 11 แห่ง ได้แก่ จ.เชียงใหม่ พิษณุโลก ขอนแก่น นครราชสีมา ระยอง ชลบุรี สุราษฎร์ธานี สงขลา ปราจีนบุรี พระนครศรีอยุธยา และกรุงเทพมหานคร เน้นการบูรณาการทำงานกับทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง โดยมีผู้ว่าราชการแต่ละจังหวัดเป็นผู้อำนวยศูนย์ฯ มีแรงงานจังหวัดเป็นเลขานุการ ซึ่งเริ่มดำเนินการได้ตั้งแต่ต้นเดือน ก.ค. - 30 ก.ย.2561
นางเพชรรัตน์ กล่าวต่อว่าศูนย์ตรีเทพแห่งนี้จะมีการวิเคราะห์ข้อมูลความต้องการแรงงานในพื้นที่ มีตำแหน่งงานว่างในพื้นที่สำหรับวุฒิปริญญาตรี การจับคู่ตำแหน่งงาน (Matching) ระหว่างผู้กำลังหางานทำกับนายจ้างสถานประกอบการ บริการให้คำปรึกษาแนะแนวอาชีพรายบุคคล ส่งต่อการบริการจัดหางานและฝึกอบรมเพิ่มทักษะ ติดตามการมีงานทำรายบุคคล
ส่วนผู้ที่ต้องการฝึกทักษะเพิ่มกรมพัฒนาฝีมือแรงงานจะบูรณาการกับสถานศึกษาเพื่อเพิ่มทักษะ (Up skill/Re-skill) แก่บัณฑิตที่แจ้งความประสงค์ฝึกอาชีพเพื่อให้ตรงกับความต้องการของสถานประกอบการ เพื่อให้สามารถมีงานทำประกอบอาชีพอิสระหรือรับงานไปทำที่บ้านได้
โดยศูนย์ตรีเทพทั้ง 11 แห่งทั่วประเทศ จะเป็นการบูรณาการร่วมกันตามแนวทางประชารัฐเพื่อให้คนไทยมีงานทำ อาทิ คณะกรรมการร่วมภาค เอกชน 3 สถาบัน (กกร.) สถานประกอบการในจังหวัดจะส่งข้อมูลความต้องการทักษะ รวมทั้งจำนวนผู้ฝึกงานที่สถานประกอบการมีความประสงค์ ความร่วมมือของสถานศึกษาในการสำรวจข้อมูลผู้กำลังจะจบการศึกษา เพื่อส่งต่อข้อมูลการฝึกงานในสถานประกอบการ และกระทรวงแรงงาน โดยสำนักงานประกันสังคมจะสนับสนุนสิทธิประโยชน์ของผู้ประกันตนกรณีเลิกจ้างในการเพิ่มทักษะ (Up skill/Re-skill) แก่ภาครัฐและเอกชนอีกด้วย
ที่มา: สำนักข่าวไทย, 27/6/2561
กอช.เร่งถกรื้อกม. ขยายส่งเงินสะสม หวังดูดสมาชิกเพิ่ม
นางสาวจารุลักษณ์ เรืองสุวรรณ เลขาธิการ กอช. เปิดเผยว่า ขณะนี้อยู่ระหว่าง การหารือเพื่อทบทวนการแก้ไขกฎหมายของ กอช. เรื่องการขยายอัตราการจ่ายเงินสะสมของรัฐบาล จากปัจจุบันสูงสุดอยู่ที่ 1.32 หมื่น บาทต่อปี และจ่ายสมทบของสมาชิก รวมถึงการขยาย ช่วงอายุในการสมัครสมาชิก เป็นเริ่มต้นตั้งแต่ 7 ปี จนถึงอายุ 63 ปี จากเดิมอยู่ที่ 15 ปี ถึง 60 ปี เพื่อให้มีแรงจูง ใจในการออมเพิ่มมากขึ้น โดยคาดว่าจะได้ข้อสรุปทั้ง หมดภายในปีนี้
ทั้งนี้ ปัจจุบัน กอช.มีสมาชิกทั้งสิ้น 5.64 แสนคน โดยสมาชิกอายุตั้งแต่ 15-30 ปี สัดส่วน 6.1%, สมาชิกอายุ 30-50 ปี สัดส่วน 42.3%, สมาชิกอายุ 50-60 ปี สัดส่วน 37.1% และสมาชิกอายุตั้ง แต่ 60 ปีขึ้นไป คิดเป็นสัด ส่วน 14.6%
นายวิสุทธิ์ ศรีสุพรรณ รมช.การคลัง เปิดเผยว่า ในปีนี้ยังตั้งเป้าหมายสมาชิกกอง ทุนการออมแห่งชาติ (กอช.) ให้ได้ 1 ล้านคน จากปัจจุบันมีจำนวนสมาชิกอยู่ที่ 5.64 แสนคน ซึ่งที่ผ่านมา กอช.ได้พยายามเพิ่มช่องทางการเข้าถึงการออมของสมาชิกให้ได้รับความสะดวกสบายมากขึ้น โดยเป้าหมายสำคัญ ของรัฐบาลชุดนี้คือการสนับ สนุนพฤติกรรมและวินัยการ ออมตั้งแต่วัยเด็ก เพื่อให้มีรายได้เพียงพอรองรับการดำรงชีวิตในช่วงเกษียณ และ เพื่อเป็นการรองรับสังคมผู้สูง อายุ ที่ปัจจุบันประชากรมี อายุเพิ่มสูงขึ้น
โดยปัจจุบันมีแรงงานทั้งสิ้น 43 ล้านคน เป็นแรง งานในระบบประมาณ 16 ล้าน คน และเป็นแรงงานนอกระบบประมาณ 27 ล้านคน ซึ่งต้องมาพิจารณาว่าจะดำ เนินการอย่างไรเพื่อให้แรง งานที่อยู่นอกระบบเหล่านี้เข้ามาอยู่ในระบบ และเป็นสมาชิกของ กอช.มากที่สุด
"ปีนี้ตั้งเป้าหมายให้มีสมาชิก กอช. ที่ 1 ล้านคน แต่ถ้าท้ายที่สุดจะไม่เป็นไปตามเป้าหมายก็ไม่เป็นอะไร เพียงแต่ให้มีอัตราสมาชิกเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องก็พอ โดยเมื่อวันที่ 26 มิ.ย.ที่ผ่านมา กอช.ได้มีการเปิดตัวแอปพลิเคชันเพื่อให้ผู้สนใจสมัครเป็นสมาชิกกองทุนสามารถดำเนินการด้วยตัวเองทุกขั้นตอน ทั้งการตรวจสอบสิทธิ กรอกข้อมูลรายละเอียดของการสมัคร พร้อมส่งเงินสะสมงวดแรก"นายวิสุทธิ์กล่าว
ที่มา: หนังสือพิมพ์ไทยโพสต์, 27/6/2561
สนร.โซล ย้ำทำงานเกาหลีระบบ EPS ไม่ต้องเสี่ยงถูกจับส่งกลับ
จากกรณีกระทรวงยุติธรรมสาธารณรัฐเกาหลี มีมาตรการจัดเจ้าหน้าที่ออกระดมจับกุมชาวต่างชาติที่ลักลอบทำงานแบบผิดกฎหมายอย่างเข้มงวดในระยะนี้ เนื่องจากพบผู้พำนักเกินเวลาอนุญาต เป็นจำนวนสูงมากกว่า 300,000 คน ในจำนวนนี้เป็นชาวไทยเกินกว่า 100,000 คน ทำให้ต้องเข้มงวดกวดขันอย่างเข้มข้น ชาวต่างชาติผู้มีพฤติกรรมลักลอบทำงานในเกาหลีใต้ ต้องหลบหนีและหลบซ่อนตัว ดังปรากฎเป็นคลิปที่มีคนไทยหลบหนีการจับกุมที่ถูกเผยแพร่ออกไปในสื่อออนไลน์อย่างกว้างขวาง ทั้งนี้ ผู้ถูกจับส่งกลับจะต้องจ่ายค่าเครื่องบินเองเป็นเงินราว 600,000 วอน และถูกขึ้นบัญชีห้ามเข้าสาธารณรัฐเกาหลี ไม่ต่ำกว่า 5 ปี
สนร.โซล ในนามของกระทรวงแรงงาน ประเทศไทย ขอเน้นย้ำว่า หากต้องการเข้ามาทำงานอย่างถูกกฎหมาย ได้รับการปกป้องคุ้มครองสิทธิประโยชน์ต่าง ๆ เท่าเทียมกับคนท้องถิ่น
ไม่ต้องกังวลถูกจับกุมส่งกลับ สามารถติดต่อสำนักงานจัดหางานจังหวัดได้ทุกจังหวัด Smart Job Center ทั่วประเทศ หรือติดตามข้อมูลได้ที่เว็บไซต์ https://www.doe.go.th/overseas
ที่มา: สำนักงานแรงงานไทย ณ กรุงโซล Office of Thai Labour in Seoul, 25/6/2561
คสรท. เผยแรงงานมีชีวิตลำบากหนี้มาก ขณะนายจ้างลดโอทีอ้างขาดทุน
นายชาลี ลอยสูง รองประธานคณะกรรมการสมานฉันท์แรงงานไทย (คสรท.) เปิดเผยกับสำนักข่าว ไอ.เอ็น.เอ็น. ว่า ความเป็นอยู่ของผู้ใช้แรงงานในขณะนี้ยังมีความลำบากอยู่ แม้ว่าจะมีการปรับขึ้นค่าแรงขั้นต่ำไปแล้วก็ตาม เนื่องจากนายจ้างลดการทำงานล่วงเวลาลง ขณะที่บางส่วน ผู้ประกอบการก็ไม่มีการปรับขึ้นค่าแรงขั้นต่ำ โดยอ้างว่าขาดทุน ซึ่งผู้ใช้แรงงานก็ต้องยอมรับสภาพไป เนื่องจากกลัวตกงาน ไม่มีงานทำ ทั้งนี้ในปัจจุบันแรงงานกว่าร้อยละ 90 มีภาระหนี้สินจึงอยากให้รัฐบาลช่วยเหลือโดยที่ไม่ต้องเพิ่มค่าแรงขั้นต่ำ เพราะหากมีการขึ้นค่าแรง ก็จะส่งผลให้ค่าครองชีพสูงขึ้นด้วยเช่นกัน ดังนั้น ส่วนตัวอยากให้ภาครัฐจัดตั้งธนาคารเพื่อผู้ใช้แรงงานขึ้นมา เพื่อช่วยเหลือภาคแรงงานเป็นการเฉพาะ
คสรท.เดินรณรงค์ส่งเสียงถึงภาครัฐ องค์การระหว่างประเทศกรณีละเมิดสิทธิแรงงาน พร้อมเชิญทุกภาคส่วนร่วมถกแถลงแต่ไร้เงาเจ้าหน้าที่รัฐไทย ILO พร้อมรับช่วยแก้ปัญหาโดยใช้กลไกไตรภาคี
วันที่ 24 มิ.ย. 2561 คณะกรรมการสมานฉันท์แรงงานไทย (คสรท.) และสมาพันธ์แรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์(สรส.) ร่วมกับองค์กรแรงงานกลุ่มต่างๆ ได้เดินรณรงค์ เรื่องสถานการณ์ละเมิดสิทธิแรงงานในประเทศไทย “สิทธิแรงงานคือสิทธิมนุษยชน การละเมิดสิทธิแรงงาน คือการละเมิดสิทธิมนุษยชน”
นายสาวิทย์ แก้วหวาน ประธานคณะกรรมการสมานฉันท์แรงงานไทยกล่าวว่า ในชีวิตการทำงานของคนงานแม้ว่ากระบวนการผลิต หรือรูปแบบทางเศรษฐกิจจะเปลี่ยนแปลงไป แต่การกดขี่ขูดรีดยังคงรูปแบบเดิม แต่มีความซับซ้อน และรุนแรงมากขึ้น ในขณะที่กลไกกฎหมาย และนโยบายของรัฐที่ปฏิบัติไม่เอื้อผลประโยชน์ให้กับคนงาน ทั้งแรงงานในระบบ ทั้งลูกจ้างภาครัฐ รัฐวิสาหกิจและเอกชน แรงงานนอกระบบ ภาคเกษตรกรรม และบริการ รวมถึงแรงงานข้ามชาติ ที่ยังคงมีการจ้างงานที่ไม่เป็นธรรม หรือการคุ้มครองสิทธิของแรงงาน เช่น แรงงานในระบบ ประกอบด้วย
1.ลูกจ้างภาครัฐ การจ้างงานที่ไม่มั่นคง การจ้างงานระยะสั้นตามสัญญาจ้างชั่วคราว จ้างงานนอกงบประมาณ ค่าจ้างต่ำกว่ากฎหมายที่เป็นมาตรฐานขั้นต่ำ ไม่มีสวัสดิการ และไม่อยู่ภายใต้กฎหมายคุ้มครองแรงงาน ซึ่งการจ้างงานดังกล่าวมีการจ้างงานอยู่ทุกหน่วยงานของรัฐทุกกระทรวงไม่ว่าจะเป็นกระทรวงสาธารณสุข กระทรวงแรงงาน ฯลฯ
