21 ส.ค.56 เวลา 13.00 น. คณะวารสารศาสตร์และสื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ สมาคมนักข่าววิทยุและโทรทัศน์
สืบเนื่องจากร่
ในงานนี้มีวิทยากรและผู้ร่
การเสวนามีสาระสำคัญดังต่อไปนี้
ร่างประกาศเนื้อหาฯ พบปัญหาสำคัญหลายประการ คือ
1. เนื้อหามีความกำกวมและคลุมเครือ เช่น คำว่า ความมั่นคงของรัฐที่กำหนดถึงเนื้อหาที่ “ล้มล้างอำนาจในระบอบประชาธิปไตยไม่ว่าทั้งหมดหรือบางส่วน” เรื่องศีลธรรมที่กำหนดถึงเนื้อหาที่ “ก่อให้เกิดความเกลียดชังหรือลดคุณค่าศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์” และการห้ามนำเสนอที่ “น่ารังเกียจ” หรือ “ขัดต่อศีลธรรมอันดีของประชาชน”
ทั้งนี้ ปัจจุบันฝ่ายที่เกี่ยวกับการกำกับดูแลสื่อ นอกจากตัวสื่อเองที่ย่อมเซ็นเซอร์ตัวเองอยู่แล้ว ยังมีกลุ่มการเมืองและกลุ่มทุน และเมื่อถ้อยคำในกฎหมายมีความกำกวม ย่อมเปิดช่องให้เกิดการใช้ดุลพินิจตีความไปในทางที่ฝ่ายตนได้ประโยชน์ และเปิดช่องให้เกิดการเลือกปฏิบัติแน่นอน
2. ปัญหาของร่างนี้ คือเน้นกลไกการควบคุมมากกว่ากลไกการกำกับ ทั้งที่ กสทช.มีหน้าที่หนึ่งในการร่วมสร้างบรรยากาศที่ดีเพื่อให้เกิดการกำกับดูแลกันเองของสื่ออย่างสร้างสรรค์ แต่ลักษณะของร่างฉบับนี้ ยิ่งส่งเสริมการใช้อำนาจของกสทช.ในการสร้างกลไก “ควบคุม” สื่อ มากกว่ากลไกการ “กำกับดูแล”
3. เนื้อหาในร่าง เขียนทับซ้อนกฎหมายอื่นๆ ที่กำหนดเอาไว้ครอบคลุมและชัดเจนกว่าอยู่แล้ว เช่น ประมวลกฎหมายอาญา กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับเรื่องเหล้าและบุหรี่ ทำให้เกิดองค์กรบังคับใช้ที่ทับซ้อนกันไปมา
4. นอกจากร่างฉบับนี้จะไม่เปิดพื้นที่ให้กลไกกำกับดูแลกันเองขององค์กรวิชาชีพทำงานแล้ว ยิ่งสร้างปัญหาในบรรยากาศของการปฏิรูปสื่อ และย้อนการทำงานของสื่อกลับไปยังยุคที่ทำให้เจ้าของธุรกิจ เข้ามาแทรกแซงสื่อ
5. หากร่างฉบับนี้นำมาใช้จริง จะมีปัญหาในการบังคับใช้ เพราะไม่สอดคล้องกับความเป็นจริงของธรรมชาติงานสื่อ เช่น การบังคับให้สื่อต้องนำเสนอเนื้อหาโดยเชิญผู้ที่อยู่ในความขัดแย้งทั้งหมดมานำเสนอ การบังคับให้สื่อต้องนำเสนอเนื้อหาข่าวที่เป็นกลาง การห้ามเสนอรายการที่จะตกเป็นเครื่องมือทางการเมือง ซึ่งเป็นเรื่องที่ขึ้นกับการตีความ อาจจะส่งผลให้การนำเสนอเนื้อหาในรายการวิทยุและโทรทัศน์ จะมีแต่รายการลักษณะขี้หมูราขี้หมาแห้ง
โดยสรุปแล้ว เนื้อหาของร่างกำกับดูแลเนื้อหาฯ ขาดเจตนารมณ์ที่จะให้เกิดการจัดสรรคลื่นอย่างมีคุณภาพและหลากหลาย ภายใต้กลไกการควบคุมวิชาชีพกันเองของสื่อมวลชน อีกทั้งยังขัดต่อเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญ ที่มุ่งคุ้มครองการทำงานและการแสดงความคิดเห็นของสื่อมวลชน กล่าวคือ ร่างกำกับดูแลเนื้อหาฯ ละเลยเจตนารมณ์ของ พ.ร.บ.ประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ พ.ศ. 2551 และรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2550 ซึ่งเป็นกฎหมายที่ให้อำนาจ
วงเสวนาสรุปข้อเสนอแนะต่อ กสทช. ดังนี้
1. ถ้อยคำที่กำหนดเอาไว้ว่าเป็นเนื้อหาต้องห้ามนั้น ยังถือเป็นประเด็นที่เปิดให้เกิดการถกเถียง แทนที่จะออกมาตรการ รัฐควรทำความเข้าใจว่า ที่สุดแล้วไม่ใช่เรื่องกติกา แต่มันเป็นความเชื่อบางชุดที่ยังต้องปล่อยให้เกิดการถกเถียง โดยรัฐควรเริ่มจากการเชื่อมั่นในประชาชน คืนอำนาจให้ประชาชน และอย่าคิดว่าประชาชนโง่ตลอดเวลา แต่ปล่อยพื้นที่ให้ประชาชนถกเถียง เพื่อที่ว่า สิ่งต่างๆ ที่ยังเป็นความเชื่อจะได้ไม่ถูกกันจากสังคมไปตั้งแต่แรก
2. แทนที่เนื้อหาในร่างกำกับดูแลเนื้อหาฯ จะกำหนดเพียงรายละเอียดของการให้อำนาจผู้รับใบอนุญาต ใช้ดุลพินิจของตนควบคุมสื่อ ผ่านการสั่งปรับหรือถอนใบอนุญาต ร่างกำกับดูแลเนื้อหาฯ ฉบับนี้ ควรศึกษากลไกอื่นๆ ที่ควรคำนึงถึง ซึ่งจะรักษาสมดุลของสิทธิเสรีภาพกับประโยชน์สาธารณะ เช่น กลไก watershed ที่ใช้เรื่องการกำหนดเวลาสำหรับเนื้อหาบางประเภท เช่น เนื้อหาที่อาจไม่เหมาะสมกับเด็กและเยาวชน สามารถนำเสนอได้ในช่วงเวลาเฉพาะที่กำหนดไว้
3. ในร่างนี้ ควรมีเนื้อหาว่าด้วยการกำกับดูแลตัวเอง หรือการกำกับดูแลร่วม ดังที่กำหนดเอาไว้ในมาตรา 39 ของพ.ร.บ.ประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ อีกทั้งยังควรกำหนดหลักเกณฑ์ที่ให้รายละเอียดถึงวิธีการตรวจสอบการใช้ดุลพินิจ รวมถึงกำหนดรายละเอียดขั้นตอนการตรวจสอบถ่วงดุลการใช้อำนาจของทั้งผู้รับใบอนุญาตและกสทช.ด้วย
4. กสทช. ควรสร้างและส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชนให้มากยิ่งขึ้น ซึ่งแทนที่จะเปิดการมีส่วนร่วมเพียงแค่ช่วงการประชาพิจารณ์ซึ่งเป็นการเปิดรับฟังความคิดเห็นในช่วงท้ายเท่านั้น กสทช.ควรมีกระบวนการที่เปิดโอกาสให้ทุกฝ่ายที่มีส่วนเกี่ยวข้องเข้าร่วมกระบวนการยกร่าง กำหนดเจตนารมณ์ และกำหนดรายละเอียดร่วมกัน
ที่มา: โครงการอินเตอร์เน็ตเพื่อกฎหมายประชาชน (iLaw)