Quantcast
Channel: พันศักดิ์ วิญญรัตน์
Viewing all articles
Browse latest Browse all 14385

แนะมองมุมใหม่และร่วมหาทางออกปัญหาประวัติศาสตร์สยาม-ปาตานี

$
0
0

นักวิชาการแนะต้องมองมุมใหม่ และร่วมกันแก้ปัญหาประวัติศาสตร์อันตราย ชี้ชายแดนใต้ยังมองเป็นมายาและซับซ้อนเกินไป ทั้งเรื่องชาติพันธุ์ ความเป็นเจ้าของดินแดน และปัญหาความรุนแรง

 

 


เวลา 09.00 น.วันที่ 19 กันยายน 2557 ณ ห้องแกรนด์ บอลล์รูม บี ชั้น 8 โรงแรมลีการ์เด้นท์ พลาซ่า อ.หาดใหญ่ จ.สงขลา ในงานสัมมนาวิชาการ เรื่อง สยาม-ปาตานี : มิติใหม่ ข้อมูลใหม่ และการจัดระบบความเข้าใจ ภายใต้ชุดโครงการความรู้ เรื่อง การประกอบสร้างประวัติศาสตร์สามจังหวัดชายแดนภาคใต้เพื่อการอยู่ร่วมกันอย่างยั่งยืน (ปีที่ 3) ซึ่งเป็นวันที่สองของงานสัมมนา


ชายแดนใต้ยังเป็น “มายาและซับซ้อน”

ดร.เลิศชาย ศิริชัย คณบดีสำนักวิชาศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ กล่าวเปิดงานสัมมนาวันที่สองพร้อมกับพูดถึงมุมมองของตัวเองหลังจากได้ลงพื้นที่ และสังเกตุเห็นเรื่องราวต่างๆ ประการแรก คือ เรื่องราวที่เกิดขึ้นในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้เป็นเรื่องที่ซับซ้อน เข้าใจยากสำหรับยุคปัจจุบัน เพราะมีทั้งเรื่องราวที่สืบทอดไปในอดีต และเรื่องราวที่ถูกสร้างขึ้นมาในปัจจุบันที่บริบทของโลกที่มีความขัดแย้งในเรื่องของผลประโยชน์มากมาย

“ถ้าเราไม่พยายามเข้าถึงความซับซ้อนดังกล่าว จะทำให้เรามองสถาการณ์แบบเหมารวมและมองแบบง่ายๆ และการมองแบบไม่ซับซ้อนจะทำให้เรามองเพียงแค่ว่าใครถูกใครผิด ใครเป็นพระเอกใครเป็นผู้ร้าย ผมจึงอยากให้พวกเราช่วยคิดกันว่าทำอย่างไรให้เราเข้าถึงความซับซ้อนเหล่านั้น” ดร.เลิศชาย กล่าว


ชาติพันธ์-ความเป็นเจ้าของ-ความรุนแรง

ประการที่สอง คือ เมื่อมองในแง่วิชาการ ผมคิดว่าเราอยู่ในภาวะที่ยึดติอยู่กับมายาคติบางเรื่องมากจนเกินไป จนทำให้เกิดข้อจำกัดในการมอง โดย ดร.เลิศชาย ยกตัวอย่างประกอบมา 3 ข้อได้แก่

1.ชาติพันธ์และอคติทางชาติพันธ์ ที่คนในรัฐไทยมีอคติต่อกัน หรือรัฐมีต่อประชาชนในพื้นที่สามจังหวัดชายแดนใต้ จนผู้คนมองว่าเป็นสาเหตุให้นำไปสู่ความรุนแรง ซึ่งหากลงในพื้นที่จริงๆ จะพบว่าความสัมพันธ์ของคนต่างชาติพันธ์ในปัจจุบันดีกว่าในอดีตมาก