2.ลูกจ้างรัฐวิสาหกิจ แม้ว่ากฎหมายให้โอกาสสามารถรวมตัวกันจัดตั้งองค์การขึ้นมา เพื่อปกป้องคุ้มครองได้ แต่ก็ยังถูกแทรกแซงจากรัฐ เช่นการเจรจาต่อรองด้านสวัสดิการ แม้ว่าระบบทวิภาคจะเจรจาตกลงกันได้ แต่ว่า ต้องไปสู่ระบบการอนุมัติเป็นมติในคณะรัฐมนตรี การเปลี่ยนแปลงสิทธิประโยชน์รัฐยังเป็นผู้กำหนด การที่ถูกแบ่งแยกออกจากลูกจ้างเอกชนการใช้กฎหมายคนละกฎหมายทำให้ขบวนแรงงานอ่อนแอ แต่ว่าก็มีความพยายามที่จะทำงานร่วมกันอยู่ตลอด
3.ประเด็นปัญหาลูกจ้างภาคเอกชน แม้ว่ากฎหมายจะให้โอกาสสามารถรวมตัวกันจัดตั้งองค์กรขึ้นมาเพื่อปกป้องคุ้มครองสิทธิได้แต่ปัญหา มีมากมายจากฎหมายที่มีอยู่หลายฉบับ การบังคับใช้ หรือกลไกปฏิบัติกลับไม่เอื้อต่อการคุ้มครอง และทำให้คนงานเข้าถึงสิทธิ สวัสดิการขั้นพื้นฐานได้ เช่นค่าจ้างขั้นต่ำไม่สามารถเลี้ยงดูครอบครัวได้ ยังคงเป็นค่าจ้างขั้นต่ำ การรวมตัวเพื่อเจรจาต่อรอง การยื่นข้อเรียกร้องไม่ได้รับการคุ้มครองดูแล เมื่อเจรจาเสร็จสิ้นแล้วนายจ้างยังไม่ปฏิบัติตามข้อตกลง ซึ่งถือว่าเป็นการละเมิดกฎหมาย ผู้นำแรงงาน หรือสมาชิกสหภาพแรงงานถูกกลั่นแกล้ง ไม่ให้เข้าทำงาน และถูกเลิกจ้างอย่างไม่เป็นธรรม โดยที่รัฐไม่ได้บังคับใช้กฎหมาย ปล่อยให้แรงงานนำเรื่องเข้าสู่กระบวนการศาล ซึ่งกระบวนการยุติธรรมดังกล่าวต้องใช้เวลายาวนาน
เรื่องต่อมา คือประเด็นแรงงานนอกระบบ ซึ่งประกอบด้วย ภาคเกษตรกรรม ซึ่งไม่มีกฎหมายแรงงานฉบับไหนสามารถปกป้องคุ้มครองแรงงานได้ ซึ่งมีปัญหาเรื่องความไม่ปลอดภัยในอาชีพที่เสี่ยงกับภัยพิบัติทางธรรมชาติ ผลผลิตตกต่ำ ไม่ได้ราคา ชีวิตไม่มีหลักประกัน ขณะนี้มีการเรียกร้องเรื่องให้ยกเลิกการใช้สารเคมีในกระบวนการเกษตร ด้วยเกิดปัญหาด้านสุขภาพ ประสบปัญหาอันตรายจากสารเคมีมากมาย ซึ่งทั้งต่อแรงงานภาคเกษตร และตัวเกษตรกรเองด้วยเกิดโรคระบาดต่างๆทั้งคน สัตว์ และพันธ์พืชเป็นต้น
ประเด็นแรงงานนอกระบบในกรณีผู้รับงานไปทำที่บ้าน คนทำงานบ้าน ภาคบริการต่างๆ ที่เป็นผู้ประกอบอาชีพอิสระ ค้าขาย หาบเร่ แผงลอย มอเตอร์ไซค์รับจ้าง แท็กซี่ ซึ่งถือว่าเป็นแรงงานกลุ่มใหญ่ที่ไม่ได้รับการดูแลคุ้มครองจากอาชีพที่ไม่มั่นคงทางรายได้ ความปลอดภัยในการทำงานด้วยต้องแบกรับความเสียงต่างๆเองทั้งหมด แม้ว่า บางอาชีพจะมีกฎหมายคุ้มครองแต่ว่าก็ไม่ได้มีการปฏิบัติ หรือคุ้มครองได้จริง
ประเด็นต่อมา กรณีปัญหาแรงงานข้ามชาติที่ปัจจุบันมีอยู่ราว 4 ล้านคน และมีแนวโน้มสูงขึ้นตามความต้องการของนายจ้างที่อ้างว่า ขาดแคลนแรงงาน และต้องการที่จะใช้แรงงานข้ามชาติเพิ่มมากขึ้น พร้อมทั้งขอให้รัฐประกาศให้แรงงานข้ามชาติสามารถทำงานในอาชีพสงวน ที่รัฐเคยกำหนดไว้ราว 39 อาชีพนั้นได้ ด้วยประชากรที่เป็นคนไทยกำลังเข้าสู่สังคมสูงอายุ ซึ่งการจ้างงานแรงงานข้ามชาติภายใต้ความต้องการมากขึ้น พร้อมทั้งแรงงานเหล่านั้นก็ถูกกดขี่เอารัดเอาเปรียบมากอย่างต่อเนื่อง แรงงานข้ามชาติยังไม่สามารรถรวมกลุ่มกันเพื่อเรียกร้องให้มีค่าจ้าง สวัสดิการที่ดีได้ แม้ว่าบางพื้นที่จะมีการลุกขึ้นมาเรียกร้องบ้างว่ายังไม่ได้รับค่าจ้างขั้นต่ำตามกฎหมาย เรื่องการยึดเอกสารต่างๆของแรงงานข้ามชาตินายจ้างยังคงกระทำอยู่เช่นเดิม แม้รัฐจะมีการจัดการขึ้นทะเบียนเพื่อให้แรงงานข้ามชาติเข้าสู่กระบวนการกฎหมาย ซึ่งภายในวันที่ 30 มิถุนายนนี้จะสิ้นสุดการผ่อนผันแล้ว ซึ่งยังมีแรงงานที่ยังไม่ผ่านการพิสูจน์สัญชาติอีกจำนวนหนึ่ง ที่เมือถึงกำหนดระยะเวลาการผ่อนผันรัฐก็จะปราบปรามจับกุมแรงงานข้ามชาติ และลงโทษนายจ้างที่ให้ทำงาน และพักอาศัย อย่างไรก็ตามตอนนี้ก็มีเสียงของนายจ้างที่ออกมาส่งเสียงให้มีการผ่อนผันไปก่อนอีกเช่นเดิม
จากที่ตนกล่าวมาเป็นเพียงภาพรวมของปัญหาการละเมิดสิทธิแรงงานแต่ละสาขา อาชีพ ซึ่งในรายละเอียดการลงพื้นที่ไปสัมผัสปัญหาจริงเพื่อทำความเข้าใจคนงานมากขึ้น ยิ่งในอนาคตตามที่รัฐบาลประกาศยุทธศาสตร์ชาติ ว่าจะนำพาประเทศไปสู่ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีทั้งการผลิตภาคเกษตร ภาคอุตสาหกรรม การบริการ แต่หากมองภาพที่เกิดขึ้นคือ อนาคตคนงานต้องเผชิญต่อภาวะเสี่ยงต่อการตกงาน ความเสียงหายต่อคนงานย่อมตามมาซึ่งรัฐไม่ได้กล่าวถึง หรือว่าจะวางมาตรการอย่างไรเพื่อรองรับผลกระทบในอนาคต ซึ่งอาจมีคนตกงานจำนวนมากเมื่อมีการนำเทคโนโลยีมาแทนคนในการทำงาน
แม้ว่า รัฐบาลจะปลอบใจคนทำงานว่าการพัฒนาประเทศภายใต้นโยบายไทยแลนด์ 4.0 จะใช้ หลักสิทธิมนุษยชน เป็นวาระแห่งชาติ ในการปกป้อง คุ้มครองสิทธิคนทำงาน และประชาชน แต่อย่างไรก็ยังไม่มีมาตรการใดๆ และยังขาดการมีส่วนร่วมในการตัดสินใจทางนโยบายที่จะเห็น คนงานขบวนการแรงงาน และภาคประชาชน
การจัดงานครั้งนี้ จึงเป็นการรณรงค์เพื่อให้ทุกภาคส่วน รวมถึงรัฐบาลตระหนักถึงเรื่องสิทธิมนุษยชน และการปกป้องคุ้มครองสิทธิให้เป็นไปตามหลักการทางสากลโดยไม่เลือกปฏิบัติ และรัฐบาลจะต้องคำนึงถึงสิทธิ เสรีภาพของประชาชนโดยไม่ปิดกั้น และต้องสนับสนุน ส่งเสริม ให้ผู้ใช้แรงงาน ข้าราชการ ลูกจ้างภาครัฐ ประชาชน สามารถรวมตัวกันเพื่อปกป้องคุ้มครองสิทธิเป็นเรื่องสำคัญ และจำเป็นปฏิญญาสากลในการปกป้องคุ้มครองสิทธิรัฐบาลต้องแสดงออกถึงความจริงใจในการยัดถือปฏิบัติ และคสรท. ขอเรียกร้องให้ ข้าราชการ ลูกจ้างภาครัฐ ผู้ใช้แรงงาน ประชาชน ในทุกสาขาอาชีพได้ตระหนักถึงสิทธิแห่งตน รวมพลังกันจัดตั้งองค์กรของตนเองขึ้นมาเพื่อพิทักษ์รักษาไว้ซึ่งสิทธิแห่งตน เพื่อศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์สืบต่อไป และคสรท.จะติดตามตรวจสอบการละเมิดสิทธิแรงงาน สิทธิมนุษยชน และนำเสนอต่อภาคีต่างๆทั้งในระดับประเทศและระหว่างประเทศ ด้วย
ซึ่งในเวที ถกแถลง “การละเมิดสิทธิแรงงาน”ครั้งนี้ ผู้เข้าร่วมประกอบด้วย นายสาวิทย์ แก้วหวาน ประธานคณะกรรมการสมานฉันท์แรงงานไทย (คสรท.),นายชาลี ลอยสูง รองประธานคสรท., นางธนัญภรณ์ สมบรม ตัวแทนกลุ่มผู้ใช้แรงงานสระบุรี และใกล้เคียง, นายสมพร ขวัญเนตร รองประธานคสรท., นางสาวสุรินทร์ พิมพา ตัวแทนกลุ่มสหภาพแรงงานอ้อมน้อย-อ้อมใหญ่ , ตัวแทนสหภาพแรงงานมิตซูบิชิ ประเทศไทย,ตัวแทนแรงงานนอกระบบ,และผู้แทนองค์การแรงงานระหว่างประเทศ(ILO)
ซึ่งสรุปเรื่องการละเมิดสิทธิแรงงานได้ดังนี้ ประเด็นกรณีที่ลูกจ้างถูกนายจ้างปิดงาน หลังจากที่มีการยื่นข้อเรียกร้องเพื่อปรับสภาพการจ้างตามพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ และชุมนุมเจรจากันจนยุติทำข้อตกลงกันได้ระหว่างนายจ้าง และสหภาพแรงงานฯแล้ว ซึ่งขณะนี้นายจ้างได้รับลูกจ้างส่วนหนึ่งกลับเข้าทำงาน แต่ว่ายังเหลือสหภาพแรงงาน พร้อมสมาชิกอีกกว่า 400 คนที่นายจ้างยังไม่เรียกให้กลับเข้าทำงาน ซึ่งส่วนนี้ยังคงได้รับความเดือดร้อนอยู่ในการดำเนินชีวิตแต่ละวัน ต้องการที่จะให้องค์การแรงงานระหว่างประเทศ(ILO) ช่วยไกล่เกลี่ยเพื่อให้นายจ้างรับลูกจ้างทั้งหมดที่เหลือกลับเข้าทำงาน ซึ่งขณะนี้ในส่วนของสหภาพแรงงานเองก็มีปัญหาสมาชิกลดลงเหลือไม่เกินกึ่งหนึ่ง โดยจะมีการเรียกประชุมใหญ่กัน เนื่องจากลูกจ้างส่วนหนึ่งที่เข้าไปทำงานก็มีการตั้งสหภาพแรงงานขึ้นมาภายใน
สภาพปัญหาหลังจากที่มีการเจรจาตกลงกันได้นายจ้างได้ให้ลูกจ้างรายงานตัวเพื่อเข้าทำงาน แต่มีส่วนหนึ่งกว่า 400 คนที่ไม่ได้กลับเข้าทำงาน นายจ้างได้เข้าสู่กระบวนการฝึกอบรม โดยแบ่งเป็น 6 กลุ่ม ใช้ระยะเวลา 2 เดือน เพื่อทำกิจกรรมCHR ทำความสะอาดวัด โรงเรียน บ้านพักคนชรา ทำแนวกันไฟ จากนั้นก็อบรมในค่ายทหาร จังหวัดสระบุรี และค่ายทหารที่ราชบุรี แม้ว่าจะทำกิจกรรมตามที่นายจ้างจัดให้แล้ว ก็ยังไม่ได้เรียกให้ลูกจ้างกลับเข้าทำงาน ซึ่งได้มีข่าวมาอีกว่า หากลูกจ้างใน 400 กว่าคนต้องการที่จะกลับเข้าทำงานต้องไม่ร่วมเคลื่อนไหว หรือทำกิจกรรมกับสหภาพแรงงาน ซึ่งหากเป็นเช่นนี้ถือว่า เป็นการละเมิด แทรกแซงการทำงานของสหภาพแรงงาน ซึ่งขณะนี้สมาชิกสหภาพแรงงานค้อนข้างกลัวไม่ได้กลับเข้าทำงานจึงไม่กล้าเข้าร่วมกิจกรรมของสหภาพแรงงาน อีกประเด็นคือหากสมาชิกฯต้องการกลับเข้าทำงานต้องเขียนจดหมายถึงบริษัทฯก่อนแล้วจึงจะเรียกเข้าไปสัมภาษณ์ ซึ่งสหภาพแรงงานเองก็ทำหนังสือเพื่อสอบถามเรื่องกลับเข้าทำงาน ซึ่งทางสหภาพแรงงานได้ร้องต่อคณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์แล้ว
