Quantcast
Channel: พันศักดิ์ วิญญรัตน์
Viewing all articles
Browse latest Browse all 14385

ศิษย์เก่า ม.นเรศวร ยื่นหนังสือ เรียกร้อง กกต.จัดเลื่อกตั้ง 2 กพ.

$
0
0

 

พิษณุโลก: อังคารที่ 28 มกราคม 2557 เวลา10.00 นาฬิกา ณ.สำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้งประจำจังหวัดพิษณุโลก  กลุ่มศิษย์ เก่า มศว.มน. พิษณุโลก ปกป้องประชาธิปไตย(กศป.) ร่วมกับ ชมรมส่งเสริมการเรียนรู้ภาคเหนือตอนล่าง เข้ายื่นหนังสือ ถึงคณะกรรมการเลือกตั้ง (กกต.) เรียกร้องให้ปฏิบัติหน้าที่จัดให้มีการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรฯ ในวันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2557 โดยมี นายยงยศ เมฆอรุณ ประธาน กกต.พิษณุโลกและเจ้าหน้าที่สำนักงานกกต.จังหวัด  เป็นตัวแทนรับเรื่อง เพื่อนำเสนอต่อคณะกรรมการการเลือกตั้ง

นายพิสาร หมื่นไกร ตัวแทนกลุ่มผู้ยื่นหนังสือ ได้กล่าวแถลงต่อประธาน กกต.พิษณุโลก มีใจความสำคัญโดยสรุปว่า ”ที่ผ่านมาได้เกิดสถานการณ์ความขัดแย้งทางการเมืองจนนำไปสู่การประกาศพระราชกฤษฎีกายุบสภาและจัดให้มีการเลือกตั้ง 2 กุมภาพันธ์ 2557 ซึ่งเป็นกระบวนการปรกติของระบอบประชาธิปไตยทั่วโลก ได้มีข้อเรียกร้องจาก กลุ่มคนส่วนหนึ่งที่ได้พยายามขัดขวางกระบวนการเลือกตั้ง  รวมถึงได้เรียกร้องหรือกดดันให้มี การเลื่อนการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรฯออกไป ด้วยเหตุผลต่างๆนานา ในขณะเดียวกันก็ได้มีกรรมการการเลือกตั้ง(กกต.)บางท่าน ได้ปฏิบัติหน้าที่และดำเนินการอันเป็นที่รับทราบทางสาธารณะ ไปในทิศทางที่เชื่อได้ว่ามีความต้องการในการเลื่อนการเลือกตั้งฯ ดังกล่าว โดยละเลยและไม่ได้ฟังเสียงหรือเคารพสิทธิของผู้มีสิทธิ์เลือกตั้งส่วนใหญ่ทั้งสังคม

ทางกลุ่มฯ ขอเรียกร้องให้คณะกรรมการการเลือกตั้งชุดปัจจุบัน ซึ่งมีอำนาจหน้าที่โดยตรงในการจัดการเลือกตั้ง ต้องดำเนินการจัดให้มี การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรฯ ในวันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2557 เกิดขึ้น อย่างเต็มอำนาจหน้าที่ และอย่างเต็มความสามารถ มิอาจกระทำเป็นอย่างอื่น

เนื่องจาก รัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบันและกฎหมายที่เกี่ยวข้อง ได้บัญญัติสิทธิ และหน้าที่ของปวงชนชาวไทยที่เกี่ยวกับการเลือกตั้งไว้หลายมาตรา และบัญญัติหน้าที่ของกกต.ให้ควบคุมและดำเนินการเป็นผู้จัดหรือจัดให้มี การเลือกตั้งหรือการสรรหาสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ให้เป็นไปโดยสุจริตและเที่ยงธรรม และต้องอำนวยความสะดวกและจัดให้สามารถใช้สิทธิเลือกตั้งได้โดยง่าย

ที่สำคัญ ไม่มีบทบัญญัติใดในรัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบัน หรือใน พรบ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรฯ พรบ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยคณะกรรมการการเลือกตั้งฯ หรือกฏหมายอื่นใด บัญญัติให้ ผู้ใด หรือองค์กรใด มีอำนาจหรือหน้าที่ในการเลื่อนการเลือกตั้งทั่วไปทั้งประเทศออกไปได้

