Quantcast
Channel: พันศักดิ์ วิญญรัตน์
Viewing all articles
Browse latest Browse all 14385

สกว.เปิดโลกทัศน์ความสัมพันธ์ไทยกับอาเซียนภาคพื้นทวีป

$
0
0

23 ก.ค.57 สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) จัดสัมมนาวิชาการเรื่อง “เปิดโลกทัศน์ความสัมพันธ์ไทยกับอาเซียนภาคพื้นทวีป: ผลประโยชน์ร่วมบนวิถีมิตรภาพและความขัดแย้ง” ซึ่งจัดโดยสถาบันเอเชียศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ภายใต้การสนับสนุนของ สกว. เพื่อทบทวนสถานภาพความสัมพันธ์ของไทยกับเพื่อนบ้าน การพึ่งพิงกัน ประโยชน์ร่วมกัน ความเชื่อมโยงซึ่งกันและกัน ประเด็นขัดแย้ง รวมทั้งการรับรู้และความเข้าใจระหว่างกันในลักษณะรู้เขารู้เรา เพื่อเป็น “แผนที่นำทาง” สำหรับการพัฒนาความสัมพันธ์ระหว่างกันต่อไป โดยมีนักวิชาการผู้เชี่ยวชาญรายประเทศจากสถาบันเอเชียศึกษาเป็นวิทยากร

รศ. ดร.สุเนตร ชุตินธรานนท์ ผู้อำนวยการสถาบันเอเชียศึกษา กล่าวว่า โลกไร้พรมแดนเกิดสื่อต่างๆ ที่เผยแพร่ไปสู่การรับรู้ที่หลากหลายของประเทศเพื่อนบ้านมากกว่าการที่รัฐเป็นผู้กำหนด จึงนำมาสู่งานวิจัยในกลุ่มผู้มีส่วนได้เสียต่อการรับรู้ของประเทศไทย ผลงานที่นำเสนอในครั้งนี้คือผลึกอันเกิดจาการนำองค์ความรู้ที่ได้จากงานวิจัยทั้งหมดมาประมวลรวมกัน และเปิดประเด็นให้เกิดความรู้ความเข้าใจในประเทศเพื่อนบ้านมากกว่าการเป็นประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน เพราะเป็นสิ่งจำเป็นที่จะทำให้เกิดความเข้าใจเกี่ยวกับประเทศอาเซียน องค์ความรู้ที่จะแบ่งปันหรือนำไปประยุกต์ใช้ในการกำหนดนโยบาย เปิดโลกประชคมอาเซียนในมิติใหม่ที่ไม่ใช่เพียงเสาหลักด้านเศรษฐกิจ แต่เป็นองค์รวมในภาพกว้างว่าชาติสมาชิกคิดกับประเทศของเราอย่างไร มีมิติเบื้องลึกทางประวัติศาสตร์ สังคม วรรณกรรม อันจะนำไปสู่การเข้าใจสังคมมนุษย์มากกขึ้น ซึ่งถือเป็นพันธกิจของสถาบันฯ ในการทำงานวิจัยนี้

