Quantcast
Channel: พันศักดิ์ วิญญรัตน์
Viewing all articles
Browse latest Browse all 14385

นโยบายสนับสนุนผู้หญิงในที่ทำงานของญี่ปุ่น จะช่วยกู้เศรษฐกิจได้หรือไม่

$
0
0

ขณะที่ญี่ปุ่นกำลังหาทางกู้วิกฤติปัญหาด้านประชากรและฟื้นฟูเศรษฐกิจ ทางเลือกหนึ่งคือการเอื้ออำนวยและส่งเสริมผู้หญิงในที่ทำงานแบบ 'วูแมนโนมิกส์'เนื่องจากผู้หญิงในญี่ปุ่นยังถูกกดดันและถูกลดสิทธิ์ต่างๆ เวลามีลูก อีกทั้งยังไม่มีการหลักดันให้มีตำแหน่งระดับบริหารมากพอ

เมื่อวันที่ 22 พ.ค. 2013 เว็บไซต์ CNN กล่าวถึงกรณีการที่ญี่ปุ่นพยายามสนับสนุนส่งเสริมผู้หญิงในที่ทำงานมากขึ้น แต่ก็มีคำถามว่าการผลักดันเช่นนี้จะเป็นการช่วยเหลือเศรษฐกิจของญี่ปุ่นได้หรือไม่

"ผู้หญิงเป็นทรัพยากรที่ญี่ปุ่นมองข้ามไปมากที่สุด"นายกรัฐมนตรีชินโซ อาเบะของญี่ปุ่นกล่าวไว้เมื่อช่วงเดือน เม.ย. ที่ผ่านมา โดยสื่อถึงความต้องการลดช่องว่างทางเพศในหมู่คนทำงานชาวญี่ปุ่น

ทางด้านนักเศรษฐศาสตร์ โนริโกะ ฮามะ กล่าวในหนังสือพิมพ์ Japan Times ถึงการสนับสนุนให้ผู้หญิงมีสภาพการทำงานที่ดี "คุณควรทำให้ผู้หญิงอยู่ในสภาพการทำงานที่ปลอดภัย เพราะพวกเธอมีสิทธิที่จะได้รับการปฏิบัติที่ดี ไม่มีเหตุผลหรือความชอบธรรมอื่นใดในการกระทำสิ่งที่ถูกต้องเหมาะสม"

CNN กล่าวว่าหากญี่ปุ่นต้องการการเติบโตทางเศรษฐกิจอย่างเร่งด่วน สิ่งที่เศรษฐศาสตร์แบบ 'วูแมนโนมิกส์'ก็เป็นสิ่งที่ญี่ปุ่นควรให้ความสนใจ

เว็บไซต์ ABCnews กล่าวถึงแนวคิด วูแมนโนมิกส์ ในแง่ที่ให้โอกาสและนำอาจในการบริหารจัดการของผู้หญิงในองค์กรซึ่งสามารถเพิ่มประสิทธิผลขององค์กรให้ดีขึ้นได้

เคธี่ มัทสุอิ จากธนาคารโกลด์แมนแซชส์ ผู้ที่สนับสนุนผลักดันประเด็นด้านผู้หญิงในองค์กรเปิดเผยว่าในญี่ปุ่นมีการจ้างงานผู้ชายราวร้อยละ 80 ซึ่งถือว่ามากที่สุดในกลุ่มประเทศองค์การเพื่อความร่วมมือทางเศรษฐกิจและการพัฒนา (OECD) ขณะที่ผู้หญิงญี่ปุ่นยังคงมีอัตราการจ้างงานเพียงร้อยละ 60 เคธี่บอกว่าหากญี่ปุ่นมีการลดช่องว่างตรงจุดนี่ ก็จะมีแรงงานเพิ่มถึง 8.2 ล้านคน และอาจส่งผลให้อัตราผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศของญี่ปุ่นเพิ่มขึ้นมากถึงร้อยละ 14

นายกรัฐมนตรีอาเบะทำลังดำเนินมาตรการให้บริษัทต่างๆ ปฏิบัติตาม โดยได้ตั้งเป้าหมายไว้ว่าแต่ละบริษัทควรจะมีผู้บริหารหญิงอย่างน้อยหนึ่งคน และเสนอมาตรการจูงใจด้านภาษีให้กับบริษัทที่ส่งเสริมให้ผู้หญิงที่มีลูกกลับมาทำงาน

แม้ว่าในกฏหมายปี 1986 ของญี่ปุ่นจะให้ความเท่าเทียมกันด้านการจ้างงาน แต่ในความเป็นจริงแล้วบริษัทในประเทศญี่ปุ่นยังไม่มีความเท่าเทียมกันระหว่างเพศในที่ทำงานอยู่

