เครือข่ายองค์กรพัฒนาเอกชนและภาคประชาสังคม 57 องค์กร แถลงการณ์เรียกร้องต่อ คสช. ว่าด้วยการกักขังผู้นำขาหุ้นปฏิรูปพลังงาน 11 รายตามอำเภอใจ ชี้ละเมิดสิทธิ อิสรภาพอย่างร้ายแรงและเกินขอบเขต
22 ส.ค. 2557 เครือข่ายองค์กรพัฒนาเอกชนและภาคประชาสังคม 57 องค์กร แถลงการณ์เรียกร้องต่อ คสช. ว่าด้วยการกักขังผู้นำขาหุ้นปฏิรูปพลังงาน 11 รายตามอำเภอใจ ชี้ละเมิดสิทธิ อิสรภาพอย่างร้ายแรงและเกินขอบเขต โดยรายละเอียดทั้งหมดของแถลงการณ์มีดังต่อไปนี้
แถลงการณ์เรียกร้องต่อ คสช. ว่าด้วยการกักขังผู้นำขาหุ้นปฏิรูปพลังงาน 11 รายตามอำเภอใจ
สืบเนื่องจากเมื่อวันที่ 20 สิงหาคม 2557 ผู้นำในการรณรงค์เรียกร้องให้เกิดการปฏิรูปพลังงาน หรือ ผู้นำขาหุ้นปฏิรูปพลังงานรวม 11 ราย ถูกจับกุมขณะเดินเท้าในกิจกรรมการรณรงค์ปฏิรูปพลังงานจาก จ.สงขลา สู่กรุงเทพมหานคร โดยทั้งหมดถูกจับขังตามอำเภอใจไว้ในค่ายเสนาณรงค์ อ. หาดใหญ่ จ. สงขลา ด้วยข้อหาการชุมนุมในที่สาธารณะมากกว่า 5 คน ซึ่งถือเป็นการละเมิดกฎอัยการศึก ในขณะที่ผู้นำที่เหลืออีก 4 คนยังคงเดินเท้ารณรงค์ต่อไปนั้น
เราขอชี้แจงให้ทราบว่า การเดินเท้าเพื่อปฏิรูปพลังงานครั้งนี้ เป็นกิจกรรมรณรงค์เพื่อสร้างความรู้ความเข้าใจด้านพลังงานให้แก่ประชาชนของกลุ่มผู้ไม่ฝักใฝ่ฝ่ายใด โดยเรียกร้องให้ภาคพลังงานให้ข้อมูลที่จำเป็น ครอบคลุม และครบถ้วน ตามความต้องการของประชาชน มิใช่เพียงการรับทราบข้อมูลที่ถูกป้อนโดยรัฐเท่านั้น ทั้งนี้เพื่อนำไปสู่การมีส่วนร่วมตัดสินใจในนโยบายหรือกิจกรรมที่สำคัญของประชาชนอย่างแท้จริง
ดังที่กล่าวมา กิจกรรมรณรงค์การเดินเท้าของผู้นำขาหุ้นปฏิรูปพลังงานเป็นการรณรงค์อย่างสันติและไม่เกี่ยวข้องกับการเมือง จึงไม่เป็นการคุกคามต่อสันติภาพและความสงบของประเทศ การเดินเท้าจึงไม่อาจเป็นภัยคุกคามต่อความมั่นคงของประเทศได้ ด้วยมิได้เป็นการกระตุ้นให้เกิดความวุ่นวายต่อสาธารณะ โดยผู้ร่วมในกิจกรรมรณรงค์นี้มาด้วยวัตถุประสงค์ในการเผยแพร่ข้อมูลและแสดงเจตจำนงของตนโดยการเรียกร้องให้เกิดการปฏิรูปพลังงานกับคณะรักษาความสงบแห่งชาติ หรือ คสช. ผ่านการเดินเท้าเท่านั้น
เราขอเน้นย้ำว่ามาตรการฉุกเฉินต้องห้ามตามกฎหมายว่าด้วยสิทธิมนุษยชนระหว่างประเทศในกรณีที่อาจจะละเมิดสิทธิมนุษยชนของประชาชน ตามกฎหมายระหว่างประเทศที่ประเทศไทยเป็นภาคี บัญญัติว่า “มาตรการใดๆ ของรัฐอาจจำกัดบางสิทธิเท่าที่จำเป็นอย่างเคร่งครัดเพื่อป้องกันภัยคุกคามต่อความมั่นคงของประเทศ” และการเดินเท้าของเครือข่ายขาหุ้นปฏิรูปพลังงานก็ไม่มีทางที่จะก่อให้เกิดภัยคุกคามต่อความมั่นคงของประเทศได้เลย ดังนั้นเราจึงเห็นว่าการกักขังตามอำเภอใจของผู้รณรงค์เดินเท้าเป็นสิ่งที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย พรากสิทธิในการเคลื่อนไหวอย่างเสรีและการดำเนินกิจกรรมสร้างความตระหนักรู้ การกักขังบุคคลด้วยเจตนาที่ดีและสร้างสันติเพื่อให้ความรู้แก่สาธารณะจึงถือเป็นการละเมิดสิทธิ อิสรภาพอย่างร้ายแรงและเกินขอบเขต ซึ่งกติกาดังกล่าวได้รับการรับรองภายใต้กฎหมายระหว่างประเทศ
ในการนี้เราจึงขอเรียกร้อง คสช. ให้มีคำสั่งให้ปล่อยตัว 11 ผู้นำขาหุ้นปฏิรูปโดยทันทีและโดยปราศจากเงื่อนไข ดังมีรายนามดังต่อไปนี้
