อมธ. แนะ สทศ. แก้ปัญหา O-NET GAT PAT ฯลฯ ก่อนริสอบ U-NET ระบุไม่มีการประชาพิจารณ์ก่อน แถมซ้ำซ้อน ไม่คำนึงถึงความหลากหลายทั้งวิชาเรียนและคุณค่าที่นักศึกษายึดถือ
29 เม.ย.2557 องค์การนักศึกษามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (อมธ.) เผยแพร่แถลงการณ์ต่อกรณีการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติระดับอุดมศึกษา หรือ U-NET ที่สถาบันทดสอบทางการศึก
1. การเรียนการสอนในระดับอุดมศึกษามีลักษณะที่แตกต่างหลากหลายไปตามแต่ละคณะและสาขาวิชา ทั้งในด้านเนื้อหาของวิชาและในด้านกระบวนการศึกษา หากนักศึกษาที่เรียนมาแตกต่างกันต้องใช้ข้อสอบชุดเดียวกันก็จะก่อให้เกิดความไม่เหมาะสมและไม่เป็นธรรมในการวัดผลได้หรือหากจะจัดทำข้อสอบให้เหมาะสมกับผู้สอบทั้งหมดก็อาจต้องจัดทำเนื้อของข้อสอบให้เป็นแค่ระดับพื้นฐาน ซึ่งอาจไม่เหมาะสมที่จะเป็นข้อสอบในระดับอุดมศึกษา
2. การเรียนการสอนในมหาวิทยาลัยส่วนมากเป็นการเปิดกว้างทางความคิด ให้นักศึกษาได้เรียนรู้และประเมินคุณค่าต่างๆ อย่างเป็นตัวของตัวเอง การจัดทำข้อสอบกลางที่มีเนื้อหาเดียวจะเป็นการปิดกั้นความคิดเห็นที่แตกต่างได้ โดยเฉพาะวิชาด้านคุณธรรม จริยธรรม ที่ในความเป็นจริงแล้วแต่ละคนก็ต่างยึดถือคุณค่าที่แตกต่างกันไป แต่คำตอบที่ถูกต้องในข้อสอบอาจมีเพียงคำตอบที่สอดคล้องกับอุดมการณ์หลักของรัฐหรือของผู้ออกสอบเท่านั้น
3. ทุกวันนี้การวัดผลนักศึกษาและสถานศึกษาที่มีประสิทธิภาพก็มีอยู่อย่างมากมายแล้ว ในมหาวิทยาลัยนักศึกษาก็ต้องผ่านการทดสอบจากอาจารย์จึงจะผ่านในวิชาต่างๆ ได้ มีการประเมินผลอาจารย์และบุคลากรเป็นปรกติธรรมดา ในการคัดเลือกบุคคลเข้าศึกษาหรือทำงานก็เช่นกัน แต่ละหน่วยงานไม่ว่าจะเป็นภาครัฐหรือเอกชนต่างก็มีเกณฑ์การคัดเลือกหรือการทดสอบคุณสมบัติที่เหมาะสมกับหน่วยงานของตน รวมทั้งมีการจัดสอบที่ได้มาตรฐานสากลให้เลือกใช้อยู่แล้ว อมธ. จึงยังไม่เห็นว่าการจัดสอบ U-NET จะมีข้อดีโดดเด่นอะไรที่จะนำมาใช้โดยไม่ซ้ำซ้อนได้
4. สทศ. ยังไม่เคยมีการทำประชาพิจารณ์ การสอบถามความคิดเห็นของนักศึกษาผู้ต้องได้รับผลกระทบ หรือการสำรวจความเห็นจากสถานประกอบการหรือหน่วยงานที่จะต้องมีส่วนเกี่ยวข้องกับรับนักศึกษาที่ผ่านการทดสอบเข้าทำงาน พร้อมทั้งให้ข้อมูลเกี่ยวกับการจัดสอบรูปแบบนี้เสียก่อน
5. สทศ.ควรทำการแก้ไข ปรับปรุง ความผิดพลาด สำหรับมาตรฐานของข้อสอบ ที่เกิดปัญหา สร้างข้อสงสัยอย่างกว้างขวาง ในการสอบแต่ละครั้ง เช่น O-NET GAT PAT หรือ 7วิชาสามัญ ให้เป็นไปตามมาตรฐานทางวิชาการที่คนในสังคมสามารถยอมรับได้ เพื่อสร้างความมั่นใจให้กับสังคม ว่าสทศ.มีมาตรฐานเพียงพอที่จะทำการจัดการทดสอบเพื่อวัดมาตรฐานของการศึกษาในระดับอุดมศึกษาหรือสูงกว่า ที่ยังไม่เคยมีการจัดทดสอบมาก่อน ต่อไป