ต่อมา นายเกษมสันต์ มีทิพย์ ศิษย์เก่าฯ ได้เป็นตัวแทนยื่นหนังสือ ต่อประธาน กกต.พิษณุโลกและเรียกร้องต่อ ประธาน กกต.พิษณุโลก ว่า ”ขอมอบหนังสือยืนยันเจตนารมย์ของพวกเรา ผ่านทาง กกต.จังหวัดพิษณุโลก ไปถึง กกต.กลาง เพื่อให้ กกต.กลาง ทำหน้าที่เต็มความสามารถเพื่อให้เกิดการเลือกตั้ง ในวันที่ 2 กุมภาพันธ์ ที่จะถึงนี้โดยมิอาจกระทำเป็นอย่างอื่น”

หลังจากรับหนังสือเรียกร้อง นายยงยศ เมฆอรุณ ประธาน กกต.พิษณุโลก ได้กล่าวตอบกลุ่มผู้มายื่นข้อเรียกร้อง ว่า “ขอขอบคุณตามที่ท่านถือปฏิบัติและได้ใช้สิทธิของท่านตามรัฐธรรมนูญและถือปฏิบัติตามระเบียบกฎหมายโดยเคร่งครัด โดยขอให้ยึดหลักสามัคคีธรรมและจะได้ดำเนินการรายงานไปยัง กกต.กลางเพื่อรับทราบต่อไป”

ในช่วงท้ายผู้สื่อข่าวได้สอบถามเกี่ยวกับการเลือกตั้งที่จะมาถึงนี้ ในประเด็นที่สำคัญคือ

1.การเลื่อนเลือกตั้งยังไม่มีคำสั่งมาหรือไม่

-ประธานกกต.ชี้แจงว่า ไม่มีคำสั่งในการเลื่อน

2.ในการเลือกตั้งที่จะถึงนี้ กกต.จะดำเนินการทันหรือไม่

-ประธานกกต.ตอบว่า ว่าทางเราเตรียมพร้อมอยู่แล้ว

3.อยากให้ กกต.สรุปถึงสถานการณ์ การเลือกตั้งล่วงหน้าที่ผ่านมาที่ผู้มาใช้สิทธิน้อย และการเลือกตั้งทั่วไปที่จะมาถึงจะทำอย่างไร

-ประธานกกต.ชี้แจงว่า ต้องใช้การประชาสัมพันธ์ โดยสื่อ ต้องช่วยกัน ให้จัดการเลือกตั้งดีอย่างไร  ถ้าไม่มีการประชาสัมพันธ์โดยสื่อมวลชนก็คงยาก ต้องช่วยรณรงค์ทุกรูปแบบ สำหรับกกต.

4.เป็นไปได้หรือไม่ที่ประชาชนไม่มั่นใจในการเลือกตั้ง ในครั้งนี้

-ประธานกกต.ชี้แจงว่าคงตอบแทนไม่ได้ แต่ต้องอาศัยสื่อมวลชน ในเรื่องของการพัฒนาการเมือง การปกครองสื่อต้องช่วยกัน

โดยการมายื่นหนังสือครั้งนี้มีสื่อสารมวลชน ทั้งภูมิภาคและส่วนกลาง หลายสำนักมาร่วมทำข่าว อีกทั้งสมาชิกกลุ่มได้ถือป้าย อันมีใจความเรียกร้องให้มีการเลือกตั้งและรักษาสิทธิเลือกตั้งของประชาชน เช่น รักษาสิทธิ พิทักษ์ประชาธิปไตย ไปเลือกตั้ง 2 กุมภาพันธ์ ฯ ,ยุติความรุนแรงไปเลือกตั้ง 2ก.พ. 57 โดยมีเจ้าหน้าที่ตำรวจและเจ้าหน้าที่สำนักงานคณะกมการการเลือกตั้งประจำจังหวัดพิษณุโลก อำนวยความสะดวกเป็นอย่างดี

 

***หนังสือข้อเรียกร้องให้ปฏิบัติหน้าที่จัดให้มีการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรฯในวันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2557 ของ กลุ่มศิษย์ เก่า มศว.มน. พิษณุโลก ปกป้องประชาธิปไตย และชมรมส่งเสริมการเรียนรู้ภาคเหนือตอนล่าง 

 

๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐

จดหมายเปิดผนึกถึงคณะกรรมการเลือกตั้ง(กกต.)