1. น.ส.กรรณิกา แพรแก้ว
2. น.ส.วิลัยพร โกไสยกานนท์
3. นายประสิทธิชัย หนูนวล
4. นายศักดิ์กมล แสงดารา
5. นายสุวิทย์ ทองย้อย
6. นายอนุพล คงเอียด
7. นายเชภาดร จันทร์หอม
8. นพ.สุภัทร ฮาสุวรรณกิจ
9. นายสิทธิพงศ์ สังข์เศรษฐ์
10. ว่าที่ ร.ต.พร้อมศักดิ์ จิตจำ
11. นายเอกสิทธิ์ เบญจสุตะณรงค์
แถลงการณ์ ณ วันที่ 22 สิงหาคม 2557
เครือข่ายองค์กรพัฒนาเอกชนและภาคประชาสังคม 57 องค์กร
1. มูลนิธิยุติธรรมเพื่อสันติภาพ
2. มูลนิธิศักยภาพชุมชน
3. ศูนย์ข้อมูลชุมชน
4. สมาคมผู้บริโภคสงขลา
5. มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค
6. เครือข่ายผู้บริโภค จ.สุราษฎร์ธานี
7. เครือข่ายองค์กรผู้บริโภคภาคใต้
8. สมาคมประชาสังคมชุมพร
9. เครือข่ายประชาชนไทย 8 จังหวัดลุ่มน้ำโขง
10. เครือข่ายสภาองค์กรชุมชนตำบลลุ่มน้ำโขง 7 จังหวัดภาคอีสาน
11. สมาคมรักษ์ทะเลไทย
12. เครือข่ายทุ่งตำเสารักษ์ถิ่น
13. สมาคมสมาพันธ์ชาวประมงพื้นบ้านแห่งประเทศไทย
14. มูลนิธิพัฒนาภาคเหนือ
15. เครือข่ายปฏิรูปที่ดินภาคเหนือ
16. กลุ่มออมทรัพย์นักพัฒนาภาคเหนือ
17. กลุ่มออมทรัพย์นักพัฒนาภาคใต้
18. เครือข่ายจะนะรักษ์ถิ่น
19. เครือข่ายรักบ้านเกิดท่าศาลา
20. คณะทำงานโลกเย็นที่เป็นธรรม
21. คณะกรรมการประสานงานองค์กรพัฒนาเอกชนภาคเหนือ
22. คณะกรรมการประสานงานองค์กรพัฒนาเอกชนภาคใต้
23. คณะกรรมการประสานงานองค์กรพัฒนาเอกชนภาคอีสาน
24. คณะกรรมการประสานงานองค์กรพัฒนาเอกชน
25. โครงการประมงพื้นบ้านสัตว์น้ำอินทรีย์
26. สมาคมประมงพื้นบ้านเรือเล็กจังหวัดระยอง
27. เครือข่ายพลเมืองสงขลา
28. เครือข่ายผู้เป็นเจ้าของแร่แห่งประเทศไทย
29. เครือข่ายทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมอีสาน
30. ศูนย์ข้อมูลสิทธิมนุษยชนและสันติภาพ (ศสส.)
31. ศูนย์กฎหมายสิทธิมนุษยชนเพื่อสังคม
32. กลุ่มนิเวศวัฒนธรรมศึกษา
33. ศูนย์สื่อชุมชนเพื่อสังคมที่เป็นธรรม (ศสธ.)
34. โครงการขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะด้านทรัพยากรแร่
35. โรงเรียนสิทธิชุมชนเขาคูหา
36. มหาวิทยาลัยชาวบ้านลานหอยเสียบ
37. สภาประชาชนรัตภูมิ-ควนเนียง จ.สงขลา
38. มูลนิธิสิทธิชุมชนสงขลา
39. เครือข่ายปกป้องกระบี่จากถ่านหิน
40. เครือข่ายปกป้องเกาะแห่งชีวิต สมุย-พงัน-เกาะเต่า
41. กลุ่มครอบครัวเข้มแข็ง อ.จะนะ จ.สงขลา
42. โครงการทามมูล
43. เครือข่ายพิทักษ์ชุมชน จ.ตรัง
44. โครงการเฝ้าระวังสภาวะไร้รัฐ
45. สมาคมชาวประมงพื้นบ้านจังหวัดปัตตานี
46. สถาบันจัดการระบบสุขภาพ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
47. ขบวนการประชาชนเพื่อสังคมที่เป็นธรรม (พีมูฟ)
48. ศูนย์พลเมืองเด็ก
49. สหพันธ์เกษตรกรภาคเหนือ
50. กลุ่มคนรักษ์บ้านแหง จ.ลำปาง
51. เครือข่ายสิทธิผู้ป่วยแม่เมาะ
52. Asia Pacific Forum on Women , Law and Development (APWLD)
53. GABRIELA National Alliance of Filipino Women, Philippines
54. Suara Rakyat Malaysia (SUARAM), Malaysia
55. Protection International
56. Asia-Pacific Solidarity Coalition (APSOC)
57. MARUAH, Singapore
ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai