21 ส.ค.56 ศูนย์วิจัยมหาวิทยาลัยกรุงเทพ (กรุงเทพโพลล์) เปิดเผยผลสำรวจความคิดเห็นประชาชนเรื่อง “การแสดงออกทางการเมืองในยุคสังคมออนไลน์” โดยเก็บข้อมูลกับประชาชนอายุ 18 ปีขึ้นไปในพื้นที่กรุงเทพมหานครและปริมณฑล โดยมีกลุ่มตัวอย่างทั้งสิ้นจำนวน 1,188 คน พบว่า อุปกรณ์ที่ใช้ในการเข้าถึงเครือข่ายสังคมออนไลน์มากที่สุดคือ สมาร์ทโฟน (ร้อยละ 70.8) รองลงมาคือ แท็บเล็ต (ร้อยละ 10.1) และ คอมพิวเตอร์ / โน๊ตบุ๊ค (ร้อยละ 19.1)
สำหรับเครือข่ายสังคมออนไลน์ที่ประชาชนใช้มากที่สุดคือ เฟซบุ๊ก (ร้อยละ 93.8) รองลงมาคือ ไลน์ (ร้อยละ 76.0) และอินสตาร์แกรม (ร้อยละ 27.3) โดยไลน์เป็นเครือข่ายสังคมออนไลน์ที่ประชาชนใช้ต่อสัปดาห์ (6-7 วัน) มากที่สุดคิดเป็นร้อยละ 85.5 รองลงมาคือเฟซบุ๊ก (ร้อยละ 76.8) และอินสตาร์แกรม (ร้อยละ 63.6)
เมื่อถามว่าเคยเห็นเพื่อนๆ ที่อยู่ในเครือข่ายสังคมออนไลน์ โพสต์ แชร์ กดไลค์ หรือคอมเมนต์ประเด็นทางการเมืองบ่อยเพียงใด ผู้ตอบส่วนใหญ่ร้อยละ 57.8 เคยเห็นเกือบทุกวันที่เข้าใช้ ขณะที่ร้อยละ 31.1 เคยเห็นน้อยครั้ง และร้อยละ 11.1 ไม่เคยเห็นเลย เมื่อถามต่อว่าเคยอ่านความคิดเห็นทางการเมือง ที่มีการโพสต์อยู่ในเครือข่ายสังคมออนไลน์บ้างหรือไม่ ประชาชนร้อยละ 87.8 บอกว่า“อ่าน” โดยอ่านเฉพาะประเด็นที่น่าสนใจมากที่สุด (ร้อยละ 47.2) รองลงมา เป็นการอ่านแบบผ่านๆไม่สนใจมาก (ร้อยละ 32.2) และ อ่านเกือบทุกประเด็น (ร้อยละ 8.4) ขณะที่ร้อยละ 12.2 บอกว่า“ไม่อ่านเลย”
ทั้งนี้ประชาชนร้อยละ 69.6 มีส่วนร่วมแสดงออกทางการเมืองผ่านเครือข่ายสังคมออนไลน์ โดยร้อยละ 34.6 จะกดไลค์/ถูกใจ รองลงมา ร้อยละ 11.2 จะแชร์หรือแบ่งปันข้อมูล และร้อยละ 9.5 จะร่วมแสดงความเห็น/คอมเมนต์ ขณะที่ร้อยละ 30.4 ไม่มีส่วนร่วม/อ่านอย่างเดียว
ด้านความเห็นต่อข้อคำถามที่ว่า “เครือข่ายสังคมออนไลน์มีส่วนช่วยให้ท่านรู้สึกว่าเรื่องการเมืองเป็นเรื่องใกล้ตัวมากขึ้น ใช่หรือไม่” ร้อยละ 68.2 คิดว่าใช่ ขณะที่ร้อยละ 12.5 คิดว่าไม่ใช่ และร้อยละ 19.4 ไม่แน่ใจ
ส่วนความเห็นต่อรัฐบาลว่าควรวางตัวอย่างไรต่อผู้ใช้เครือข่ายสังคมออนไลน์ ผู้ตอบส่วนใหญ่ร้อยละ 51.1 เห็นว่าควรให้สิทธิ เสรีภาพในการแสดงความคิดเห็น ขณะที่ร้อยละ 33.8 เห็นว่าควรรณรงค์ สื่อสาร ทำความเข้าใจกับผู้ใช้ถึงสิ่งที่ทำได้ ทำไม่ได้ และการใช้อย่างสร้างสรรค์ และร้อยละ 15.1 เห็นว่าควรดูแลผู้ใช้ตามอำนาจที่กฎหมายให้ไว้ ไม่ควรลุแก่อำนาจ
สุดท้ายเมื่อถามว่านักการเมืองหรือบุคคลที่เกี่ยวข้องกับการเมืองคนใดที่ผู้ตอบติดตามการแสดงความเห็นผ่านเครือข่ายสังคมออนไลน์มากที่สุดอันดับแรกคือ นายชูวิทย์ กมลวิศิษฏ์ (ร้อยละ 46.0) รองลงมาคือ พ.ต.ท.ดร. ทักษิณ ชินวัตร (ร้อยละ 17.5) และนายกรณ์ จาติกวณิช (ร้อยละ 9.0)
รายละเอียดดังต่อไปนี้