ประเด็นต่อมาสถานการละเมิดสิทธิแรงงานกลุ่มผู้ใช้แรงงานสระบุรี และใกล้เคียง นั้นสภาพปัญหาการจ้างงานระยะสั้น เป็นการจ้างงานชั่วคราวสัญญาจ้างปีต่อปีทำให้เกิดปัญหาเรื่องความไม่มั่นคงในการทำงาน ปัญหาการรวมตัวเจรจาต่อรอง ซึ่งแรงงานสัญญาจ้างไม่สามารถที่จะเข้าเป็นสมาชิดสหภาพแรงงานได้ หากมาร่วมกิจกรรมสหภาพแรงงานก็อาจไม่ได้รับการต่อสัญญาจ้างให้ อีกประเด็นคือ หากคนงานตั้งครรภ์ จะไม่ถูกต่อสัญญาจ้างเช่นกัน หรือบางรายเมื่อคลอดบุตรจะลาได้เพียงหนึ่งเดือน ไม่สามารถใช้สิทธิลาคลอด 90 วันได้ การลาป่วย พักร้อน ลากิจจะถูกนำมาพิจารณาเรื่องการต่อสัญญาจ้างด้วยทำให้คนงานส่วนนี้ถูกเอาเปรียบและละเมิดสิทธิอย่างมาก เรื่องความไม่มั่นคงในการมีงานทำ และการรวมตัวเป็นสหภาพแรงงาน ซึ่งการจ้างงานแบบสหภาพแรงงานจะอ่อนแอลง เพราะไม่สามารถมีสมาชิกเพิ่มได้เลย
กรณีแรงงานนอกระบบ ด้วยปัญหาความไม่เท่าเทียมด้านสิทธิแรงงาน แม้แรงงานนอกระบบจะเป็นคนกลุ่มใหญ่ แต่ว่าไม่มีกฎหมายคุ้มครองด้านแรงงานนอกระบบ แม้ว่ามีกฎหมายคุ้มครองคนทำงานบ้าน หรือผู้รับงานไปทำที่บ้านก็ยังขาดเรื่องการบังคับใช้ทำให้แรงงานนอกระบบ ยังไม่ได้รับการดูแล ด้านสิทธิสวัสดิการ ค่าจ้างที่เป็นธรรม และการรวมตัวเพื่อเจรจาต่อรอง หากรวมตัวนายจ้างก็จะไม่ส่งงานให้ทำ ส่งผลให้เกิดความไม่มั่นคงด้านอาชีพอีก
การละเมิดสิทธิแรงงานในภาคตะวันออกนั้นนายจ้างมีแนวคิดเรื่องลดต้นทุนการผลิต ซึ่งนั้นคือการลดคน กดค่าจ้างให้ต่ำแต่นายจ้างไม่เคยบอกว่ากระทบเรื่องผลประกอบการที่ต่ำลง ซึ่งค่าจ้างที่เป็นเพียงค่าจ้างที่ตำไม่เพียงพอต่อการดำรงชีวิตของคนงานและครอบครัว นายจ้างบางแห่งผิดข้อตกลงเรื่องสภาพการจ้างที่ตกลงโดยไม่ได้สนใจเรื่องผิดกฎหมาย การละเมิดสิทธิการมอบหมายงานล่วงเวลาที่นายจ้างได้ใช้วิธีการให้เซ็นต์ชื่อรับการทำงานล่วงเวลาไว้ล่วงหน้า หากจะไม่สามารถทำได้ คนงานต้องหาคนอื่นมาทำงานแทน ซึ่งการกระทำเช่นนี้เป็นการบีบบังคับให้ลูกจ้างต้องรับข้อเสนอของนายจ้าง แม้ว่ามีกฎหมายคุ้มครองแต่ว่ากระบวนการที่จะเข้าถึงสิทธินั้นยากมาก หากยื่นข้อเรียกร้อง รวมตัวกันเจรจาตกลงกันไม่ได้ก็พิพาทแรงงาน และนายจ้างปิดงาน
กรณีการละเมิดสิทธิแรงงานในพื้นที่นครปฐม-สมุทรสาคร มีหลายประเด็นกรณีแรกนายจ้างไม่ยอมแจ้งลูกจ้างว่า บริษัทล้มละลาย โดยปล่อยให้ลูกจ้างทำงานตามปกติแต่ไม่จ่ายค่าจ้างให้ แต่ก็ไม่เลิกจ้างจนกระทั้งนายจ้างถูกยึดทรัพย์ขายทอดตลาดโดยเจ้าหน้าที่พิทักษ์ทรัพย์ ลูกจ้างจึงได้ร้องต่อเจ้าหน้าที่แรงงานเพื่อให้เข้ามาดูแล ซึ่งเมื่อมีการฟ้องศาลชนะก็ไม่มีทรัพย์สินให้ยึดเพื่อขายทอดตลาด ซึ่งประเด็นนี้ยังมีกรณีคนงานผลิตลำโพง ซึ่งอันนี้นายจ้างก็ไม่จ่ายค่าจ้างค้างจ่าย และค่าชดเชย แจ้งเพียงให้ฟ้องศาลหากต้องการสิทธิ
ประเด็นที่สอง กรณีการกำหนดการเกษียณอายุ 60 ปี ของกฎหมายคุ้มครองแรงงานที่มีการประกาศบังคับใช้ ซึ่งแรงงานในหลายสถานประกอบการไม่มีการกำหนดเรื่องการเกษียณอายุ เมื่อกฎหมายออกมาก็มีการแสดงเจตนาที่จะขอเกษียณอายุ แต่ว่าโรงงานทอถุงเท้ากับอ้างว่าไม่มีเงินจ่ายชดเชยการเกษียณอายุให้ ทางสหภาพแรงงานจึงไปร้องคณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์ (กรอก คร. 7) เพื่อให้เจ้าหน้าที่รัฐมีคำสั่งให้นายจ้างปฏิบัติตามกฎหมายภายใน 90 วัน ซึ่งล่าสุดนายจ้างได้ยินยอมจ่ายให้กับลูกจ้างที่ต้องการเกษียณอายุ จำนวน 18 คน ซึ่งในโรงงานดังกว่า มีคนงานที่สูงอายุทำงานอยู่ตั้งแต่อายุ 60-77 ปีด้วย
ปัญหาการเลิกจ้างผู้นำแรงงาน กรณีนางอภันตรี เจริญศักดิ์ ซึ่งเป็นลูกจ้างบริษัทยัม เรสเตอรองท์ อินเตอร์เนชั่นเเนล (ประเทศไทย) จำกัด ในตำแหน่งประธานสหภาพแรงงานผู้ปรุงอาหารและให้บริการ ที่ถูกนายจ้างเลิกจ้างตั้งแต่การก่อตั้งสหภาพแรงงานครั้งแรก โดยการขับเคลื่อนช่วงแรกมีหลายคนโดยมีการร้องต่อคณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์(ครส.) กรณีการละเมิดสิทธิแรงงาน การเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม ทางครส.ได้มีมติให้นายจ้างรับกลับเข้าทำงาน ซึ่งนายจ้างได้รับกลุ่มเข้าไปแต่ว่าไม่ได้มอบหมายงาน และนายจ้างได้ฟ้องศาลให้ยกเลิกคำสั่ง แต่ศาลก็ตัดสินยืนตามครส.ให้รับกลับเข้าทำงาน ซึ่งนายจ้างก็ยื่นฟ้องแต่ศาลฎีกา ปัญหายังไม่จบหลังจากนายจ้างได้มีการขายเฟรนไชส์ร้านอาหารฟาสฟู้ดส์ ให้กับบริษัท คิวเอสเอ ไทยเบฟ และบริษัทยัม เรสเตอรองท์ฯอ้างว่าผู้ซื้อไม่มีตำแหน่งที่จะรองรับนางอภันตรี จึงต้องขอเลิกจ้างเป็นครั้งที่ 2 ซึ่งได้มีการนำประเด็นดังกล่าวร้องต่อครส.อีกครั้งซึ่งทางครส.ได้มีมติให้นายจ้างรับนางอภันตรีกลับเข้าทำงานอีก ซึ่งก็มีการนำเรื่องขึ้นสู่ศาล และมีการนัดเพื่อไกล่เกลี่ยอีกครั้ง ประเด็นคือ เป็นการละเมิดสิทธิแรงงาน และการก่อตั้งสหภาพแรงงานหรือไม่ ในประเด็นดังกล่าว
จากนั้นทางคสรท. ได้ยื่นหนังสือต่อตัวแทนองค์การแรงงานระหว่างประเทศ (ILO) ถึงประเด็นการละเมิดสิทธิแรงงาน ทั้งนี้คณะกรรมการสมานฉันท์แรงงานไทยได้เชิญตัวแทนภาครัฐมารับข้อเสนอด้วยแต่ว่าไม่มีตัวแทนมาร่วม หรือรับหนังสือดังกล่าว โดยผู้แทนILO ได้กล่าวถึงประเด็นปัญหา และพร้อมที่จะรับเป็นคนกลางในการที่จะพูดคุย ซึ่งในส่วนของผู้ใช้แรงงานสามารถเสนอประเด็นร้องเรียนผ่านองค์กรสหภาพแรงงาน สมาพันธ์แรงงานรัฐวิสาหกิจ(สรส.) เพื่อร้องเรียน ประเด็นปัญหามายังILO เพื่อการให้ความช่วยเหลือ รณรงค์ ให้เกิดการเจรจาร่วมกัน ด้วยระบบไตรภาคี รัฐ นายจ้าง และตัวแทนลูกจ้าง
ที่มา: Voice Labour, 24/6/2561
ศาลอุทธรณ์ยกฟ้อง 'มือปืนป๊อบคอร์น'ชี้ไม่มีพยานยืนยัน
นักเศรษฐศาสตร์ชี้ไทยเกิดวิกฤตแบบปี 2540 ยาก แต่ให้ระวังความเสี่ยงเรื่องฐานะการคลัง
หมายเหตุประเพทไทย #216 นครรัฐ/รัฐชาติ LGBT
เพื่อหลบหนีการเลือกปฏิบัติต่อชุมชนผู้มีความหลากหลายทางเพศ จึงจำเป็นต้องมีรัฐของ LGBT หรือไม่ หมายเหตุประเพทไทยสัปดาห์นี้ ชวนทำความรู้จัก Gay Homeland Foundation องค์กรที่ทำงานข้ามประเทศ เริ่มต้นจากการช่วยเหลือ LGBT ที่ต้องการลี้ภัยออกจากรัฐหรือดินแดนที่เลือกปฏิบัติ กดขี่ข่มเหง LGBT ไปจนถึงข้อเสนอสถาปนาเกาะแห่งหนึ่งในออสเตรเลียแยกไปตั้งประเทศของ LGBT
อย่างไรก็ตามมีคำถามใหญ่เกิดขึ้นว่าการหนีไปตั้งรัฐตั้งประเทศจะเป็นทางออกจากการเลือกปฏิบัติและการข่มเหง LGBT หรือควรผลักดันให้รัฐบาลของแต่ละประเทศเคารพความหลากหลายทางเพศและมีมาตรการขจัดการเลือกปฏิบัติต่างๆ อย่างในกรณีที่เกิดขึ้นในประเทศตะวันตก ทั้งหมดนี้ติดตามได้ในรายการ หมายเหตุประเพทไทย "นครรัฐ/รัฐชาติ LGBT"พบกับ ชานันท์ ยอดหงษ์ และประภาภูมิ เอี่ยมสม
ติดตามรายการหมายเหตุประเพทไทยย้อนหลังที่
เฟสบุ๊ค https://www.facebook.com/maihetpraphetthai
หรือลงทะเบียนรับชมที่ https://youtube.com/prachatai
เพื่อไทยจี้ กกต.สอบกลุ่มการเมืองดูดอดีต ส.ส. ชี้ผิดชัดเจน
ผู้ว่าฯ เชียงรายแถลงยืนยันไม่มีรับบริจาคเงินช่วยปฏิบัติการถ้ำหลวง
3 องค์กรสิทธิฯสากล แถลงยินดีที่ดีเอสไอ รับคดี 'บิลลี่'เป็นคดีพิเศษ ย้ำต้องทำมากกว่านี้
คณะกรรมการนักนิติศาสตร์สากล แอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนล และฮิวแมนไรท์วอทช์ ชี้การรับคดีของ 'บิลลี่'ที่มีลักษณะเป็นการบังคับให้สูญหายเป็นคดีพิเศษเป็นเรื่องที่น่ายินดี แต่ทางการไทยยังคงต้องดำเนินการมากกว่านี้