นาโอโกะ โทโยดะ ทำงานอยู่ในบริษัทไอทีมา 10 ปี แต่ถูกลดตำแหน่งไปอยู่ตำแหน่งเมื่อเริ่มงานเมื่อเธอกลับเข้าทำงานหลังจากให้กำเนิดลูกคนแรก "ผู้หญิงที่เลือกจะไม่มีลูกสามารถไต่เต้าขึ้นไปมีตำแหน่งดีๆ ในบริษัทได้ ขณะที่คนที่เลือกมีลูกเหมือนถูกขับให้อยู่ในสภาพกึ่งๆ ปลดเกษียณ"นาโอโกะกล่าว เธอบอกอีกว่าทางบริษัทมีความเข้มงวดมากเพราะเกรงว่าหากมีการยกเว้นก็จะมีคนอื่นเรียกร้องให้เป็นแบบเดียวกัน นาโอโกะตัดสินใจออกจากบริษัท

ธนาคารโกลด์แมนแซชส์เปิดเผยข้อมูลอีกว่ามีผู้หญิงร้อยละ 70 ในญี่ปุ่นที่เลือกออกจากงานหลังจากที่เธอมีลูกแล้ว ซึ่งเป้นจำนวนสูงกว่าในสหรัฐฯ หรือในเยอรมนีสองเท่า แต่ขณะที่สาเหตุหลักที่ผู้หญิงออกจากงานในสหรัฐฯ และเยอรมนีคือเรื่องต้องเลี้ยงดูลูก ในญี่ปุ่นสาเหตุของการออกจากงานกลับกลายเป็นเรื่องของบรรยากาศในที่ทำงานที่ไม่มีการประนีประนอม ซึ่งเรียกร้องให้มีเวลาเข้างานและไม่มีความยืดหยุ่นในการทำงานสำหรับผู้หญิง ทำให้ผู้หญิงที่มีลูกเลิกไปทำงาน

งานวิจัยของศูนย์นโยบายการใช้ชีวิตในที่ทำงานในปี 2011 เปิดเผยว่า 3 ใน 4 ของผู้หญิงญี่ปุ่นต้องการกลับเข้าทำงานหลังจากมีลูกแล้ว แต่มีเพียงร้อยละ 43 เท่าน้นที่สามารถกลับไปทำงานแบบเดิมได้ คนอื่นๆ มักจะถูกตัดเงินเดือนหรือไม่ก็ถูกผลักให้กลายเป็นคนชายขอบของบริษัท

ในเรื่องนี้บริษัทเครื่องสำอางค์ชิเซโดมีพัฒนาการดีที่สุด โดยตั้งแต่ปี 1990 โครงการสนับสนุนการเลี้ยงดูบุตรธิดาได้รับการพัฒนาขึ้นมาโดยตลอด มีการอนุญาตให้พนักงานลาเพิ่มเพื่อทำหน้าที่ผู้ปกครอง อนุญาตให้มีเวลางานน้อยลง และมีศูนย์เลี้ยงดูเด็กภายในที่ทำงาน นอกจากนี้ยังมีแผนการปรับความเท่าเทียมทางเพศด้วยการผลักดันให้มีผู้นำหญิงในที่ทำงานมากขึ้น

ชิเงโตะ โอสุกิ ผู้อำนวยการงานทรัพยากรบุคคลของชิเซโดกล่าวว่าอัตราผู้นำหญิงใน บริษัท ชิเซโด กรุ๊ป ที่มีพนักงาน 25,000 คน มีอัตราผู้นำหญิงอยู่ร้อยละ 25.6 ขณะที่ในแผนกต่างประเทศซึ่งมีพนักงาน 20,000 คนมีอัตราส่วนผู้นำหญิงอยู่ที่ร้อยละ 60

CNN กล่าวอีกว่า ตอนนี้ญี่ปุ่นกำลังประสบปัญหาอัตราการเกิดลดลง และมีประชากรสูงอายุมากขึ้น แต่มีงบประมาณจ่ายเงินบำนาญน้อยลง ซึ่งองค์กรกองทุนการเงิยระหว่างประเทศประเมินว่าญี่ปุ่นจะมีประชากรลดลงร้อยละ 30 ในปี 2055 ทำให้การผลักดันของนายกฯ อาเบะไม่เป็นแค่ข้อถกเถียงเรื่องความเป็นธรรม แต่เป็นเรื่องของความอยู่รอดทางเศรษฐกิจด้วย

เรียบเรียงจาก

Can`womenomics' save Japan?, CNN, 22-05-2013


ข้อมูลประกอบจาก

What Is Womenomics?, 01-06-2009, ABCnews
 

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

Viewing all articles
Browse latest Browse all 14385

Trending Articles