2.ความเป็นเจ้าของดินแดน ซึ่งทำให้หลายฝ่ายยึดติดอยู่ตรงนี้ และพยายามหาคำอธิบายเพื่อสนับสนุนว่า ฝ่ายตนเป็นเจ้าของดินแดนแห่งนี้ ซึ่งการที่เราถกกันอยู่แค่ในเรื่องนี้จะทำให้เรานั้นต้องเผชิญหน้ากับความขัดแย้งไม่มีสิ้นสุด ในขณะที่คนในพื้นที่ส่วนใหญ่แล้วไม่ได้ยึดติดในเรื่องนี้ แต่จะให้ความสำคัญกับการปฏิบัติศาสนานกิจและชีวิตความเป็นอยู่มากกว่า

3.สถารการณ์ความรุนแรงในขณะนี้ เป็นสถานการณ์ของการสร้างขึ้นมา ไม่ได้มีแกนแท้ที่เมื่อไปแก้ตรงแกนแล้วมันจะจบ เพราะสถานการณ์ถูกสร้างขึ้นมาเรื่อยๆ แม้แต่เหตุการณ์ความรุนแรงในโลกก็ถูกสร้างขึ้นมาเพื่ออะไรบางอย่าง


ต้องมองมุมใหม่และร่วมกันแก้ปัญหา

“หากจะให้ผมชี้ทางออกและสามารถแก้ปัญหาทั้งหมดได้ ผมคิดว่าน่าจะเกินปัญญาของผม แต่ในฐานะที่พวกเราเป็นนักวิชาการที่ช่วยคลี่คลายปัญหาของสังคม ผมคิดว่าเราคงต้องหามุมมองใหม่ๆ ในการที่จะอธิบายเรื่องราวต่างๆ รวมไปถึงเรื่องประวัติศาสตร์ที่ไม่ได้มีเพียงประวัติศาสตร์ของรัฐฝ่ายเดียว แต่มีประวัติศาสตร์ของท้องถิ่น ของผู้คน ที่จะมาช่วยกันเล่า มาช่วยกันหาทางออก มาช่วยกันคลี่คลายสถานการณ์ความขัดแย้งและความรุนแรง” ดร.เลิศชาย กล่าวทิ้งท้าย


สื่อสังคมเปิดพื้นที่ให้คนรากหญ้าทำงานความคิด

จากนั้นเป็นการปาฐกถาพิเศษ เรื่อง "The 'Bottom-up' Approach Resolution of The Patani's Conflict : An Overview of Potential of Web"โดย ศ.ดร.Sohaimi Abdul Aziz จาก School of Humanities, Universiti Sains Malaysia งานวิจัยของเขาใช้กรอบคิด การส่งเสียงจากคนด้านล่าง

ศ.ดร.Sohaimi Abdul Aziz ชี้ให้เห็นว่า Social media หรือสื่อสังคม จะสามารถแก้ปัญหาความขัดแย้งได้ โดยยกตัวอย่างเช่น เว็ปไซต์ deepsouthwacth เว็ปไซต์สำนักข่าวอามาน เป็นต้น ที่นำเสนอทั้งเหตุการณ์ รวมไปถึงการปูทางประวัติศาสตร์ให้ผู้คนได้อ่าน ซึ่งอินเตอร์เน็ตทำให้คนทั่วไปสามารถส่งเสียงได้ โดยที่ผ่านมาการแก้ปัญหามาจากส่วนบนลงล่างหรือจากรัฐสู่ประชาชน แต่การมีสื่อสังคมรวมถึงสื่อออนไลน์ทำให้คนจากส่วนล่างสามารถทำงานทางความคิดร่วมกันมากขึ้น และยังสามารถตอบโต้หรือแลกเปลี่ยนได้ทันทีที่มีเหตุการณ์เกิดขึ้น

ส่วนในการนำเสนอบทความวิชาการของคณาจารย์จากสำนักวิชาศิลปะศาสตร์มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ มีการพูดถึงประวัติศาสตร์ของกษัตริย์หญิงแห่งปาตานี ละยังมีการนำเสนอบทความที่ประมวลภาคประวัติศาสตร์นิพนธ์ และงานวรรณกรรมที่เกี่ยวกับปาตานี


 


 


 

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

Viewing all articles
Browse latest Browse all 14385

Trending Articles