แฟ้มภาพ kim chaisukprasert
2 ก.ค.2561 คณะกรรมการนักนิติศาสตร์สากล (International Commission of Jurists หรือ ไอซีเจ) แอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนล (Amnesty International) และฮิวแมนไรท์วอทช์ (Human Rights Watch) ได้ออกแถลงการณ์การร่วมเพื่
แถลงการณ์ร่วมยังเรียกร้องให้เจ้าหน้
แถลงการณ์การร่วมระบุว่า การสืบสวนสอบสวนกรณีที่นักกิจกรรมชาวกะเหรี่ยง พอละจี “บิลลี่” รักจงเจริญ ถูกกระทำการในลักษณะเช่นการบังคับให้สูญหายนั้นควรมุ่งเน้นไปที่การค้นหาชะตากรรมหรือที่อยู่ของบิลลี่ การดำเนินการบอกกล่าวถึงความก้าวหน้าของการสืบสวนสอบสวนต่อครอบครัวของบิลลี่โดยครบถ้วนอย่างต่อเนื่อง และการนำตัวผู้ที่ต้องรับผิดชอบต่อเหตุการณ์ดังกล่าว ไม่ว่าจะมีตำแหน่งหรือสถานะเช่นใด มาดำเนินคดีอย่างเป็นธรรมอย่างแท้จริง คณะกรรมการนักนิติศาสตร์สากล (International Commission of Jurists หรือ ไอซีเจ) แอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนล (Amnesty International) และฮิวแมนไรท์วอทช์ (Human Rights Watch) กล่าวในวันนี้ นอกจากนี้ องค์กรข้างต้นยังได้เรียกร้องให้เจ้าหน้าที่เร่งรัดให้มีการดำเนินการให้มาตรการทางกฎหมายและมาตรการทางปกครองที่จะคุ้มครองบุคคลจากการบังคับให้สูญหายได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้นเกิดสัมฤทธิ์ผลตามพันธกรณีสิทธิมนุษยชนระหว่างประเทศของประไทย เนื่องจากมาตรการดังกล่าวยังมีความล่าช้าอยู่มากในปัจจุบัน
ในวันที่ 28 มิ.ย. 2561 หลังจากการประชุมคณะกรรมการคดีพิเศษ ครั้งที่ 1/2561 กรมสอบสวนคดีพิเศษ (‘ดีเอสไอ’) กระทรวงยุติธรรม ได้ออกแถลงการณ์อันน่ายินดีว่าดีเอสไอมีมติให้กรณีที่นักกิจกรรมชาติพันธุ์กะเหรี่ยง พอละจี “บิลลี่” รักจงเจริญ ซึ่งถูกกระทำการในลักษณะเช่นการบังคับให้สูญหายนั้นเป็น “คดีพิเศษ” ที่ต้อง “ดำเนินการสืบสวนและสอบสวนตามพระราชบัญญัติการสอบสวนคดีพิเศษ พ.ศ. 2547” ซึ่งหมายถึงการสืบสวนสอบสวนโดยดีเอสไอนั่นเอง
มีผู้พบเห็นนายพอละจี “บิลลี่” รักจงเจริญ เป็นครั้งสุดท้ายเมื่อวันที่ 17 เม.ย. 2557 ขณะอยู่ภายใต้การควบคุมตัวของเจ้าหน้าที่อุทยานแห่งชาติแก่งกระจาน ในจังหวัดเพชรบุรี ประเทศไทย ทั้งนี้ ในช่วงระยะเวลาที่บิลลี่ถูกกระทำการในลักษณะเช่นการบังคับให้สูญหายนั้น บิลลี่ได้ทำงานร่วมกับชาวบ้านชาติพันธุ์กะเหรี่ยงและนักกิจกรรมเพื่อร้องทุกข์กล่าวโทษเจ้าหน้าที่อุทยานแห่งชาติโดยอ้างว่าบุคคลดังกล่าวเป็นผู้เผาและทำลายบ้าน พื้นที่เกษตรกรรม และทรัพย์สินอื่นๆของพวกเขา
ทั้งนี้ ก่อนที่จะมีการประกาศดังกล่าวจากดีเอสไอ เพื่อให้ทราบชะตากรรมหรือที่อยู่ของบิลลี่ ภริยาของบิลลี่ นางสาวพิณนภา พฤกษาพรรณ ได้ทำการยื่นคำร้องต่อดีเอสไอมาเป็นเวลานาน รวมทั้ง ไอซีเจ แอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนล และฮิวแมนไรท์วอทช์ก็ได้ทำการเรียกร้องมาเป็นเวลาหลายปี โดยขอให้ดีเอสไอรับคดีดังกล่าวเป็นคดีพิเศษ และเรียกร้องให้ดีเอสไอดำเนินการสืบสวนสอบสวนคดีดังกล่าวอย่างรวดเร็ว อิสระ เป็นกลาง มีประสิทธิภาพ และสอดคล้องกับมาตรฐานและกฎหมายระหว่างประเทศ ซึ่งรวมถึงพิธีสารมินนิโซตาว่าด้วยการสืบสวนสอบสวนกรณีที่ต้องสงสัยว่าเป็นการเสียชีวิตที่มิชอบด้วยกฎหมาย พ.ศ. 2559 (ค.ศ. 2016) ซึ่งได้มีการเปิดตัวพิธีสารดังกล่าวร่วมกับกระทรวงยุติธรรมเมื่อวันที่ 25 พฤษภาคม พ.ศ. 2560
พิธีสารมินนิโซตาฉบับปรับปรุงนี้ได้เน้นย้ำว่าหากผู้สืบสวนสอบสวนไม่สามารถระบุแหล่งที่ตั้งศพหรือซากศพได้ พวกเขายังคงต้องรวบรวมหลักฐานแวดล้อมโดยตรงอื่นๆ ต่อไป โดยพยานหลักฐานเหล่านี้อาจเพียงพอต่อการระบุตัวผู้กระทำความผิดได้
ทั้งนี้ แม้ว่าจะมีข้อมูลจำนวนมากที่เชื่อมโยงกับเหตุการณ์การที่บิลลี่ถูกกระทำการในลักษณะเช่นการบังคับให้สูญหาย แต่การสืบสวนสอบสวนของตำรวจในช่วงสี่ปีที่ผ่านมากลับไม่มีความคืบหน้าอย่างมีนัยสำคัญ
ในขณะเดียวกัน ประเทศไทยก็ยังมิได้ดำเนินการตามข้อผูกพันที่ได้ให้ไว้หลายต่อหลายครั้งว่าจะทำการภาคยานุวัติอนุสัญญาระหว่างประเทศว่าด้วยการคุ้มครองบุคคลทุกคนจากการหายสาบสูญโดยถูกบังคับ (International Convention for the Protection of All Persons from Enforced Disappearance หรือ ICPPED) ที่ได้ลงนามไว้เมื่อวันที่ 9 มกราคม พ.ศ. 2555 เจ้าหน้าที่ไทยนั้นยังคงล้มเหลวในการปฏิบัติตามพันธกรณีทางกฎหมายระหว่างประเทศในการนำความยุติธรรมมาสู่ผู้เสียหายจากการบังคับให้สูญหายและครอบครัวของพวกเขาเหล่านั้น ผู้กระทำผิดยังคงสามารถหลบเลี่ยงบทลงโทษบางประการได้ โดยส่วนหนึ่งเป็นเพราะการบังคับให้สูญหายนั้นยังมิใช่ความผิดทางอาญาเป็นการเฉพาะภายใต้กฎหมายไทย
อนุสัญญาดังกล่าวได้ยืนยันว่า “บุคคลจะถูกบังคับให้สูญหายไม่ได้” และระบุให้รัฐมีพันธกรณีที่จะต้องสืบสวนสอบสวนการกระทำที่มีลักษณะเป็นการบังคับให้บุคคลสูญหายเพื่อที่จะนำตัวผู้กระทำผิดมาสู่กระบวนการยุติธรรม และทำให้การกระทำผิดดังกล่าวเป็นความผิดทางอาญาที่มีโทษที่เหมาะสมโดยพิจารณาถึง “ความร้ายแรงอย่างยิ่ง” ของการกระทำดังกล่าว
เมื่อวันที่ 10 มีนาคม พ.ศ. 2560 สภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) ซึ่งเป็นฝ่ายนิติบัญญัติของประเทศไทยได้มีมติเห็นชอบที่จะทำการภาคยานุวัติ ICPPED แต่อย่างไรก็ตาม เมื่อวันที่ 6 กันยายน พ.ศ. 2560 ไอซีเจได้รับทราบจากกระทรวงการต่างประเทศว่าการภาคยานุวัติ ICPPED จะเลื่อนออกไปจนกว่าจะมีการตรากฎหมายภายในประเทศเพื่อรับรองให้อนุสัญญาฯดังกล่าวมีผลบังคับใช้ภายในประเทศ
นอกเหนือจากการภาคยานุวัติ ICPPED แล้ว ประเทศไทยยังคงต้องทำการสืบสวนสอบสวนอย่างมีประสิทธิภาพและดำเนินคดีต่ออาชญากรรมการบังคับบุคคลให้สูญหายตามพันธกรณีภายใต้กติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง (International Covenant on Civil and Political Rights หรือ ICCPR) และอนุสัญญาต่อต้านการทรมานและการประติบัติหรือการลงโทษอื่นที่โหดร้าย ไร้มนุษยธรรม หรือที่ย่ำยีศักดิ์ศรี (UN Convention against Torture หรือ CAT)
อย่างไรก็ตาม ความพยายามที่จะผ่านร่างกฎหมายที่จะทำให้การทรมาน การกระทำอื่นๆที่เป็นการประติบัติที่โหดร้าย และการบังคับบุคคลให้สูญหายเป็นความผิดเฉพาะภายใต้กฎหมายไทยนั้นยังคงล่าช้า
กระทรวงยุติธรรมประเทศไทยได้อธิบายว่าปัจจุบันการเปิดรับฟังความคิดเห็นจากสาธารณะรอบที่สองต่อร่างพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการทรมานและการกระทำให้บุคคลสูญหาย (‘ร่าง พ.ร.บ.’) นั้นได้สิ้นสุดลงแล้ว โดยในปัจจุบันอยู่ระหว่างการประเมินผลการรับฟังความคิดเห็น ทั้งนี้ ไอซีเจ แอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนล และฮิวแมนไรท์วอทช์ ขอเรียกร้องให้มีการเร่งรัดกระบวนการดังกล่าว
ไอซีเจ แอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนล และ ฮิวแมนไรท์วอช ซึ่งได้เคยพิจารณาร่าง พ.ร.บ. ฉบับต่างๆหลายครั้ง ยังคงกังวลว่าจากเนื้อหาในร่าง พ.ร.บ. ร่างล่าสุดนั้นถ้านำมาบังคับใช้จะทำให้เนื้อหาในกฎหมายที่ออกมานั้นไม่สอดคล้องกับพันธกรณีระหว่างประเทศของประเทศไทย
เมื่อวันที่ 30 สิงหาคม พ.ศ.2560 วันที่ 23 พฤศจิกายน พ.ศ.2560 และ วันที่ 12 มีนาคม พ.ศ.2561 กลุ่มภาคประชาสังคม รวมถึงไอซีเจ แอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนล และฮิวแมนไรท์วอช ได้ส่งจดหมายเปิดผนึกถึงรัฐบาลไทย รวมถึงกระทรวงยุติธรรมของประเทศไทย เกี่ยวกับข้อเสนอแนะที่จำเป็นต้องปรับแก้เพื่อให้ร่างกฎหมายเป็นไปตามพันธกรณีระหว่างประเทศทางด้านสิทธิมนุษยชนของประเทศไทย
ความเป็นมา
