Quantcast
Channel: พันศักดิ์ วิญญรัตน์
Viewing all 14385 articles
Browse latest View live

คำสั่งปลดยศทหาร-ให้ออกจากราชการ 'ณัฐพล-สิทธิศักดิ์-ณรงค์'

$
0
0

คำสั่งหน่วยบัญชาการถวายความปลอดภัยรักษาพระองค์ฯ ให้ปลดและถอดยศ พ.ต.ณัฐพล-จ.ส.อ.สิทธิศักดิ์ และคำสั่งสำนักพระราชวังไล่นายณรงค์ ออกจากราชการ หลังทั้ง 3 ถูกจับกุมในข้อกล่าวหาอ้างเบื้องสูงทวงหนี้ ร่วมกันตั้งแต่ 5 คนกักขัง หน่วงเหนี่ยว โดย ผบ.ตร. ระบุว่าขยายผลจากการจับกุม "เดอะกิ๊ก"อดีต ผบช.ก. คดีส่วยน้ำมันเถื่อน

คลิกเพื่ออ่านเอกสาร (ที่มา: เว็บไซต์สำนักข่าวไทย)

30 พ.ย. 2557 - เมื่อวันที่ 29 พ.ย. 2557 เว็บไซต์สำนักข่าวไทยเผยแพร่คำสั่งหน่วยบัญชาการถวายความปลอดภัยรักษาพระองค์ เลขที่ 656/2557 เรื่อง ให้ปลดนายทหารสัญญาบัตรและถอดออกจากว่าที่ยศ และ เลขที่ 657/2557 เรื่อง ให้ปลดนายทหารประทวนและถอดออกจากยศทหาร ได้แก่  ว่าที่ พ.ต.ณัฐพล อัครพงศ์ปรีชา ผู้ช่วยนายทหารธุรการ กองบังคับการสำนักงานฝ่ายเสนาธิการในพระองค์ สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร และ จ.ส.อ.สิทธิศักดิ์ อัครพงศ์ปรีชา เสมียน กองบังคับการสำนักงานฝ่ายเสนาธิการ ในพระองค์สมเด็จพระบรมโอรสธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร

โดย พ.ต.ณัฐพล ให้ออกจากราชการ โดยไม่มีเบี้ยหวัดบำเหน็จบำนาญ พ้นราชการทหารประเภทที่ 2 และถอดออกจากว่าที่ยศทหาร เนื่องจากกระทำความผิดวินัยทหาร ประพฤติชั่วอย่างร้ายแรง ผิดกฎหมายบ้านเมือง ส่วน จ.ส.อ.สิทธิศักดิ์ ให้ออกจากราชการ โดยไม่มีเบี้ยหวัดบำเหน็จบำนาญ คงเป็นนายสิบกองหนุน ประเภทที่ 1 ชั้นที่ 1 สังหัด จทบ.ก.ท. และถอดออกจากยศทหาร เนื่องจากกระทำความผิดวินัยทหาร ประพฤติชั่วอย่างร้ายแรง ผิดกฎหมายบ้านเมือง

ขณะเดียวกันมีคำสั่งสำนักพระราชวัง ที่ 468/2557 เรื่อง ลงโทษไล่ข้าราชการออกจากราชการ ลงนามโดย นายจิรายุ อิศรางกูร ณ อยุธยา รองเลขาธิการพระราชวัง รักษาราชการแทน เลขาธิการพระราชวัง โดยระบุว่า นายณรงค์ อัครพงศ์ปรีชา ข้าราชการพลเรือนในพระองค์ ตำแหน่งเจ้าพนักงานในพระองค์ ประเภททั่วไป ระดับอาวุโส เลขที่ตำแหน่ง 926 งานต่างประเทศ ฝ่ายราชเลขานุการ กองกิจการในพระองค์ สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฏราชกุมาร ได้รกะทำการอันได้ชื่อว่าเป็นผู้ประพฤติชั่วอย่างร้ายแรง โดยมีกรณีความผิดกล่าวคือ สำนักพระราชวังได้รับรายงานจากกองกิจการในพระองค์สมเด็จพระบรมโอรสสาธิราชฯ สยามมกุฏราชกุมาร เมื่อวันที่ 23 พฤศจิกายน 2557 ว่านายณรงค์ ได้แอบอ้างพระนามาภิไธยของสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฏราชกุมาร เพื่อหาประโยชน์ส่วนตน การกระทำดังกล่าวทำให้ไม่เป็นที่ไว้วางพระราชหฤทัย ในการนี้ มีพระราชบัณฑูรให้ลงโทษไล่ นายณรงค์ อัครพงศ์ปรีชาออกจากราชการ สำนักพระราชวังพิจารณาแล้วเห็นว่าการกระทำของ นายณรงค์ อัครพงศ์ปรีชา เป็นความผิดวินัยฐานกระทำการอันได้ชื่อว่าเป็นผู้ประพฤติชั่วอย่างร้ายแรง อันเป็นความผิดตามมาตรา 85 (4) แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2551 จึงเห็นสมควรลงโทษไล่ออกจากราชการ

ทั้งนี้นายณัฐพล นายสิทธิศักดิ์ และนายณรงค์ อัครพงศ์ปรีชา เป็น 3 ใน 5 ผู้ต้องหาที่สำนักงานตำรวจแห่งชาติ ขยายผลจากการจับกุม พล.ต.ท.พงศ์พัฒน์ ฉายาพันธุ์  อดีตผู้บัญชาการตำรวจสอบสวนกลาง (ผบช.ก.) และพวก ในคดีเรียกรับสินบน และแอบอ้างเบื้องสูง จากรายงานของสถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทย พล.ต.อ.สมยศ พุ่มพันธุ์ม่วง ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ กล่าวเมื่อวันที่ 26 พ.ย. ว่า ตำรวจได้ขยายผลการจับกุมเครือข่ายเพิ่มเติมอีก 5 คน ได้แก่ นายณัฐพล นายสิทธิศักดิ์ และนายณรงค์ อัครพงศ์ปรีชา นายสุทธิศักดิ์ สุทธิจิตต์ และนายชากานต์ ภาคภูมิ โดยต่อมาทั้งหมดถูกตั้งข้อหา มีความผิดหมิ่นสถาบันเบื้องสูงตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 112 ร่วมกันข่มขืนใจให้กระทำการใด ไม่กระทำการใด โดยทำให้กลัวว่าจะเกิดอันตรายต่อชีวิตร่างกายหรือเสรีภาพ โดยมีอาวุธ ซึ่งร่วมกันตั้งแต่ 5 คนขึ้นไป และหน่วงเหนี่ยวหรือกักขัง หรือกระทำด้วยประการใดให้ผู้อื่น

โดยเมื่อวันที่ 28 พ.ย. มีการนำตัวมาขออำนาจศาลจังหวัดพระโขนง ฝากขังผลัดแรกเป็นเวลา 12 วัน โดยถูกนำตัวไปควบคุมที่เรือนจำพิเศษกรุงเทพมหานคร อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง (1)(2)

อนึ่ง ไทยรัฐออนไลน์รายงานด้วยว่า พล.ต.ท.ประวุฒิ ถาวรศิริ ผู้ช่วยผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ และโฆษกสำนักงานตำรวจแห่งชาติ กล่าวเมื่อวันที่ 29 พ.ย. ถึงกรณีที่กองกิจการในพระองค์สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร ทำหนังสือ ประกาศหนังสือยกเลิกชื่อนามสกุล "อัครพงศ์ปรีชา"ว่าทางสำนักงานตำรวจแห่งชาติได้รับหนังสือดังกล่าวแล้ว ซึ่งผู้ที่เคยได้รับการพระราชทานนามสกุลดังกล่าว ก็ต้องกลับไปใช้นามสกุลเดิม คือ "เกิดอำแพง"และกระบวนการต่อไป ทางกระทรวงมหาดไทยจะต้องไปดำเนินการถอดถอนต่อไป (อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง)

วันเดียวกัน เจ้าหน้าที่เรือนจำพิเศษกรุงเทพฯ ควบคุม พล.ต.ท.พงศ์พัฒน์ ฉายาพันธุ์ ผู้ต้องหาคดีส่วยน้ำมันเถื่อน จากศาลอาญา รัชดาภิเษก มาถึงเรือนจำพิเศษกรุงเทพฯ หลังศาลอนุญาตให้ฝากขัง และไม่อนุญาตให้ประกันตัว ตามที่พนักงานสอบสวนยื่นคัดค้านการประกันตัว

 

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

จับเพิ่ม 2 ผู้ต้องหาคดีอ้างเบื้องสูงทวงหนี้-สตช.ขอ พ.ต.ท.ทรงรักษ์ มารายงานตัว

$
0
0

ผช.ผบ.ตร. แถลงผลจับกุม 2 ผู้ต้องหาตามหมายจับศาลทหารคดีอ้างเบื้องสูงทวงหนี้ และยังเร่งจับพลเรือน 1 ทหารประทวน 2 พร้อมขอให้ พ.ต.ท.ทรงรักษ์ ขุนศรี รอง ผกก. 6 ป. ซึ่งขาดราชการมา 4 วันแล้ว ให้มารายงานตัวและรับการสอบปากคำ

30 พ.ย. 2557 - สำนักข่าวไทยรายงานวันนี้ว่า พล.ต.ท.ประวุฒิ ถาวรศืริ ผู้ช่วยผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ และโฆษก สตช. แถลงจับกุมนายชลัช โพธิราช และนายณัฐนันท์ ทานะเวช ถูกตำรวจนครบาล 5 จับกุมได้ที่บ้านพักซอยสุทธิพร ย่านดินแดง ทั้ง 2 ถูกศาลทหารออกหมายจับ ข้อหาร่วมกันหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ ร่วมกันทำร้ายร่างกายผู้อื่น ร่วมกันทำให้เสียทรัพย์ ร่วมกันข่มขืนใจผู้อื่น โดยทำให้กลัวว่าจะเกิดอันตรายต่อชีวิต ร่างกาย เสรีภาพ ชื่อเสียง หรือทรัพย์ โดยใช้อาวุธและร่วมการกระทำผิดตั้งแต่ 5 คนขึ้นไป

เหตุเกิดเมื่อ 23 มิ.ย. 57 ผู้ต้องหาทั้ง 2 คนได้ดักอุ้มนายบัณฑิต โชติวิทยะกุล นักธุรกิจ บริเวณทางเข้าคอนโดที่พักย่านบางคอแหลม  แต่ถูกตำรวจจับกุมตัวได้ก่อน จากนั้นนายบัณฑิต จึงได้เจรจากับผู้ต้องหากลุ่มนามสกุลอัครพงศ์ปรีชา ที่ร้านอาหารย่านพุทธมณฑล โดยมีนายนพพร ศุภพิพัฒน์ เป็นคนว่าจ้าง ให้นำตัวนายบัณฑิตเพื่อเจรจาขอลดหนี้ที่กู้ยืมมาลงทุนจำนวน 120 ล้านบาทให้เหลือ 20 ล้านบาท  โดยผู้ต้องหาจะได้ค่าจ้างร้อยละสิบ จากจำนวนเงินหนี้ที่ลดลง

สอบสวนทั้ง 2 ให้การรับสารภาพทุกข้อกล่าวหา แต่ปฏิเสธว่าไม่ทราบมีการแอบอ้างเบื้องสูงขอเจรจาลดหนี้แต่อย่างใด

อย่างไรก็ตามเจ้าหน้าที่ยังเร่งติดตามจับกุมผู้ต้องหาที่ร่วมขบวนการอีก 3 คน คือนายวิทยา เทศขุนทด ส.อ.ณธกร ยาศรี ส.อ.ธีรพงศ์ ช่อจำปี

พล.ต.ท.ประวุฒิ กล่าวถึง พ.ต.ท.ทรงรักษ์ ขุนศรี รอง ผกก. 6 ป. ที่ขาดราชการ หลังถูกพนักงานสอบสวนชุดทำคดีอดีตผู้บัญชาการสอบสวนกลาง เรียกไปสอบปากคำแต่ถึงขณะนี้ยังติดต่อไม่ได้ เชื่อว่าเกิดความตกใจกลัว เกรงจะมีความผิด เนื่องจากมีส่วนรู้เห็นเส้นทางการจ่ายเงินให้อดีตผู้บัญชาการสอบสวนกลาง อย่างไรก็ตามได้สั่งการให้ลงประจำวันขาดราชการไปแล้ว 4 วันหากครบ 15 วันไม่มีเหตุอันควรจากการขาดราชการ ก็จะให้ออกจากราชการทันที

ส่วนกรณีถอดยศ พล.ต.ท.พงศ์พัฒน์  ฉายาพันธุ์ และพวก ขณะนี้ ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ ยังไม่มีคำสั่งตั้งกรรมการสอบสวนเรื่องนี้ คาดว่าต้องรอผลสอบสวนวินัยร้ายแรงมาประกอบถึงจะดำเนินการได้

อนึ่ง พ.ต.อ.อัคราเดช พิมลศรี รักษาการ ผู้บังคับการกองปราบปราม (ผบก.ป.) ได้มีหนังสือให้ให้ข้าราชการตำรวจในสังกัด กก.2 กก.3 กก.6 และ กก.ปพ. ในสังกัดกองปราบ ให้มารายงานตัวในวันที่ 17 พ.ย. ประกอบด้วย พ.ต.ท.สิทธิเมศวรีย์ ศิวคุปต์ ครุฑรานนท์ รอง ผกก.ปพ., พ.ต.ท.ทรงรักษ์ ขุนศรี รอง ผกก.6., ร.ต.อ.มนุพัศ ศรีบุญลือ รอง สว.กก.2., ร.ต.อ.นิธิพัฒน์ กังรวมบุตร รอง สว.ปพ., ร.ต.อ.ธนเสฏฐ์ คุ้มเล็กเดชาวุฒิ พงส.กก.3 และ ร.ต.อ.ธนพัฒธ์ กังรวมบุตร พงส.กก.3 โดยผู้มีรายชื่อต่างๆ ได้เข้ามารายงานตัวแล้ว เหลือ พ.ต.ท.ทรงรักษ์

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

หมายเหตุประเพทไทย : ห้องสมุดและการอ่านในสังคมไทย

$
0
0

 

สมัครเพื่อรับชมประชาไทได้ที่นี่

 

 

หมายเหตุประเพทไทยสัปดาห์นี้ พบกับ ‘อรรถ บุนนาค’ และแขกรับเชิญ ‘นราวัลลภ์ ปฐมวัฒน’ หรือ ‘เกี๊ยว รีดดิ้งรูม’ เจ้าของห้องสมุดศิลปะร่วมสมัย The Reading Room มาพูดคุยทำความรู้จักกับ The Reading Room และสนทนากันถึงพื้นที่การอ่านและห้องสมุดในกรุงเทพมหานคร

ห้องสมุดของไทยส่วนใหญ่ยังคงบรรยากาศความศักดิ์สิทธิ์ เคร่งขรึม ไม่ค่อยเปิดรับ และเข้าถึงค่อนข้างยาก ขณะเดียวกันก็มักพูดกันว่าคนไทยอ่านหนังสือปีละไม่กี่บรรทัด จากการสำรวจรวบรวมและจัดทำแผนที่ห้องสมุดของ The Reading Room พบว่าในกรุงเทพฯ มีห้องสมุดประชาชนและร้านหนังสืออิสระรวมถึง 281 แห่ง และจากการสังเกตความหนาแน่นของประชาชนกรุงเทพฯ ในการใช้บริการห้องสมุดสมัยใหม่บางแห่งมีเป็นจำนวนมาก เช่น ห้องสมุด TCDC, ห้องสมุด TK Park หรือ Too fast to sleep หรือแม้แต่ The Reading Room ก็ตามที ในขณะที่การโปรโมท “กรุงเทพฯ เมืองหนังสือโลก” ของ กทม.ก็ไม่เห็นรูปธรรมในทางปฏิบัติที่ชัดเจน รวมถึงการตรวจสอบความโปร่งใสในการใช้งบประมาณของ กทม.ในเรื่องดังกล่าวก็ทำได้ยากมาก

คลิกไลค์เพื่อติดตามข่าวสารความเคลื่อนไหวของรายการได้ที่ facebook.com/maihetpraphetthai
 


 

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

มติบอร์ด สปสช.ปรับเกณฑ์ให้ยาต้านไวรัสเอชไอวีไม่จำกัดค่า CD4

$
0
0

ไม่จำกัดว่ามีค่า CD4 ในระดับใด เผยปี 58 สปสช.ได้รับงบกองทุนเอดส์ 2,811 ล้านบาท สำหรับดูแลผู้ติดเชื้อเอชไอวีและผู้ป่วยเอดส์ สิทธิประโยชน์ครอบคลุม การให้ยาต้านไวรัส ทั้งสูตรพื้นฐาน สูตรดื้อยา ป้องกันติดเชื้อในทารกแรกเกิด ติดเชื้อภายหลังสัมผัส การตรวจเลือดและการป้องกัน เผยมีผู้ลงทะเบียน 3 แสนราย ในจำนวนนี้ได้รับยาต้านไวรัส 1.7 แสนราย

นพ.วินัย สวัสดิวร เลขาธิการสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ(สปสช.) กล่าวว่า สปสช.มีภารกิจการดูแลผู้ติดเชื้อเอชไอวีและผู้ป่วยเอดส์ในระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ โดยมีงบประมาณแยกจากงบเหมาจ่ายรายหัว ซึ่งในปี 2558 ได้รับงบประมาณ 2,811.901 ล้านบาท (น้อยกว่าปี 2557 ที่ได้รับ 2,946.997 ล้านบาท 135 ล้านบาท) แบ่งเป็น งบดูแลรักษาด้วยยาต้านไวรัสและบริการที่เกี่ยวข้อง 2,769.401 ล้านบาท และงบสนับสนุนส่งเสริมการจัดบริการสำหรับผู้ติดเชื้อเอชไอวีและผู้ป่วยเอดส์ 42.5 ล้านบาท ซึ่งจะจัดสรรลงสถานพยาบาลเพื่อชดเชยค่าบริการดูแลผู้ป่วยตามปริมาณงาน และอีกส่วนหนึ่งสำหรับสนับสนุนการจัดบริการเพื่อเพิ่มศักยภาพของสถานพยาบาลทั้งด้านปริมาณและคุณภาพ ซึ่งผลการดำเนินงานในล่าสุดนั้น ผู้ลงทะเบียนสะสมทั้งสิ้น 300,599 คน ในจำนวนนี้เป็นรายใหม่ 5,798 คน และได้รับยาต้านไวรัส 177,862 คน แบ่งเป็นยาต้านไวรัสสูตรพื้นฐาน 155,801 คน และยาต้านไวรัสสูตรดื้อยา 22,049 คน มีผู้รับบริการให้คำปรึกษาเพื่อตรวจเลือดโดยสมัครใจ 305,033 ครั้ง ได้รับการตรวจเลือด 262,468 ครั้ง พบผลเลือดบวก 7,703 คน หรือร้อยละ 2.94 ของการตรวจเลือด มีผู้ป่วยได้รับการตรวจทางห้องปฏิบัติการ ได้แก่ การตรวจปริมาณไวรัสในกระแสเลือด 138,528 ครั้ง และการตรวจเชื้อไวรัสดื้อยา 4,202 คน

