Quantcast
Channel: พันศักดิ์ วิญญรัตน์
Viewing all articles
Browse latest Browse all 14385

จับตาวาระ กสทช.: ซุปเปอร์บอร์ดเสนอรายงานประเมิน กสทช. ปี 56

$
0
0

ประชุม กสทช.พุธนี้ ซุปเปอร์บอร์ดเสนอรายงานประเมิน กสทช.ประจำปี 2556  พิจารณาร่างประกาศประมูลคลื่น 1800  - พร้อมถกต่อ ร่างประมวลจริยธรรมบอร์ด

<--break- />22 เม.ย.2557 ในการประชุมคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) ครั้งที่ 4/2557 ในวันพรุ่งนี้ (23 เม.ย.2557) มีวาระน่าจับตาได้แก่ รายงานการติดตาม ตรวจสอบ และประเมินผลการปฏิบัติงาน กสทช. ประจำปี 2556 ของคณะกรรมการติดตามและประเมินผลการปฏิบัติงาน (กตป.) หรือซุปเปอร์บอร์ด ตามพระราชบัญญัติองค์กรจัดสรรคลื่นความถี่และกำกับการประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม พ.ศ. 2553 ในมาตรา 72 ได้กำหนดให้ กตป.มีอำนาจหน้าที่ตรวจสอบและรายงานผลการดำเนินการและบริหารงานของกสทช. กสท. กทค. สำนักงานกสทช. และเลขาธิการกสทช. แล้วแจ้งผลให้ กสทช.ทราบภายใน 90 วันนับตั้งแต่แต่วันสิ้นปีบัญชี  รวมทั้งให้ กสทช. นำรายงานดังกล่าวเสนอต่อรัฐสภาพร้อมรายงานผลการปฏิบัติงานประจำปีตามมาตรา 76 และต้องเปิดเผยรายงานดังกล่าวให้ประชาชนทราบทางระบบเครือข่ายสารสนเทศของสำนักงาน กสทช. หรือวิธีการอื่นที่เห็นสมควร

นางสาวสุภิญญา กล่าวว่า “รายงานการประเมินของ กตป. มีหลายประเด็นน่าสนใจที่สำนักงานควรนำมาพิจารณาให้ความสำคัญ อย่างเรื่อง การเปิดเผยข้อมูลต่อประชาชนทางระบบเครือข่ายสาระสนเทศตามาตรา 59 ที่ยังล่าช้าและไม่ครบถ้วน อาทิ ข้อมูลด้านรายละเอียด เงื่อนไขการประกอบกิจการ รายงานผลการศึกษาวิจัย ข้อมูลเรื่องร้องเรียนตามกฎหมาย ซึ่ง กตป.เสนอว่า เพื่อแสดงถึงความโปร่งใสมีหลักธรรมาภิบาล ต้องให้ความสำคัญต่อการเปิดเผยข้อมูลตามกฎหมายในระยะเวลาที่เหมาะสม คือ 30 วัน ซึ่งในรายงานยังพบว่า มีตัวชี้วัดบางเรื่องที่ยังไม่แล้วเสร็จและเกี่ยวข้องกับงานคุ้มครองผู้บริโภค และระบบร้องรับเรื่องร้องเรียนและแก้ไขปัญหาแบบเบ็ดเสร็จในจุดเดียว (One-stop-service) นอกจากนี้ การประเมินตนเองของสำนักงาน และการกำหนดตัวชี้วัดที่อาจทำให้ไม่สามารถประเมินประสิทธิภาพการปฏิบัติงานได้ รวมทั้งการจัดทำงบประมาณและผลการใช้จ่ายงบประมาณขาดความเชื่อมโยงกับแผนแม่บทและแผนต่างๆ ของ กสทช.”

ส่วนความเห็นด้านกิจการกระจายเสียงและโทรทัศน์ นางสาวสุภิญญา กล่าวเพิ่มเติมว่า  “มีข้อสังเกตเพิ่มเติมที่เกี่ยวข้องกับทีวีดิจิตอล ทั้งในเรื่องการกำหนดมาตรฐานสำหรับราคากล่องรับสัญญาณ (Set-Top-Box) การจัดสรรคลื่นให้ภาคประชาชนไม่น้อยกว่าร้อยละ 20 ตามเจตนารมณ์ของกฎหมาย รวมถึงการปรับเงื่อนไขการปรับลดสัดส่วนเนื้อหา ในช่องหมวดข่าวสารสาระจากร้อยละ 70 ให้เหลือไม่น้อยกว่าร้อยละ 50 ที่อาจทำให้มีผลต่อการรับรู้ข่าวสารข้อมูลผู้บริโภค หรือไม่ควรศึกษาเพิ่มเติมด้วย และอีกหลายประเด็นที่เป็นข้อสังเกตด้านการกำกับดูแล ซึ่งหลังมีมติแล้ว สำนักงานจะต้องเผยแพร่รายงานการประเมินนี้ต่อสาธารณะตามกฎหมายต่อไป”

นอกจากนี้ วาระที่ค้างไว้ซึ่งยังต้องถกต่อ ได้แก่ “ร่างประมวลจริยธรรมของกรรมการ กสทช.” เสนอโดยคณะอนุกรรมการพิจารณาปรับปรุงระเบียบการบริหารงานภายในของสำนักงาน กสทช. ซึ่งการเสนอครั้งนี้พร้อมความเห็นของกรรมการเสียงส่วนใหญ่ว่า ไม่ประสงค์จะแก้ไขร่างประมวลจริยธรรม ในขณะที่นางสาวสุภิญญา และนายประวิทย์ สอง กสทช.ด้านส่งเสริมสิทธิเสรีภาพและคุ้มครองผู้บริโภค ได้ทำความเห็นเพิ่มเติมในประเด็นสำคัญ ที่พบว่าอาจมีบางถ้อยคำที่แสดงเจตจำนงในการพยายามปิดกั้นการแสดงความคิดเห็นของกรรมการที่เสียงแตกต่าง รวมทั้งข้อคำถาม และข้อคิดเห็นต่อร่างฯนี้ไว้

ส่วนวาระอื่นๆ ได้แก่ วาระนโยบายและแผนยุทธศาสตร์กองทุนวิจัยและพัฒนากิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม เพื่อประโยชน์สาธารณะ พ.ศ. 2557 – 2559 

วาระด้านโทรคมนาคมน่าจับตา ได้แก่ ร่างประกาศ กสทช. เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการอนุญาตให้ใช้คลื่นความถี่ สำหรับกิจการโทรคมนาคม ย่าน 1710 – 1722.5 MHz/ 1805 – 1817.5 MHz และ 1784 – 1760.5 MHz/1843 – 1588.5 MHz พ.ศ. ... และร่างประกาศ กสทช. เรื่อง แผนความถี่วิทยุกิจการโทรคมนาคมเคลื่อนที่สากล(International Mobile Telecommunications – IMT) ย่านความถี่ 1710 – 1785/1805 – 1880 เมกะเฮิรตซ์ (MHz) ส่วนวาระการพิจารณาที่เกี่ยวข้องกับการสนับสนุนเปลี่ยนผ่านทีวีดิจิตอล ในเรื่องสำคัญต่างๆ ทั้งราคา และแผนการแจกคูปอง ยังไม่มีการนำเข้าประชุมในวันพรุ่งนี้ โดยจะนัดประชุมรอบพิเศษต่อไป 

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

Viewing all articles
Browse latest Browse all 14385

Trending Articles