 

เรื่องข้อเรียกร้องให้ปฏิบัติหน้าที่จัดให้มีการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรฯในวันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2557
เรียน คณะกรรมการการเลือกตั้ง

ตามที่ได้มีสถานการณ์ความขัดแย้งทางการเมืองจนนำไปสู่การประกาศพระราชกฤษฎีกายุบสภาและจัดให้มีการเลือกตั้ง 2 กุมภาพันธ์ 2557 อันเป็นไปตามบทบัญญัติในรัฐธรรมนูญ พ.ศ.2550 และกระบวนการปรกติของระบอบประชาธิปไตยทั่วโลกนั้น และโดยต่อมาได้มีข้อเรียกร้องจาก กลุ่มคนส่วนหนึ่งที่ได้พยายามขัดขวางกระบวนการเลือกตั้งดังกล่าว รวมถึงได้เรียกร้องหรือกดดันให้มี การเลื่อนการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2557( 2 กุมภาพันธ์ 2557) ออกไป ด้วยเหตุผลต่างๆนานา ในขณะเดียวกันก็ได้มีกรรมการการเลือกตั้ง(กกต.)บางท่าน ได้ปฏิบัติหน้าที่และดำเนินการอันเป็นที่รับทราบทางสาธารณะ ไปในทิศทางที่เชื่อได้ว่ามีความต้องการในการเลื่อนการเลือกตั้งฯ ดังกล่าว โดยละเลยและไม่ได้ฟังเสียงหรือเคารพสิทธิของผู้มีสิทธิ์เลือกตั้งส่วนใหญ่ทั้งสังคม

บุคคลและกลุ่มบุคคลที่มีรายชื่อแนบท้ายหนังสือฉบับนี้ ซึ่งเป็นปวงชนชาวไทยและเป็นผู้มีสิทธิเลือกตั้ง ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 ขอเรียกร้องให้คณะกรรมการ การเลือกตั้งชุดปัจจุบัน ซึ่งมีอำนาจหน้าที่โดยตรงในการจัดการเลือกตั้ง ต้องดำเนินการจัดให้มี การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรฯ ในวันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2557 เกิดขึ้น ตามที่บัญญัติไว้ใน พระราชกฤษฎีกายุบสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ. ๒๕๕๖(มาตรา 4) อย่างเต็มอำนาจหน้าที่ และอย่างเต็มความสามารถ มิอาจกระทำเป็นอย่างอื่น ตามความสำคัญ เหตุผลและข้อกฎหมายดังต่อไปนี้

ประการที่หนึ่ง : ความสำคัญของการเลือกตั้ง

“ระบบเลือกตั้ง” ถูกนําเข้ามาใช้เป็นเครื่องมือในการคัดสรรผู้แทนของประชาชนชาวไทยต่อเนื่อง มาเป็นเวลากว่า 80 ปีแล้ว ประเทศที่เป็นประชาธิปไตยต้องมีการเลือกตั้ง(ร.ศ. อัษฎางค์ ปาณิกบุตร)ถ้าขาดซึ่งการเลือกตั้งแล้วย่อมไม่เป็นประชาธิปไตย
การเลือกตั้ง คือ การที่ประชาชนใช้สิทธิของตนเองลงคะแนนเสียงเลือกตัวแทน เพื่อทําหน้าที่แทนตนในการปกครองแต่ละระดับของประเทศ 

-ในทางทฤษฎี การเลือกตั้งเป็นการประกันสิทธิขั้นพื้นฐานของประชาชนในระบอบประชาธิปไตย

-ในทางปฏิบัติการเลือกตั้ง คือทางออกของปัญหาด้วยสันติวิธี เป็นเครื่องมือหรือนวัตกรรมที่สำคัญในทางการเมืองซึ่งถูกออกแบบมาเพื่อใช้คลี่คลายปมปัญหา(รศ.ยุทธพร อิสรชัย คณบดีรัฐศาสตร์ มสธ.)


