Quantcast
Channel: พันศักดิ์ วิญญรัตน์
Viewing all articles
Browse latest Browse all 14385

อวัตถุศึกษากับอธิป: สถิติเผยการสำเนาเถื่อนเพลงไม่ได้ทำให้นักดนตรีตกงานมากเท่าที่ถูกอ้าง

$
0
0

‘อธิป จิตตฤกษ์’ นำเสนอข่าวสารด้านลิขสิทธิ์รอบโลก สัปดาห์นี้นำเสนอข่าวกรรมาธิการคองเกรสสหรัฐเสนอมาตรการรุกหนักผู้ละเมิดลิขสิทธิ์, ตำรวจเดนมาร์ครับการสอดส่องข้อมูลเน็ตไม่ช่วยจับอาชญากร, ฯลฯ

Immaterial Property Research Center ตั้งขึ้นในวันที่ 18 มกราคม หรือ "วันเสรีภาพอินเทอร์เน็ต"เพื่อเป็นศูนย์ข่าว ศูนย์ข้อมูล และศูนย์วิจัยด้านความสัมพันธ์ระหว่างระบบทรัพย์สินที่ไม่เป็นวัตถุ (หรือที่เป็นที่รู้จักทั่วไปว่าทรัพย์สินทางปัญญา) ต่างๆ อย่างสัมพันธ์กับระบบกฎหมาย ระบบเศรษฐกิจ และระบบการเมืองในโลก ทางศูนย์ฯ หวังเป็นอย่างยิ่งว่างานของศูนย์ฯ จะนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงของระบบทรัพย์สินที่ไม่เป็นวัตถุที่เอื้อให้เกิดเสรีภาพในเชิงบวกไปจนถึงความเท่าเทียมกันของผู้คนในโลก

 

 

28-05-2013

กรรมาธิการด้านการละเมิดทรัพย์สินทางปัญญาอเมริกันเสนอสภาคองเกรสให้อำนาจเจ้าของลิขสิทธิ์ในการใช้สปายแวร์สอดส่องผู้ละเมิดลิขสิทธิ์ไปจนถึงการ "จับคอมพิวเตอร์ของผู้ละเมิดลิขสิทธิ์เป็นตัวประกัน"

ในรายงานของทางกรรมาธิการที่ยาวกว่า 80 หน้า นอกจากจะมีการกล่าวอ้างความเสียหายของอุตสาหกรรมลิขสิทธิ์ดังที่ปรากฎดาษดื่นแล้ว รายงานยังเรียกร้องให้สภาคองเกรสมอบอำนาจให้พวกเขาใช้สปายแวร์เพื่อเข้าแทรกแซงคอมพิวเตอร์ของผู้ละเมิดลิขสิทธิ์ในระดับที่จะแอบใช้กล้องคอมพิวเตอร์ของพวกเขาแอบถ่ายรูปพวกเขา และส่งมาให้เจ้าของลิขสิทธิ์ ไปจนถึงใช้แรนซัมแวร์ที่จะหยุดการทำงานคอมพิวเตอร์ของผู้ละเมิดลิขสิทธิ์จนกว่าเขาจะเคลียร์การละเมิดลิขสิทธิ์ได้

News Source:  http://torrentfreak.com/anti-piracy-commission-asks-congress-for-ransomware-and-spy-tools-130527/

 

29-05-2013

Modern Poland Foundation ประกาศแข่งสร้างงานออกไอเดียถึงอนาคตของกฎหมายลิขสิทธิ์ที่ดี โดยมีรางวัลจากการระดมทุนจากฝูงชน (Crowdfunding)

ผู้แข่งขันจะเสนองานในรูปแบบไหนก็ได้ไม่ว่าจะเป็นภาพ เพลง คลิปวีดีโอ ข้อเขียน ซึ่งจะออกมาในรูปแบบการวิเคราะห์หรืองานศิลป์ก็ได้ เนื้อหางานต้องเป็นภาษาอังกฤษ ความยาวไม่เกิน 15,000 คำสำหรับข้อเขียนและไม่เกิน 10 นาทีสำหรับเพลงหรือคลิปวีดีโอ

งานที่ส่งไปแข่งต้องเป็นงานต้นฉบับล้วนๆ ที่ผู้แข่งถือสิทธิเต็มที่เท่านั้นที่อยู่ใต้สัญญาอนุญาต Creative Commons แบบที่ให้เผยแพร่และดัดแปลงงานได้โดยให้อยู่ในสัญญาอนุญาตเดียวกัน

ผู้แข่งต้องนำงานเผยแพร่บนอินเทอร์เน็ต ทั้งนี้เนื้อหางานที่ส่งไปที่ contest@nowoczesnapolska.org.pl

สามารถดูเงื่อนไขการแข่งขันเพิ่มเติมและไปสนับสนุนเงินรางวัลของการแข่งได้ที่ http://www.indiegogo.com/projects/future-of-copyright-contest-2-0

สำนักงานลิขสิทธิ์ไต้หวันพยายามจะแก้กฎหมายลิขสิทธิ์ใหม่ให้ผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตไต้หวันบล็อคเนื้อหาละเมิดลิขสิทธิ์บนเว็บต่างประเทศ