ในการบรรยายเรื่อง “ความสัมพันธ์ไทยกับเพื่อนบ้าน: ผลประโยชน์ร่วมบนวิถีมิตรภาพและความขัดแย้ง” สุเนตร กล่าวว่าเดิมความสัมพันธ์กับประเทศเพื่อนบ้านอาจถูกกำหนดด้วยมิติทางภูมิศาสตร์ แต่ปัจจุบันต้องให้นิยามและลำดับชั้นโดยอาจอาศัยมิติทางประวัติศาสตร์ การเมืองและอื่น ๆ ซึ่งจะต้องทำความเข้าใจให้ลุ่มลึกกว่าที่เคยทั้งในลักษณะทวิภาคีหรือพหุภาคีที่เกี่ยวพันกับผลประโยชน์ร่วม จึงต้องทำการวิเคราะห์ในภาพกว้างและจำเป็นต้องอธิบายถึงสถานะและตัวตนของ “ผลประโยชน์” ภายใต้การผูกขาดของรัฐและมิติความเป็นทุนนิยม สิ่งที่เป็นประโยชน์ของบ้านเมือง คือ คนต้องมองเห็นคุณค่าของสิ่งที่จะเปลี่ยนเป็นเงินได้ ในช่วงสงครามเย็นรัฐเป็นผู้ผูกขาดผลประโยชน์ของบ้านเมือง แต่เมื่อถึงจุดหักเหสำคัญหลังสงครามเย็น รัฐไม่ได้ผูกขาดแต่เพียงผู้เดียวหากยังมีบทบาทของผู้มีส่วนได้เสียที่มีอำนาจต่อรองในระดับที่แตกต่างกันเพิ่มมากขึ้น ตัวอย่างที่เป็นรูปธรรมคือ การจำนำข้าว ที่รัฐกับคนอีกส่วนหนึ่งมองเห็นผลประโยชน์แตกต่างกัน หรือกรณีประเทศพม่ามีผู้ออกมาเคลื่อนไหวเรื่องความมั่นคงมนุษย์ ความเท่าเทียมกันในสังคม การลดทอนความเสี่ยงทางสภาพแวดล้อม โดยมีโมเดลการปฏิรูปประเทศในศตวรรษที่ 21 คือ ลดความยากจน สร้างงาน ลดปัญหาความไม่เท่าเทียมกัน ให้ความสำคัญกับปัญหาสภาพแวดล้อม น้ำ พลังงาน และความมั่นคงทางอาหาร เช่นเดียวกับในประเทศลาว ต่างชาติที่เข้าไปลงทุนโดยเฉพาะจีนได้สร้างความขัดแย้งเรื่องการจัดการทรัพยากรกับคนในพื้นถิ่นทำให้เกิดการต่อต้านเคลื่อนไหว นับเป็นทิศทางการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น

สิ่งที่เกิดขึ้นตามมาคือ การจัดลำดับชั้นของผลประโยชน์ที่เปลี่ยนแปลงไป และไม่ได้มีเพียงสูตรเดียว แต่ละภาคส่วนอาจมองผลประโยชน์และปัญหาแตกต่างกัน สะท้อนถึงการจัดลำดับชั้นความมั่นคงว่าสิ่งใดควรมาก่อนหลัง จุดหักเหสำคัญที่เกิดขึ้นในองค์รวมสิ่งหนึ่งที่เห็นชัดเจน คือ พรมแดนความขัดแย้งในภูมิภาคระหว่างทวิภาคี เกิดการลดพื้นที่ ปัจจัยและปฏิบัติการลดความขัดแย้งให้มีการจำกัดขอบเขต ความขัดแย้งที่สำคัญคือ การเมืองการทหาร ดังปัญหาระหว่างไทย-กัมพูชา แต่ต้องไม่กระทบความสัมพันธ์ทางการค้าเพราะมีความจำเป็นที่ต้องพึ่งพากัน โดยเห็นได้ชัดตั้งแต่หลังวิกฤติต้มยำกุ้งการอยู่กันแบบพึ่งพาผลประโยชน์ร่วมกันเป็นสิ่งจำเป็นอย่างยิ่ง วิถีของมิตรภาพและความขัดแย้งได้ลดสัดส่วนระหว่างรัฐต่อรัฐแต่เริ่มมีการจัดการในระดับพหุภาคี สิ่งที่เพิ่มสัดส่วนคือ ความขัดแย้งในภาคประชาชน ซึ่งบางครั้งลุกลามและส่งผลกระทบต่อความสัมพันธ์ระหว่างรัฐ ส่วนความขัดแย้งที่จะกลายเป็นประเด็นใหญ่ในอนาคต คือ การจัดการทรัพยากรที่มีความสัมพันธ์กับพลังงาน และการจัดการน้ำ

“สิ่งที่น่าห่วงคือ การเปลี่ยนแปลงของสถานะที่เรียกว่า ผลประโยชน์บนวิถีมิตรภาพและความขัดแย้งที่มีความเกี่ยวข้องกับความมั่นคงของมนุษย์และสภาพแวดล้อม ที่ยังขาดการสำนึกรู้และพัฒนาความรู้ความเข้าใจเพื่อการตั้งรับ ไม่มีการจัดการระบบผลประโยชน์ร่วมบนวิถีทางที่เปลี่ยนแปลงไป ดังนั้นการถ่ายทอดความรู้และเทคโนโลยีสู่ภาคส่วนต่าง ๆ รวมถึงสื่อมวลชนจึงมีความจำเป็นอย่างเร่งด่วนที่จะเปิดมิติความสัมพันธ์ของไทยกับประเทศเพื่อนบ้านให้ก้าวล่วงสู่พรมแดนบนฐานความรู้จากงานวิจัย” สุเนตรกล่าว

 

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

Viewing all articles
Browse latest Browse all 14385

Trending Articles