ประการที่สอง : ข้อกฏหมาย

ตามบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 ได้บัญญัติถึงอำนาจ สิทธิ หน้าที่และการมีส่วนร่วมของปวงชนชาวไทย ที่เกี่ยวกับการเลือกตั้งไว้หลายมาตรา อาทิ 

1) อำนาจอธิปไตยเป็นปวงชนชาวไทย (มาตรา 3)
2) ศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ สิทธิ เสรีภาพ และความเสมอภาคของบุคคลย่อมได้รับ ความคุ้มครอง(มาตรา 4 )
3) บัญญัติคุณสมบัติของบุคคลที่มีสิทธิในการเลือกตั้งและลงคะแนนเสียงเลือกตั้งของ ปวงชนชาวไทยไว้ (มาตรา 99) 
4) บัญญัติไว้ว่าบุคคลมีหน้าที่ไปใช้สิทธิเลือกตั้ง(มาตรา 72) 
5) และบัญญัติไว้ในส่วนที่10(2) แนวนโยบายด้านการมีส่วนร่วมของประชาชน ในการตัดสินใจทางการเมืองว่ารัฐต้องดำเนินการ ส่งเสริมและสนับสนุนการมีส่วนร่วม ของประชาชนในการตัดสินใจทางการเมือง 
6) รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 มีเจตนารมณ์ เพื่อให้ประชาชน ชาวไทยมีส่วนร่วมในการเลือกตัวแทนของตนเข้าสู่ระบบการปกครอง กำหนดให้บุคคลที่มีสิทธิเลือกตั้งมีหน้าที่ต้องไปใช้สิทธิเลือกตั้ง ดังนั้น รัฐต้องมีหน้าที่โดยตรง ในการอำนวยความสะดวกและจัดให้สามารถใช้สิทธิเลือก ตั้งได้โดยง่าย
7) ไม่มีบทบัญญัติใดในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ฉบับปี พ.ศ.๒๕๕๐ พรบ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและการได้มาซึ่งสมาชิกวุฒิสภา พ.ศ.2550 พรบ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยคณะกรรมการการเลือกตั้ง พ.ศ.2550 หรือกฏหมายอื่นใด บัญญัติให้มีการเลื่อนการเลือกตั้งทั้งประเทศ

 

ประการที่สาม : หน้าที่ของคณะกรรมการการเลือกตั้ง ซึ่งบัญญัติไว้ใน ส่วนองค์กรอิสระตามรัฐธรรมนูญของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 (มาตรา 235 และ 236) กำหนดให้เป็นผู้ควบคุมและดำเนินการจัดหรือจัดให้มี การเลือกตั้งหรือการสรรหาสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ให้เป็นไปโดยสุจริตและเที่ยงธรรม และมีอำนาจหน้าที่ในการปฏิบัติ อีก 8 ข้อ(มาตรา 236) เพื่อให้การเลือกตั้งเกิดขึ้นโดยบริสุทธิและเที่ยงธรรม ที่สำคัญ ไม่มีข้อบัญญัติใดที่กำหนดให้ คณะกรรมการการเลือกตั้งมีอำนาจหรือหน้าที่ ใดๆ ในการเลื่อนการเลือกตั้ง ทุกเขตเลือกตั้งทั่วทั้งประเทศ มีเพียงบัญญัติไว้ ใน(6) ของมาตรา 236 ที่ว่า มีอำนาจสั่งให้มีการเลือกตั้งใหม่หรือออกเสียงประชามติใหม่ในหน่วยเลือกตั้งใด หน่วยเลือกตั้งหนึ่งหรือทุกหน่วยเลือกตั้ง เมื่อมีหลักฐานอันควรเชื่อได้ว่าการเลือกตั้ง หรือการออกเสียง ประชามติในหน่วยเลือกตั้งนั้น ๆ มิได้เป็นไปโดยสุจริตและเที่ยงธรรม เท่านั้น

ด้วยเหตุดังนั้น เพื่อเป็นการรักษาระบอบประชาธิปไตย รักษาและส่งเสริมสิทธิ ทางการเมืองและการมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชน และเป็นการแก้ไขปัญหาของชาติด้วยวิธีการที่เป็นสันติวิธี ไม่เกิดความรุนแรง เป็นไปตามวิธีการที่อารยประเทศใช้ รวมทั้งรัฐไทย โดยเฉพาะคณะกรรมการการเลือกตั้ง ต้องมีหน้าที่โดยตรงในการอำนวยความสะดวกและจัดให้สามารถใช้สิทธิเลือกตั้งได้โดยง่าย โดยต้องดำเนินการจัดให้มีการเลือกตั้งสมาชิก สภาผู้แทนราษฎรฯ ในวันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2557 เกิดขึ้น อย่างเต็มอำนาจ หน้าที่ และอย่างเต็มความสามารถ มิอาจกระทำเป็นอย่างอื่น

