Quantcast
Channel: พันศักดิ์ วิญญรัตน์
Viewing all articles
Browse latest Browse all 14385

คณะกรรมการต่อต้านทรมาน ยูเอ็น เตรียมตรวจสอบไทย เอไอชี้เป็นโอกาสปรับปรุง

$
0
0

             

แอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนล ออกแถลงการณ์วันนี้ในช่วงที่ประเทศไทยจะได้รับการตรวจสอบรายงานสถานการณ์การทรมานในประเทศไทยจากคณะกรรมการต่อต้านการทรมานแห่งสหประชาชาติ เรียกร้องรัฐบาลไทยต้องดำเนินการอย่างเร่งด่วนเพื่อยุติการทรมานและการปฏิบัติหรือการลงโทษอื่นๆ ที่โหดร้าย ไร้มนุษยธรรม หรือที่ย่ำยีศักดิ์ศรี และออกกฎหมายและบังคับใช้กฎหมายเพื่อกำหนดให้การทรมานเป็นความผิดอาญาอย่างหนึ่ง

รูเพิร์ต แอ็บบอต (Rupert Abbott) รองผู้อำนวยการภาคพื้นเอเชียแปซิฟิก แอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนลกล่าวว่า การทรมานและการปฏิบัติที่โหดร้ายยังคงเป็นปัญหาร้ายแรงที่เกิดขึ้นทั่วประเทศไทย และการที่ยังไม่มีกฎหมายเอาผิดการทรมานเป็นการเฉพาะ ชี้ให้เห็นความจำเป็นที่รัฐบาลต้องดำเนินการอย่างเป็นระบบ

“การที่ประเทศไทยเข้าร่วมกระบวนการตรวจสอบขององค์การสหประชาชาติ เป็นเรื่องน่ายินดีและเป็นโอกาสในการแก้ปัญหาที่เป็นข้อกังวลอย่างยาวนาน แต่เพื่อให้การเข้าร่วมครั้งนี้ส่งผลกระทบอย่างจริงจัง ประเทศไทยต้องปฏิบัติตามคำแนะนำอย่างจริงจังเพื่อยุติการทรมาน”

ในวันที่ 30 เมษายน 2557 คณะกรรมการต่อต้านการทรมานแห่งสหประชาชาติจะตรวจสอบข้อมูลการทรมานและการปฏิบัติที่โหดร้ายของประเทศไทย ซึ่งเป็นการปฏิบัติตามพันธกรณีครั้งแรกของไทยตามข้อกำหนดในพิธีสารเลือกรับของอนุสัญญาต่อต้านการทรมานและการปฏิบัติหรือการลงโทษอื่นๆ ที่โหดร้าย ไร้มนุษยธรรม หรือที่ย่ำยีศักดิ์ศรี (Convention Against Torture and other Cruel, Inhuman or Degrading Treatment or Punishment-CAT)  

ในรายงานที่ส่งมอบให้กับคณะกรรมการต่อต้านการทรมานแห่งสหประชาชาติ แอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนลได้บันทึกข้อมูลเกี่ยวกับการทรมานและการปฏิบัติที่โหดร้ายซึ่งเกิดขึ้นกับผู้ถูกควบคุมตัวโดยทหารและตำรวจในไทยมาเป็นเวลานาน รวมทั้งข้อกังวลเกี่ยวกับสภาพของเรือนจำ ความแออัดยัดเยียดในเรือนจำและศูนย์กักตัวคนต่างด้าว ซึ่งเป็นเหตุให้ผู้ลี้ภัยและคนเข้าเมืองอาจเผชิญกับการกักตัวโดยไม่มีกำหนด และเสี่ยงที่จะได้รับการทรมานและการปฏิบัติที่โหดร้าย

ระหว่างปี 2550 – 2556 คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ (กสม.) รับเรื่องร้องเรียนเกี่ยวกับการทรมานและการปฏิบัติที่โหดร้ายจำนวน 134 เรื่อง กว่า 75% ของเรื่องร้องเรียนดังกล่าวมาจากจังหวัดชายแดนใต้ ซึ่งเจ้าหน้าที่มักมีส่วนร่วมในการทรมานและการปฏิบัติที่โหดร้ายที่เกิดขึ้นในบริบทของการก่อความไม่สงบอย่างต่อเนื่อง

มีการกล่าวหาว่าตำรวจมักใช้การทรมานและการปฏิบัติที่โหดร้าย โดยเฉพาะกับผู้ต้องสงสัยในคดียาเสพติด ในปี 2556 ตำรวจนายหนึ่งยอมรับต่อสื่อมวลชนว่า “ไม่ใช่เรื่องผิดปรกติ” ที่ตำรวจจะซ้อมทรมานผู้ต้องสงสัย

ผู้ทำการทรมานมักลอยนวลพ้นผิด ที่ผ่านมามีผู้ต้องสงสัยว่ากระทำความผิดถูกฟ้องดำเนินคดีเพียงไม่กี่ราย และเนื่องจากไม่มีความผิดฐานการทรมาน เป็นเหตุให้ต้องตั้งข้อหาอื่น อย่างเช่น การทำร้ายร่างกาย

แอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนลเรียกร้องให้ทุกหน่วยงานของไทยที่รับผิดชอบต่อการควบคุมตัวบุคคลและรับผิดชอบต่อกฎหมายและระเบียบว่าด้วยการควบคุมตัวบุคคล ให้ร่วมมือกันเพื่อทำการทบทวนอย่างเป็นระบบและอย่างเป็นองค์รวมต่อกฎหมาย นโยบาย และการปฏิบัติ ซึ่งมีส่วนสนับสนุนการทรมานและการปฏิบัติที่โหดร้าย และยังปิดกั้นการเข้าถึงการเยียวยาของผู้เสียหาย และให้มีการแก้ไขเพิ่มเติมกฎหมาย นโยบาย และการปฏิบัติดังกล่าว

“ทางการไทยต้องปฏิบัติการโดยทันทีเพื่อแสดงให้เห็นพันธกิจที่มีต่อการขจัดการทรมานและการปฏิบัติที่โหดร้ายขั้นตอนต่าง ๆ ควรรวมถึงการกำหนดมาตรการเชิงปฏิบัติเพื่อป้องกันการทรมาน การกำหนดให้เป็นความผิดทางอาญา การนำตัวผู้กระทำผิดมาลงโทษและการให้การเยียวยาต่อผู้เสียหาย  รัฐบาลยังควรเปิดให้หน่วยงานอิสระสามารถเข้าไปตรวจสอบสถานคุมขัง และดำเนินการเพิ่มเติมเพื่อให้สัตยาบันรับรองต่อพิธีสารเลือกรับของอนุสัญญาต่อต้านการทรมาน” รูเพิร์ต แอ็บบอตกล่าว

 

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

Viewing all articles
Browse latest Browse all 14385

Trending Articles