นพ.วินัย กล่าวว่า ขณะที่ชุดสิทธิประโยชน์การดูแลผู้ติดเชื้อเอชไอวีและผู้ป่วยเอดส์ แบ่งเป็น 4 กลุ่ม คือ

1.การให้ยาต้านไวรัสและยาอื่น กรณีการรักษาด้วยยาต้านไวรัสเออาร์ที ซึ่งในประเด็นการให้ยาต้านไวรัสนี้ ตามที่ ศ.นพ.รัชตะ รัชตะนาวิน รมว.สธ.ได้ให้นโยบายให้ดูแลผู้ป่วยเอดส์ให้มีความครอบคลุม ด้วยคุณภาพและมาตรฐาน บอร์ดสปสช. ได้ปรับหลักเกณฑ์ โดยจะให้ยาต้านไวรัสกับผู้ที่พบการติดเชื้อเอชไอวีทันที ไม่จำกัดว่าจะมีค่าซีดีโฟอยู่ในระดับใด เป็นการให้การรักษาโดยทันที เริ่มตั้งแต่ 1 ต.ค.57 เป็นต้นไป การให้ยาต้านไวรัสเพื่อป้องกันการติดเชื้อเอชไอวีในทารกแรกเกิด การให้ยาต้านเอชไอวีเพื่อป้องกันการติดเชื้อภายหลังสัมผัสใน 2 กรณี คือ การป้องกันการติดเชื้อเอชไอวีหลังสัมผัสจากการทำงาน และหลังสัมผัสจากการถูกล่วงละเมิดทางเพศ การรักษาภาวะไขมันในเลือดสูงที่เป็นผลข้างเคียงจากยาต้านไวรัส

2.การตรวจทางห้องปฏิบัติการเพื่อติดตามการรักษา ทั้งการตรวจระดับภูมิคุ้มกัน(CD4) การตรวจปริมาณไวรัสในกระแสเลือด และการตรวจเชื้อไวรัสดื้อยา

3.การให้คำปรึกษาและการตรวจเลือดแบบสมัครใจ

4.การป้องกันการถ่ายทอดเชื้อเอชไอวี

เลขาธิการ สปสช. กล่าวต่อว่า สิทธิประโยชน์นี้ครอบคลุมผู้ติดเชื้อเอชไอวีในระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ โดยสามารถลงทะเบียนเข้ารับบริการได้จากสถานพยาบาลประจำที่ขึ้นทะเบียนไว้ หรือหากมีความจำเป็นก็สามารถเข้ารับบริการที่สถานพยาบาลอื่นในระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ซึ่งสปสช.จะจ่ายชดเชยบริการตามสิทธิประโยชน์และอัตราที่กำหนดไว้ ทั้งนี้สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ สายด่วนสปสช. โทร.1330

 

 

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

ศาลปกครองสั่ง กทม.ระงับการก่อสร้างคอนโดซอยสายลมสั่งต้องปฏิบัติโดยทันที

$
0
0

เหตุก่อสร้างละเมิดสิทธิชาวบ้านสร้างความเดือดร้อนและเสียหายบ้านข้างเคียงจนเสียหายเกือบทั้งหลัง ศาลปกครองรับไต่สวนฉุกเฉินพร้อมมีคำสั่งระงับการก่อสร้างโดยทันที

ศรีสุวรรณ  จรรยา นายกสมาคมต่อต้านสภาวะโลกร้อน เปิดเผยว่า เมื่อวันพุธที่ 26 พ.ย.ที่ผ่านมาสมาคมฯได้ยื่นคำร้องต่อศาลปกครองกลางในคดีหมายเลขดำที่ ส.53/2557 ซึ่งเป็นคดีที่สมาคมต่อต้านสภาวะโลกร้อนกับพวกรวม 22 คน ได้ยื่นฟ้องผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครกับพวกรวม 4 คน เพื่อขอให้ศาลทำการไต่สวนฉุกเฉิน กรณีโครงการก่อสร้างคอนโดมิเนียมในซอยสายลม (พหลโยธิน ซอย 8) หรือโครงการ ดิ เมโมเรีย-พหลโยธิน 8 ได้สร้างผลกระทบกับบ้านเรือนของประชาชนที่อยู่โดยรอบโครงการอย่างมาก จนบ้านเรือนแตกร้าว ทรุดตัว โครงสร้างเสียหายอย่างรุนแรง จนมิอาจอยู่อาศัยต่อไปได้ ต้องหนีไปอยู่อาศัยที่อื่นแทน ซึ่งศาลปกครองได้รับคำร้องและไต่สวนเป็นกรณีฉุกเฉินให้ทันที และปรากฏว่าเมื่อ 6 โมงเย็นของวันศุกร์ที่ 28 พ.ย.ที่ผ่านมา ศาลปกครองกลางได้แจ้งคำสั่งมายังผู้ฟ้องคดีว่า ศาลได้มีคำสั่งให้การคุ้มครองชั่วคราวต่อชาวบ้านในพื้นที่พิพาทกับโครงการคอนโดฯดังกล่าวแล้ว โดยศาลได้มีคำสั่ง ดังนี้

1)ให้ผู้ร้องสอดหรือผู้รับจ้างของผู้ร้องสอดระงับการก่อสร้างโครงการ ดิ เมโมเรีย-พหลโยธิน 8 ไว้ก่อนทันที จนกว่าจะแสดงหลักฐานต่อศาลให้เชื่อได้ว่าความเสียหายของตัวอาคารของชาวบ้านและหรือผู้ฟ้องคดี ไม่ได้เกิดจากการก่อสร้างโครงการของผู้ร้องสอด หรือแสดงให้เห็นว่าการก่อสร้างจะไม่ก่อให้เกิดความเสียหายต่อขาวบ้านข้างเคียง

2)ให้ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร และผู้อำนวยการเขตพญาไท ในฐานะเจ้าพนักงานท้องถิ่นตามกฎหมายว่าด้วยการควบคุมอาคาร ควบคุมตรวจสอบให้ผู้ร้องสอดหรือผู้รับจ้างของผู้ร้องสอดปฏิบัติตามคำสั่งของศาลทันทีและให้รายงานต่อศาลทันทีภายในวันที่ 1 ธันวาคม 2557 ว่าผู้ร้องสอดปฏิบัติตามคำสั่งหรือไม่ อย่างไร

“กรณีดังกล่าวเป็นการยืนยันในสิทธิของชาวบ้านและชุมชนที่ศาลปกครองให้การคุ้มครองตามที่กฎหมายกำหนด และเป็นต้นแบบที่สำคัญที่ต้องฝากไปยังผู้ประกอบการคอนโดมิเนียม หรือเรียลเอสเตรทต่าง ๆ ว่าหากจะดำเนินโครงการใด ๆ ต้องได้รับความเห็นชอบจากชุมชนข้างเคียงโดยรอบเสียก่อน และวิศวกรควบคุมงานก่อสร้างจะต้องเข้มงวดในการก่อสร้างให้เป็นไปตามแบบแปลน ตามเงื่อนไขที่กฎหมายกำหนด ไม่เช่นนั้น สมาคมฯอาจต้องนำคำสั่งศาลไปยื่นต่อสภาวิศวกรเพื่อถอดถอนใบทะเบียนการประกอบวิชาชีพ เพื่อมิให้เป็นเยี่ยงอย่างต่อไปได้” ศรีสุวรรณ กล่าว

 

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

สหภาพซูซูกิบรรลุข้อตกลงสภาพการจ้างแล้ว

$
0
0
 
1 ธ.ค. 2557 สหภาพแรงงาน ซูซูกิ มอเตอร์ ประเทศไทย เปิดเผยว่าเมื่อวันที่ 30 พ.ย. ที่ผ่านมาทางสหภาพแรงงาน ซูซูกิ มอเตอร์ ประเทศไทย ได้บรรลุข้อตกลงสภาพการจ้างฉบับใหม่กับบริษัท ซูซูกิ มอเตอร์ ประเทศไทย 

สืบเนื่องมาจากเมื่อวันที่ 20 ต.ค. 2557 ที่ผ่านมาสหภาพแรงงาน ซูซูกิ มอเตอร์ ประเทศไทย ได้ยื่นข้อเรียกร้องเพื่อเปลี่ยนแปลงสภาพการจ้าง และสวัสดิการของบริษัทฯ ให้เหมาะสมกับสภาพเศรษฐกิจในปัจจุบัน ซึ่งสหภาพแรงงานฯ ได้อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 15 และมาตรา 17 แห่งพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. 2518 โดยข้อเรียกร้องทั้ง 13 ข้อนั้นก็มีอาทิเช่น การขอให้บริษัทฯ ช่วยจ่ายเงินค่าเช่าบ้าน, ปรับขึ้นค่าอาหาร, ปรับขึ้นเบี้ยขยัน, ปรับโครงสร้างฐานเงินเดือนให้กับพนักงานทุกตำแหน่ง, ขอโบนัสขั้นต่ำ 6 เดือน เป็นต้น 

โดยผลการเจรจานัดสุดท้ายนั้นในข้อเรียกร้องโบนัสที่ทางสหภาพแรงงานขอไปที่ 6 เดือนและบวกเงินเพิ่มพิเศษอีกคนละ 50,000 บาท นั้น ทางสหภาพแรงงานและบริษัทสามารถตกลงกันได้ที่ พนักงานที่ได้รับการประเมินเกรด A ได้ 4.5 เดือน บวกเงินเพิ่มพิเศษ 15,000 บาท, เกรด B ได้ 4.25 เดือน บวกเงินเพิ่มพิเศษ 15,000 บาท, เกรด C ได้ 4 เดือน บวกเงินเพิ่มพิเศษ 15,000 บาท, เกรด D ได้ 3.75 เดือน บวกเงินเพิ่มพิเศษ 15,000 บาท และ เกรด E ได้ 3.5 เดือน บวกเงินเพิ่มพิเศษ 15,000 บาท
 
นอกจากนี้บริษัทฯ ตกลงปรับขึ้นเงินเดือนให้กับพนักงานทุกคนในเดือนมกราคม 2558 พนักงานที่ได้รับการประเมินเกรด A จำนวน 1,200 บาท, เกรด B จำนวน 1,000 บาท, เกรด C จำนวน 900 บาท, เกรด D จำนวน 800 บาท และเกรด E จำนวน 700 บาท 
 
อนึ่งจากข้อมูลของกรมพัฒนาธุรกิจการค้า บริษัท ซูซูกิ มอเตอร์ ประเทศไทย ตั้งอยู่เลขที่ 500/121 หมู่ที่ 3 ต.ตาสิทธิ์ อ.ปลวกแดง จ.ระยอง ประกอบธุรกิจในหมวดการผลิตรถยนต์ส่วนบุคคล โดยการผลิตยานยนต์และเครื่องยนต์ มีทุนจดทะเบียน 12,681,870,000 บาท ซึ่งเป็นการลงทุนสัญชาติญี่ปุ่น 100% และในปี 2556 ที่ผ่านมามีกำไรสุทธิถึง 1,697,082,724 บาท
ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

ประท้วงหน้าสถานทูตไทย-รับ พล.อ.ประยุทธ์เยือนมาเลเซีย

$
0
0

พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา พาแม่ทัพภาค 4 ผบ.ทบ. และคณะเยือนมาเลเซีย หารือนาจิบ ราซัค ขณะที่ 18 องค์กรในมาเลเซียชุมนุมหน้าสถานทูตไทย และออกแถลงการณ์เรียกร้องให้รัฐบาลมาเลเซียเลิกหนุนรัฐบาล คสช. จนกว่าจะมีการยกเลิกกฎอัยการศึก ปล่อยนักโทษการเมือง และจัดเลือกตั้งเสรี

พล.อ.ประยุทธ์ พากลาโหม-ผบ.ทบ.-แม่ทัพภาค 4-เลขา ศอ.บต. เยือนมาเลเซีย หารือนาจิบ ราซัค

พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและคณะ เดินทางถึงกัวลาลัมเปอร์วันนี้ (1 ธ.ค.) โดยมีกำหนดพบปะนายกรัฐมนตรีมาเลเซีย (ที่มา: เว็บไซต์รัฐบาลไทย)

1 ธ.ค. 2557 - เว็บไซต์ทำเนียบรัฐบาลรายงานว่า พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี นำคณะผู้บริหารระดับสูง  ประกอบด้วย พล.อ.ประวิตร  วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรีและ รมว.กระทรวงกลาโหม พล.อ.ธนะศักดิ์  ปฏิมาประกร รองนายกรัฐมนตรีและ รมว.กระทรวงต่างประเทศ พล.อ.อุดมเดช สีตบุตร รมช.กลาโหม และผู้บัญชาการทหารบก

นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ   รมช.กระทรวงคมนาคมและเลขาธิการคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ พล.อ.ศิริชัย ดิษฐกุล ปลัดกระทรวงกลาโหม พล.อ.อักษรา เกิดผล ประธานที่ปรึกษา กองทัพบก นายอนุสิษฐ์  คุณากร เลขาธิการสภาความมั่นคงแห่งชาติ นายฉัตรพงศ์ ฉัตราคม ผู้อำนวยการสำนักข่าวกรองแห่งชาติ  นายภาณุ อุทัยรัตน  เลขาธิการศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ (ศอ.บต.)  พล.อ.ฉัตรเฉลิม เฉลิมสุข  เลขาธิการกองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร (กอ.รมน) และ พล.ท.ปราการ ชลยุทธ  แม่ทัพภาคที่ 4 เดินทางเยือนมาเลเซียอย่างเป็นทางการในวันจันทร์ที่ 1 ธันวาคม 2557  โดยเป็นการเยือนประเทศอาเซียนลำดับที่ 5 ภายหลังเดินทางเยือนพม่า กัมพูชา ลาว และเวียดนาม แล้ว

ทั้งนี้เพื่อแนะนำตัว ตามธรรมเนียมปฏิบัติของผู้นำอาเซียน พร้อมติดตามความก้าวหน้าและการกระชับความเป็นหุ้นส่วนการพัฒนากับมาเลเซียในมิติต่างๆ ทั้ง การพัฒนาความเชื่อมโยง การพัฒนาพื้นที่ชายแดน รวมทั้งความร่วมมือทางเศรษฐกิจ อาทิ  ยางพารา และการท่องเที่ยว ทั้งในกรอบทวิภาคีและภูมิภาค

โดยตามกำหนดการ พล.อ.ประยุทธ์ และคณะ เดินทางออกจากท่าอากาศยานทหาร บน.6 โดยเครื่องบินกองทัพอากาศตั้งแต่เวลา 07.00 น. และถึงกัวลาลัมเปอร์ ในเวลา 10.00 น. ตามเวลาท้องถิ่นซึ่งเร็วกว่าเวลาไทย 1 ชั่วโมง ต่อมาในเวลา 10.40 น. มีพิธีต้อนรับอย่างเป็นทางการ ณ ลานบริเวณหน้าทำเนียบรัฐบาลมาเลเซีย

ในการเยือน จะมีการหารือกับ นาจิบ ราซัค นายกรัฐมนตรีมาเลเซีย ที่สำนักงานนายกรัฐมนตรี จากนั้นจะมีการหารือเต็มคณะ และนายกรัฐมนตรีมาเลเซียจะเป็นเจ้าภาพเลี้ยงอาหารกลางวัน และในเวลา 15.00 น. จะมีการหารือกับทีมประเทศไทย ผู้แทนภาคธุรกิจและชุมชนชาวไทยในมาเลเซีย ที่โรงแรมแมริออต ปุตราจายา และเดินทางออกจากท่าอากาศยานนานาชาติกัวลาลัมเปอร์ ในเวลา 17.30 น.

 

ส.ส.มาเลเซีย - 18 องค์กรค้าน พล.อ.ประยุทธ์ เรียกร้องให้เลิกกฎอัยการศึก-จัดการเลือกตั้ง

นักกิจกรรมและสมาชิกองค์กรด้านสิทธิแรงงานชุมนุมประท้วงการเยือนของ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา หน้าสถานทูตไทย ในกรุงกัวลาลัมเปอร์ เมื่อวันที่ 1 ธ.ค. 2557 (นักข่าวพลเมืองเอื้อเฟื้อภาพ)

นักกิจกรรมในมาเลเซีย ถือป้ายเรียกร้องความเป็นธรรมให้สมยศ พฤกษาเกษมสุข นักกิจกรรมด้านแรงงาน และบรรณาธิการนิตยสารวอยซ์ ออฟ ทักษิณ ซึ่งถูกดำเนินคดีตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112 และไม่ได้รับการประกันตัว (นักข่าวพลเมืองเอื้อเฟื้อภาพ)

ฉัว เทียน ชาง ส.ส.มาเลเซีย ให้สัมภาษณ์สื่อมวลชน ระหว่างชุมนุมประท้วงการเยือนมาเลเซีย ของ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา และคณะ (นักข่าวพลเมืองเอื้อเฟื้อภาพ)

 

 

อินสตาแแกรมของ ฉัว เทียน ชาง โพสต์รูปการชุมนุมหน้าสถานทูตไทยวันนี้

ขณะเดียวกันในเวลา 11.00 น. ตามเวลาท้องถิ่น หรือ 10.00 น. ตามเวลาประเทศไทย ส.ส.มาเลเซีย และองค์กรภาคประชาสังคมในมาเลเซีย 18 กลุ่ม ได้นัดประท้วงหน้าสถานทูตไทย ถ.อัมปัง กรุงกัวลาลัมเปอร์ และได้ออกแถลงการณ์ "ประชาธิปไตยเพื่อประเทศไทย! เผด็จการจงออกไป!"