ความพยายามนี้โดนต่อต้านจากพลเมืองเน็ตใต้หวันอย่างหนักว่าเป็นการละเมิดสิทธิเสรีภาพในการแสดงออก และเริ่มมีการต่อต้านกันแล้ว

News Source:  http://www.zdnet.com/cn/taiwans-copyright-act-amendment-proposal-comes-under-fire-7000015943/

 

ครูสอนเปียโนอ้างวิธีการสอนเปียโนโดยการเขียนตัวโน๊ตบนคีย์เปียโนเป็นลิขสิทธิ์

การอ้างลิขสิทธิ์ของเขาทำให้ครูเปียโนยอดนิยมบน YouTube อีกคนกลัวโดนฟ้องและถอดวีดีโอออกจาก YouTube ทั้งหมด

ทั้งนี้ ตามหลักการของลิขสิทธิ์แล้ว "วิธีการสอนเปียโน"ไม่น่าจะได้รับการคุ้มครองแน่ๆ ไม่ต้องพูดถึงการเขียนตัวโน๊ตบนคีย์เปียโนที่เป็นประเด็นในที่นี้ และนี่ก็เป็นอีกกรณีที่มีการอ้างลิขสิทธิ์ที่ไม่มีอยู่จริงตามกฎหมาย

News Source:  http://www.techdirt.com/articles/20130528/09321723228/piano-instructor-claims-copyright-writing-letters-piano-keys.shtml

 

เว็บระดมทุนจากฝูงชน Kickstarter ได้เป็นที่ระดมทุนให้แก่โครงการกว่า 100,000 โครงการแล้ว ซึ่งมีโครงการราวร้อยละ 44 ระดมทุนสำเร็จและมีเงินกว่า 535 ล้านดอลลาร์ไปถึงโครงการต่างๆ

ตัวเลขนี้ดูน่าจะประทับใจมากสำหรับเว็บไซต์ที่ดำเนินการมาได้เพียงสี่ปี

สำหรับอัตราความสำเร็จของโครงการชนิดต่างๆ ก็ต่างกันไป เช่น โครงการภาพยนตร์อัตราสำเร็จก็ประมาณ ร้อยละ 40 ส่วนโครงการทางดนตรีก็มีโอกาสระดมทุนสำเร็จกว่าร้อยละ 50 หรือโครงการด้านเกมส์หรือเทคโนโลยีก็มีโอกาสระดมทุนสำเร็จราวร้อยละ 34 เป็นต้น ดูสถิติที่ทำการรวบรวมใหม่อย่างต่อเนื่องได้ที่ http://www.kickstarter.com/help/stats

News Source:  http://thenextweb.com/insider/2013/05/28/kickstarter-passes-100000-launched-projects-44-funded-successfully-thanks-to-535m-in-crowdsourcing/

 

ตำรวจเดนมาร์คยอมรับว่ากฏหมายบังคับให้ผู้บริการอินเทอร์เน็ตเก็บข้อมูลคอมพิวเตอร์ไว้ ไม่ช่วยการจับอาชญากร

เป็นเวลาราว 5 ปีที่เดนมาร์กได้ใช้กฎหมายที่กำหนดให้บริษัทโทรคมนาคมต้องเก็บข้อมูลคอมพิวเตอร์ไว้อย่างมากที่สุด 1 ปี ทั้งการทำธุรกรรมผ่านทางธนาคาร ข้อมูลการใช้โทรศัพท์มือถือ และกิจกรรมออนไลน์ต่างๆ ของผู้ใช้อินเทอร์เน็ต

อย่างไรก็ตาม เมื่อเร็วๆ นี้ กระทรวงยุติธรรมของเดนมาร์กได้เผยแพร่รายงานว่า การเก็บข้อมูลดังกล่าวไม่ได้เป็นประโยชน์แก่ตำรวจในการสอบสวนอาชญากรรมแต่อย่างใด

ทั้งนี้ มีรายงานว่ารัฐบาลเดนมาร์กยังต้องการเลื่อนการประเมินกฎหมายดังกล่าวออกไปอีก 2 ปี

News Source:  http://www.techdirt.com/articles/20130523/02542423184/danish-police-admit-that-data-retention-hasnt-helped-all.shtml

 

นักเรียนมัธยมอเมริกันโดนจับกุมในข้อหาอุกฉกรรจ์หลังจากแกล้งเปลี่ยนนามสกุลเพื่อนในหนังสือรุ่นเป็นคำว่า Masturbate

News Source:  http://www.techdirt.com/articles/20130528/14302423232/high-school-girl-faces-felony-charges-yearbook-prank.shtml

 

31-05-2013

บริษัทเกมส์ EA แพ้คดีอีกครั้งในศาลอุทธรณ์ฐานนำตัวละครนักฮอกกี้จริงๆ มาใส่ในเกมโดยไม่ได้รับอนุญาต

