Quantcast
Channel: พันศักดิ์ วิญญรัตน์
Viewing all articles
Browse latest Browse all 14385

เสวนาความคืบหน้า พ.ร.บ.คู่ชีวิต #1: วิรัตน์ กัลยาศิริ - อัญชนา สุวรรณานนท์

$
0
0

ชมผ่าน YouTube คลิกที่นี่

การเสวนาหัวข้อ "ประเทศไทยจะกลายเป็นชาติแรกในเอเชีย ที่ผ่านกฎหมายจดทะเบียนคู่ชีวิตหรือไม่" (Could Thailand become the first Asian country to legalize same-sex civil unions?) ซึ่งจัดขึ้นที่สมาคมผู้สื่อข่าวต่างประเทศแห่งประเทศไทย หรือ FCCT เมื่อวันพุธที่ 17 มิถุนายนที่ผ่านมา

ทั้งนี้ ส.ส. ที่อยู่ในคณะกรรมาธิการการกฏหมาย การยุติธรรม และสิทธิมนุษยชน อยู่ระหว่างการรับฟังความคิดเห็น "ร่าง พ.ร.บ.การจดทะเบียนคู่ชีวิตของบุคคลที่มีความหลากหลายทางเพศ"ที่ผ่านมามีการทำประชาพิจารณ์ที่รัฐสภา เมื่อเดือนเมษายนที่ผ่านมา (อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง) และเตรียมเสนอวาระแรกเข้าที่ประชุม ส.ส. อย่างไรก็ตาม ขั้นตอนดังกล่าวยังไม่มีความคืบหน้า โดยฝั่งของ ส.ส. ระบุว่ากำลังรอ ร่างกฎหมายอีกฉบับจากภาคประชาชน เพื่อจะเข้าสู่วาระแรกในสภาพร้อมกัน

ในวงเสวนา วิรัตน์ กัลยาศิริ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร และกรรมาธิการการกฎหมาย การยุติธรรม และสิทธิมนุษยชน กล่าวว่า เริ่มแรกที่เขาผลักดันร่าง พ.ร.บ.การจดทะเบียนคู่ชีวิตนั้นเป็นไปด้วยความยากลำบาก เพราะถูกตั้งคำถามจากเพื่อน ส.ส. แต่เมื่ออธิบายก็เริ่มเข้าใจ โดยเขายืนยันว่า ร่าง พ.ร.บ.การจดทะเบียนคู่ชีวิต จะมีสิทธิเทียบเท่ากับประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ทุกประการ เช่น มีฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งที่จะจดทะเบียนคู่ชีวิตมีสัญชาติไทย ก็สามารถดำเนินการได้ แต่จะต้องอายุ 20 ปีขึ้นไป อย่างไรก็ตาม นายวิรัตน์ ชี้แจงว่ากรณีรับบุตรบุญธรรม มีกฎหมายอยู่แล้วจึงไม่ต้องระบุลงใน พ.ร.บ.การจดทะเบียนคู่ชีวิตฯ

ขณะที่ อัญชนา สุวรรณานนท์ หนึ่งในผู้ก่อตั้งกลุ่มอัญจารี กล่าวว่า มีหลายกรณีที่มีประเด็นที่อยู่นอกเหนือกฎหมาย เช่น การยอมรับของครอบครัวเป็นต้น ครอบครัวสังคมที่มีทัศนคติคาดหวังให้แต่งงานกับคนต่างเพศ มีหลายคนที่ต้องถูกบังคับจากครอบครัวให้แต่งงาน ดังนั้น ถ้าเรามีกฎหมายที่กำหนดให้การแต่งงานไม่จำเป็นต้องเป็นชายกับหญิงนั้น แต่ให้บุคคลเพศเดียวกันสมรสกันได้สังคมก็จะยอมรับได้มากขึ้นด้วย

ทั้งนี้หลายคนอาจติดตามข่าวมาก่อน อาจเห็นภาพความรักที่สวยงาม เห็นข่าวคู่ชายรักชาย หญิงรักหญิงจัดงานวิวาห์ ที่พวกเขาดูเหมือนเป็นภาพที่โรแมนติด แต่นั่นเป็นเพียงด้านเล็กน้อยของสิ่งที่เรากำลังเรียกร้อง เพราะแม้ไม่มีสิ่งพวกนี้คือชุดแต่งงานและงานแต่งงานที่หรูหรา แต่สิ่งที่เราต้องการคือความมั่นคงให้กับคู่ชีวิตของเรา คนที่เรารัก ในเวลาที่วิกฤต เราต้องการกฎหมายที่จะปกป้องพวกเรา ในเวลาที่คู่ชีวิตของเราเจ็บป่วย โดนรถชน หรือประสบอุบัติเหตุ พวกเราก็ต้องการที่จะมีสิทธิดูแลคู่ชีวิตได้ตามกฎหมาย โดยที่ไม่ต้องมาอธิบายอีกว่าพวกเราเป็นใคร ทำไมเรามาอยู่ตรงนี้ เราไม่ต้องการที่จะบอกว่าพวกเราเป็นแค่เพื่อนกัน เวลาที่ต้องไปโรงพยาบาล

"ในกรณีของดิฉัน ที่จดทะเบียนคู่ชีวิตภายใต้กฎหมายอังกฤษ ที่เรียกว่า "Civil Partnership"ซึ่งเป็นกฎหมายที่หลายประเทศเริ่มให้สิทธินี้ และกำลังเริ่มมีการรณรงค์ให้มีการแก้ไขให้เป็นการสิทธิการแต่งงานโดยสมบูรณ์สำหรับทุกๆ คน ที่พวกเราต้องจดทะเบียนคู่ชีวิตก็เพราะว่า พวกเราอาศัยอยู่ที่เมืองไทย และดิฉันคิดว่าถ้ามีอะไรเกิดขึ้นกับคู่ชีวิตของฉัน และถ้าฉันพยายามจะเป็นตัวแทนของเธอ หรือดูแลเธอ หรือในกรณีที่สถานทูตเข้ามาดูแลคนในบังคับของเขา ฉันก็เป็นเพียงคนๆ หนึ่ง กลายเป็นแค่เพื่อน และแม้แต่ต่างชาติเองก็มีทัศนะคติไม่ดีกับคนไทย และเขาอาจจะคิดว่า นี่เธอเป็นใคร ต้องการทรัพย์สินหรือผลประโยชน์อื่น ซึ่งพวกเราไม่ต้องการให้เป็นแบบนั้น นี่จึงเป็นเหตุให้พวกเราไปจดทะเบียนคู่ชีวิต"

อัญชนากล่าวทิ้งท้ายด้วยว่า นี่จึงเป็นตัวอย่างหนึ่งว่าการแต่งงานทั้งในรูปแบบพิธี โดยความเชื่อทางสังคม และโดยทางกฎหมายได้ให้การรับรองสถานะและให้การคุ้มครองแก่คู่ชีวิต และแม้แต่ในกรณีที่ชีวิตคู่ไม่ราบรื่น ก็ควรมีกฏหมายช่วยกำกับการแยกทางที่ยุติธรรมกับทั้งสองฝ่าย แต่ทุกวันนี้สำหรับคู่ชีวิตเพศเดียวกัน ยังไม่มีกฎหมายอะไรที่มาคุ้มครองเลย

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

Viewing all articles
Browse latest Browse all 14385

Trending Articles