ตอนหนึ่งของแถลงการณ์ซึ่งถูกแปลเป็นภาษาไทยระบุว่า "การรัฐประหารครั้งนี้ไม่ได้สร้างประชาธิปไตยและความยุติธรรมในสังคมไทยเลย ทว่ามันกลับเสริมสร้างความแข็งแกร่งให้กับระบบเผด็จการในการทำลายสถาบันประชาธิปไตยที่มีอยู่ การรัฐประหารครั้งนี้นั้นกระทำเพียงเพื่อที่จะปกป้องกลุ่มผลประโยชน์ของชนชั้นนำไทยที่ต้องการลดพื้นที่ของประชาธิปไตยลงและแผ่ขยายรวมอำนาจของพวกตัวเอง รัฐบาลทหารของไทยไม่ได้ให้ความสนใจในการมีการเลือกตั้งที่เสรีและยุติธรรมเพื่อแก้ปัญหาการเมืองไทยหรือการปกป้องเสรีภาพในการแสดงออกแต่อย่างใด ทว่ากลับเห็นเป็นมันภัยเสียด้วยต่างหาก"

"การทำลายขบวนการเคลื่อนไหวเพื่อประชาธิปไตยอย่างโหดเหี้ยมนั้นเป็นที่เลื่องลือของกองทัพไทย รัฐบาลทหารของประยุทธในปัจจุบันนั้นต้องการที่จะได้รับการยอมรับจากประชาคมโลกเพื่อสร้างความชอบธรรมให้กับระบอบเผด็จการอันโหดร้ายในไทย และการตอบรับและต้อนรับการมาเยือนของประยุทธนั้นเท่ากับว่ารัฐบาลมาเลเซียกำลังจะสนับสนุนรัฐบาลเผด็จการทหารและตอกย้ำรอยแผลให้กับประชาชนและประชาธิปไตยในไทย"

ทั้งนี้ผู้ลงชื่อและกลุ่มดังกล่าว ได้เรียกร้องให้รัฐบาลมาเลเซียปฎิเสธการยอมรับรัฐบาลประยุทธจนกว่าจะมีการปฏิบัติตามเงื่อนไขต่อไปนี้ได้แก่ (1) ยกเลิกกฎอัยการศึกในทันที (2) หยุดการทำลายและจับกุมผู้ที่มีความเห็นต่างทางการเมืองในประเทศไทยและปล่อยตัวนักโทษการเมืองทั้งหมด (3) มีการเลือกตั้งและให้ประชาชนไทยเลือกตั้งรัฐบาลของพวกเขาได้อย่างเสรีตามระบอบประชาธิปไตย

ตอนท้ายแถลงการณ์ระบุว่า "ประเทศมาเลเซียกำลังจะได้นั่งเก้าอี้ประธานอาเซียนในปีหน้า และมันเป็นเรื่องสำคัญมากที่รัฐบาลมาเลเซียจะต้องนำรัฐบาลประเทศอื่นๆ ในอาเซียนเพื่อร่วมกันประณามและกดดันให้ประเทศไทยกลับสู่ประชาธิปไตยโดยเร็ว พวกเราขอร่วมเป็นส่วนหนึ่งของขบวนการเคลื่อนไหวเพื่อประชาธิปไตยในประเทศไทยในการต่อสู้กับรัฐบาลเผด็จการทหาร เพื่อให้ประเทศไทยกลับคืนสู่ระบอบประชาธิปไตยอย่างสมบูรณ์"

โดย 18 องค์กรที่ลงชื่อแนบท้ายแถลงการณ์ได้แก่ (1) พรรคสังคมนิยมมาเลเซีย (PSM), (2) กลุ่มมาเลเซียสนับสนุนประชาธิปไตยประเทศไทย (Malaysia Support Group for Democracy in Thailand), (3) Suara Rakyat Malaysia (SUARAM), (4) Jaringan Rakyat Tertindas (JERIT), (5) Persatuan Sahabat Wanita Selangor, (6) คณะกรรมการเพื่อผู้หญิงเอเชีย (CAW), (7) พันธมิตรรณรงค์ค่าจ้างแห่งเอเชีย Asia Floor Wage Alliance (AFWA), (8) KOMAS, (9) Persatuan Kesedaran Komuniti Selangor (EMPOWER), (10) ปีกเยาวชน สมาคมชาวฮกเกี้ยนแห่งรัฐสลังงอร์และกัวลาลัมเปอร์ (Selangor and KL Hokkien Association Youth Section)

(11) Persatuan Komuniti Prihatin Selangor dan KL (PRIHATIN), (12) Jihad for Justice (13) National Interlok Action Team (NIAT)  (14) Association of Human Rights Defenders and Promoters- HRDP in Burma, (15) Free Trade Union, Sri Lanka (16) Globalisation Monitor, Hong Kong (17) School of Acting Justly, Loving Tenderly, Treading Humbly (SALT) และ (18) Pax Romana ICMICA,

ส่วนสมาชิกสภาผู้แทนราษฏร ที่ลงชื่อได้แก่ ฉัว เทียน ชาง ส.ส.เขตบาตู กัวลาลัมเปอร์, ชาร์ลส์ ซานติอาโก ส.ส.เขตกลัง รัฐสลังงอร์, ชัยกุมาร เทวราช ส.ส.เขตสุไหง สิปุต รัฐเประ และ ชาง ลิ คัง ส.ส.เขตอะดุน เตจา รัฐเประ

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

ทหารแฉนักศึกษา ‘ชู 3 นิ้ว’ หน้า ‘ประยุทธ์’ ถูกจ้างมา 5 หมื่น เพื่อชิงพื้นที่สื่อ

$
0
0

‘พล.ท.กัมปนาท รุดดิษฐ์’ ผบ.กกล.รส. เผยจากการหาข่าวพบว่ากลุ่มนักศึกษา ‘ชู 3 นิ้ว’ ที่ขอนแก่น หน้า ‘ประยุทธ์’ ถูกว่าจ้างมา 50,000 บาท เพื่อชิงพื้นที่สื่อ จากนักการเมืองในพื้นที่ เร่งทำความเข้าใจว่า รัฐบาลและคสช.ไม่ได้ดำเนินการแบบเผด็จการ

หลังจากที่วานนี้ (30 พ.ย.57) นิสิตกลุ่มประชาคมจุฬาฯเพื่อประชาชน หรือ Chulalongkorn Community for the People (CCP) ออกแถลงการณ์ เนื่องในโอกาสครบ 6 เดือนการรัฐประหาร โดยเรียกร้องให้ คณะรักษาความสงบแห่งชาติ( คสช.) ยุติการใช้กฎอัยการศึก หยุดคุกคามสิทธิเสรีภาพประชาชน คืนอำนาจอธิปไตยสู่ประชาชน วอนสโมสรและองค์การนิสิตนักศึกษา ทั่วประเทศปกป้องเสรีภาพในการแสดงออกทางการเมืองของนิสิตนักศึกษา ไม่ยอมรับและไม่สนับสนุนอำนาจนอกระบอบประชาธิปไตย

'วินธัย'วอน นศ.ออกแถลงขอยุติอัยการศึกอย่าใช้ความรู้สึกตามกระแส

ล่าสุดวันนี้(1 ธ.ค.57) ไทยรัฐออนไลน์รายงานบทสัมภาษณ์ พ.อ.วินธัย สุวารี โฆษกกองทัพบก และทีมโฆษก คสช. ถึงกรณีดังกล่าวด้วยว่า จะต้องมีการทำความเข้าใจแลกเปลี่ยนข้อมูลกันและกันให้มากขึ้น ในแต่ละประเด็นอาจมีมุมมองที่ไม่ตรงกัน โดยเฉพาะในช่วงเวลาพิเศษแบบนี้ ตนมั่นใจในมุมการรักษาความสงบเรียบร้อย โดยเฉพาะต่อเรื่องความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินนั้นส่งผลบวกมาอย่างต่อเนื่อง เช่น เรื่องอาชญากรรมต่างๆ ที่ลดลงไปมาก เมื่อมีเจ้าหน้าที่มาดูแลความเรียบร้อยมากขึ้น

ทั้งนี้ การแสดงออกใดๆ ของคนในสังคมพยายามประคับประคองให้ออกมาในแนวเชิงสร้างสรรค์ สามารถจัดระเบียบและเกิดความเรียบร้อยสังคมได้ดีขึ้น การดำเนินชีวิตประจำวันปกติของคนในสังคมส่วนใหญ่ ที่สัมผัสได้จริงๆ ไม่ว่าจะวัยเรียน วัยศึกษา หรือวัยทำงาน ก็ยังไม่พบว่า ได้รับผลกระทบใดๆ แต่ คสช.ก็จะพยายามหาข้อมูลเพิ่มเติมให้มากขึ้น

“เรื่องการบังคับใช้กฎหมาย ทางเจ้าหน้าที่ก็ได้ใช้กฎหมายบ้านเมืองปกติก่อนเป็นลำดับแรกเสมอ ไม่ใช่จะอ้างอิงใช้กฎอัยการศึกเสมออย่างที่บางคนเข้าใจ ยืนยันว่า ใช้เพียงบางส่วนตามความจำเป็นเท่านั้น ไม่อยากให้ไม่เห็นด้วยในเชิงความรู้สึก หรือในเชิงกระแสตามกัน อยากให้มองโดยใช้หลักเหตุผลปัจจัยองค์ประกอบในทุกๆ มิติด้วย” พ.อ.วินธัย กล่าว

แม่ทัพภาคที่ 1 อัดนักศึกษา ‘ชู 3 นิ้ว’ หน้า ‘ประยุทธ์’ ถูกจ้างมา 5 หมื่น  เพื่อชิงพื้นที่สื่อ

วันเดียวกัน เดลินิวส์ เว็บรายงานบทสัมภาษณ์ พล.ท.กัมปนาท รุดดิษฐ์ แม่ทัพภาคที่ 1 ในฐานะผู้บัญชาการกองกำลังรักษาความสงบเรียบร้อย (ผบ.กกล.รส.) ถึงกรณีดังกล่าวด้วยว่า กลุ่มดังกล่าวนั้นเป็นเพียงกลุ่มเล็ก ๆ ซึ่งทางคสช.ได้มีการพูดคุยกับอธิการบดีและคณบดีของมหาวิทยาลัยดังกล่าวแล้ว เพื่อทำความเข้าใจกับนิสิตกลุ่มดังกล่าวว่า รัฐบาลและคสช.ไม่ได้ดำเนินการแบบเผด็จการ แต่ขณะนี้บ้านเมืองไม่ได้อยู่ในภาวะปกติ ปัจจุบันเราต้องพูดคุยกับผู้ที่มีความคิดเห็นแตกต่าง แต่ก็มองในแง่บวกว่าทุกคนมีความหวังดีต่อประเทศทั้งนี้ในเวลานี้ต้องยังไม่มีเรื่องการเมือง ต้องมีแต่เรื่องของความถูกต้องเป็นหลักมากกว่าความถูกใจ เพราะบ้านเมืองจะได้ไม่บิดเบี้ยวตอนนี้อยู่ที่คนไทยว่าจะเอาอย่างไร

พล.ท.กัมปนาท กล่าวถึงความคืบหน้าการตรวจสอบกลุ่มนักศึกษา ม.ขอนแก่น 5 คนที่ออกมาชูนิ้วแสดงสัญลักษณ์ในขณะที่ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และหัวหน้าคสช. ลงพื้นที่จ.ขอนแก่น ในช่วงที่ผ่านมาว่า ที่ผ่านมาคสช.ได้มีการพูดคุยกับอธิการบดี และคณบดีของมหาวิทยาลัยดังกล่าวเรียบร้อยแล้ว ซึ่งนักศึกษาบางกลุ่มมีกลุ่มการเมืองเข้าไปมีส่วนเกี่ยวข้อง แต่เราต้องช่วยกัน เช่น กรณีนักศึกษาที่จ.ขอนแก่น จากการที่ตนได้ดำเนินการหาข่าวพบว่ากลุ่มนักศึกษาดังกล่าวถูกว่าจ้างมา เพื่อต้องการแย่งชิงพื้นที่สื่อของนายกรัฐมนตรี โดยได้รับการว่าจ้างมาจำนวน 50,000 บาท จากนักการเมืองในพื้นที่ แต่ตนติดว่าไม่น่ามีปัญหาอะไร

“การที่หลายฝ่ายพยายามเรียกร้องให้ยกเลิกกฎอัยการศึกนั้น ยืนยันว่ากฎอัยการศึกมีความจำเป็นในการทำงานของเจ้าหน้าที่ทหาร แต่จะใช้กฎหมายปกติเป็นหลักโดยเจ้าหน้าที่ตำรวจเป็นผู้ทำงานหลัก ส่วนงานเร่งด่วนจะให้เจ้าหน้าที่ทหารดำเนินการเท่านั้นอีกทั้งกฎอัยการศึกไม่ได้เป็นอันตรายต่อคนดี เราต้องการดำเนินการด้วยความถูกต้อง” แม่ทัพภาคที่ 1 กล่าว

สำหรับแถลงการณ์ของกลุ่มประชาคมจุฬาฯ เพื่อประชาชนเนื่องในโอกาสครบ 6 เดือนการรัฐประหาร นั้น มีเนื้อหาดังนี้

ตลอดระยะเวลาหกเดือนที่ผ่านมาหลังกลุ่มบุคคลที่เรียกตัวเองว่า "คณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.)" เข้ายึดอำนาจการปกครองจากประชาชน ปรากฏชัดว่ามีการใช้อำนาจกฎอัยการศึกละเมิดสิทธิประชาชนอย่างป่าเถื่อนแบบ ที่ไม่เคยเห็นมาก่อนในรอบหลายสิบปี การละเมิดสิทธินั้นเริ่มตั้งแต่ด้านพื้นฐานที่สุดอย่างการแสดงความคิดเห็น มีการประกาศเรียกประชาชนที่คิดต่างจากตนมากกว่า 500 คน และมีผู้ถูกจับกุมเกิน 200 คน ขณะนี้ยังคงมีการไล่ล่าผู้เห็นต่างที่ยังไม่ยอมสยบยอมต่ออำนาจคสช. อย่างต่อเนื่องและยังคงมีการใช้อำนาจอย่างป่าเถื่อนเช่น การบีบบังคับองค์กรที่มีอำนาจเหนือกว่าให้ลงโทษผู้คิดต่าง การเข้าไปข่มขู่ครอบครัวและผู้มีส่วนเกี่ยวข้องกับผู้ที่ประกาศตนต่อต้าน คสช. เป็นต้น

การแสดงความคิดเห็นที่ถูกปิดกั้นอย่างเข้มงวดนี้เองทำให้คำโฆษณาของ คสช.ที่กล่าวว่าตนจะ"คืนความสุข"โดยการตรวจสอบและลงโทษการทุจริตอย่างเข้มข้นเป็นไปอย่างน่าเคลือบแคลงใจยิ่ง ประชาชนไม่สามารถวิพากษ์วิจารณ์การบริหารงานได้อย่างเต็มที่ ไม่ว่าจะเป็นการอนุมัติงบประมาณ การจัดตั้งองค์กรที่อ้างว่าเป็นคนกลางเข้ามาปฏิรูปประเทศให้พ้นจากวิกฤติการเมือง หรือการบริหารงานซึ่งปรากฏชัดว่าล้วนแต่เป็นการเติมเชื้อเพลิงความขัดแย้งเพราะผู้ได้รับประโยชน์ล้วนแต่เป็นคู่ขัดแย้งของรัฐบาลที่ถูกโค่นล้มด้วยการรัฐประหารครั้งล่าสุดนี้ทั้งสิ้น

สำหรับเวทีปฏิรูปต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องพลังงานหรือกรณีเขื่อนแม่วงก์ก็เป็นที่แน่ชัดว่าไม่มีทางดำเนินการไปได้อย่างเสรี ดังปรากฏเจ้าหน้าที่ทหารตำรวจเข้าควบคุมพื้นที่บันทึกข้อมูลและวิดีโอตลอดกิจกรรมต่างๆ ของประชาชน ยิ่งไปกว่านั้น เรื่องเวทีการเมืองระดับชาติอย่างสภาปฏิรูปที่แต่งตั้งขึ้นมาใหม่ก็ไม่มีอำนาจยึดโยงกับประชาชนแต่อย่างใด หากแต่ยังรับเงินจากภาษีประชาชนโดยที่สมาชิกสภาไม่ต้องแสดงบัญชีทรัพย์สินเพื่อการตรวจสอบอีกด้วย 

รัฐบาลคสช. ไม่ให้ความสำคัญและเพิกเฉยต่อหลักเสรีภาพของประชาชน เห็นได้จากการปิดกั้นการทำงานของสื่อมวลชนไปจนถึงการออกคำสั่งห้ามกิจกรรมสาธารณะที่ถือว่าเป็นสิทธิขั้นพื้นฐานเพียงเพราะการกระทำเหล่านั้นถูกหยิบมาใช้เป็นสัญลักษณ์ต่อต้านอำนาจรัฐประหาร เช่น การรับประทานแซนด์วิชก็กลับกลายเป็น “ภัยต่อความมั่นคง”  การรับประทานอาหารเป็นกลุ่ม การอ่านวรรณกรรมอย่างหนังสือเรื่อง 1984 ของจอร์จ ออเวลล์ และการแสดงสัญลักษณ์ชูสามนิ้วจากภาพยนตร์ในที่สาธารณะ 

นอกจากนี้ ประเด็นที่เกี่ยวพันกับนักศึกษาโดยตรงอย่างเรื่องเสรีภาพทางวิชาการนั้น ก็ถูกปิดกั้นด้วยการสั่งยกเลิกงานเสวนาวิชาการจำนวนมาก ออกคำสั่งให้ส่งเอกสารขออนุญาตก่อนจัดการเสวนาที่ คสช. มองว่าเกี่ยวข้องกับความไม่สงบเรียบร้อย นักวิชาการไม่สามารถแสดงความคิดเห็นแม้ในวงเสวนาวิชาการ  รวมถึงการให้เจ้าหน้าที่ทหารเข้าไปสอดแนมการเรียนการสอนในสถาบันการศึกษาและงานเสวนาวิชาการต่างๆทั่วประเทศ ทั้งนี้ยังไม่นับเสรีภาพในการแสดงออกทางการเมืองของนักศึกษาที่ถูกคุกคามอย่างหนัก ดังเช่นกรณีการควบคุมตัวนักศึกษามหาวิทยาลัยขอนแก่นกลุ่มดาวดินเพียงเพราะพวกเขา “ชูสามนิ้ว”มีการตามข่มขู่ย้อนหลัง หรือกรณีการปรับค่าเสียหายนิสิตกลุ่มประชาคมจุฬาฯเพื่อประชาชนซึ่งทำการแขวนป้ายรำลึก 8 ปีรัฐประหาร 19 กันยา โดยอ้างถึงพรบ. ความสะอาด

กลุ่มประชาคมจุฬาฯ เพื่อประชาชน (CCP) ในฐานะกลุ่มนิสิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยที่รักประชาธิปไตย จึงประกาศแสดงจุดยืนไม่ยอมรับการรัฐประหาร และมีข้อเรียกร้องดังนี้

1. ขอให้คณะคสช. ยุติการใช้กฎอัยการศึก หยุดการคุกคามสิทธิเสรีภาพของประชาชนซึ่งเป็นหลักประกันขั้นพื้นฐานของสังคมประชาธิปไตย โดยเฉพาะอย่างยิ่งการคุกคามเสรีภาพทางวิชาการในสถานศึกษา ที่ซึ่งควรจะเป็นสถานที่ที่นำปัญญามาสู่สังคม

2. ขอให้สโมสรและองค์การนิสิตนักศึกษาต่าง ๆ ทั่วประเทศ ทำหน้าที่ปกป้องเสรีภาพในการแสดงออกทางการเมืองของนิสิตนักศึกษา ในฐานะที่พื้นฐานขององค์กรนั้นมาจากการเลือกตั้งและหน้าที่หลักคือปกป้องสิทธิประโยชน์ของนิสิตนักศึกษาผู้เลือกตัวแทนเข้าไป

3. ขอให้สโมสรและองค์การนิสิตนักศึกษาต่าง ๆ ทั่วประเทศ ร่วมกันแสดงออกว่าไม่ยอมรับและไม่สนับสนุนอำนาจนอกระบอบประชาธิปไตยทั้งในมหาวิทยาลัยและในสังคม รวมถึงร่วมกันประณามคณะคสช. ซึ่งยึดอำนาจด้วยวิธีการอันมิชอบ เพราะว่าเหนือสิ่งอื่นใด องค์การนักศึกษาทั้งหลายที่ขึ้นสู่อำนาจโดยการเลือกตั้ง ควรจะเคารพหลักการอันเป็นที่มาของอำนาจของตน อย่างน้อยที่สุด องค์การนักศึกษาทั้งหลายต้องไม่เข้าไปมีส่วนร่วมใด ๆ ทั้งทางตรงและทางอ้อมกับคณะคสช.

4. ขอให้คณะคสช. คืนอำนาจอธิปไตยสู่ประชาชนผู้เป็นเจ้าของอำนาจที่แท้จริง เพื่อให้ได้รัฐบาลของประชาชนเข้ามาเป็นผู้บริหารประเทศอย่างถูกต้องตามหลักการสากล เพื่อป้องกันการถูกคว่ำบาตรจากต่างประเทศทั่วโลกที่มีกระแสหลักยอมรับการปกครองแบบประชาธิปไตย และที่สำคัญที่สุดคือเพื่อความเท่าเทียมกันของคนทุกเสียง อันเป็นหัวใจในการบริหารประเทศแบบประชาธิปไตยอย่างแท้จริง

 

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

นายกมาเลย์แถลง ไทยยอมรับมาเลเซียเป็นคนกลางเจรจาสันติภาพ

$
0
0

1 ธ.ค.2557 สื่อหลายสำนักของมาเลเซีย รายงานข่าวการเดินทางเยือนมาเลเซียอย่างเป็นทางการของ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีของไทยพร้อมคณะ 19 คน

นายนาจิบ ราซัค นายกรัฐมนตรีมาเลเซียแถลงข่าวในการพบปะครั้งนี้ว่า "ประเทศไทยยอมรับให้มาเลเซียเป็นประเทศที่มีบทบาทการสร้างสันติสุขในพื้นที่ชายแดน

“นั่นคือคำยืนยันจากนายกรัฐมนตรีไทย ในการพบปะครั้งนี้ โดย พล.อ.ประยุทธ์ยอมรับให้กัวลาลัมเปอร์เป็นคนกลางในการเจรจาที่เกี่ยวข้อง"นายนาจิบกล่าว (ที่มา http://www.bharian.com.my/node/20889)

ขณะที่เว็บไซด์ข่าว My Metro รายงานคำให้สัมภาษณ์ของนาจิบว่า มาเลเซียจะเดินหน้าบทบาทหลักในการเจรจาสันติภาพที่ภาคใต้ของไทย บนหลักการ 3 ข้อ

“ข้อแรก คือ ต้องมีกรอบเวลาที่ชัดเจน และทุกผ่ายต้องเคารพกฎหมาย ข้อที่สอง ซึ่งสำคัญมากในการเจรจาสันติภาพ คือ ต้องมีตัวแทนจากทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง ข้อที่สาม ทุกฝ่ายเห็นชอบต่อข้อเรียกร้อง และอีกฝ่ายที่เกี่ยวข้องมีความเป็นหนึ่งเดียว” (ที่มา http://www.hmetro.com.my/node/13272)

ขณะเดียวกันมีสื่อมวลชนบางส่วนรายงานว่า มีกลุ่มเอ็นจีโอในมาเลเซียส่วนหนึ่งได้ชุมนุมประท้วงพล.อ.ประยุทธ์ที่มาเยือนมาเลเซียครั้งนี้ด้วย

พบป้ายผ้ากว่า 30 จุด ถามความเหมาะสมเจรจาสันติภาพกับรัฐบาลจากรัฐประหาร

วันเดียวกัน เกิดเหตุมีการแขวนป้ายผ้าในพื้นที่ต่างๆ ใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ซึ่งเนื้อหามีทั้งภาษาไทยและภาษามลายู ส่วนใหญ่ระบุว่า “เหมาะสมแล้วหรือที่จะเจรจากับรัฐบาลรัฐประหาร เพราะไม่มีสิ่งใดที่เป็นหลักประกันให้เชื่อว่าจริงใจ”

โดยพื้นที่จังหวัดปัตตานี พบแผ่นป้ายผ้าและวัตถุต้องสงสัย รวม 16 จุด พื้นที่จังหวัดนราธิวาส 11 จุด พื้นที่จังหวัดยะลา 5 จุด และในพื้นที่จังหวัดสงขลา 2 จุด

ด้าน พ.อ.บรรพต พูลเพียร โฆษกกองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร (กอ.รมน.) เปิดเผยว่า ตามที่กลุ่มผู้ก่อเหตุรุนแรงได้ก่อเหตุลอบวางระเบิด วางวัตถุต้องสงสัย และแขวนป้ายผ้าหลายแห่งในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ในช่วงเช้าวันนี้นั้น จะเห็นได้ว่าข้อความในป้ายผ้าจะมีความหมายคล้ายๆ กัน อันเป็นความพยายามลดทอนภาพลักษณ์การเยือนประเทศมาเลเซียของนายกรัฐมนตรีและคณะ โดยเฉพาะการหารือเกี่ยวกับการแก้ไขปัญหาจังหวัดชายแดนภาคใต้เพื่อเรียกร้องความสนใจจากประชาคมโลก รวมถึงองค์กรระหว่างประเทศ

พ.อ.บรรพต กล่าวว่า ในโอกาสนี้จึงขอเรียนชี้แจงว่า การเดินหน้าของกระบวนการพูดคุยเพื่อสันติสุขในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้นั้น เป็นสิ่งที่ทุกฝ่ายร่วมกันเรียกร้อง ดังนั้นจึงควรให้การสนับสนุนเพื่อให้กระบวนการพูดคุยดำเนินต่อไป เนื่องจากปัจจุบันรัฐบาลมีแนวทางและขั้นตอนที่ชัดเจนในการเปิดโอกาสให้ทุกฝ่ายเข้ามามีส่วนร่วม เพื่อให้กระบวนการดังกล่าวบรรลุผลสำเร็จตามวัตถุประสงค์

 

 

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

ศาลอาญาพิจารณาลับคดี 112 หนุ่มเพชรบูรณ์ขายปุ๋ย แพทย์ชี้มีอาการจิตเภท

$
0
0


1 ธ.ค.2557  เวลาประมาณ 15.15 น. ที่ศาลอาญา รัชดา ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ผู้พิพากษาสั่งให้ญาติและผู้สังเกตการคดีทั้งหมดออกจากห้องพิจารณาคดี ในคดีที่นายทะเนช (สงวนนามสกุล) อายุ 45 ปีเป็นจำเลย ถูกกล่าวหาว่าส่งอีเมล์เนื้อหาเข้าข่ายหมิ่นประมาทสถาบันฯ โดยในวันนี้เป็นวันนัดสอบคำให้การว่าจำเลยจะให้การรับสารภาพหรือไม่ และศาลสั่งให้พิจารณาคดีโดยปิดลับ ทั้งที่ก่อนหน้านี้ในวันนัดสอบคำให้การจำเลยครั้งแรกศาลยังไม่มีคำสั่งพิจารณาลับแต่อย่างใด

รายงานข่าวแจ้งว่า ทนายจำเลยได้เตรียมเอกสารใบรับรองแพทย์ยื่นต่อศาลในวันนี้ด้วย โดยแพทย์จากสถาบันกัลยาราชนครินทร์ระบุว่าทะเนชมีอาการของโรคจิตเภทชนิดหวาดระแวง 

ทนายจำเลยให้สัมภาษณ์ว่า ในวันนี้จำเลยได้ให้การภาคเสธ โดยยอมรับว่าได้ส่งอีเมล์เข้าข่ายหมิ่นฯ จริงดังที่ถูกกล่าวหาแต่เนื่องจากจำเลยมีอาการหูแว่ว หลอน และต่อมาหมอวินิจฉัยว่าเป็นอาการจิตเภทประเภทหนึ่ง จึงต้องการต่อสู้คดีในเรื่องดังกล่าวเพื่อให้ศาลพิจารณาลดหย่อนโทษ โดยอัยการและทนายจำเลยนัดวันสืบพยานที่ศูนย์นัดความ กำหนดนัดตรวจความพร้อมคู่ความเป็นวันที่ 23 มี.ค.2558  และนัดสืบพยาน 1 วันในวันที่ 8 พ.ค.2558 โดยฝ่ายโจทก์มีพยาน 2 ปาก ส่วนฝ่ายจำเลยมีพยาน 3 ปากได้แก่ จำเลย, พี่สาวจำเลย และแพทย์ผู้ตรวจวินิจฉัยโรคจิตเภทของจำเลย

ด้านพีสาวของจำเลยระบุว่า หลังจากนี้จะกลับไปหากู้ยืมเงินมาประกันตัวน้องชาย เนื่องจากครอบครัวมีฐานะยากจนแต่ห่วงน้องชายมากเนื่องจากชอบมีอาการเครียดและมีโรคประจำตัวที่ต้องรับประทานยาเป็นประจำ

ทั้งนี้ ทะเนชเป็นชาวจังหวัดเพชรบูรณ์ ประกอบขายปุ๋ยการเกษตรทางเว็บไซต์ ไม่เคยร่วมการชุมนุมทางการเมืองหรือกิจกรรมทางการเมืองใดๆ คดีนี้เจ้าหน้าที่กรมสอบสวนคดีพิเศษเป็นผู้กล่าวหา

เว็บไซต์ศูนย์ข้อมูลกฎหมายและคดีเสรีภาพ ระบุว่า ทะเนชถูกกล่าวหาว่าส่งอีเมล์ ซึ่งมีลิงก์เชื่อมโยงไปยังเนื้อหาที่เข้าข่ายหมิ่นประมาทพระมหากษัตริย์และรัชทายาท ไปยังอีเมล์ stoplesemajeste@yahoo.com ซึ่งเป็นอีเมล์ของ Elimio Esteban ชาวอังกฤษ โดยในอีเมล์นั้นมีการส่งลิงก์ไปยัง sanamluang.blogspot ซึ่งมีข้อความเข้าข่ายดูหมิ่น หมิ่นประมาทพระมหากษัตริย์และรัชทายาท ต่อมาลิงก์ดังกล่าวถูกปิดกั้นการเข้าถึง การกระทำของผู้ต้องหาถูกตรวจพบตั้งแต่เดือนมิถุนายน 2553 
ต่อมาภายหลังรัฐประหาร วันที่ 2 กรกฎาคม 2557 เขาถูกจับกุมที่บ้านพักจ.เพชรบูรณ์ แล้วถูกควคุมตัวไปที่ มทบ 11 ถูกควบคุมอยู่ 7 วัน ก่อนปล่อยตัวในวันที่ 8 กรกฎาคม 2557 จากนั้นทางเจ้าหน้าที่จากกองบังคับการปราบปรามการกระทำผิดทางเทคโนโลยี (ปอท.) ได้แจ้งหมายจับ และส่งตัวไปสอบสวนที่ สภ.บึงสามพัน จ.เพชรบูรณ์ ทะเนชรับสารภาพในชั้นสอบสวนในประเด็นการส่งอีเมล์ 

ในเดือนกันยายน 2557 ศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชน มีหนังสือถึงกรมราชทัณฑ์ขอให้ตรวจสอบอาการทางจิตของเขา เขาถูกส่งตัวไปตรวจที่สถาบันกัลยาณ์ราชนครินทร์ ทั้งสองครั้งแพทย์ยังไม่ลงความเห็นวินิจฉัยเรื่องอาการทางจิตของทะเนช วันที่ 1 ตุลาคม 2557 ธเนศถูกนำตัวมาที่ศาลอาญาเพื่อรับทราบข้อกล่าวหาตามฟ้อง ทนายความยื่นคำร้องต่อศาลขอเลื่อนวันนัดสอบคำให้การไปก่อนเพื่อรอผลตรวจจากสถาบันกัลยาณ์ราชนครินทร์ ศาลกำหนดวันนัดพร้อม และสอบคำให้การจำเลยใหม่เป็นวันนี้ (1 ธ.ค.)


อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมที่ http://www.prachatai.com/journal/2014/08/55137

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

คนงานจอร์จี้ ยื่นข้อเรียกร้องเปลี่ยนแปลงสภาพการจ้าง บริษัทยื่นสวน

$
0
0
สหภาพแรงงานอุตสาหกรรมสิ่งทอและตัดเย็บเสื้อผ้าสัมพันธ์ ยื่นข้อเรียกร้องขอค่าจ้างไม่ต่ำกว่า 320 บาท ด้านบริษัท จอร์จี้ แอนด์ ลู ยื่นข้อเรียกร้องสวนจ่ายขั้นต่ำ 300 บาทต่อวัน เลิกอาหารกลางวัน ให้พนักงานจ่ายสมทบค่าเบรค

 
เมื่อวันที่ 1 ธ.ค. 2557 สหภาพแรงงานอุตสาหกรรมสิ่งทอและตัดเย็บเสื้อผ้าสัมพันธ์ ได้ยื่นข้อเรียกร้องเพื่อเปลี่ยนแปลงสภาพการจ้างต่อบริษัท จอร์จี้ แอนด์ ลู จำกัด โดยมีรายละเอียดดังต่อไปนี้
 
1. ปัจจุบันอัตราค่าครองชีพสูงขึ้น ส่งผลให้ค่าใช้จ่ายในชีวิตประจำวันของพนักงานสูงขึ้นไปด้วย ดังนั้นเพื่อให้พนักงานบริษัทจอร์จี้แอนด์ลู จำกัดได้มีคุณภาพชีวิตที่ดี จึงขอ ให้บริษัทฯ จ่ายค่าจ้างให้กับพนักงานตามอัตราดังต่อไปนี้ 
1.1 พนักงานรายเดือนขั้นต่ำเดือนละ 11,000 บาท 
1.2 พนักงานรายวัน วันละ 320 บาท 
1.3 พนักงานรายชิ้นตามที่ทำได้จริง และต่อวันต้องมีค่าจ้างไม่ต่ำกว่า 320 บาท
 
2. การทำงานของพนักงานบริษัทจอร์จี้ แอนด์ ลู จำกัด ในปีที่ผ่านมา ทุกคนได้ทำงานอย่างตั้งใจ เพื่อให้บริษัทฯ มีความก้าวหน้า ดังนั้นเพื่อเป็นกำลังใจกับพนักงานทุกคน จึงขอให้ให้บริษัทจ่ายโบนัสประจำปี 2557 ให้กับพนักงานทุกคนไม่ต่ำกว่า 2 เท่าของรายได้
 
3. ที่ผ่านมาบริษัทฯได้กำหนดวันลาหยุดพักผ่อนประจำปี ให้กับพนักงานที่ทำงานครบหนึ่งปีเป็นจำนวน 6 วัน ซึ่งสหภาพแรงงานฯ เห็นว่าหากบริษัทฯ กำหนดวันหยุดพักผ่อนประจำปีให้กับคนงานมากกว่านี้ก็จะเป็นการสร้างขวัญและกำลังใจให้กับพนักงาน ดังนั้นจึงขอให้บริษัทฯ เพิ่มวันหยุดพักผ่อนประจำปีดังนี้
3.1 พนักงานที่ทำงานติดต่อ 1 เดือน ถึง 1 ปี 6 วัน
3.2 พนักงานที่ทำงานติดต่อกันตั้งแต่ 1 ปี  ถึง 2 ปี 7 วัน
3.3 พนักงานที่ทำงานติดต่อกันตั้งแต่ 2 ปี  ถึง 3 ปี 8 วัน
3.4 พนักงานที่ทำงานติดต่อกันตั้งแต่ 3 ปี ถึง 4 ปี 9 วัน
3.5 พนักงนที่ทำงานติดต่อกันตั้งแต่ 4 ปี ถึง 5 ปี 10 วัน
3.6 พนักงานที่ทำงานติดต่อกันตั้งแต่ 5 ปีขึ้นไป 12 วัน
 
4. ปัจจุบันบริษัทฯ มีข้อตกลงให้พนักงานลากิจโดยได้รับค่าจ้าง 4 วันต่อปี เพื่อเป็นขวัญและกำลังใจให้แก่พนักงานทุกคน จึงขอให้บริษัทฯ ปรับเพิ่มวันลากิจโดยได้รับค่าจ้างเป็น 6 วันต่อปี  
 
5. ปัจจุบันบริษัทฯ ได้สร้างเงื่อนไขในการแจ้งการลาล่วงหน้าสำหรับลากิจและลาหยุดพักผ่อนประจำปี โดยให้พนักงานต้องยื่นใบลาล่วงหน้า 15 วัน ซึ่งไม่สอดคล้องกับประเพณีปฏิบัติเดิม เพื่อสร้างแรงงานสัมพันธ์ที่ดี จึงขอบริษัทฯ ปฏิบัติตามประเพณีปฏิบัติเดิม โดยให้มีการแจ้งการลาล่วงหน้าเพียง 3 วันเท่านั้น
 
6. สิทธิประโยชน์และสภาพการจ้างอื่นใดที่ได้รับอยู่ในปัจจุบันนอกเหนือจากข้อเรียกร้องนี้ ให้บริษัทฯ ปฏิบัติไว้คงเดิม
 
วันเดียวกันนี้ (1 ธ.ค.) บริษัท จอร์จี้ แอนด์ ลู จำกัด ก็ได้ยื่นขอแก้ไขเพิ่มเติมข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างต่อพนักงาน โดยบริษัทมีความประสงค์แก้ไขเพิ่มเติมข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างที่ตกลงกันไว้เมื่อวันที่ 3 ธันวาคม 2557 ดังนี้
 
1. ให้พนักงานทุกคนมีวันและเวลาทำงานเดียวกัน คือทำงานวันละ 8 ชั่วโมงและทำงาน 6 วันต่อสัปดาห์
 
2. ให้กำหนดเวลาเริ่มงานปกติกของทุกแผนกเป็น 8.00 น. ทั้งนี้ กรณีมีเหตุจำเป็นหรือด้วยลักษณะงานและ หรือเพื่อความเหมาะสมกับสภาพการผลิตในบางแผนก บริษัทฯ อาจกำหนดเวลาเริ่มงานของแผนกนั้นๆ หรือในช่วงเวลานั้น ๆ เป็นเวลาอื่นที่มิใช่ 8.00 น. ได้
 
3. ให้ทุกแผนกมีการพักระหว่างการทำงานนอกเหนือจากเวลาทำงานปกติ 8 ชั่วโมง ดังนี้ 
- พักรับประทานอาหารกลางวัน 40 นาที
- พักเบรคระหว่างวัน 2 ครั้ง ครั้งละ 10 นาที
ทั้งนี้เวลาในการพักของแต่ละแผนกอาจแตกต่างกันไปโดยบริษัทฯ จะเป็นผู้กำหนดให้ตามความเหมาะสมในการทำงานของแต่ละแผนก
 
4. บริษัทฯ มีความประสงค์ยกเลิกอาหารกลางวันที่จัดให้พนักงาน
 
5. บริษัทฯ มีความประสงค์ปรับค่าแรงขั้นต่ำที่จ่ายให้พนักงานเป็น 300 บาทต่อวัน
 
6. บริษัทฯ มีความประสงค์ปรับพนักงานรายชิ้นเป็นพนักงานรายวัน
 
7. ให้พนักงานสมทบทุนค่าเครื่องดื่มระหว่างเบรคและของขบเคี้ยว อาทิ กาแฟ โดยเป็นจำนวนเงินไม่เกิน 30 บาทต่อวัน
 
ทั้งนี้ทั้งสองฝ่ายได้สำเนาข้อเรียกร้องของฝ่ายตนให้กับสำนักงานสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานจังหวัดเชียงใหม่ด้วย
 
ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

ไทย-มาเลเซียตั้งเป้าการค้า 1 ล้านล้านบาท เชื่อมโยงถนน-รถไฟ

$
0
0

ผลหารือนายกรัฐมนตรีไทย-มาเลเซีย เห็นชอบให้มาเลเซียเป็นผู้อำนวยความสะดวกการเจรจาสันติสุขภาคใต้ ด้านเศรษฐกิจทั้งสองฝ่ายจะสร้างความเชื่อมโยงทั้งถนนและระบบราง เชื่อมโยงการท่องเที่ยว ตั้งเป้าการค้า 1 ล้านล้านบาท ด้านมาเลเซียรับจะสนับสนุนทุนการศึกษาให้เยาวชนไทย

พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และหัวหน้า คสช. และ นาจิบ ราซัค นายกรัฐมนตรีมาเลเซีย ถ่ายภาพร่วมกันที่ทำเนียบรัฐบาลมาเลเซีย เมื่อวันที่ 1 ธันวาคม 2557 (ที่มา: เว็บไซต์รัฐบาลไทย)

 

1 ธ.ค. 2557 - เมื่อเวลา 11.45 น. วันนี้ (1 ธ.ค.) พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี การหารือทวิภาคีเต็มคณะกับ นาจิบ ราซัค นายกรัฐมนตรีมาเลเซีย โดยมีบุคคลระดับสูงของไทยเข้าร่วมหารือ ประกอบด้วย พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม พล.อ.ธนะศักดิ์ ปฏิมาประกร รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ พล.อ.อุดมเดช สีตบุตร รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงกลาโหม และผู้บัญชาการทหารบก นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคมและเลขาธิการคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ เป็นต้น ณ  ห้อง Perdana Meeting Room ชั้น 3 ทำเนียบรัฐบาลมาเลเซีย

โดยเว็บไซต์รัฐบาลไทยรายงานว่า ภายหลังการหารือ ร้อยเอก ยงยุทธ มัยลาภ โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี แถลงผลการหารือ สรุปดังนี้

นายกรัฐมนตรีกล่าวขอบคุณสำหรับการต้อนรับอย่างอบอุ่นจากรัฐบาลมาเลเซีย พร้อมชื่นชมวิสัยทัศน์ของนายกรัฐมนตรีมาเลเซียในการพัฒนาประเทศสู่การเป็นประเทศที่มีรายได้สูงตามวิสัยทัศน์ปี 2563 หรือ Vision 2020

นายกรัฐมนตรีย้ำความสำคัญในการกระชับความสัมพันธ์กับมาเลเซียให้แน่นแฟ้นยิ่งขึ้น ในฐานะหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจระหว่างไทยและมาเลเซีย ให้มีการแลกเปลี่ยนการเยือนระหว่างทุกภาคส่วนของทั้งสองประเทศ ส่งเสริมความเชื่อมโยงความร่วมมือด้านการพัฒนาพื้นที่ชายแดน  ไทยสนับสนุนการทำหน้าที่ของมาเลเซียในฐานะเป็นประธานอาเซียน และสมาชิกไม่ถาวรในคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติในปี 2558

ทั้งนี้  ไทยพร้อมเป็นเจ้าภาพการประชุมหารือประจำปี (Annual Consultation) ครั้งที่ 6 ระหว่างนายกรัฐมนตรีไทยและมาเลเซีย ในช่วงครึ่งแรกของปี 2558 ไทยยังได้เสนอให้มาเลเซียพิจารณาเป็นเจ้าภาพจัดการประชุมคณะกรรมาธิการร่วมว่าด้วยความร่วมมือทวิภาคี (JC) ไทย - มาเลเซีย ครั้งที่ 13 และคณะกรรมการว่าด้วยยุทธศาสตร์การพัฒนาร่วมสำหรับพื้นที่ชายแดน (JDS) ครั้งที่ 4 ด้วย

ด้านความมั่นคง นายกรัฐมนตรีกล่าวแสดงความพอใจกับผลการพบหารือกลุ่มเล็กกับนายกรัฐมนตรีมาเลเซียก่อนหน้านี้ ซึ่งรัฐบาลไทยยืนยันที่จะเดินหน้าสานต่อกระบวนการพูดคุยเพื่อสันติสุขจังหวัดชายแดนภาคใต้ โดยมีมาเลเซียเป็นผู้อำนวยความสะดวก โดยจะได้มีการหารือในรายละเอียดกันต่อไป เพื่อให้กระบวนการพูดคุยเพื่อสันติสุขมีความคืบหน้าอย่างแท้จริง

ด้านเศรษฐกิจ  ไทยกับมาเลเซียต่างให้ความสำคัญกับการพัฒนาเศรษฐกิจ  การสร้างความเชื่อมโยงระหว่างกันทั้งรถและราง โดยเฉพาะการเชื่อมโยงในพื้นที่ชายแดน ซึ่งไทยได้มีการเร่งรัดพัฒนาเขตเศรษฐกิจพิเศษสะเดา-ปาดังเบซาร์ เพื่อเพิ่มการจ้างงาน สร้างรายได้แก่ประชาชนในพื้นที่  ไทยยังอยากเห็นนักลงทุนมาเลเซีย เข้ามาลงทุนในประเทศไทยมากขึ้น  เช่นเดียวกันกับที่จะส่งเสริมให้นักลงทุนไทยเข้าไปลงทุนในมาเลเซีย เช่นกัน   โดยไทยและมาเลเซียเห็นพ้องกันในการตั้งเป้าหมายมูลค่าการค้าเพิ่มขึ้น จาก 8 แสนล้านบาทในปี 2556 ให้ได้ถึง 1  ล้านล้านบาทในปี 2558 ซึ่งไทยได้มอบหมายให้สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุนของไทย (BOI) ได้พิจารณาปรับเปลี่ยนกฎระเบียบเพื่อให้เอื้อต่อการลงทุนของต่างประเทศด้วย

นอกจากนี้ ทั้งสองประเทศยังมีศักยภาพในการพัฒนาการท่องเที่ยวร่วมกันให้มีความแข็งแรงยิ่งขึ้นในลักษณะ Package ทั้งการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม การท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ สอดคล้องกับนโยบายของไทย ที่จะกำหนดให้ปีหน้าเป็นปีแห่งการท่องเที่ยวไทยด้วย

สำหรับโครงการ Rubber City ระหว่าง จ. สงขลา กับรัฐเกดะห์ ซึ่งทั้งไทยและมาเลเซียได้ร่วมกันผลักดัน ไทยได้ศึกษาการจัดตั้ง Rubber City บริเวณนิคมอุตสาหกรรมภาคใต้  ที่บ้านฉลุง อ.หาดใหญ่ จังหวัดสงขลา เพื่อส่งเสริมอุตสาหกรรมแปรรูป เพิ่มมูลค่าให้ผลิตภัณฑ์ยางและส่งเสริมการจ้างงาน

ในโอกาสนี้ นายกรัฐมนตรีมาเลเซีย ได้กล่าวชื่นชมความสัมพันธ์ไทยและมาเลเซียที่มีมายาวนาน และมีความร่วมมือกันรอบด้านอย่างลึกซึ้ง มาเลเซียได้สนับสนุนการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ โดยได้มอบทุนการศึกษาแก่เยาวชนไทยทั้งสายอาชีวะ การศาสนาและวิชาสามัญ และจะเดินหน้าโครงการความร่วมมือด้านการศึกษาอย่างต่อเนื่อง

นายกรัฐมนตรีมาเลเซียยังได้กล่าวสนับสนุนนายกรัฐมนตรี เกี่ยวกับความร่วมมือไทยและมาเลเซียทั้ง การพัฒนาพื้นที่เขตเศรษฐกิจพิเศษชายแดน โดยจะส่งเสริมการลงทุนที่เน้นการพัฒนาทุกภาคส่วนทั้งสิ่งปลูกสร้างที่อยู่อาศัย และสิ่งอำนวยความสะดวกในการประกอบอาชีพและกิจกรรมอื่น  รวมทั้งการส่งเสริมการเชื่อมโยง (Connectivity) ด้วยเส้นทางถนนและรถไฟจากไทย-มาเลเซีย เพื่ออำนวยความสะดวกในการเดินทางของประชาชนและการขนส่งสินค้า อาจเชื่อมต่อไปยังอินเดียและจีนในอนาคตด้วย

นายกรัฐมนตรีมาเลเซียได้กล่าวสนับสนุนเป้าหมายมูลค่าการค้า 1 ล้านล้านบาท ของทั้งสองประเทศ นอกจากนี้ไทยมีความเชี่ยวชาญในสาขายานยนต์ ซึ่งภาคอุตสาหกรรมรถยนต์ของมาเลเซีย มีความพอใจในการลงทุนในไทยด้วย รวมทั้งมาเลเซียยังสนใจที่จะร่วมมือกับไทยในอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวของไทยซึ่งเป็นยอมรับในภูมิภาค

มีรายงานก่อนหน้านี้ด้วยว่า ในวันที่ พล.อ.ประยุทธ์ เยือนมาเลเซีย มีการประท้วงหน้าสถานทูตไทย ถ.อัมปัง กรุงกัวลาลัมเปอร์ โดย 18 องค์กรประชาสังคม มีข้อเรียกร้องต่อรัฐบาลมาเลเซีย ไม่ให้ยอมรับรัฐบาล คสช. จนกว่าจะมีการปฏิบัติตามเงื่อนไขต่อไปนี้ได้แก่ (1) ยกเลิกกฎอัยการศึกในทันที (2) หยุดการทำลายและจับกุมผู้ที่มีความเห็นต่างทางการเมืองในประเทศไทยและปล่อยตัวนักโทษการเมืองทั้งหมด (3) มีการเลือกตั้งและให้ประชาชนไทยเลือกตั้งรัฐบาลของพวกเขาได้อย่างเสรีตามระบอบประชาธิปไตย

โดยในแถลงการณ์ดังกล่าว มีสมาชิกสภาผู้แทนราษฏรมาเลเซีย 4 คน ร่วมลงชื่อด้วย ได้แก่ ฉัว เทียน ชาง ส.ส.เขตบาตู กัวลาลัมเปอร์, ชาร์ลส์ ซานติอาโก ส.ส.เขตกลัง รัฐสลังงอร์, ชัยกุมาร เทวราช ส.ส.เขตสุไหง สิปุต รัฐเประ และ ชาง ลิ คัง ส.ส.เขตอะดุน เตจา รัฐเประ (อ่านข่าวก่อนหน้านี้)

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

ที่ปรึกษาไอทีชวนคิดเรื่องคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล จะ 'กำกับ'นวัตกรรมโดยไม่ 'ฆ่า'อย่างไร

$
0
0

เมื่อวันที่ 24 พฤศจิกายนที่ผ่านมา มูลนิธิฟรีดริช เนามัน (Friedrich Naumann Foundation) ได้จัดสัมมนาในหัวข้อ “ความปลอดภัยไซเบอร์และการคุ้มครองข้อมูล” (Cyber Security and Data Protection) โดยได้เชิญนายคาร์ล ฟิลิปป์ เบอร์เคิร์ต (Carl Philipp Burkert) ที่ปรึกษาอาวุโสและผู้จัดการบริษัท COMDOK มาเป็นวิทยากร การสัมมนาจัดขึ้น ณ อาคารบางกอกบิสซิเนสเซนเตอร์ ถนนเอกมัย
 

## ทั้งรัฐและเอกชนต่างก็เก็บข้อมูลของเราทุกคน

นายเบอร์เคิร์ตกล่าวว่า ในโลกทุกวันนี้ เทคโนโลยีเอื้อให้รัฐสามารถสอดแนมพลเมืองของตนได้อย่างที่ไม่เคยเป็นมาก่อน รัฐบาลทุกประเทศมีการสอดแนมประชาชนโดยใช้เครื่องมือในการสอดแนมที่ต่างกัน ด้วยวัตถุประสงค์ที่ต่างกันออกไป และทุกวันนี้เราไม่ได้ถูกสอดแนมจากรัฐเท่านั้น แต่บริษัทเอกชนต่างๆ ก็เก็บข้อมูลของเราเช่นกัน

ข้อแตกต่างระหว่างรัฐและเอกชนก็คือ สำหรับบริษัทเอกชน บริษัทเหล่านี้ต้องขอความยินยอมจากเรา และเรามีทางเลือกที่จะไม่ยอมรับเงื่อนไขดังกล่าวและเลือกไม่ใช่บริการนั้นๆ ได้ แต่สำหรับรัฐ รัฐไม่ได้ขอความยินยอมจากเรา ทว่ากำลังสอดแนมเราอยู่อย่างลับๆ
 

## มุมมองความเป็นส่วนตัวที่แตกต่างไปในแต่ละวัฒนธรรม

นายเบอร์เคิร์ตได้กล่าวถึงความแตกต่างระหว่างความเป็นส่วนตัว (privacy) ตามความเข้าใจของชาวอเมริกันกับชาวเยอรมัน

สำหรับชาวอเมริกันนั้น ความเป็นส่วนตัวคือการมีสิทธิที่จะอยู่ตามลำพัง (the right to be left alone) โดยปราศจากการสอดส่องของเพื่อนบ้านหรือคนอื่นๆ

ขณะที่ตามความเข้าใจของคนเยอรมันนั้น ความเป็นส่วนตัวของคนๆ หนึ่ง คือความสามารถที่จะควบคุมข้อมูลที่เกี่ยวกับตนได้ โดยในการปกป้องข้อมูลส่วนบุคคล ที่จริงแล้วไม่ใช่ตัวข้อมูลที่เราต้องการปกป้อง แต่เราต้องการการปกป้องคนผู้เป็นเจ้าของข้อมูลต่างหาก ซึ่งแนวคิดนี้เป็นสิ่งที่จะต้องถูกนำไปอยู่ในกฎหมายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล

อย่างไรก็ตาม หากเราเข้มงวดกับการรักษาความเป็นส่วนตัวมากเกินไป ก็อาจเป็นอุปสรรคกับชีวิตทางสังคมของเรา ฉะนั้น การรักษาความเป็นส่วนตัวจึงควรต้องหาจุดสมดุลให้ได้
 

## ปกป้องข้อมูลส่วนบุคคล...จากใคร?

นายเบอร์เคิร์ตแนะนำว่า ในการจะปกป้องข้อมูล เราจำเป็นต้องรู้ว่าจะปกป้องข้อมูลนั้นจากใคร รู้ว่าข้อมูลใดที่ต้องการปกป้อง เรายังต้องรู้จักวิธีใช้เครื่องมือรักษาความเป็นส่วนตัว มีการใช้พาสเวิร์ดที่แข็งแรง เปิดใช้ฟังก์ชันการยืนยันตัวตนสองชั้น (2-factors authentication) การเลือกให้ข้อมูลส่วนตัวกับเว็บไซต์ที่มีการเข้ารหัสแบบ HTTPS เท่านั้น เราอาจเข้ารหัสอีเมลหรือไฟล์ข้อมูลที่สำคัญ

แม้ว่าในสหรัฐอเมริกา การใช้เครื่องมือเข้ารหัสอีเมลอาจทำให้สำนักงานความมั่นคงแห่งชาติหรือ NSA สงสัยและอาจเพิ่มการจับตามองเราเป็นพิเศษ แต่ในกรณีทั่วๆ ไป เราอาจไม่ได้รับมือกับองค์กรอย่าง NSA แต่คนที่เราไม่อยากให้เข้าถึงข้อมูลอาจเป็นเพียงบริษัทคู่แข่ง และที่สำคัญ เราควรเลือกใช้บริการกับผู้ให้บริการที่เราไว้ใจ

“นี่เป็นเรื่องของความไว้วางใจ ว่าบริษัทจะไม่มอบข้อมูลของคุณให้กับคนที่คุณไม่ต้องการให้ ดังนั้นเวลาจะเลือกใช้บริการอะไร ให้ถามตัวคุณเองว่า บริการเหล่านั้นเป็นบริการที่คุณไว้ใจหรือไม่” นายเบอร์เคิร์ตกล่าว
 

## การผูกขาดของเฟซบุ๊กและความเป็นส่วนตัว

นายเบอร์เคิร์ตยังได้พูดถึงบางประเด็นที่เกี่ยวข้องกับเฟซบุ๊ก โดยกล่าวถึงธรรมชาติของข้อมูลในเว็บไซต์โซเชียลมีเดียว่า เนื้อหาที่อยู่ในเฟซบุ๊กเป็นข้อมูลเกี่ยวกับผู้ใช้งานเอง และก็มักจะไม่ใช่ข้อมูลที่เกี่ยวกับผู้ใช้เองเท่านั้น แต่ยังเป็นข้อมูลเกี่ยวข้องกับคนอื่นด้วย (อาทิ อย่างเช่นรูปถ่ายที่มีเพื่อนที่อยู่ในภาพเดียวกันกับเรา)