“การบังคับให้สูญหาย” นั้นได้รับการนิยามไว้ภายใต้กฎหมายระหว่างประเทศว่าหมายถึงการจับกุมหรือคุมขังบุคคลโดยเจ้าหน้าที่ของรัฐหรือตัวแทนบุคคลดังกล่าว ตามมาด้วยการปฏิเสธที่จะยอมรับว่าได้มีการลิดรอนเสรีภาพ หรือการปกปิดชะตากรรมหรือที่อยู่ของบุคคลนั้น ทั้งนี้ การบังคับให้สูญหายนั้นละเมิดสิทธิมนุษยชนขั้นพื้นฐานซึ่งได้รับการประกันโดยกฎหมายระหว่างประเทศหลายประการ รวมถึง การห้ามมิให้มีการจับกุมหรือควบคุมตัวบุคคลไว้ตามอำเภอใจ การทรมาน และการประติบัติหรือการลงโทษอื่นที่โหดร้าย ไร้มนุษยธรรม หรือที่ย่ำยีศักดิ์ศรี และการสังหารนอกกระบวนการยุติธรรม สมัชชาสหประชาชาติ (UN General Assembly) นั้นมักจะให้คำอธิบายว่าการบังคับให้สูญหายนั้นเป็น “การกระทำผิดต่อศักดิ์ศรีของมนุษย์” และเป็นการละเมิดกฎหมายสิทธิมนุษยชนระหว่างประเทศที่ “รุนแรงและชัดเจน”
ประเทศไทยมีพันธกรณีตามกฎหมายระหว่างประเทศ ได้แก่ ICCPR และ CAT ซึ่งประเทศไทยเป็นภาคี ในการที่จะต้องดำเนินการให้มีการสืบสวนสอบสวน ดำเนินคดี ลงโทษ และให้การชดเชยและเยียวยากับผู้เสียหาย ในอาชญากรรมการทรมาน การประติบัติที่โหดร้าย และการบังคับให้บุคคลสูญหาย
ทั้งนี้ ดีเอสไอนั้นถูกจัดตั้งขึ้นโดยพระราชบัญญัติการสอบสวนคดีพิเศษ พ.ศ. 2547 และมีอำนาจเหนือคดีอาญาพิเศษ ซึ่งรวมถึงคดีที่มีความซับซ้อน จำเป็นต้องใช้วิธีการสืบสวนสอบสวนเป็นพิเศษ ความผิดที่มีลักษณะเป็นการกระทำขององค์กรอาชญากรรม และความผิดที่มีผู้ทรงอิทธิพลเป็นตัวการ ผู้ใช้หรือผู้สนับสนุน
'ทนายเบญจรัตน์'เตรียมเข้าพบ ตร. 9 ก.ค.นี้ หลัง 'ศรีวราห์'ฟ้องหมิ่นประมาทฯ
ซ้าย ทนายเบญจรัตน์ มีเทียน, ขวา พล.ต.อ.ศรีวราห์ รังสิพราหมณกุล
2 ก.ค.2561 ความคืบหน้าคดีที่ พล.ต.อ.ศรีวราห์ รังสิพราหมณกุล รองผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ (รอง ผบ.ตร.) แจ้งความเอาผิด เบญจรัตน์ มีเทียน ทนายความของ อัมพร ใจก้อน หรือครูแขก อายุ 59 ปี ข้อหาหมิ่นประมาทด้วยการโฆษณา ภายหลังให้ข่าวกับประชาไทว่าจะไปฟ้องคดีคณะตำรวจซึ่งเคยดำเนินคดีของครูแขก รวม 12 คน รวมถึง พล.ต.อ.ศรีวราห์ ในความผิดฐานร่วมกันเป็นเจ้าพนักงานปฏิบัติหน้าที่หรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบฯ หลังจากศาลอุทธรณ์ยกฟ้องคดีระเบิดสมานเมตตาแมนชั่นปี 53 ที่ อัมพร ตกเป็นจำเลยนั้น
เบญจรัตน์ แจ้งว่า ตนจะเดินทางไปพบพนักงานสอบสวน สน.ปากคองสาน วันที่ 9 ก.ค.นี้ เวลาบ่ายโมง หลังทราบว่าตำรวจจะออกหมายเรียกให้มาพบ 12 ก.ค.นี้
บญจรัตน์ เคยยืนยันไว้ก่อนหน้านี้ว่า ถ้อยคำที่แถลงข่าวนั้นเป็นการถ่ายทอดจากลูกความว่าเขาจะดำเนินคดีกับตำรวจและมีการฟ้องคดีจริงและลูกความเชื่อว่าถูกกลั่นแกล้ง ซึ่งศาลอาญา ศาลอุทธรณ์ และศาลจังหวัดมีนบุรี ได้พิพากษาถึงที่สุดแล้วว่าลูกความไม่ได้กระทำผิดตามที่ถูกตำรวจกล่าวหา เป็นการยืนยันข้อเท็จริงโดยมีคพิพากษาเป็นหลักฐานรองรับ ลูกความเชื่อเช่นนั้นซึ่งก่อนหน้านี้ลูกความเคยแถลงข่าวไว้แล้วว่าตนเองไม่ผิด และยืนยันจะฟ้องกลับอยู่แล้ว
ทั้งนี้เมื่อ 28 พ.ค.ที่ผ่านมา อัมพร เดินทางมาที่ศาลอาญาคดีทุจริตและประพฤติมิชอบกลาง ยื่นฟ้องคณะตำรวจดังกล่าวในความผิดฐานร่วมกันเป็นเจ้าพนักงานปฏิบัติหน้าที่หรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบฯ ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 157 และข้อหาอื่นเกี่ยวกับความผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ราชการ ซึ่งศาลรับเอกสารคำฟ้องไว้สารบบคดีหมายเลขดำ อท.121/2561 เพื่อตรวจคำฟ้องว่าถูกต้องสมบูรณ์ตามกฎหมายแล้วหรือไม่
ธเนศปั่นป่วน #1 เสวนาจักรญาณวิทยา #1
เสวนาธเนศปั่นป่วน ช่วงแรก "เสวนาจักรญาณวิทยา #1"
กฤติยา กาวีวงศ์ และธเนศ วงศ์ยานนาวา กล่าวเปิดงาน เสวนา "ธเนศ ปั่นป่วน"
เสวนา "ธเนศ ปั่นป่วน"ฉลอง 60 ปีแห่งความปั่นป่วนของธเนศ วงศ์ยานนาวา ในปีที่ 61 เมื่อ 22 มิถุนายน 2561 ที่พิพิธภัณฑ์บ้านไทย จิม ทอมป์สัน (ห้องไอยรา) ช่วงที่ 1 "เสวนาจักรญาณวิทยา #1"อภิปรายโดย ณัฐกร เวียงอินทร์, ดุลยภาพ จาตุรงคกุล, อนุสรณ์ ติปยานนท์ ดำเนินรายการโดย วิโรจน์ อาลี
คณิน บุญสุวรรณอดีต ส.ส.ร. 40 ถึงแก่กรรมด้วยวัย 71 ปี
"คณิน บุญสุวรรณ"ถึงแก่กรรมด้วยวัย 71 ปี บำเพ็ญกุศล ณ วัดธาตุทอง ศาลา 8 เริ่มวันที่ 3 ก.ค. โดยฝากผลงานสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญ 2540 ยืนยันจุดยืนแก้ไขรัฐธรรมนูญ 2550 ทั้งฉบับ เป็นประธานคณะทำงานติดตามการร่างรัฐธรรมนูญ พรรคเพื่อไทย และยังเป็นผู้วิจารณ์ร่างรัฐธรรมนูญ 2560 และกฎหมายประกอบที่สร้างอุปสรรคต่อพรรคการเมือง
แฟ้มภาพคณิน บุญสุวรรณ ร่วมเสวนาเมื่อ 7 กันยายน 2552 (ที่มา: CBN Press)
หลังมีรายงานว่า "คณิน บุญสุวรรณ"อดีต ส.ส.ร. 2540 และคณะทำงานกฎหมายพรรคเพื่อไทย ถึงแก่กรรมด้วยโรคมะเร็ง ด้วยวัย 71 ปีที่บ้านพักเมื่อคืนวันที่ 1 กรกฎาคม หลังเข้ารับการรักษาโรคมะเร็งที่ รพ.จุฬาภรณ์นั้น ผู้สื่อข่าวรายงานกำหนดการบำเพ็ญกุศล ณ วัดธาตุทอง ศาลา 8 ถนนสุขุมวิท เขตวัฒนา กรุงเทพฯ ดังนี้
วันอังคารที่ 3 กรกฎาคม 2561 เวลา 17.00 น. พระราชทานน้ำหลวงอาบศพ
เวลา 18.30 น. สวดพระอภิธรรมศพ
วันพุธที่ 4 ถึงวันจันทร์ที่ 9 กรกฎาคม 2561
เวลา 19.00 น. สวดพระอภิธรรมศพ
วันอังคารที่ 10 กรกฎาคม 2561
เวลา 17.00 น. พระราชทานเพลิงศพ ณ ฌาปนสถานวัดธาตุทอง
สำหรับประวัติของคณิน บุญสุวรรณ ในรายงานของไทยรัฐออนไลน์เขาเป็นชาว จ.ชลบุรี เกิดวันที่ 15 ตุลาคม 2489 เป็นบุตรคนสุดท้องในจำนวนพี่น้อง 7 คนของ อำมาตย์ตรีแปลก และนางเสงี่ยม ภรรยาชื่อกรประภา บุญสุวรรณ (ชื่อเดิม เพ็ญศิริ) มีธิดา 2 คน
การศึกษาจบโรงเรียนกาญจนศึกษา โรงเรียนชลบุรีสุขบท มัธยมศึกษาปีที่ 8 โรงเรียนกรุงเทพคริสเตียนวิทยาลัย ปริญญาตรี คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และปริญญาโท ทางรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยฮุสตัน มลรัฐเท็กซัส สหรัฐอเมริกา
เขาเริ่มต้นการทำงานในตำแหน่งวิทยากรโท สำนักนโยบายและแผนกรุงเทพมหานคร ต่อมาช่วยราชการ สำนักงานเลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย, สำนักงานเลขาธิการรัฐสภา, หัวหน้าฝ่ายต่างประเทศ สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด
เส้นทางการเมืองของเขาในปี 2522 เป็น ส.ส.ชลบุรีสมัยแรกในการเลือกตั้งซ่อม สังกัดพรรคกิจสังคม
ปี 2526 ไม่ได้ลงสมัครรับเลือกตั้ง
ปี 2528 ส.ส. กทม. เขต 1 พรรคประชาธิปัตย์
27 กรกฎาคม 2529 ส.ส. (สอบตก)
16 ตุลาคม 2529 ผู้อำนวยการองค์การตลาดเพื่อเกษตรกร (ลาออก 19 พ.ค.2531)
22 มีนาคม 2535 ส.ส.(สอบตก) บุรีรัมย์ พรรคสามัคคีธรรม
13 กันยายน 2535 ส.ส. ชลบุรี เขต 1 พรรคเอกภาพ (ยุบสภา 19 พ.ค. 2535)
15 ตุลาคม 2535 กรรมาธิการการคลัง การธนาคาร และสถาบันการเงิน
2535 กรรมการประสานงานสภาผู้แทนราษฎร
19 ตุลาคม 2535 กรรมาธิการวิสามัญเพื่อพิจารณาศึกษาแนวทางแก้ไขรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย
2 กรกฎาคม 2538 ส.ส.(สอบตก) จังหวัดชลบุรี เขต 1 พรรคเอกภาพ
29 สิงหาคม 2538 รองหัวหน้าพรรคเอกภาพ
26 ธันวาคม 2539 สมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญ จังหวัดชลบุรี (ส.ส.ร.ชลบุรี) (พ้นตำแหน่ง 11 ต.ค. 2540)
15 มกราคม 2540 กรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ
15 มกราคม 2540 กรรมาธิการประชาสัมพันธ์
14 มิถุนายน 2543 หัวหน้าพรรคไทยมหารัฐ (ลาออก 13 ก.ย.2544)
คณิน เป็นผู้ที่มีความรู้ด้านรัฐธรรมนูญและสถาบันทางการเมือง โดยมักแสดงความคิดเห็นวิพากษ์วิจารณ์ เกี่ยวกับการร่างรัฐธรรมนูญบ่อยครั้ง โดยผลงานทางวิชาการที่เขาเขียนเช่น ประวัติรัฐธรรมนูญไทย รัฐธรรมนูญต่างประเทศ จีนสามยุค และ 7 ปีปฏิรูปการเมืองไทย ฯลฯ