 

จึงเรียนมาเพื่อทราบและโปรดดำเนินการต่อไป

 

กลุ่มศิษย์เก่า-ปัจจุบัน มศว.มน. พิษณุโลก

ปกป้องประชาธิปไตย

และ ชมรมส่งเสริมการเรียนรู้ ภาคเหนือ

28 มกราคม 2557

 

 


รายชื่อ

1.กิติพงศ์ ทองปลิว เลขาธิการกลุ่มฯ วท.บ.ภูมิศาสตร์ มศว.พิษณุโลก
2.มงคล สายสูง กศ.บ.ภูมิศาสตร์ มศว.พิษณุโลก
3.ณัฐพัชญ์ อุปราสิทธิ์ชวดี วท.บ.ภูมิศาสตร์ มศว.พิษณุโลก
4.วันชัย มีศิลป์ วท.บ.ภูมิศาสตร์ มศว.พิษณุโลก
5.พิชิต พิทักษ์ ศศบ.ประวัติฯ มศว.พิษณุโลก
6.สุเทพ กลิ่นรัตน์ กศ.บ.เคมี มศว.พิษณุโลก
7.เสกสิทธิ์ แสงเรือง วท.บ.ภูมิศาสตร์ มศว.พิษณุโลก
8.ทองขาล กัณหาจันทร์ วท.บ.ภูมิศาสตร์ มศว.พิษณุโลก
9.ดร.กุลพิสิฐ(อนิรุทธ) คัมภ์ทวี วท.บ.ภูมิศาสตร์ มศว.พิษณุโลก
10.จันทนา ปสันนจิตต์ วศ.บ โยธา วิศกรรมศาสตร์ มน.
11.สมวงศ์ อัครพงษ์ไพศาล ศศบ.ประวัติฯ มศว.พิษณุโลก
12.อนุชา แหสมุทร วท.บ.ภูมิศาสตร์ มศว.พิษณุโลก
13.เทวินทร์ ไชยน้อย วท.บ.ภูมิศาสตร์ มศว.พิษณุโลก
14.วิษณุ จุลจันทร์ วท.บ.ภูมิศาสตร์ มศว.พิษณุโลก
15.ประไพ ช้างรบ ศศบ.ภาษาและวรรณคดีอังกฤษ มนุษยศาสตร์ รุ่นที่ 7 จบปีการศึกษา 2530 มศว.พิษณุโลก
16.สายสัมพันธ์ อินทร์บรรลือ ศศบ.ประวัติศาตร์ มศว.พิษณุโลก
17.จีรเดช ธรรมรงค์กุล วท.บ.ภูมิศาสตร์ มศว.พิษณุโลก
18.จุฬารัตน์ แสงปััสสา ศศบ.เอกประวัติศาสตร์ มน.รุ่น1
19.สุเทพ เอี่ยมคง ศศบ.ประวัติศาสตร์ มศว.พิษณุโลก
20.เทวัญ ตันกายา วทบ.อุตสาหกรรมเกษตร มน.
21.ธีรยุทธ มีผิว วท.บ.ภูมิศาสตร์ มน.
22.ทรงพจน์ เทพวงศ์ วท.บ.ภูมิศาสตร์ มน.
23.พิชชาภัทร์ จริยาจินดาเสถียร วท.บ.ภูมิศาสตร์ มศว.พิษณุโลก
24.นภาภรณ์ คงดี ศศบ.อังกฤษ มน. รุ่น1
25.ศตวรรษ ถนอมพร วท.บ.ภูมิศาสตร์ มน.
26.จารุวรรณ ศุกระเศรณี ศศ.บ.ประวัติศาสตร์ มศว.พิษณุโลก
27.นเรศ กองสมบัติ ศศ.บ.ประวัติศาสตร์ มศว.พิษณุโลก
28.ชวลิต ชื่นชม วศ.บ โยธา วิศวกรรมศาสตร์ มน.
29.พิทักษ์ นิลสุวรรณโฆฆิต ศศ.บ เศรษฐศาสตร์ มน.
30.รุ่งกานต์ อ่อนน่วม ปโท สิ่งแวดล้อม มน.
31.กอบชัย สาพิมราช sc18 เอกสถิติ คณะวิทยาศาสตร์ มน.
32.พัลลภ ฮุนพานิช วท.บ.ภูมิศาสตร์ มศว.พิษณุโลก
33.วรางคณา อนันตะ ศศ.บ.ประวัติศาสตร์ มน.
34.เสริมชัย สังวาลย์วรวุฒิ ศศ.บ. อังกฤษ มนุษย์ศาสตร์ มศว.พิษณุโลก