ส่วนประเด็นเรื่องการแชร์ข้อมูลในเฟซบุ๊กนั้น การแชร์ข้อมูลในเฟซบุ๊กไม่ใช่สิ่งที่ไม่ดีเสมอไป เมื่อมองจากมุมของความเป็นส่วนตัว เพราะสิ่งสำคัญอยู่ที่เราสามารถควบคุมการแชร์ข้อมูลนั้นได้หรือไม่ ซึ่งปัจจุบันเฟซบุ๊กมีฟังก์ชั่นให้ผู้ใช้เลือกได้ว่าจะแชร์ข้อมูลนั้นกับเพื่อนหรือกับสาธารณะ

นอกจากนี้ ยังมีประเด็นเรื่องผู้ใช้ที่เป็นเยาวชน ว่าการกำหนดเกณฑ์อายุว่าอายุเท่าไหร่ถึงจัดว่าเป็นเยาวชน

นายเบอร์เคิร์ตกล่าวด้วยว่า ในการใช้เฟซบุ๊ก ผู้ใช้ต้องตระหนักว่าแอปพลิเคชันเฟซบุ๊กในมือถือมีความพิเศษตรงที่สามารถเข้าถึงข้อมูลของคุณได้มากกว่าเฟซบุ๊กบนเว็บไซต์ อย่างเช่นการที่แอปพลิเคชันจะรู้ตำแหน่งที่อยู่ของคุณ ณ เวลานี้ได้ นอกจากนี้ ยังมีประเด็นที่เฟซบุ๊กอนุญาตให้ผู้พัฒนาแอปพลิเคชันเข้าถึงข้อมูลของคุณด้วย ว่าเราจะสามารถไว้ใจผู้ผลิตแอปเหล่านั้นได้มากน้อยแค่ไหน

เฟซบุ๊กยังจัดว่าเป็นธุรกิจที่ผูกขาดตามธรรมชาติ (natural monopoly) เนื่องจากเฟซบุ๊กมีสิ่งที่เรียกว่า “network effect” หรือความนิยมในการใช้เฟซบุ๊กขึ้นอยู่กับว่าเพื่อนของเราใช้งานเฟซบุ๊กมากแค่ไหน ยิ่งมีคนใช้งานเฟซบุ๊กมาก การที่เราจะเปลี่ยนไปใช้บริการโซเชียลมีเดียเจ้าอื่นก็เป็นไปได้ยาก เพราะเพื่อนของเราทุกคนอยู่บนเฟซบุ๊ก

นายเบอร์เคิร์ตบอกว่า สำหรับตนเองแล้วการผูกขาดนี้ก็ไม่ได้เสียหายอะไร แต่ในกฎหมายคุ้มครองความเป็นส่วนตัว คิดว่าควรจะมีความแตกต่างเล็กน้อย ระหว่างการกำกับดูแลบริษัทที่ได้รับความนิยมมากจนใกล้จะเป็นการผูกขาดและยังมีการเก็บข้อมูลผู้ใช้จำนวนมากอย่างเฟซบุ๊ก กับบริษัทขนาดเล็กที่เพิ่งก่อตั้งอื่นๆ ซึ่งตอนนี้ กฎหมายในสหภาพยุโรปได้บังคับให้ผู้ใช้สามารถดาวน์โหลดข้อมูลทั้งหมดเกี่ยวกับตนเองที่อยู่ในระบบของเฟซบุ๊กออกมาเป็นไฟล์เดียวได้แล้ว

นายเบอร์เคิร์ตกล่าวอีกอย่างหนึ่งว่า หากมองในอีกแง่หนึ่ง ถ้าไม่มีเฟซบุ๊ก ไม่มีกูเกิล ไม่มีอินเทอร์เน็ต เราก็อาจมีปัญหาเรื่องความเป็นส่วนตัวน้อยกว่านี้ แต่เราก็อาจจะอยู่ในอีกโลกหนึ่ง ที่ซึ่งเราจะสูญเสียความสะดวกสบายไปด้วย ฉะนั้นสิ่งสำคัญที่ควรจะนำไปคิดต่อก็คือ เราจะกำกับดูแลนวัตกรรมใหม่ๆ อย่างไร โดยไม่ไปฆ่านวัตกรรมเหล่านั้น
 


ภาพโดย digital cat (CC BY 2.0)

 

## หนึ่งทวีป หนึ่งกฎหมาย: กฎหมายคุ้มครองความเป็นส่วนตัวในสหภาพยุโรป

นายเบอร์เคิร์ตได้กล่าวถึงกฎหมายคุ้มครองความเป็นส่วนตัวในสหภาพยุโรปว่า ในปัจจุบัน แนวทางที่กำกับเรื่องข้อมูลส่วนบุคคลของสหภาพยุโรปนั้น ออกมาจากส่วนกลางที่กรุงบรัสเซลส์ และถูกนำไปบังคับใช้ในแต่ละประเทศ โดยมีการปรับเปลี่ยนให้เข้ากับบริบทของประเทศนั้นๆ

ดังนั้น กฎหมายคุ้มครองความเป็นส่วนตัวในประเทศในสหภาพยุโรปแต่ละประเทศจึงแตกต่างกัน ซึ่งสำหรับในเยอรมนี กฎหมายนี้มีความเข้มงวดมากเป็นพิเศษ ขณะที่ในบางประเทศกฎหมายจะมีลักษณะที่ผ่อนคลายกว่า

ในเรื่องกฎหมายนั้น มีคำถามหนึ่งที่ยังหาข้อสรุปไม่ได้ก็คือ สำหรับอินเทอร์เน็ตแล้ว บริการออนไลน์หนึ่งๆ ควรอยู่ภายใต้กฎหมายใด

บางแนวคิดเสนอให้ยึดกฎหมายตามตำแหน่งที่ผู้บริโภคอาศัยอยู่ เช่น เฟซบุ๊กอเมริกาต้องปฏิบัติตามกฎหมายอเมริกัน เฟซบุ๊กสิงคโปร์ทำตามกฎหมายสิงคโปร์ ซึ่งนายเบอร์เคิร์ตกล่าวว่า การบังคับใช้กฎหมายแบบนี้เป็นผลดีกับผู้บริโภค เพราะผู้บริโภคจะได้รับการคุ้มครองตามที่กฎหมายในประเทศของตนว่าไว้

อย่างไรก็ตาม การบังคับใช้กฎหมายดังกล่าวก็จะเป็นอุปสรรคต่อบริษัทขนาดเล็ก ยกตัวอย่างเช่น สำหรับเฟซบุ๊ก การจะทำตามกฎหมายในแต่ละประเทศที่ตนให้บริการอยู่ไม่ใช่เรื่องยาก เพราะเฟซบุ๊กเป็นบริษัทใหญ่และมีนักกฎหมายอยู่ในทุกประเทศ แต่สำหรับบริษัทขนาดเล็กที่เพิ่งก่อตั้งขึ้นใหม่นั้น บริษัทขนาดเล็กเหล่านี้ไม่มีกำลังคนหรือทรัพยากรมากพอที่จะมาดูแลให้บริการของตนเป็นไปตามที่กฎหมายของทุกประเทศได้

ขณะเดียวกัน ก็มีอีกแนวคิดหนึ่งที่เสนอให้บริษัทที่ให้บริการออนไลน์ทำตามกฎหมายของประเทศที่บริษัทตั้งอยู่ ซึ่งนี่เป็นสิ่งที่อำนวยความสะดวกให้กับบริษัท แต่แน่นอนว่าไม่เป็นผลดีกับผู้บริโภค ซึ่งข้อถกเถียงนี้เป็นสิ่งที่มีการพูดถึงมานาน จนทุกวันนี้สหภาพยุโรปเลิกอภิปรายเรื่องนี้ไปแล้ว แต่หันมาให้ความสนใจกับแนวคิด “หนึ่งทวีป หนึ่งกฎหมาย” (One continent, one law) หรือเรื่องที่ใช้กฎหมายฉบับเดียวกันที่บังคับใช้ในทุกประเทศในสหภาพยุโรปแทน

นอกจากนี้ ในสหภาพยุโรปยังมีการพูดกันถึงการมี “one stop shop” หรือศูนย์กลางที่คอยดูแลเรื่องนี้ทั้งหมดครบวงจร เพื่อที่เวลามีปัญหาใดขึ้นมา บริษัทจะได้ไม่ต้องไปคุยกับเจ้าหน้าที่รัฐในทุกประเทศ แต่สามารถคุยกับเจ้าหน้าที่กลางเพียงคนเดียวได้ มีการพูดกันถึงการที่ทุกบริษัทจะถูกกำกับโดยกฎหมายเดียวกัน ไม่ว่าบริษัทเหล่านั้นจะตั้งอยู่ที่ไหนในโลก เมื่อบริษัทเหล่านี้มาให้บริการในสหภาพยุโรป บริษัทจะต้องปฏิบัติตามกฎหมายคุ้มครองความเป็นส่วนตัวของสหภาพยุโรป
 

## เจ้าของข้อมูลจะควบคุมข้อมูลตัวเองได้แค่ไหน

สหภาพยุโรปยังพยายามผลักดันเรื่องของ “สิทธิที่จะถูกลืม” (the right to be forgotten) ซึ่งทำให้ประชาชนสามารถตั้งค่าได้ว่า ข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับตัวเองจะยังคงอยู่ในอินเทอร์เน็ตถึงเมื่อใด และจะถูกลบโดยอัตโนมัติเมื่อใด

บริษัทต่างๆ ยังควรเปิดให้สามารถเข้าถึงข้อมูลของคุณเองที่บริษัทจัดเก็บไว้ได้อย่างสะดวกและไม่ยุ่งยาก เวลาที่ออกแบบผลิตภัณฑ์ทางเทคโนโลยีใหม่ๆ ผู้ออกแบบควรจะต้องออกแบบโดยตระหนักถึงความเป็นส่วนตัวของผู้ใช้เสมอ ซึ่งนายเบอร์เคิร์ตบอกว่าเรื่องนี้อาจฟังดูไม่เป็นรูปธรรมนัก ว่าจะสามารถกำกับได้อย่างไร แต่อย่างน้อยนี่เป็นแนวคิดที่อยู่ใต้กฎหมายนี้

นอกจากนี้สหภาพยุโรปยังมีความคิดที่จะให้บริษัทแต่ละบริษัทต้องมีเจ้าหน้าที่ที่ดูแลเรื่องการคุ้มครองข้อมูลโดยเฉพาะ แต่ก็มีปัญหาว่ากฎนี้ก็จะเป็นอุปสรรคต่อบริษัทขนาดเล็ก ซึ่งสำหรับบริษัทขนาดเล็กที่ประกอบธุรกิจด้านไอที นี่อาจเป็นเรื่องปกติ แต่หากเป็นบริษัทขนาดเล็กที่ประกอบธุรกิจขายสินค้าเกษตร กฎเกณฑ์นี้ก็ฟังดูไม่ค่อยจะเหมาะสมนัก
 

## ข้อมูลส่วนบุคคลกับการค้าระหว่างประเทศ

นายเบอร์เคิร์ตยังได้พูดถึงประเด็นการเจรจาการค้าเสรีระหว่างสหรัฐฯกับสหภาพยุโรปด้วยว่า ตอนนี้สหภาพยุโรปกำลังมีการตกลงเขตการค้าเสรีกับสหรัฐฯ ซึ่งเรื่องการค้าเสรีทุกวันนี้ย่อมมีเรื่องของข้อมูลเข้ามาเกี่ยวข้อง จึงหลีกเลี่ยงไม่ได้ที่จะต้องพูดคุยเรื่องความเป็นส่วนตัวควบคู่ไปกับเรื่องทางการค้า และนี่จะเป็นภารกิจใหญ่ของสหภาพยุโรปที่จะทำข้อตกลงทางการค้าอื่นๆ กับสหรัฐฯ โดยที่ตระหนักว่ามาตรฐานการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลของสหรัฐฯนั้นต่ำกว่าของสหภาพยุโรป

ปัจจุบันบริษัท COMDOK <http://comdok.de/> ที่นายเบอร์เคิร์ตทำงาน กำลังให้คำแนะนำด้านการวางแผนกลยุทธ์ว่าด้วยเทคโนโลยีและนโยบายรัฐให้กับองค์กรประชาสังคมในประเทศเยอรมนี

 

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

ช่อง 3 ถอนฟ้องหมิ่นประมาท-พ.ร.บ.คอม สุภิญญาแล้ว

$
0
0

กรณีศาลอาญานัดไต่สวนมูลฟ้อง คดีที่โจทก์ ได้แก่ บริษัทบางกอกเอ็นเตอร์เทนเมนต์ จำกัด หรือ ช่อง 3 ยื่นฟ้องจำเลย คือ สุภิญญา กลางณรงค์ กรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.)  ด้วยข้อหาหมิ่นประมาท จากการให้สัมภาษณ์สื่อและ มาตรา 14, 15 ของ พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ จากการรีทวีตข้อความของผู้ใช้ ชื่อ แคน สาริกา ซึ่งเป็นการหมิ่นประมาทใส่ความโจทก์

(1 ธ.ค. 2557) สุภิญญา ทวีตผ่านทวิตเตอร์ส่วนตัว ระบุว่า นายนคร ชมพูชาติ ทนายความของตนเองได้แจ้งให้ทราบว่า ช่อง 3 ได้ถอนฟ้องคดีแล้ว โดยตนเองยืนยันว่าไม่ติดใจจะฟ้องกลับ แต่ขอให้ช่อง 3 สรุปบทเรียน

สุภิญญา ระบุด้วยว่า คดีนี้ตนเองไม่สมควรถูกฟ้องตั้งแต่แรก ไม่ว่าจะเป็นเรื่องหมิ่นประมาทและ พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฯที่รีทวีตข้อความของแคน สาริกา ทั้งนี้ ถ้ามีอะไรเห็นต่างกันก็ควรใช้การถกเถียงในพื้นที่สาธารณะ ไม่ใช่สักแต่ฟ้องๆ พร้อมชี้ด้วยว่า พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฯ ไม่ควรถูกใช้พร่ำเพรื่อในลักษณะแบบนี้หรือแบบอื่นๆ ระยะยาวควรมีการปรับปรุงทั้งตัวบทและกระบวนการฟ้อง จะได้ไม่ถูกนำไปใช้แบบผิดๆ บ่อยๆ
 


สำหรับคดีนี้ เป็นคดีหมายเลขดำที่ อ.2888/2557 ตามที่โจทก์ ได้แก่ บริษัทบางกอกเอ็นเตอร์เทนเมนต์ จำกัด หรือ ช่อง 3 ยื่นฟ้องจำเลย คือ นางสาวสุภิญญา กลางณรงค์ กรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ หรือ กสทช.  ด้วยข้อหาหมิ่นประมาท จากการให้สัมภาษณ์เมื่อช่วงเดือน ก.ย.ที่ผ่านมา กับสื่อโทรทัศน์ รวมทั้งทางสื่อต่างๆ ในประเด็นว่า หากช่อง 3 บีบบังคับ กสทช. ต้องผ่อนปรนช่อง 3 เท่ากับหักหลังผู้ให้บริการโครงข่าย ผู้ประมูลดิจิตอลทีวี และประชาชนที่จะได้รับคูปอง เพราะช่อง 3 ได้รับอภิสิทธิ์ ในระบบอำนาจนิยมอุปถัมภ์มานานหลายปี รวมทั้งกล่าวหาว่า จำเลยได้ใช้ทวิตเตอร์ @supinya  รีทวีตข้อความของผู้ใช้ชื่อว่า “แคน สาริกา” @can_nw  ที่ปรากฏข้อความเป็นการหมิ่นประมาทใส่ความโจทก์ ที่อาจทำให้บุคคลทั่วไปเข้าใจได้ว่าโจทก์ใช้อำนาจทุนและความสัมพันธ์ส่วนบุคคลในการประกอบธุรกิจเพื่อให้ผูกขาด และเอารัดเอาเปรียบผู้บริโภค โดยเป็นการนำเข้า และจงใจยินยอมให้มีการนำเข้าข้อมูลคอมพิวเตอร์อันเป็นเท็จเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ดังกล่าว

ก่อนหน้านี้ ในคดีเดียวกัน โจทก์ได้ยื่นฟ้องจำเลย กสท.ทั้ง 3 คน ได้แก่ นางสาวสุภิญญา พร้อมด้วย พลโท ดร.พีระพงษ์ มานะกิจ และ ผศ.ดร.ธวัชชัย จิตรภาษ์นันท์ ด้วยข้อหาร่วมกันและสนับสนุนให้มีการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ โดยจัดให้มีการประชุมคณะกรรมการกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ (กสท.) นัดพิเศษ เมื่อวันที่ 5 ก.ย. 2557 โดยมุ่งหมายเพื่อออกคำสั่งทางปกครองให้ระงับการนำสัญญาณของโจทก์ไปถ่ายทอดผ่านระบบดาวเทียมและเคเบิล ต่อมา วันที่ 18 ก.ย. 57 ศาลได้ยกฟ้องคดีที่จำเลยทั้งสาม ข้อหาร่วมกันเป็นเจ้าพนักงานปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ ยังคงเหลือแต่คดีฟ้องหมิ่นประมาทเฉพาะนางสาวสุภิญญา ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา  326, 328 และ พระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. 2550 มาตรา 14 และ 15 ประกอบกับประมวลกฎหมายอาญามาตรา 91 ซึ่งศาลอาญาได้นัดไต่สวนในวันจันทร์ที่ 1 ธ.ค. นี้ 


เนื้อหาทวิตเตอร์ของสุภิญญามีดังนี้

ในที่สุดวันนี้ทางช่อง3 ก็ถอนคดีที่ฟ้องข้าพเจ้าเป็นการส่วนตัวต่อหน้าศาล ทนายของช่อง3 มาขอคำยืนยันจากข้าพเจ้าว่าจะไม่ติดใจ (ฟ้องกลับ)

คือจริงๆ คดีนี้ข้าพเจ้าไม่สมควรถูกฟ้องตั้งแต่แรก ไม่ว่าจะเป็นเรื่องหมิ่นประมาทและ พรบ.คอมพิวเตอร์ฯที่รีทวิตข้อความคุณ @can_nw

เมื่อช่อง3ตัดสินใจถอนฟ้องเองก็ดีแล้ว ไม่ต้องเหนื่อยสู้กันในชั้นศาล ถ้ามีอะไรเห็นต่างกันก็ควรใช้การถกเถียงในพื้นที่สาธารณะ ไม่ใช่สักแต่ฟ้องๆ

พรบ.คอมพิวเตอร์ฯ ก็ไม่ควรถูกใช้พร่ำเพรื่อในลักษณะแบบนี้หรือแบบอื่นๆ ระยะยาวควรมีการปรับปรุงทั้งตัวบทและกระบวนการฟ้อง จะได้ไม่ถูกabuseบ่อยๆ

#คหสต คิดว่าการที่ทนายเขารอมาเจรจาต่อหน้าศาลก่อนถอนฟ้องในวันนี้ ก็เพื่อขอคำยืนยันว่าดิฉันจะไม่ติดใจฟ้องกลับทั้งคดีแพ่งหรืออาญา

คือดิฉันไม่ได้มีประเด็นขัดแย้งอะไรเป็นการส่วนตัวกับช่อง3ตั้งแต่แรก ทั้งหมดที่ทำก็เป็นหน้าที่ ถ้าปัญหาจบแล้วก็คือจบ

ก่อนจะฟ้องก็ไม่เห็นกังวลว่าเขาจะฟ้องกลับ พอจะถอนฟ้องก็กังวลขึ้นมาว่าเขาจะฟ้องกลับจริงๆ อันนี้ก็เป็นบทเรียนว่าต่อไปจะฟ้องอะไรใครให้รอบคอบ

เมื่อครั้งที่ดิฉันชนะคดีชินคอร์ปอเรชั่นในคดีหมิ่นประมาท ใช้เวลาสู้คดี 3 ปีเต็ม เหน็ดเหนื่อยกว่านี้ จนศาลยกฟ้อง ดิฉันชนะคดี ก็ไม่ได้ฟ้องกลับ

เราทำหน้าที่ของเรา ถ้าจะฟ้องเราก็ไม่เป็นไร สู้กันในชั้นศาลตามกระบวนการยุติธรรม ถ้าดิฉันชนะคดีก็คือจบ เวลาที่เสียไปแลกกับบทเรียนให้สังคม

วันนี้ดิฉันไม่ได้ไปศาลอาญาเองเพราะติดประชุมที่ กสทช. แต่มอบอำนาจให้ทนายและที่ปรึกษากฏหมาย คุณนคร ชมพูชาติไปรับคำขอถอนฟ้องของช่อง3แทน

คุณนคร ชมพูชาติ เป็นทนายให้ดิฉันทุกคดี ตั้งแต่คดีชินคอร์ป-สนช.-ที่ปรึกษาคดีช่อง3ที่ศาลปกครองและล่าสุดคดีช่อง3ฟ้องส่วนตัว จบลงดีหมด ขอบคุณค่ะ

วันนี้ทนายโทรกลับมาถามว่าติดใจไหมที่ช่อง3 จะขอถอนฟ้อง ก็ตอบไปว่าไม่ติดใจ แต่อยากฝากบอกผ่านทวิตนี้ว่า ขอให้ช่อง3สรุปบทเรียนกรณีที่ผ่านมาก็พอ

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

จังหวัดทหารบกพะเยา ขอความร่วมมือสื่อมวลชนงดนำเสนอข่าวต่อต้าน คสช.