ในปี 2551 คณินเผยแพร่หนังสือ "รัฐธรรมนูญ 2550 ทำไมต้องแก้"อธิบายเหตุผล 15 ประการ ที่ต้องแก้ไขรัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบัน และต้องแก้ทั้งฉบับ ไม่ใช่ทีละมาตรา โดยที่มาตราที่ควรแก้ไขอันดับแรกคือ บทเฉพาะกาล โดยคณินเห็นว่า แม้รัฐธรรมนูญ 2540 จะถูกยกเลิกไปโดยการรัฐประหาร แต่ในความรู้สึก ในหัวใจของนักประชาธิปไตยและอีกหลายคนยังเห็นว่ารัฐธรรมนูญ 2540 ยังอยู่ ไม่ได้หายไปไหน ในขณะที่การบังคับใช้รัฐธรรมนูญ 2550 มีที่มาที่ไม่ชอบบทบัญญัติในรัฐธรรมนูญที่ไม่เอื้อต่อการสร้างเสถียรภาพทางการเมือง และกฎกติกาที่ไม่เป็นธรรมในรัฐธรรมนูญ 2550 ได้สร้างความระส่ำระสายทางการเมือง นอกจากนี้เขายังแสดงความไม่เห็นด้วยกับข้อเสนอของ “คณะกรรมการสมานฉันท์เพื่อการปฏิรูปการเมืองและศึกษาการแก้ไขรัฐธรรมนูญ” ที่เสนอแก้ไขรัฐธรรมนูญ 2550 ใน 6 ประเด็น ขณะที่ข้อเสนอเพื่อการปฏิรูปการเมืองของคณินนั้น เขาเสนอให้นำรัฐธรรมนูญ 2540 มาปรับปรุงแก้ไข และใช้แทนรัฐธรรมนูญ 2550
โดยในโอกาสครบรอบ 12 ปี ประกาศใช้รัฐธรรมนูญ 2540 เขาให้สัมภาษณ์ประชาไท ยืนยันข้อเสนอการแก้ไขรัฐธรรมนูญ 2550 ทั้งฉบับด้วย
"เหตุผลที่ผมบอกว่า ควรต้องแก้ไขรัฐธรรมนูญทั้งฉบับ หมายความว่า ควรจะนำเอารัฐธรรมนูญปี 40 มาปรับปรุงแก้ไขและนำไปใช้แทนรัฐธรรมนูญ 50 เพราะปี 50 มันแก้ไม่ได้ มันมีเป็นร้อยๆ ประเด็นที่ผิดเพี้ยนไปหมด ไม่ว่าจะเป็นรูปแบบ วิธีการเขียน เนื้อหาสาระ หลักการ แล้วแก้ไปความวุ่นวายก็จะตามมา เพราะมีทั้งกับระเบิด กับดัก มีทั้งกลเกม กลไกต่างๆ ดูคล้ายๆ ว่ามันไม่ใช่รัฐธรรมนูญ แต่เป็นสมรภูมิให้ผู้คนมาฟาดฟันกัน ความสามัคคีมันก็ไม่เกิด โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ความยุติธรรม มันเห็นชัดเจนว่าบทบาทของฝ่ายตุลาการที่ออกมาตามรัฐธรรมนูญ 50 มันเกินเลยไปกว่าที่สังคมจะคาดหวังความยุติธรรมที่จะได้รับจากฝ่ายตุลาการ กลายเป็นว่าฝ่ายตุลาการเข้ามาเกี่ยวข้อง ครอบคลุมถึงกระบวนการในการเมือง ความขัดแย้งแย่งชิงอำนาจทางการเมืองต่างๆ
แต่อย่างน้อยที่สุดที่ผมเสนอไว้คือ ถ้ายังไม่สามารถจะแก้ไขรัฐธรรมนูญทั้งฉบับ หรือไม่สามารถนำเอารัฐธรรมนูญ 40 มาปรับแก้แล้วใช้บังคับแทน สิ่งแรกที่ควรต้องทำคือต้องแก้ไขที่บทเฉพาะกาล เพราะมีหลายมาตราที่ให้สืบทอดบรรดาองค์กรที่แต่งตั้งโดยคณะปฏิรูปการปกครอง เรื่องนี้เป็นเรื่องที่ไม่ถูกต้องทั้งตามหลักนิติธรรม และกระบวนการประชาธิปไตยด้วย และที่สำคัญยิ่งคือ มาตรา 309"คณินให้สัมภาษณ์ตอนหนึ่งเมื่อปี 2552 (อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง)
ในระยะหลังนั้นเขาเป็นประธานคณะทำงานติดตามการร่างรัฐธรรมนูญ พรรคเพื่อไทย และเป็นผู้ที่ออกมาวิจารณ์ร่างรัฐธรรมนูญปี 2560 อย่างมากในช่วงก่อนการทำประชามติ รวมทั้งวิจารณ์พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมือง ว่าขัดต่อเจตนารมณ์รัฐธรรมนูญ และเป็นการทำลายพรรคการเมือง (อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง)
โดยการให้สัมภาษณ์ต่อสื่อมวลชนเรื่องสุดท้าย คือการแสดงความไม่เห็นด้วย กรณีที่ สนช.รับหลักการร่างพ.ร.ป.ว่าด้วยวิธีพิจารณาของศาลรัฐธรรมนูญ ซึ่งมีหลักการให้ศาลรัฐธรรมนูญ มีอำนาจสั่งจำคุกบุคคลที่วิพากษ์วิจารณ์ศาลรัฐธรรมนูญ ฐานละเมิดอำนาจศาลเป็นเวลา 1 เดือน (อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง)
ความจริง(ที่คนลืม) ‘อภิวัฒน์ 2475’ ที่ต้องถูกบรรจุไว้ในแบบเรียนของกระทรวงศึกษา
วงเสวนาชวนแลกเปลี่ยนความจริงเกี่ยวกับอภิวัฒน์ 2475 เสนอต้องถูกบรรจุไว้ในแบบเรียนกระทรวงศึกษา มองจากอดีตสู่อนาคตที่อาจไม่ใช่ประชาธิปไตยเต็มรูปแบบหากยังยึดรัฐธรรมนูญ 2560 และมีระบบเศรษฐกิจแบบผูกขาดสร้างความเหลื่อมล้ำ
เมื่อวันที่ 30 มิ.ย.ที่ผ่านมา สถาบันปรีดี พนมยงค์ จัดงาน “2475 : a year that cannot be changed” (ปีแห่งการอภิวัตน์ที่ไม่สามารถเปลี่ยนแปลงได้) โดยมีวิทยากร ประกอบด้วย ประจักษ์ ก้องกีรติ อาจารย์ประจำคณะรัฐศาสตร์ ธรรมศาสตร์ พันธวัฒน์ เศรษฐวิไล จาก เว็บไซต์ 101 world วิชิตวงศ์ ณ ป้อมเพชร ผู้เขียนแนวความคิดทางเศรษฐกิจ ของ รัฐบุรุษอาวุโส ปรีดี พนมยงค์ และอนุสรณ์ ธรรมใจ รองอธิการบดีมหาวิทยาลัยรังสิต ร่วมแลกเปลี่ยนความจริงเกี่ยวกับอภิวัฒน์ 2475 ที่ต้องถูกบรรจุไว้ในแบบเรียนกระทรวงศึกษา มองจากอดีตสู่อนาคตที่อาจไม่ใช่ประชาธิปไตยเต็มรูปแบบหากยังยึดรัฐธรรมนูญ 2560 และมีระบบเศรษฐกิจแบบผูกขาดที่สร้างความเหลื่อมล้ำ
มายาคติอภิวัฒน์ 2475 ชิงสุกก่อนห่าม? ร.7 จะพระราชทานอยู่แล้ว?
วิชิตวงศ์ กล่าวว่า การเปลี่ยนแปลงปกครองประเทศไทย เป็นวิวัฒนาการ ไม่ใช่อะไรที่ฉับพลัน เมื่อเราเปิดประเทศสนธิสัญญาเบาริ่ง ทำให้ไทยได้ติดต่อกับโลกตะวันตก และทำให้คนไทยรู้สึกถึงความต่างระหว่างไทยกับฝรั่งหลายขุม คล้ายกับความเจริญของไทยนั้นหยุดนิ่งมาตั้งแต่สมัยพระนารายณ์ แต่ฝรั่งเปลี่ยนมหาศาล ทั้งทางด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี สังคม ขณะที่ไทยล้าหลัง ป่าเถื่อน ไม่มีโรงเรียน คนอ่านหนังสือออกมีไม่กี่คนทั้งประเทศ ร.5 จึงเริ่มต้นเลิกทาส ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นของประชาธิปไตย แม้ว่าจะใช้เวลาอีกกว่า 40 ปีจึงจะเรียบร้อย รวมทั้งการตั้งสภาที่ปรึกษาราชการ การส่งนักเรียนไปเรียนเมืองนอกและทำให้ได้รับแนวคิด เป็นต้น ดังนั้นปัจจัยทั้งภายในและภายนอกจึงส่งผลต่อพัฒนาการของประเทศไทย ซึ่งเกิดขึ้นก่อน 2475 แต่ 2475 เป็นจุดเปลี่ยนนั้นเอง
พันธวัฒน์ กล่าวว่า การอภิวัฒน์ 2475 ส่วนใหญ่มักนำเสนอข้อมูลจากคนนอก เช่น นักวิชาการ นักประวัติศาสตร์ แต่ข้อมูลจากผู้มีส่วนเกี่ยวข้องในเหตุการณ์กลับไม่ค่อยได้ถูกนำมาเสนอ ซึ่งตนได้พบบันทึกของปรีดี พนมยงค์ เขียนขึ้นเมื่อปี 2515 ในวาระครบรอบ 40 ปีอภิวัฒน์สยาม ซึ่งเกี่ยวกับการก่อตั้งคณะราษฎรและระบอบประชาธิปไตย รวมทั้งพูดเกี่ยวกับมายาคติของการอภิวัฒน์ 2475 เช่น การชิงสุกก่อนห่าม
ประการแรก คือคำกล่าวที่ว่า “เหตุการณ์ 2575 เป็นการกระทำโดยที่ประชาชนส่วนใหญ่ยังไม่พร้อม และยังไม่มีความเข้าใจในประชาธิปไตยอย่างถ่องแท้” แต่ ปรีดี บันทึกว่า การเปลี่ยนแปลงการปกครองเริ่มมีเชื้อมาตั้งแต่ ร.5 โดยเฉพาะในกรณีของ ก.ศ.ร.กุหลาบ และ เทียนวรรณวิพากษ์วิจารณ์เรื่องระบบที่กดขี่ประชาชน อันเป็นทรรศนะที่เสี่ยงคุกตะรางอย่างยิ่ง หรือในสมัย ร.6 ก็มีแบบเรียน ‘มูลบทบรรพกิจ’ ในเนื้อหามีส่วนเชิงวิพากษ์ระบอบสมบูรณายาสิทธิ์เช่นกัน พอถึง ร.7 นักศึกษานอกหรือคนรุ่นใหม่ก็มีความต้องการและตื่นตัวที่จะเปลี่ยนแปลงระบอบนี้ เมื่อยึดอำนาจแล้วก็ได้รับการสนับสนุนจากราษฎรจำนวนมาก ถึงกับมีผู้ต้องการสมัครเข้าเป็นคณะราษฎรมากมายจนใบสมัครมีไม่พอ
ประการต่อมา คือคำกล่าวที่ว่า “คณะราษฎรชิงยึดพระราชอำนาจ ทั้งที่ ร.7 จะพระราชทานรัฐธรรมนูญอยู่แล้ว” นั้น ปรีดีกล่าวว่า ตนและคณะราษฎรไม่เคยทราบถึงพระราชประสงค์ข้อนี้มาก่อนโดยมีพยานหลักฐานที่ตรวจสอบได้ เช่น การบันทึกการเข้าเฝ้า
'ประจักษ์'ชี้ รธน. ฉบับ ร.7 อยู่ในกรอบสมบูรณาญาสิทธิฯ
ประจักษ์ กล่าวเสริมว่า และเมื่อพิจารณาเนื้อของของรัฐธรรมนูญ ระหว่างฉบับของ ร. 7 กับของคณะราษฎร พบว่า เนื้อหา ของ ร.7 เป็นรัฐธรรมนูญที่อยู่ในกรอบระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ไม่ใช่ภายใต้ระบอบประชาธิปไตย เป็นการรวมศูนย์อำนาจ ไม่มีการกระจายอำนาจ มีเพียงแต่การแต่งตั้งนายกฯ และสามารถปลดได้ ไม่มีการให้สิทธิเสรีภาพกับประชาชน พูดง่ายๆ คือเป็นแค่เพียงการให้คนมาช่วยแบ่งเบาภาระของกษัตริย์มาากขึ้น