น่าสนใจว่านักฮอกกี้ที่ฟ้องบริษัทเกมส์ Electronic Arts (EA Games) นี่ฟ้องด้วยกฎหมายว่าด้วยการนำเสนอต่อสาธารณะ (Publicity Law) ซึ่งศาลก็ตัดสินว่า EA ละเมิดนักฮอกกี้ผู้นี้เพราะการเสนอภาพผู้เล่นคนนี้ของ EA ยังไม่ใช้การใช้ที่ "ต่างออกไปจากเดิม" (transformative) มากพอ

คำตัดสินนี้ก่อให้เกิดคำวิจารณ์มากเพราะศาลดูจะมีมาตรฐานพิเศษกับการนำเสนอภาพ "คนดัง"แบบนี้ในเกม เพราะอย่างน้อย การนำเสนอภาพคนดังในหนังสือ ภาพยนตร์ และซีรี่ส์นั้นก็น่าจะได้รับการคุ้มครองภาพใต้หลักเสรีภาพในการแสดงออกหรือบทแก้รัฐธรรมนูญครั้งแรกอย่างชัดเจน

News Source:  http://www.jdsupra.com/legalnews/leggo-my-likeness-part-four-25227/

 

ศาลอุทธรณ์อิตาลีสั่งให้ผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตระงับการบล็อคเว็บ Rapidgator เพราะไม่ถือว่าทางเว็บต้องรับผิดชอบการละเมิดลิขสิทธิ์ของผู้ใช้

ทั้งนี้ Rapidgator น่าจะเป็นเว็บแรกที่อุทธรณ์จนสามารถระงับการบล็อคได้ในบรรดา 24 เว็บที่โดนบล็อคในอิตาลีข้อหาละเมิดลิขสิทธิ์เมื่อเดือนที่แล้ว และแม้เว็บ Rapidgator จะไม่โดนบล็อคแล้ว การสืบสวนอาชญากรรมของเจ้าของเว็บไซต์ก็ยังดำเนินต่อไป

News Source:  http://torrentfreak.com/rapidgator-not-responsible-for-pirating-users-court-lifts-isp-blockade-130530/ , http://www.techdirt.com/articles/20130530/07591323252/italian-court-overturns-seizure-cyberlocker-rapidgator.shtml

 

ข้อมูลจากกรมสถิติแรงงานอเมริกันระบุว่าจริงๆ แล้วอุตสาหกรรมบันทึกเสียงก็ไม่ได้เป็นนายจ้างรายใหญ่ของนักดนตรีแต่อย่างใด และการทำสำเนาเถื่อนก็ดูจะไม่ได้ทำให้ "นักดนตรี"ตกงานมากมายดังที่อุตสาหกรรมบันทึกเสียงกล่าวอ้างแม้แต่นิด

อุตสาหกรรมบันทึกเสียงมักอ้างว่าการทำสำเนาเถื่อนทำให้อุตสาหกรรมถดถอยและนักดนตรีตกงานมหาศาล

แต่ข้อเท็จจริงคือ อุตสาหกรรมในปี 2003 อันเป็นยุคก่อนจะพังทลาย "เพราะการทำสำเนาเถื่อน"นั้น ได้ว่าจ้างนักดนตรีเป็นลูกจ้างประจำเพียง 880 คนเท่านั้น ซึ่งคิดเป็นไม่ถึงร้อยละ 2 ของนักดนตรีอาชีพทั้งในอเมริกาที่มีกว่า 50,000 คน

ดังนั้นการที่อุตสาหกรรมดนตรีเลิกว่าจ้างนักดนตรีไปราวร้อยละ 80 จนเหลือว่าจ้างอยู่เพียง 190 คนในปี 2013 นั้นจึงเป็นเพียงอัตราส่วนเล็กๆ ในทั้งระบบเศรษฐกิจเท่านั้น ที่จริงแล้ว ถ้าจะมีปัจจัยการตกงานของนักดนตรีนั้นมันก็คงจะซับซ้อนกว่าการที่บรรดา "ค่ายเพลง"เสียรายได้จนต้องไล่นักดนตรีออกเยอะ (เอาจริงๆ คำอธิบายว่าการเสื่อมถอยของเหล่าวงออร์เคสตร้าที่ลดปริมาณการจ้างงานนักดนตรีไปกว่า 5,000 คนในรอบ 10 ปี ยังดูจะเป็นคำอธิบายที่เข้าท่ามากกว่าการตกงานของ "นักดนตรี"ซึ่งไม่ได้มีความเกี่ยวพันที่ใกล้ชิดใดๆ กับปรากฎการณ์สำเนาเถื่อนอันเป็นที่รังเกียจของอุตสาหกรรมบันทึกเสียง)

ที่น่าสนใจคือ ในขณะที่นักดนตรีอาชีพในอุตสาหกรรมบันทึกเสียงและออร์เคสตร้าลดลง แต่นักดนตรีอาชีพอิสระกลับเพิ่มมากว่าเดิมราว 6 เท่าในรอบ 10 ปี

News Source: http://www.techdirt.com/blog/casestudies/articles/20130529/15560423243/massive-growth-independent-musicians-singers-over-past-decade.shtml

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

Viewing all articles
Browse latest Browse all 14385

Trending Articles