$
0
0

เสนาธิการ กกล.รส.จทบ.พะเยา เชิญสื่อมวลชนรับฟังคำชี้แจงตามนโยบาย คสช. เพื่อการเดินหน้าปฏิรูปประเทศให้เกิดความสงบสุข  และขอความร่วมมืองดการเสนอข่าวในลักษณะต่อต้านการทำงานของ คสช. รวมถึงการวิจารณ์ การเสนอความลับราชการทุกรูปแบบ รวมทั้งข่าวสารปลุกปั่นและกิจกรรมต่อต้าน

จังหวัดทหารบกพะเยา (แฟ้มภาพ)

1 ธ.ค. 2557 - สถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทยรายงานว่า ที่ห้องประชุมศูนย์บัญชาการจังหวัดพะเยา พ.อ.คณเดช พงษ์บางโพธิ์ เสนาธิการกองกำลังรักษาความสงบเรียบร้อย จังหวัดทหารบกพะเยา พร้อมด้วยนายทหารฝ่ายกิจการพลเรือนฯ เชิญสื่อมวลชนประกอบด้วย ผู้สื่อข่าวโทรทัศน์ประจำจังหวัดพะเยา , สถานีวิทยุหลัก , วิทยุชุมชน และสื่อมวลชนท้องถิ่นในพื้นที่ เข้ารับฟังการชี้แจ้งการทำงานตามนโยบายบายของรัฐบาล และ คสช. เพื่อเป็นการเดินหน้าในการปฏิรูปประเทศให้เกิดความสงบสุข

เสนาธิการกองกำลังรักษาความสงบเรียบร้อย ทหารบกจังหวัดพะเยา กล่าวว่า ที่ผ่านมา กองกำลังรักษาความสงบเรียบร้อย ทหารบกจังหวัดพะเยา ไม่เคยมีการขอให้สื่อมวลชนในพื้นที่งดการนำเสนอข่าว เนื่องจากสื่อมวลชนกับทางทหารมีความเข้าใจกันดีในการนำเสนอข่าวอย่างไรให้ไม่เกิดความวุ่นวาย หรือเกิดความเสียหายต่อประเทศชาติ ซึ่งในการควบคุมอำนาจของ คสช.ที่ผ่านมานั้น ก็เพื่อทำให้บ้านเมืองเกิดความสงบ แก้ไขปัญหาของประเทศชาติที่เกิดขึ้น ทำให้ประเทศเดินไปข้างหน้าได้ และที่ผ่านมาในพื้นที่จังหวัดพะเยาเองก็ไม่มีการเคลื่อนไหวของกลุ่มคนในการต่อต้าน คสช.แต่อย่างใด

อย่างไรก็ตาม ทางกองกำลังรักษาความสงบเรียบร้อย ทหารบกจังหวัดพะเยา ถือโอกาสนี้ขอความร่วมมือพี่น้องสื่อมวลชนทุกท่าน งดการนำเสนอข่าวในลักษณะการต่อต้านการทำงานของ คสช. รวมถึงการวิพากษ์วิจารณ์ การนำเสนอข่าวความลับของทางราชการ ทุกรูปแบบ ข่าวสารลักษณะปลุกปั่น การต่อต้านของนักศึกษาที่มีความคิดหัวรุนแรง

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

อีสต์เอเชียฟอรั่มวิเคราะห์การเดินสายเยือนประเทศต่างๆ ของ 'ประยุทธ์'

$
0
0

เว็บไซต์ที่วิเคราะห์ประเด็นต่างๆ เกี่ยวกับเอเชียตะวันออก ชี้ พล.อ. ประยุทธ์ จันทร์โอชา เยือนกัมพูชา เพื่อหาความชอบธรรมทางการทูต ทดแทนที่ถูกกีดกันจากประเทศตะวันตก โดยทั้งสองประเทศมีการรักษาท่าทีไม่แตะต้องในเรื่องอ่อนไหว

1 ธ.ค. 2557 เชียง วัณณาริธ จากมหาวิทยาลัยลีดส์เขียนบทความลงเว็บไซต์อีสต์เอเชียฟอรั่มเผยแพร่บทวิเคราะห์เกี่ยวกับการเดินทางไปเยือนประเทศต่างๆ ของ พล.อ. ประยุทธ์ จันทร์โอชา ในฐานะตัวแทนรัฐบาลทหารของไทยเพื่อพยายามสร้างความชอบธรรมให้ตัวเองทางการทูตในขณะที่ผู้นำเผด็จการของไทยกำลังถูกกดดันทางการทูตจากสหรัฐฯ และยุโรปให้รีบคืนประชาธิปไตยให้ประเทศไทย

บทวิเคราะห์ในอีสต์เอเชียฟอรั่มเมื่อวันที่ 29 พ.ย. ระบุว่าประยุทธ์สนใจผลประโยชน์ในด้านความชอบธรรม ความมั่นคง และการพัฒนาด้านเศรษฐกิจ รวมถึงต้องการสร้างความเชื่อมั่นและความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างไทยกับประเทศเพื่อนบ้านในขณะที่มีความกดดันจากชาติตะวันตก ทำให้ประยุทธ์ต้องดำเนินนโยบายการต่างประเทศในเชิงสร้างความมั่นใจให้กับประเทศเพื่อนบ้าน โดยยกตัวอย่างการไปเยือนกัมพูชาล่าสุด

แม้ว่าหลังจากการรัฐประหารในเดือน พ.ค. 2557 ผู้นำทหารให้สัญญาว่าจะมีการปฏิรูปและทำให้เกิดความปรองดองในชาติแต่หลายคนก็สงสัยว่ารัฐบาลเผด็จการทหารจะทำตามสัญญาในเวลาอีกไม่นานจริงอย่างที่พูดหรือไม่ ซึ่งเป็นไปได้ว่าทหารอาจจะยังยึดครองอำนาจเอาไว้อีกสองสามปี ถ้าเป็นเช่นนั้นจริงก็อาจจะเกิดความวุ่นวายตามมา

อีสต์เอเชียฟอรั่มระบุอีกว่า การไปเยือนประเทศกัมพูชามีความสำคัญทางยุทธศาสตร์แต่ก็มีความยุ่งยากเพราะฮุนเซน นายกรัฐมนตรีกัมพูชาเคยแสดงความเป็นมิตรกับอดีตนายกฯ ทักษิณ ชินวัตร รวมถึงก่อนหน้านี้ในเดือน มิ.ย. เคยมีการขับไล่ผู้อพยพจากกัมพูชาและบางส่วนก็หนีกลับประเทศเพราะกลัวว่าจะเกิดความรุนแรง แต่ทางการกัมพูชาก็ดูเหมือนจะประนีประนอมกับผู้นำเผด็จการทหารไทยในฉากหน้า จากการที่ฮุนเซนเคยประกาศอ้างหลายครั้งว่าทางการกัมพูชาจะไม่ยอมให้มีกลุ่มผู้สนับสนุนทักษิณอยู่ในประเทศตน อีกทั้งสองประเทศยังคงมีการพบปะทางการทูตทั้งอย่างเป็นทางการและไม่เป็นทางการ

อย่างไรก็ตาม อีสต์เอเชียฟอรั่มตั้งข้อสังเกตว่าผู้นำไทยและกัมพูชาต่างก็ไม่แตะต้องเรื่องที่อ่อนไหวภายในประเทศของกันและกันเช่นเรื่องข้อพิพาทพื้นที่ปราสาทเขาพระวิหารและพื้นที่ทางทะเล ทำให้การเปลี่ยนแปลงทางการเมืองและแนวคิดแบบชาตินิยมยังคงส่งผลกระทบต่อความสัมพันธ์ระหว่างไทยกับกัมพูชา

อีกประเทศหนึ่งที่มีความสำคัญต่อรัฐบาลประยุทธ์ในการสร้างความชอบธรรมด้วยวิธีทางการทูตคือประเทศพม่า โดยก่อนหน้านี้มีการหารือกันหลายเรื่องรวมถึงเรื่องผู้อพยพซึ่งในไทยมีแรงงายอพยพชาวพม่าจำนวนมากทั้งถูกกฎหมายและผิดกฎหมาย

รัฐบาลประยุทธ์ยังเห็นว่าประเทศจีนเป็นประเทศสำคัญทางยุทธศาสตร์และความร่วมมือทางเศรษฐกิจเพื่อเป็นการรับมือกับมาตรการคว่ำบาตรของสหรัฐฯ และยุโรป นอกจากนี้ยังเคยพบปะกับจีนเพื่อความร่วมมือทางทหารหลังจากการรัฐประหารไม่นาน นอกจากนี้ในที่ประชุมเอเชียยุโรปซัมมิทประยุทธ์ยังเข้าพบกับนายกรัฐมนตรีจีนเพื่อพูดคุยในเรื่องของการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานและเรื่องการแลกเปลี่ยนวัฒนธรรมระหว่างสองชาติ

อีสต์เอเชียฟอรั่มระบุว่าประเทศไทยกำลังพยายามตีตัวออกห่างจากพันธมิตรดั้งเดิมอย่างสหรัฐฯ กันไปร่วมมือเชิงยุทธศาสตร์กับจีนและประเทศเพื่อนบ้านซึ่งในทางเดียวกันก็ทำให้จีนมีโอกาสเสริมความสัมพันธ์กับไทยและประเทศในแถบลุ่มน้ำโขงมากขึ้น


เรียบเรียงจาก

Thailand’s Cambodian charm offensive, East Asia Forum, 29-11-2014
http://www.eastasiaforum.org/2014/11/29/thailands-cambodian-charm-offensive/

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

'ดาวดิน'ร้อง กสม. โต้ ‘พล.ท.กัมปนาท’ การข่าวทหารมั่วยันไม่เคยรับเงินชู 3 นิ้ว

$
0
0

หลังจากแม่ทัพภาคที่ 1 แฉนักศึกษา ‘ชู 3 นิ้ว’ หน้า ‘ประยุทธ์’ ถูกจ้างมา 5 หมื่น เพื่อชิงพื้นที่สื่อ กลุ่มดาวดิน ได้ร้อง กสม. โต้การข่าวทหารมั่วยันไม่เคยรับเงินชู 3 นิ้ว ระบุกลุ่มไม่เคยอยู่สีไหน เผยหลังชู 3 นิ้วบ้านพักมีทหารมาสังเกตการณ์ตลอดเวลา

หลังจากที่วันนี้(1 ธ.ค.57) พล.ท.กัมปนาท รุดดิษฐ์ แม่ทัพภาคที่ 1 ในฐานะผู้บัญชาการกองกำลังรักษาความสงบเรียบร้อย (ผบ.กกล.รส.) กล่าวถึงความคืบหน้าการตรวจสอบกลุ่มนักศึกษา ม.ขอนแก่น 5 คนที่ออกมาชูนิ้วแสดงสัญลักษณ์ในขณะที่ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และหัวหน้าคสช. ลงพื้นที่จ.ขอนแก่น ในช่วงที่ผ่านมาว่า ที่ผ่านมาคสช.ได้มีการพูดคุยกับอธิการบดี และคณบดีของมหาวิทยาลัยดังกล่าวเรียบร้อยแล้ว ซึ่งนักศึกษาบางกลุ่มมีกลุ่มการเมืองเข้าไปมีส่วนเกี่ยวข้อง แต่เราต้องช่วยกัน เช่น กรณีนักศึกษาที่จ.ขอนแก่น จากการที่ตนได้ดำเนินการหาข่าวพบว่ากลุ่มนักศึกษาดังกล่าวถูกว่าจ้างมา เพื่อต้องการแย่งชิงพื้นที่สื่อของนายกรัฐมนตรี โดยได้รับการว่าจ้างมาจำนวน 50,000 บาท จากนักการเมืองในพื้นที่ แต่ตนติดว่าไม่น่ามีปัญหาอะไร

จากนั้น กรุงเทพธุรกิจออนไลน์รายงาน ว่า เวลา 14.00 น. ของวันนี้(1 ธ.ค.) กลุ่มเผยแพร่กฎหมายสิทธิมนุษยชนเพื่อสังคม(ดาวดิน) ได้ทำหนังสือด่วนที่สุดส่งถึง นพ.นิรันดร์ พิทักษ์วัชระ กรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ โดยเนื้อหาระบุว่า ด้วยปรากฏตามข่าวว่า พล.ท.กัมปนาท ให้สัมภาษณ์ปรักปรำกล่าวหาว่าถูกว่าถูกจ้างมาเพื่อต้องการแย่งชิงพื้นที่สื่อ ของนายกรัฐมนตรี โดยได้รับการว่าจ้างมาจำนวน 50,000 บาท จากนักการเมืองในพื้นที่นั้นอยากจะให้กรรมการสิทธิมนุษยชนตรวจสอบและพิจารณาเรื่องนี้โดยด่วน

โดย ศศิประภา ไร่สงวน หนึ่งในนักศึกษาดาวดิน คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น เปิดเผยว่า พอได้ยินข่าวดังกล่าวแล้ว ตอนแรกก็งงอยู่ แต่ตอนนี้ได้อ่านตัวข่าวอย่างชัดเจนก็ขอยืนยันว่าว่าข้อกล่าวหาของแม่ทัพภาคที่ 1 ไม่เป็นความจริง เพราะการเคลื่อนไหวของกลุ่มดาวดินทั้งหมดนั้น ได้มีการปรึกษาหารือกันก่อน โดยไม่ได้เป็นการตัดสินใจของเพื่อนแค่ 5 คนที่ไปชู 3 นิ้วเท่านั้น แต่เป็นการปรึกษาหารือเรื่องการเรียกร้องประชาธิปไตยและไม่ต้องการเผด็จการ รวมทั้งไม่ต้องการให้มีการประกาศใช้กฎอัยการศึก และทำรัฐประหาร ซึ่งเป็นความคิดเห็นทั้งหมดในกลุ่มไม่ได้มีการตัดสินใจกันเพียงลำพังคนใดคนหนึ่ง

ที่ผ่านมากลุ่มดาวเดินทำงานเพื่อช่วยเหลือประชาชนในเรื่องกฎหมาย ทุกกรณีปัญหาที่ชาวบ้านเดือดร้อนโดยเฉพาะการแย่งชิงทรัพยากร กลุ่มดาวดินก็จะเข้าไปช่วยเหลือด้วย โดยไม่เคยรับเงินรับทองและยิ่งมาบอกว่าการเคลื่อนไหวในวันที่ 19 พ.ย. เป็นการเคลื่อนไหวโดยมีนักการเมืองอยู่เบื้องหลังยิ่งไม่เป็นความจริง เพราะการเคลื่อนไหวครั้งนี้เป็นความคิดของนักศึกษาเองไม่มีนักการเมืองมาว่าจ้างใดๆทั้งสิ้น

"ไม่รู้ท่านแม่ทัพภาค 1 ได้ข่าวมาจากไหนก็ไม่รู้ และการให้ข่าวแบบนี้เป็นการแสดงออกอย่างชัดเจนว่าท่านยังคุกคามเราอยู่หรือไม่ เพราะคนข้างนอกที่เขารู้ข่าว เขาจะรู้สึกอย่างไร นักศึกษาตัวเล็กๆ อย่างเรากลายเป็นลูกน้องนักการเมือง ทำให้เราดูแย่มาก เพราะที่ผ่านมาดาวดินเราได้ไปเคลื่อนไหวเพื่อสังคมมาตลอด ทำไมเราต้องมารับใช้ในการเมือง ทั้งที่เราไม่เคยอยู่สีไหนหรือเข้าข้างการเมืองฝ่ายใดอยู่แล้ว พูดแบบนี้เป็นการกล่าวหากันลอยๆ พูดไม่จริง"ศศิประภา กล่าว

ศศิประภา ยังกล่าวอีกว่า หลังเหตุการณ์ชู 3 นิ้วต้านรัฐประหาร ทำให้เพื่อนๆในกลุ่มดาวดินที่ไม่ได้ออกไปชู 3 นิ้วก็ได้รับความเดือดร้อนไปด้วย เพราะบ้านพักที่อยู่ด้วยกันมีทหารมาสังเกตการณ์ และมีการขับรถมาดูตลอดเวลา ทำให้ไม่มีใครกล้าอยู่บ้าน กลางวันมาอ่านหนังสือกัน พอกลางคืนก็รีบปิดบ้านหนี กลายเป็นว่าผู้ใหญ่คุกคามเด็ก พวกเราอยู่กันแบบหวาดผวามาก เพราะมีรถแปลกๆขับมาดูตลอด