ทั้งนี้ ประจักษ์ เห็นว่า ประกาศคณะราษฎรฉบับที่ 1 เป็นเอกสารสำคัญที่ทำให้เข้าใจว่าทำไมต้องเปลี่ยนแปลงระบอบการปกครองในตอนนั้น การฉ้อราษฎร์บังหลวง ระบบอุปถัมภ์ เศรษฐกิจตกต่ำ
อภิวัฒน์ 2475 ต้องถูกบันทึกลงในแบบเรียนอย่างถูกต้อง
วิชิตวงศ์ กล่าวว่า ประวัติศาสตร์นั้นเพิ่งถูกบิดเบือนในสมัยจอมพลสฤษดิ์ ทั้งเรื่องชิงสุกก่อนห่าม หรือกระทั่งเรื่องเกี่ยวกับเสรีไทย เพราะตอนที่ตนเป็นเด็กนั้นไม่ได้ถูกสอนแบบนี้ และได้รับการปลูกฝังอย่างเกี่ยวกับการอภิวัฒน์และคณะราษฎรอย่างถูกต้อง แต่แม้ว่ามันจะถูกบิดเบื่อนแต่มันไม่อาจทำให้หายไปได้ เพราะมันเป็นข้อเท็จจริง แต่ปฏิเสธไม่ได้ว่าที่ผ่านมาพลังฝ่ายประชาธิปไตยอ่อนแอลง ขณะที่พลังเผด็จการที่ถูกใช้เป็นเครื่องมือจากอะไรบางอย่างเข้มแข็งขึ้น
ประจักษ์ กล่าวว่า ประวัติศาสตร์เขียนโดยผู้ชนะแต่ในสังคมไทยคนชนะไม่ได้เป็นผู้เขียนประวัติศาสตร์ แม้ว่าอภิวัฒน์ 2475 วางรากฐานเกี่ยวกับประชาธิปไตยให้ประเทศ แต่สิ่งที่เขารับรู้ส่วนใหญ่เป็นความจริงที่คลาดเคลื่อนกับสิ่งที่คณะราษฎรเขียน ประวัติศาสตร์ 2475 ที่เผยแพร่ในไทยกลับเป็นประวัติศาสตร์ที่เขียนโดยฝ่ายตรงข้าม
“จนถึงตอนนี้ 2475 ยังไม่เป็นประวัติศาสตร์ที่ลงหลักปักฐาน สังคมไทยมีวิธีการจัดการอยู่สองแบบ ไม่พูดถึงเลย พูดถึงแบบผิดพลาดคลาดเคลื่อน ผ่านไป 80 กว่าปีควรมีวันหยุดราชการ ควรเข้าไปอยู่ในแบบเรียน ควรทำให้เป็นสิ่งที่คนจำได้ ในสังคมไทยแม้แต่แบบเรียนยังไม่พื้นที่ให้ 2475 คนรุ่นใหม่ไม่ได้เรียน กว่าจะได้รับรู้จริงจังก็เข้ามหาวิทยาลัย ยกตัวอย่างแบบเรียนกระทรวงศึกษาในวิชาสังคมศึกษา หลักสูตรล่าสุดปี 2551 เขียนถึงกำหนดประชาธิปไตยไว้เพียงสามบรรทัด ไม่พูดถึงคณะราษฎรหรือ 2475 อยู่ดีประชาธิปไตยก็จุติขึ้นมาอย่างมี่ต้นสายปลายเหตุ” ประจักษ์ กล่าว
ประจักษ์ ชี้ว่า จุดที่ประชาธิปไตยเริ่มล้มลุกคุกคลาน คือการรัฐประหาร 2490 หลังจากนั้นประชาธิปไตยสะดุด และไม่มีความเกี่ยวเนื่องกับระบอบของคณะราษฎรอีกต่อไป ดังนั้นถ้าจะโทษถึงความล้มเหลวของระบอบประชาธิปไตยของไทย นั้นคือการรัฐประหารปี 2490 และ 2500 ซึ่งเป็นประเด็นที่เรายังศึกษาและพูดถึงกันน้อย
ถ้าเราเรียนประวัติศาสตร์ลึกลงไปเราจะไม่เกิดคำถามว่า 2475 เป็นการปฏิวัติหรือเป็นการรัฐประหาร เพราะถ้าเรียนจะเห็นว่า 2475 นั้นวางรากฐานทั้งทางการเมือง สังคม เศรษฐกิจ วางรากฐานจิตสำนึกใหม่ รัฐไทยเป็นรัฐสมัยใหม่จริงหลัง 2475 ในความหมายที่มีการแบ่งแยกอำนาจเป็นนิติบัญญัติ บริหาร ตุลาการ มีการเลือกตั้ง มีการให้สิทธิกับประชาชนเป็นครั้งแรก เริ่มมีการกระจายอำนาจผ่านเทศบาล มีการวางรากฐานการศึกษา สาธารณสุขแบบสมัยใหม่ และรัฐเริ่มมีสำนึกในการบริการประชาชน และมีหน้าที่ต้องจัดบริการสนองความต้องการของประชาชนในด้านต่างๆ ภายใต้ระบอบรัฐธรรมนูญ อันเป็นสิ่งที่คณะราษฎรมองว่ารัฐมีหน้าที่ต้องทำสิ่งเหล่านี้ และระบบราชการที่ขยายตัว มีความเป็นมีอาชีพก็เกิดขึ้นหลัง 2475
ประจักษ์ มองว่า ไทยประสบความสำเร็จในการใช้ประวัติศาสตร์สต๊าฟความคิดของคนในสังคมไว้ ประวัติศาสตร์ไทยทำหน้าที่เหมือนยานอนหลับ ยิ่งเรียนมากยิ่งถูกกล่อมเกลา ดังนั้นการปลูกฝังมิติทางความคิดและวัฒนธรรมก็สำคัญ ประชาธิปไตยจะไม่ลงหลักปักฐานถ้าเราไม่สามารถทำให้เขาเปลี่ยนแปลงความคิดได้ เพื่อที่เราจะได้ไม่ต้องมาพูดเรื่อง 2475 ซ้ำๆ แบบนี้ทุกปี และเครื่องมือที่สำคัญคือการเรียนรู้ประวัติศาสตร์ เราจึงต้องทำให้ 2475 ถูกพูดถึงในแบบเรียน และอยากเสนอให้มีเว็บเกี่ยวกับ 2475 กับหนังเกี่ยวกับ 2475
'อนุสรณ์'กับ 6 ข้อเสนอกลับสู่ระบอบประชาธิปไตยที่แท้จริง
อนุสรณ์ ธรรมใจ กล่าวว่า 2475 เป็นจุดเปลี่ยนผ่านที่สำคัญของประเทศไทย แต่คณะราษฎรก็มีอำนาจที่ไม่เด็ดขาด เนื่องจากมีสงครามโลกครั้งที่สอง และมีปัญหาทางการเมืองหลายอย่าง เช่น กบฎบวรเดช จนถึงการรัฐประหาร 2490 ทำให้คณะราษฎรสายที่ยึดมั่นในประชาธิปไตยหมดบทบาททางการเมืองลงไป และผ่านจุดเปลี่ยนทางการเมืองหลายครั้ง ตั้งแต่การรัฐประหารโดยจอมพลสฤษดิ์ปี 2500 จุดเปลี่ยนผ่านในเหตุการณ์ 14 ตุลา 2516 จุดเปลี่ยนผ่านเมื่อ 6 ตุลา 2519 และรัฐประหารอีกหลายครั้ง
แม้ตอนนี้ในอนาคตเราจะมีการเลือกตั้ง แต่เราจะไม่ได้กลับคืนสู่ประชาธิปไตย แต่เป็นเพียงกึ่งประชาธิปไตย เนื่องจากรัฐธรรมนูญปี 2560 มีเนื้อหาหลายมาตราไม่เป็นประชาธิปไตย ให้อำนาจ คสช. แต่งตั้ง ส.ว. 250 คน ทำให้เสียงประชาชนไม่มีความหมายอย่างที่ควรจะเป็น จึงถือโอกาสนำเสนอข้อเสนอเพื่อให้บ้านเมืองกลับสู่ประชาธิปไตยที่แท้จริง
1. ต้องปลดล็อคพรรคการเมืองต่างๆ เพื่อให้พรรคการเมืองโดยยกเลิกคำสั่งต่างๆ ที่ปิดกั้นเสรีภาพและขัดต่อรัฐธรรมนูญ สามารถเตรียมการเข้าสู่การเลือกตั้งอย่างมีคุณภาพ มีความเป็นธรรมมีเสรีภาพในการดำเนินกิจกรรมทางการเมืองโดยพรรคการเมืองต้องแสดงเจตจำนงในการรณรงค์หาเสียงและดำเนินกิจกรรมทางการเมืองอย่างสร้างสรรค์
2. คืนความเป็นธรรมให้กับคดีทางการเมืองทั้งหลายและยกเลิกการดำเนินคดีกับประชาชนที่เรียกร้องให้มีการเลือกตั้งและหยุดการดำเนินคดีกับประชาชนผู้ใช้สิทธิเสรีภาพภายใต้ความคุ้มครองของรัฐธรรมนูญ
3. ต้องมีการจัดการเลือกตั้งอย่างสุจริตโปร่งใส เสรีและเป็นธรรมสามารถตรวจสอบข้อมูลและผลการเลือกตั้งได้โดยปราศจากข้อสงสัยว่าการเลือกตั้งสะท้อนเจตนารมณ์ของประชาชนหรือไม่ หากเกิดความไม่มั่นใจอย่างกว้างขวางว่าระบบการเลือกตั้งมีความบริสุทธิ์ยุติธรรมหรือไม่ เสนอให้มีการจัดตั้งองค์กรภาคประชาชนสังเกตการณ์การเลือกตั้งและเชิญองค์กรระหว่างประเทศที่ได้รับการยอมรับจากประชาคมโลกมาร่วมสังเกตการณ์เลือกตั้งหรือร่วมจัดการเลือกตั้ง หาก กกต.หรือผู้มีอำนาจในการจัดการเลือกตั้งสามารถสร้างความมั่นใจสามารถจัดการเลือกตั้งอย่างเสรีและเป็นธรรมก็ไม่จำเป็นต้องเชิญองค์กรระหว่างประเทศร่วมจัดการเลือกตั้ง
4. เพื่อให้กระบวนการเปลี่ยนผ่านสู่ระบอบกึ่งประชาธิปไตยหลังการเลือกตั้งเกิดบรรทัดฐานที่ถูกต้อง มีธรรมาภิบาลและเป็นพื้นฐานต่อการพัฒนาสู่ความเป็นประชาธิปไตยเต็มใบในอนาคตแกนนำ คสช ที่ต้องการทำงานทางการเมืองต่อ (สืบทอดอำนาจ) ต้องเข้าสู่กระบวนการเลือกตั้งเข้าสู่การเสนอตัวแข่งขันอย่างเปิดเผยและเป็นธรรมกับพรรคการเมืองต่างๆ และควรลาออกจากตำแหน่งทางการเมืองหรือไม่เข้าไปเกี่ยวข้องกับการจัดการเลือกตั้งเพื่อให้เกิดความมั่นใจว่าการเลือกตั้งมีความเป็นกลางเป็นธรรมและไม่เกิดผลประโยชน์ทับซ้อน
5. เมื่อปรากฏผลการเลือกตั้งแล้ว การเลือกนายกรัฐมนตรี และการจัดตั้ง คณะรัฐมนตรี (ครม.) ต้องสะท้อนเจตนารมณ์ของประชาชนโดยเปิดโอกาสให้ ส.ส.ที่มาจากการเลือกตั้งของประชาชนมีบทบาท ขณะที่ ส.ว.ซึ่งมาจากการแต่งตั้งของ คสช.ต้องวางตัวเป็นกลางและงดออกเสียงในการเลือกนายกรัฐมนตรีเพื่อหลีกเลี่ยงความขัดแย้งระหว่างเจตนารมณ์และความต้องการของประชาชนกับความต้องการของ คสช ซึ่งอาจนำมาสู่วิกฤตการณ์การเมืองได้
6. เมื่อมีการจัดตั้งรัฐบาลซึ่งมาจากการเลือกตั้งของประชาชนแล้วให้มีการจัดลงประชามติว่าสมควรมีการแก้ไขรัฐธรรมนูญซึ่งเป็นผลพวงจากการรัฐประหารในมาตราหรือเนื้อหาที่ไม่เป็นไปตามหลักการประชาธิปไตยหรือไม่ รวมทั้งถามประชาชนด้วยว่าควรจะมีการปรับเปลี่ยนยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี หรือไม่เพื่อให้ยุทธศาสตร์ชาติและแนวทางการปฏิรูปประเทศเกิดจากการเปิดกว้างในการมีส่วนร่วมของประชาชน หากผู้มีอำนาจและทุกภาคส่วนช่วยกันดำเนินการขับเคลื่อนตามข้อเสนอหัวข้อข้างต้น จะทำให้เกิดความมั่นใจ เราจะมีระบอบประชาธิปไตยที่แท้จริง (ไม่ใช่ระบอบกึ่งประชาธิปไตย) อย่างมั่นคงและมีเสถียรภาพ นำไปสู่ความก้าวหน้ารุ่งเรือง ของประเทศ สันติสุข ความเป็นธรรมและคุณภาพชีวิตของประชาชน