35.กนกพรรณ พันธุ์ศิริ ศศบ.ประวัติศาตร์ มศว.พิษณุโลก
36.บุญเลิศ แสวงทอง วท.บ.ภูมิศาสตร์ มศว.พิษณุโลก
37.อำนวย สีนาค กศ.บ.กศ.บ. เทคโนโลยี่ทางการศึกษา มศว.พิษณุโลก
38.สำราญ ภูคา กศ.บ. เทคโนโลยี่ทางการศึกษา มศว.พิษณุโลก
39.สำรวล ศิริ ศศบ.ประวัติศาตร์ มศว.พิษณุโลก
40.ดนุพล สอนตาง วท.บ ภูมิศาสตร์ มน.
41.นภาวรรณ แจ้งเศรษฐ ศศ.บ อังกฤษ มน. รุ่น1
42.พิสาร หมื่นไกร นิสิตปริญญาโท ศศ.ม. พัฒนาสังคม มน.   ชมรมส่งเสริมการเรียนรู้ ภาคเหนือตอนล่าง
43.วุฒิพงษ์ ศรีสงคราม ศศ.บ อังกฤษ มน.
44.อุไรวรรณ เพชรแอน ศศ.บ เอกภาษาไทย มนุษยศาสตร์ และสังคมศาสตร์ มน.
45.สรายุทธ นักสวน วิศกรรมเครื่องกล มน.
46.ปิยะ ขำประเสริฐ๋ เกษตรศาสตร์ พืชศาสตร๋ เกษตรศาสตร์ ปี 2542
47. ปภาดา ป้อมยุคล ศศ.บ ประวัติศาสตร์ มน.
48.ยุทธศิลป์ เชี่ยววิทย์ วท.บ ภูมิศาสตร์ มน.
49.บงกช พงศ์ศักดิ์ศรี ภาษาไทย มนุษย์ศาสตร์ รหัส 29
50.เสกสรรค์ พินยงค์ กศ.บ.อังกฤษ ศึกษาศาสตร์ มศ.ว
51.ธนาดร พุทธาวันดี เอกพืชศาสตร์ คณะเกษตรศาสตร์
52.กวีน ก้อนนาค พัฒนาสังคม มน.
53.รุจิรา กาลพันธ์ เอกภาษาไทย คณะศึกษาศาสตร์ มน.
54.พรรษา พานิชผล วท.บ. วิทยาการคอมพิวเตอร์ วิทยาศาสตร์ มน.
55.อภิสิทธิ์ พรมฤทธิ์ ศศ.บ. ประวัติศาสตร์ ม.น.
56.ประทีป  ไทยขำ   ชมรมส่งเสริมการเรียนรู้ ภาคเหนือตอนล่าง
57.เกรียงไกร  ปานสีทอง ชมรมส่งเสริมการเรียนรู้ ภาคเหนือตอนล่าง
58.ยุพา  ทองทิพย์เจริญ   ชมรมส่งเสริมการเรียนรู้ ภาคเหนือตอนล่าง
59.สุภาภรณ์  วุ่นชินวงษ์   ชมรมส่งเสริมการเรียนรู้ ภาคเหนือตอนล่าง
60.นางสาวจารึก ช่วยงาน ชมรมส่งเสริมการเรียนรู้ภาคเหนือตอนล่าง
61.นายอาณัติ สุทธิเสมอ ชมรมส่งเสริมการเรียนรู้ภาคเหนือตอนล่าง
62.ปานเนตร  สุขสว่าง ชมรมส่งเสริมการเรียนรู้ภาคเหนือตอนล่าง
63.สโรชพันธุ์ สุภาวรรณ์  ภาควิชาสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา คณะสังคมศาสตร์ ม.นเรศวร
64.อัจฉรา ชีพธำรง
65.อัจฉริยา  ชูวงศ์เลิศ อาจารย์คณะสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา มหาวิทยาลัยนเรศวร
66.เกษมสันต์ มีทิพย์ วศ.บ โยธา ม.น.

 

 

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

Viewing all articles
Browse latest Browse all 14385

Trending Articles