1. อุปกรณ์ที่ใช้ในการเข้าถึงเครือข่ายสังคมออนไลน์มากที่สุด คือ
สมาร์ทโฟน | ร้อยละ | 70.8 |
แท็บเล็ต | ร้อยละ | 10.1 |
คอมพิวเตอร์ / โน๊ตบุ๊ค | ร้อยละ | 19.1 |
2. การเป็นสมาชิกเครือข่ายสังคมออนไลน์และความถี่ในการเข้าใช้
เครือข่ายสังคมออนไลน์ | การเป็นสมาชิก (ร้อยละ) | ความถี่ในการใช้ต่อสัปดาห์ | ||
(ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ) | 1-2 วัน (ร้อยละ) | 3-5 วัน (ร้อยละ) | 6-7 วัน (ร้อยละ) | |
เฟซบุ๊ก | 93.8 | 8.8 | 14.4 | 76.8 |
ไลน์ | 76.0 | 4.8 | 9.7 | 85.5 |
อินสตาร์แกรม | 27.3 | 14.0 | 22.4 | 63.6 |
วอทส์แอพพ์ | 16.8 | 20.5 | 19.0 | 60.5 |
ทวิตเตอร์ | 9.7 | 23.5 | 25.2 | 51.3 |
วีแชต | 7.9 | 26.9 | 15.1 | 58.0 |
3. ท่านเคยเห็นเพื่อนๆ ที่อยู่ในเครือข่ายสังคมออนไลน์ โพสต์ แชร์ กดไลค์ หรือคอมเมนต์ประเด็นทางการเมืองบ่อยเพียงใด
เคยเห็นเกือบทุกวันที่เข้าใช้ | ร้อยละ | 57.8 |
เคยเห็นน้อยครั้ง | ร้อยละ | 31.1 |
ไม่เคยเห็นเลย | ร้อยละ | 11.1 |
4. ท่านอ่านความคิดเห็นทางการเมือง ที่มีการโพสต์อยู่ในเครือข่ายสังคมออนไลน์บ้างหรือไม่
อ่าน โดย อ่านเกือบทุกประเด็น ร้อยละ 8.4 อ่านเฉพาะประเด็นที่น่าสนใจ ร้อยละ 47.2 อ่านแบบผ่านๆไม่สนใจมาก ร้อยละ 32.2 | ร้อยละ | 87.8 |
ไม่อ่านเลย | ร้อยละ | 12.2 |
5. การมีส่วนร่วมแสดงออกทางการเมืองผ่านเครือข่ายสังคมออนไลน์
มีส่วนร่วม | ร้อยละ | 69.6 |
โดย กดไลค์/ถูกใจ ร้อยละ 34.6 |
|
|
แชร์หรือแบ่งปันข้อมูล ร้อยละ 11.2 |
|
|
ร่วมแสดงความเห็น/คอมเมนต์ ร้อยละ 9.5 |
|
|
แชตหรือคุยกันในกลุ่ม ร้อยละ 9.0 |
|
|
โพสต์ความเห็นของตัวเอง ร้อยละ 5.3 |
|
|
ไม่มีส่วนร่วม/ อ่านอย่างเดียว | ร้อยละ | 30.4 |
6. ความเห็นต่อข้อคำถามที่ว่า “เครือข่ายสังคมออนไลน์มีส่วนช่วยให้ท่านรู้สึกว่าเรื่องการเมืองเป็นเรื่องใกล้ตัวมากขึ้น ใช่หรือไม่”
คิดว่าใช่ | ร้อยละ | 68.2 |
คิดว่าไม่ใช่ | ร้อยละ | 12.5 |
ไม่แน่ใจ | ร้อยละ | 19.4 |
7. ความเห็นต่อรัฐบาลควรวางตัวอย่างไรต่อผู้ใช้เครือข่ายสังคมออนไลน์
ควรให้สิทธิ เสรีภาพในการแสดงความคิดเห็น | ร้อยละ | 51.1 |
ควรรณรงค์ สื่อสาร ทำความเข้าใจกับผู้ใช้ถึงสิ่งที่ทำได้ทำไม่ได้ และการใช้อย่างสร้างสรรค์ | ร้อยละ | 33.8 |
ควรดูแลผู้ใช้ตามอำนาจที่กฎหมายให้ไว้ ไม่ควรลุแก่อำนาจ | ร้อยละ | 15.1 |
8. นักการเมืองหรือบุคคลที่เกี่ยวข้องกับการเมืองที่ผู้ตอบติดตามการแสดงความเห็นผ่านเครือข่ายสังคมออนไลน์มากที่สุด (5 อันดับแรก) (เป็นคำถามปลายเปิดให้ผู้ตอบระบุเอง)
นายชูวิทย์ กมลวิศิษฏ์ | ร้อยละ | 46.0 |
พ.ต.ท.ดร. ทักษิณ ชินวัตร | ร้อยละ | 17.5 |
นายกรณ์ จาติกวณิช | ร้อยละ | 9.0 |
นายชัชชาติ สิทธิพันธุ์ | ร้อยละ | 3.5 |
นายพานทองแท้ ชินวัตร | ร้อยละ | 3.0 |