เศรษฐกิจถูกผูกขาดมาตลอด ทำเหลื่อมล้ำสูง ประชาธิปไตยจึงไม่มั่นคง
อนุสรณ์ กล่าวถึงมิติด้านเศรษฐกิจว่า เดิมระบบเศรษฐกิจถูกผูกขาดโดยราชสำนักแบบศักดินา พอมีสนธิสัญญาเบาริ่ง เริ่มมีการเปิดประเทศ มีการค้าเสรีมากขึ้น ทำให้ดุลอำนาจในสังคมไทยทางเศรษฐกิจเปลี่ยน พอเปิดเสรีก็ทำให้ระบบต้องการแรงงาน และประจวบกับที่ในสมัย ร. 5 ขุนนางต่างก็มีอำนาจมาก ดังนั้นในด้านหนึ่งการเลิกทาสคือลดอำนาจขุนนาง และเป็นการปลดปล่อยพลังการผลิต ให้แรงงานเคลื่อนตัวได้มากขึ้น หมายความว่าวิถีการผลิตและความสัมพันธ์ทางการผลิตเปลี่ยนไป ทำให้โครงสร้างส่วนบน ของระบบการเมืองต้องปรับตัวและปรับวิธีคิด และขณะเดียวกันนักเรียนทุนที่ถูกส่งไปปเมืองนอกก็ย้อนกลับมาเป็นพลังในการเปลี่ยนแปลงระบบ
86 ปีประชาธิปไตยไทย ระบบเศรษฐกิจไทยเปลี่ยนจากระบบเศรษฐกิจอุปถัมภ์กึ่งผูกขาดเป็นระบบทุนนิยมโลกาภิวัฒน์ เราเปิดประเทศ มีพลังทุนข้ามชาติ ขณะที่โครงสร้างเศรษฐกิจไทยก็มีอำนาจการผูกขาดสูง ทำให้เกิดความเหลื่อล้ำในทางเศรษฐกิจ ประเทศที่มีความเหลื่อมล้ำทางเศรษฐกิจสูง ไม่มีทางที่จะเป็นระบอบประชาธิปไตยที่มั่นคงและมีเสถียรภาพ ดังนั้นเราต้องแก้ปัญหาทางเศรษฐกิจให้ได้
ย้อนกลับไปในประวัติศาสตร์ หลายครั้งคณะราษฎรผลักดันประเด็นการปฏิรูปโครงสร้างระบบเศรษฐกิจ ก็จะถูกโต้กลับทันที เพราะเป็นเรื่องการสูญเสียผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจของฝ่ายอำนาจเดิม และขณะที่ฝ่ายประชาธิปไตยก็ถูกทำให้อ่อนแอ ไม่อยู่ในสถานะทางเศรษฐกิจที่จะทำอะไรได้มากนัก นี่จึงเป็นจุดสำคัญที่เราอาจจะต้องใช้ความพยายามที่แก้ไขเปลี่ยนแปลงระบบเศรษฐกิจตรงนี้ให้ได้ เพื่อจะเกิดการเปลี่ยนแปลงที่แท้จริง
ถ้ามีการเลือกตั้งเรามีรัฐบาลที่ตรวจสอบได้ โปร่งใส เศรษฐกิจเป็นธรรม นักการเมืองมีคุณภาพ การเลือกตั้งเป็นอิสระและเป็นธรรม ประชาชนก็จะได้ประโยชน์ และคณะรัฐประหารที่มักอ้างเหตุผลเดิมๆในการยึดอำนาจ หากผู้นำกองทัพได้รับการปลูกฝัง เชื่อมั่น ศรัทธาในระบอบประชาธิปไตย เขาก็จะไม่ลุกขึ้นมาทำอะไรที่นอกวิถีทางประชาธิปไตย ผมหวังว่าอนาคตเราจะมีประชาธิปไตยที่ต่อเนื่องมั่นคง ดังนั้นสิ่งที่เราจะต้องทำคือ ปฏิรูปกองทัพ ปฏิรูปศาลยุติธรรม ต้องทำให้สองสิ่งยึดโยงกับประชาชนมากขึ้น จะทำให้ประชาธิปไตยไทยเข้มแข็งมากขึ้น
ผู้ว่าฯ เชียงรายยืนยันพบแล้ว "13 หมูป่าอะคาเดมี"ในถ้ำหลวง-เร่งหาทางพาออกมา
ณรงค์ศักดิ์ โอสถธนากร ผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงราย แถลงยืนยันพบตัวเยาวชนนักฟุตบอล+โค้ชทีม "หมูป่าอะคาเดมีแม่สาย"ปลอดภัยทั้ง 13 ชีวิต โดยพบที่เนินห่างจากหาดพัทยา 300-400 เมตร ขั้นต่อไปต้องสูบน้ำออกจากถ้ำ และหาทางพาเยาวชนออกจากถ้ำ โดยเตรียมทีมแพทย์ดำน้ำเข้าถ้ำเพื่อไปตรวจสุขภาพของเยาวชนและประเมินการเคลื่อนย้ายออกจากถ้ำต่อไป
2 ก.ค. 2561 เวลา 22.30 น. ที่หน้าถ้ำหลวงขุนน้ำนางนอน ต.โป่งผา อ.แม่สาย จ.เชียงราย ณรงค์ศักดิ์ โอสถธนากร ผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงราย ในฐานะผู้บัญชาการศูนย์อำนวยการร่วมค้นหาผู้สูญหายในวนอุทยานถ้ำหลวง-ขุนน้ำนางนอน แถลงยืนยันพบตัวเยาวชนนักฟุตบอลทีม "หมูป่าอะคาเดมีแม่สาย"โดยปลอดภัยทั้ง 13 ชีวิต โดยพบที่เนินห่างจากหาดพัทยา 300 เมตร
การแถลงข่าวของณรงศักดิ์ โอสถธนากร ผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงรายเมื่อคืนวันที่ 2 ก.ค. (ที่มา: PR.Chiangrai ประชาสัมพันธ์จังหวัดเชียงราย)
แฟ้มภาพเยาวชน "หมูป่าอะคาเดมีแม่สาย"
ผู้ว่าฯ เชียงรายแถลงด้วยว่าจากแผนการทำงาน 3 ขั้นตอนคือ "ค้นหา กู้ภัย ส่งกลับ"ถือว่าแผนค้นหาสำเร็จแล้ว ขั้นต่อไปจะต้องสูบน้ำในถ้ำออกให้หมด และหาทางนำตัวเยาวชนทั้ง 13 คนออกมา วันนี้ยังต้องพร่องน้ำต่อให้หมด ขณะนี้มีการประชุมวางแผนเพื่อส่งพยาบาลหรือแพทย์เข้าไปดูแลว่าสภาพเยาวชนเป็นอย่างไร วันนี้ข่าวสารที่แจ้งออกมายังต้องยืนยันกันอีกหลายชั่วโมง ขณะนี้จึงยังยืนยันข้อเท็จจริงเพิ่มเติมอะไรไม่ได้มาก แต่ยืนยันว่าเราพบเยาวชนแล้ว ถ้าแพทย์ประเมินสุขภาพของเยาวชนทั้ง 13 คนแล้ว ให้มีศักยภาพว่าเคลื่อนไหวได้ก่อน แล้วจะประเมินการเคลื่อนย้ายออกจากถ้ำต่อไป
โดยจะมีการจัดเตรียมการนำแพทย์หรือพยาบาลที่ดำน้ำได้เข้าไปดูแลสภาพร่างกายของเยาวชน หากคืนวันนี้ส่งเข้าไปได้จะส่งทันที สิ่งที่จะส่งเข้าไปร่วมกันคืออาหาร ภารกิจอื่นๆ ยังมีอีกมากมาย จนกว่าภารกิจจะเสร็จสิ้น จนกว่าจะส่งเยาวชนกลับ และฟื้นฟูจนกว่าจะปกติกลับไปเรียนหนังสือได้
ผู้ว่าฯ เชียงรายกล่าวด้วยว่า การกู้ภัยครั้งนี้นับเป็นความร่วมมือกับทุกภาคส่วน ที่น้อยครั้งจะเกิดขึ้นกับสังคมไทย พร้อมขอบคุณความช่วยเหลือและกำลังใจจากทั่วโลก โดยเขาอยากให้ประเทศไทยในอนาคตอันใกล้มีสภาพความร่วมมือแบบที่ทำกัน ณ วันนี้ ที่ดอยนางนอนแห่งนี้ เชื่อว่าประเทศไทยจะเจริญรุ่งเรือง
ผู้ว่าฯ เชียงราย ยังกล่าวขอบคุณทีมช่วยเหลือทุกทีม โดยทีมสูบน้ำต้องทำงานต่อไป และขอบคุณทีมค้นหาหลักๆ คือทีมซีล ที่ได้รับความกรุณาจากกองทัพเรือ ทีมค้นหาบนถ้ำคือทีมกองทัพบก กองทัพภาคที่ 3 ทั้งหมด ที่ตระเวนสำรวจทุกตารางนิ้ว ไปสำรวจหลุมเป็นร้อยหลุม และทีมหลายๆ หน่วยทั้งทีมตำรวจ ทุกภาคส่วนที่อาจจะเอ่ยไม่ครบ สำคัญที่สุดคือกำลังใจจากประชาชนคนไทยทั้งประเทศ ประชาชนทั่วโลก ไม่อาจทำได้สำเร็จหากปราศจากกำลังใจเหล่านี้ โดยผู้ว่าฯ ณรงค์ศักดิ์ปฏิเสธตอบคำถามเพิ่มเติม โดยจะให้รายละเอียดเพิ่มในการแถลงตอนเช้า พร้อมย้ำมาตรการจัดระเบียบจราจรและสื่อมวลชนยังคงเป็นเช่นเดิม
ทีมดำน้ำเผยภาพแรกพบ 13 เยาวชนหมูป่าอะคาเดมี
ขณะเดียวกันในเพจ Thai NavySEALเมื่อเวลา 23.44 น. ได้โพสต์ภาพและบรรยายภาพด้วยว่า "พบหมูป่าแล้ว.... แต่ภารกิจเรายังไม่จบ มนุษย์กบ ยังคงดำน้ำเข้าพื้นที่พร้อมหมอเวชศาสตร์ใต้น้ำ นำเพาเวอร์เจลและอุปกรณ์ยังชีพ ไปให้ทีมหมูป่าและส่งคนอยู่เป็นเพื่อนในจุดนั้น จนกว่าแผนการลำเลียงกลับจะเริ่มขึ้น HooYah"
ที่มา: เพจ Thai NavySEAL
และเมื่อเวลา 00.55 น. วันที่ 3 ก.ค. เพจ Thai NavySEALเผยแพร่วิดีโอคลิปความยาว 5 นาที เป็นวิดีโอภาพแรกที่ชุดค้นหาซึ่งประกอบด้วยนักดำน้ำจากอังกฤษและหน่วยซีล พบกับเยาวชนหมูป่าอะคาเดมี ระบุเวลาว่าเป็นเวลา 21.38 น. ของวันที่ 2 กรกฎาคม โดยบรรยายในสเตตัสว่า "Hooyah.....ทีมหมูป่า พบเยาวชนทีมหมูป่าบริเวณหาดทรายห่างจาก Pattaya beach 200 เมตร โดยนักดำน้ำหน่วยซีลดำน้ำวางไลน์เชือกนำทาง ร่วมกับนักดำน้ำจากประเทศอังกฤษ ระยะทางจากห้องโถง 3 ยาว 1,900 เมตร เมื่อเวลา 21.38 น. คืนวันที่ 3 กรกฎาคม 2561 #ThainavySEAL"
โดยในวิดีโอคลิปดังกล่าวชุดค้นหาซึ่งพูดภาษาอังกฤษกับกลุ่มเยาวชนบอกว่า พวกเขาแข็งแรงมาก และอยู่มาถึงวันจันทร์ซึ่งนับเป็นวันที่ 10 แล้ว ส่วนเยาวชนกล่าวขอบคุณทีมช่วยเหลือ และบอกด้วยว่าพวกเขามีความสุขมาก
ปฏิบัติค้นหา "หมูป่าอะคาเดมี"จนเจอในวันที่ 10
สำหรับการค้นหาเยาวชนนักฟุตบอลทีม "หมูป่าอะคาเดมีแม่สาย"เริ่มต้นขึ้นหลังจากเมื่อวันที่ 23 มิ.ย. นักฟุตบอลเยาวชนอายุ 11-16 ปี และโค้ชอายุ 25 ปี คือเอกพล จันทะวงษ์ เดินทางไปเที่ยวที่ถ้ำหลวง-ขุนน้ำนางนอน ในช่วงบ่าย หลังเสร็จสิ้นการฝึกซ้อมฟุตบอลในช่วงเช้า ต่อมาเวลา 15.00 น. เจ้าหน้าที่วนอุทยานถ้ำหลวง-ขุนน้ำนางนอน สังเกตเห็นรถจักรยานจอดอยู่ 11 คัน บริเวณทางเข้าถ้ำหลวงอย่างผิดสังเกต และมีผู้ปกครองแจ้งว่าไม่สามารถติดต่อลูกชายได้ โดยตั้งแต่เวลา 22.00 น. ทีมกู้ภัยของมูลนิธิสยามรวมใจแม่สาย และศูนย์วิทยุ 191 สภ. แม่สาย ได้รับแจ้งเหตุว่ามีเด็กหายตัวเข้าไปในถ้ำหลวง จนมีเจ้าหน้าที่ตำรวจและทหาร และหน่วยงานกู้ภัยเข้ามาร่วมการค้นหา จนกระทั่งมาค้นพบในวันที่ 2 ก.ค. ซึ่งเป็นวันที่ 10 ของการค้นหาดังกล่าว