ส่วนกระแสในมหาวิทยาลัยนั้น ศศิประภา กล่าวว่า กระแสของน้องๆในคณะ มีทั้งให้กำลังใจและไม่เห็นด้วยบ้าง แต่ส่วนใหญ่ให้กำลังใจกันอยู่ เมื่อวันที่ 30 พ.ย.ไปซ้อมรับปริญญา มีหลายคนเดินเข้ามาถามว่า พวกนั้นเป็นอย่างไรบ้าง บางคนก็มองด้วยสายตาซุบซิบนินทา แต่เราก็ไม่สนใจ เพราะเราเคารพทุกคน เขาเห็นต่างได้ เพราะสิ่งที่พวกหนูทำไม่ได้ทำอะไรที่รุนแรง"น.ส.ศศิประภา กล่าว

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

โจชัว หว่อง ประกาศอดอาหารประท้วงผู้นำฮ่องกง

$
0
0

โจชัว หว่องแกนนำนักศึกษากลุ่มสกอลาริซึ่มและเพื่อนอีก 2 คน ประกาศอดอาหารประท้วงผู้ว่าการเขตปกครองฮ่องกง เนื่องจากไม่ยอมหารือกับผู้ชุมนุมที่เรียกร้องให้มีการเลือกตั้งตามหลักสากลในฮ่องกง ขณะที่ผู้ชุมนุมบางส่วนแสดงความเป็นห่วง

2 ธ.ค. 2557 โจชัว หว่อง แกนนำนักศึกษาผู้เรียกร้องประชาธิปไตยในฮ่องกงและเพื่อนนักศึกษาอีก 2 คนประกาศอดอาหารประท้วงเมื่อวันจันทร์ที่ผ่านมา หลังจากที่กลุ่มผู้ประท้วงพยายามปิดล้อมอาคารที่ทำการรัฐบาลจนมีการปะทะกับตำรวจ

โจชัว หว่อง เยาวชนผู้เป็นแกนนำกลุ่มสกอลาริซึ่มประกาศว่าเขาและสมาชิกกลุ่มอีก 2 คนจะอดอาหารประท้วงจนกว่าเหลียงชุนอิง ผู้ว่าการเขตบริหารพิเศษฮ่องกงจะยอมเปิดให้มีการเจรจาเรื่องการปฏิรูปการเลือกตั้งอีกรอบ

"พวกเราผิดหวังที่รัฐบาลไม่ให้ความสนใจต่อข้อเรียกร้องให้มีการเลือกตั้งตามหลักสากลของคนในฮ่องกง แล้วพวกเราก็รู้สึกเสียใจที่ตำรวจใช้ความรุนแรงมากเกินกว่าเหตุ"กลุ่มสกอลาริซึ่มระบุในแถลงการณ์ที่หน้าเฟซบุ๊กเพจของตนหลังจากการประกาศอดอาหารของโจชัว หว่อง

แถลงการณ์ของสกอลาร์ลิซึ่มระบุอีกว่าฮ่องกงเปลี่ยนไปจากเมื่อ 60 วันที่ผ่านมา คุณค่าด้านความเท่าเทียม เสรีภาพ และยุติธรรม ซึ่งเป็นค่านิยมที่ชาวฮ่องกงยึดถือถูกทำลายหายไป ทำให้พวกเขาต้องเผชิญหน้ากับรัฐบาลที่ "ผุพัง"นี้ด้วยการ "ปลดปล่อยตัวเองให้พ้นจากความต้องการของร่างกาย"

อย่างไรก็ตามมีคนแสดงความรู้สึกหลายอย่างปะปนกันไปในการประกาศประท้วงอดอาหารของหว่อง มีบางคนกังวลว่าเขาจะถูกหามส่งโรงพยาบาลเพราะการประท้วงแบบนี้และขบวนการเคลื่อนไหวก็ไม่มีเป้าหมายชัดเจนอยู่ดี มีผู้ประท้วงบางคนแสดงความคิดเห็นว่า พวกเขามาปักหลักชุมนุมทนหนาวทนฝนอยู่ 2 เดือน แต่รัฐบาลก็ยังใจดำไม่ยอมคุยกับพวกเขาจึงไม่คิดว่ารัฐบาลฮ่องกงจะสนใจที่พวกเขาอดอาหารประท้วงเช่นกัน

ในเรื่องของการปะทะกันในคืนวันอาทิตย์ที่ผ่านมา แกนนำสมาพันธ์นักศึกษาฮ่องกงซึ่งเป็นกลุ่มนักศึกษาอีกกลุ่มหนึ่งออกมาขอโทษที่ประเมินผิดจนทำให้เกิดความผิดพลาดในการประท้วงที่พยายามปิดล้อมที่ทำการรัฐบาลจนทำให้ตำรวจใช้กำลังสลายการชุมนุมด้วยกระสุนน้ำ สเปรย์พริกไทย และไม้กระบอง จนทำให้มีผู้บาดเจ็บถูกส่งโรงพยาบาล 40 คน และมีอย่างน้อย 40 คนถูกจับกุมตัว ทางการอ้างว่ามีเจ้าหน้าที่ตำรวจบาดเจ็บ 11 คน

ทางด้านเหลียงชุนอิงกล่าวในเชิงแข็งกร้าวต่อผู้ชุมนุมมากขึ้นโดยบอกว่าจะมีปฏิบัติการที่เด็ดขาดถ้าหากผู้ชุมนุมยังไม่เลิกชุมนุม นอกจากนี้ยังปฏิเสธไม่ยอมเจรจากับผู้ประท้วงหลังจากที่ก่อนหน้านี้เคยมีการเจรจากันแล้วในเดือน ต.ค. ที่ผ่านมา แต่ไม่ได้ทำให้บรรลุข้อตกลงที่มีความหมายใดๆ ได้

สำนักข่าวเดอะการ์เดียนระบุว่าในช่วงคืนวันจันทร์ที่ผ่านมาย่านแอดไมรัลตี้ซึ่งเป็นย่านชุมนุมหลักแทบจะปลอดผู้คน ส่วนหนึ่งเพราะสภาพอากาศเย็นลงรวมถึงมีฝนตก มีผู้ประท้วงจำนวนไม่มากยังคงถือร่มยืนประจันหน้ากับตำรวจบนถนนสายที่ทอดไปยังทำการรัฐบาลซึ่งเคยมีการปะทะกันในคืนก่อนหน้านี้ ขณะที่ลานสนามหญ้าทามาร์พาร์คเหลือแต่เต็นท์เพราะผู้ชุมนุมถูกจับตัวออกไปในคืนวันอาทิตย์

ผู้ชุมนุมในฮ่องกงเริ่มชุมนุมประท้วงมาตั้งแต่ปลายเดือน ก.ย. เพื่อเรียกร้องให้รัฐบาลจีนและรัฐบาลฮ่องกงยอมให้มีการลงสมัครเลือกตั้งผู้ว่าการรัฐในปี 2560 อย่างเสรีแทนการให้ทางการจีนคัดเลือกผู้ลงสมัครให้ซึ่งการกระทำของทางการจีนจะขัดต่อหลักการเลือกตั้งแบบสากล
 


เรียบเรียงจาก

Hong Kong protest leader Joshua Wong goes on hunger strike, The Guardian, 01-12-2014
http://www.theguardian.com/world/2014/dec/01/hong-kong-protest-leader-joshua-wong-hunger-strike

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

‘พล.ท.กัมปนาท’ ปัดแฉ ‘ดาวดิน’ รับเงิน 5 หมื่น ‘ชู 3 นิ้ว’ ระบุเพียงข้อมูลการข่าวเบื้องต้นเท่านั้น

$
0
0

หลังจากที่วานนี้(1 ธ.ค.57) พล.ท.กัมปนาท รุดดิษฐ์ แม่ทัพภาคที่ 1 ในฐานะผู้บัญชาการกองกำลังรักษาความสงบเรียบร้อย (ผบ.กกล.รส.) กล่าวถึงความคืบหน้าการตรวจสอบกลุ่มนักศึกษา ม.ขอนแก่น 5 คนที่ออกมาชูนิ้วแสดงสัญลักษณ์ในขณะที่ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และหัวหน้าคสช. ลงพื้นที่จ.ขอนแก่น ในช่วงที่ผ่านมาว่า ที่ผ่านมาคสช.ได้มีการพูดคุยกับอธิการบดี และคณบดีของมหาวิทยาลัยดังกล่าวเรียบร้อยแล้ว ซึ่งนักศึกษาบางกลุ่มมีกลุ่มการเมืองเข้าไปมีส่วนเกี่ยวข้อง แต่เราต้องช่วยกัน เช่น กรณีนักศึกษาที่จ.ขอนแก่น จากการที่ตนได้ดำเนินการหาข่าวพบว่ากลุ่มนักศึกษาดังกล่าวถูกว่าจ้างมา เพื่อต้องการแย่งชิงพื้นที่สื่อของนายกรัฐมนตรี โดยได้รับการว่าจ้างมาจำนวน 50,000 บาท จากนักการเมืองในพื้นที่ แต่ตนติดว่าไม่น่ามีปัญหาอะไร

จนกลุ่มดาวดิน ได้ทำหนังสือด่วนที่สุดส่งถึง นพ.นิรันดร์ พิทักษ์วัชระ กรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ โดยเนื้อหาระบุว่า ด้วยปรากฏตามข่าวว่า พล.ท.กัมปนาท ให้สัมภาษณ์ปรักปรำกล่าวหาว่าถูกว่าถูกจ้างมาเพื่อต้องการแย่งชิงพื้นที่สื่อ ของนายกรัฐมนตรี โดยได้รับการว่าจ้างมาจำนวน 50,000 บาท จากนักการเมืองในพื้นที่นั้นอยากจะให้กรรมการสิทธิมนุษยชนตรวจสอบและพิจารณาเรื่องนี้โดยด่วน

ล่าสุดวันนี้(2 ธ.ค.57) ไทยรัฐออนไลน์รายงานว่า พล.ท.กัมปนาท กล่าวถึง กรณีดังกล่าวว่า ตนได้หารือและให้ข้อมูลกับ นพ.นิรันดร์ แล้วว่าข้อมูลที่ตนได้ให้กับสื่อมวลชนนั้นเป็นรายงานข้อมูลด้านการข่าวเบื้องต้น ซึ่งไม่ได้เป็นการแฉว่า นักศึกษากลุ่มดังกล่าวถูกนักการเมืองท้องถิ่นว่าจ้างมา เป็นเพียงการรายงานข้อมูลทางด้านการข่าวเข้ามาให้รับทราบเท่านั้น เพราะยังต้องรับฟังข้อมูลจากด้านอื่นสนับสนุน และต้องมีการประมวลผลด้วย

ทั้งนี้ นพ.นิรันดร์ ก็บอกว่าเด็กกลุ่มนั้นปฏิเสธว่า ไม่ได้รับเงินว่าจ้างและเป็นการเคลื่อนไหวเพื่อแสดงออกด้านความคิดเห็นของแต่ละคน ทางเราก็ไม่อยากให้เกิดการทะเลาะกัน แต่ต้องการจะห้ามปรามเท่านั้น ส่วนที่มีความเป็นห่วงเกรงว่า ประเด็นดังกล่าวจะกลายเป็นน้ำผึ้งหยดเดียวนำไปสู่เหตุการณ์ความรุนแรงเหมือนกับเหตุการณ์ 14 ต.ค.2516

พล.ท.กัมปนาท กล่าวอีกว่า เราพยายามพูดคุยเพื่อสร้างความเข้าใจซึ่งกันและกัน และไม่อยากให้เป็นแบบนั้น ตนรับฟังจากทุกฝ่าย และไม่ได้ปรักปรำเด็กกลุ่มดังกล่าวว่ารับเงินว่าจ้าง แต่เป็นเพียงการรายงานด้านการข่าวเท่านั้น ซึ่งตนยังไม่ได้บอกว่าเชื่อหรือไม่เชื่อ เราเคารพอุดมการณ์ของทุกกลุ่มและทุกฝ่าย เพื่อรักษาบรรยากาศการปรองดองให้บ้านเมือง ส่วนตนจะต้องไปทำความเข้าใจกับเด็กกลุ่มดังกล่าวหรือไม่นั้นในแต่ละกองทัพภาคมีทีมงานลงพื้นที่เพื่อไปพูดคุยเรียบร้อยแล้ว อย่างไรก็ตาม เราพยายามพูดคุยเพื่อสร้างความเข้าใจกัน ซึ่งเป็นประเด็นสำคัญที่สุด และการยุติความขัดแย้งจะต้องดำเนินการอย่างเร่งด่วน เพื่อให้เกิดผลเป็นรูปธรรม ความคิดเห็นต่างต้องอาศัยการพูดคุยเป็นหลัก ดังนั้นขอร้องทุกฝ่ายว่าอย่าทำให้เราทะเลาะกับใครเลย

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

หมายจับรายที่ 10 เศรษฐีหนุ่ม 2.56 หมื่นล้าน-คดีอ้างเบื้องสูงทวงหนี้

$
0
0
ศาลทหารอนุมัติออกหมายจับ นพพร ศุภพิพัฒน์ ประธานบริษัทวินด์ เอนเนอร์ยี่ เจ้าของธุรกิจไฟฟ้าพลังงานลม คดีอ้างเบื้องสูงทวงหนี้ ด้านพนักงานสอบสวนนำ 2 สิบเอก 1 พลเรือน มาฝากขังผลัดแรก
 

2 ธ.ค. 2557 - เมื่อวันที่ 1 ธ.ค. ที่ผ่านมา ศาลทหารกรุงเทพอนุมัติหมายจับที่ 138/2557 ผู้ร้องคือ พ.ต.ท.กฤษณะ จันทร์ประเสริฐ พนักงานสอบสวน สน.วัดพระยาไกร ยื่นคำร้องต่อศาลขอหมายจับ นพพร ศุภพิพัฒน์ ผู้ต้องหาคนที่ 10 ในข้อกล่าวหาว่า ร่วมกันหมิ่นประมาท ดูหมิ่นพระมหากษัตริย์ พระราชินี รัชทายาท หรือผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ ร่วมกันทำร้ายร่างกายผู้อื่น ร่วมกันทำร้ายร่างกายผู้อื่น ร่วมกันทำให้เสียทรัพย์ ร่วมกันข่มขืนใจผู้อื่นให้กระทำการใด ไม่กระทำการใด หรือจำยอมต่อสิ่งใด โดยทำให้กลัวว่าจะเกิดอันตรายต่อชีวิต ร่างกาย เสรีภาพ ชื่อเสียง หรือทรัพย์ของผู้ถูกข่มขืนใจนั้นเองหรือของผู้อื่นโดยใช้กำลังประทุษร้าย จนผู้ถูกข่มขืนใจต้องกระทำการนั้น ไม่กระทำการนั้น หรือจำยอมต่อสิ่งนั้น โดยมีอาวุธ โดยร่วมกันกระทำความผิดตั้งแต่ห้าคนขึ้นไป

นพพร ศุกพิพัฒน์ ได้รับการจัดอันดับมหาเศรษฐีไทยลำดับที่ 31 โดยนิตยสารฟอร์บส์ ไทยแลนด์ (ที่มา: Thailand's 50 Richest นิตยสารฟอร์บส์ ไทยแลนด์)

สำหรับ นพพร ศุภพิพัฒน์ ผู้ถูกกล่าวหาจากพนักงานสอบสวน สน.วัดพระยาไกร ได้รับการจัดอันดับที่ 31 ใน 50 มหาเศรษฐีไทย ประจำปี 2557 จากนิตยสารฟอร์บส์ ไทยแลนด์ โดยเขาเป็นเจ้าของธุรกิจไฟฟ้าพลังงานลม ประธานบริษัทวินด์ เอนเนอร์ยี่ โดยเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ผ่านบริษัทรีนิวเอเบิล เอนเนยี ซึ่งถือหุ้นร้อยละ 63 ในบริษัทวินด์ เอนเนอร์ยี่ โดยนายนพพรติดอันดับ 31 ใน 50 ของมหาเศรษฐีประจำปี 2557 ซึ่งจัดขึ้นโดยนิตยสาร ฟอร์บส ไทยแลนด์ โดยมีมูลค่าทรัพย์สินกว่า 25,600 ล้านบาท

ขณะเดียวกัน สถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทยรายงานว่า เมื่อวันที่ 2 ธ.ค. พนักงานสอบสวน สน.วัดพระยาไกร พร้อมทหาร ควบคุมตัวนายวิทยา เทศขุนทศ ส.อ.ณธกร ยาศรี และ ส.อ.ธีรพงศ์ ช่อจำปี ผู้ต้องหาตามข้อกล่าวหา หมิ่นสถาบันเบื้องสูง ร่วมกันทำร้ายร่างกายผู้อื่น ร่วมกันทำให้เสียทรัพย์ และข่มขืนใจผู้อื่นให้กระทำการใด ไม่กระทำการใด โดยพนักงานสอบสวนกล่าวหาว่าเป็นเครือข่ายของ พล.ต.ท.พงศ์พัฒน์ ฉายาพันธุ์ อดีตผู้บัญชาการตำรวจสอบสวนกลาง โดยนำผู้ต้องหามาขออำนาจศาลทหารฝากขังผลัดแรก เป็นเวลา 12 วัน ตั้งแต่วันที่ 2 ธันวาคม ถึงวันที่ 13 ธันวาคมนี้ เนื่องจากการสอบสวนยังไม่แล้วเสร็จ ต้องสอบพยานเพิ่มเติม ทั้งนี้ ท้ายคำร้องพนักงานสอบสวนได้คัดค้านการประกันตัว เนื่องจากคดีมีอัตราโทษสูง เกรงว่าหากปล่อยตัวไปผู้ต้องหาอาจหลบหนี

สำหรับนายวิทยา เทศขุนทศ ผู้ต้องหาได้เข้ามอบตัววานนี้ จากนั้นตำรวจจึงได้คุมตัวไปสอบสวนที่กองบัญชาการตำรวจนครบาล โดยนายวิทยา รับสารภาพตลอดข้อกล่าวหา ว่าเป็นลูกน้องของนายชากานต์ ภาคภูมิ ผู้ต้องหาที่ถูกจับกุมได้ก่อนหน้านี้ ส่วน ส.อ.ณธกรและ ส.อ.ธีรพงศ์ อยู่ในการควบคุมของทหารและถูกคุมตัวมาฝากขังพร้อมกัน

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai
Viewing all 14385 articles
Browse latest View live