Quantcast
Channel: พันศักดิ์ วิญญรัตน์
Viewing all articles
Browse latest Browse all 14385

สปสช.ย้ำเจ็บป่วยฉุกเฉินช่วงสงกรานต์รักษา รพ.ใกล้จุดเกิดเหตุได้ทุกแห่ง

$
0
0
 
11 เม.ย. 2557 นายแพทย์วินัย สวัสดิวร เลขาธิการสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ(สปสช.) กล่าวว่า ช่วงเทศกาลสงกรานต์ระหว่างวันที่ 12-16 เมษายน 2556 ซึ่งเป็นวันหยุดยาว จะมีประชาชนจำนวนมากหลั่งไหลเดินทางไปยังจังหวัดต่างๆ ทั้งท่องเที่ยว กลับบ้าน และเยี่ยมญาติ ส่งผลให้ยอดการเกิดอุบัติเหตุ โดยเฉพาะบนท้องถนนทั้งสายหลักและสายรองเพิ่มขึ้นเป็นประจำทุกปีเช่นกัน จากรายงานสถิติอุบัติเหตุช่วงเทศกาลสงกรานต์ ปี 2556 กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ปภ.) พบว่า ช่วงการเฝ้าระวังอุบัติหตุในช่วง 7 วันอันตราย มีอุบัติเหตุเกิดขึ้นทั้งหมด 2,828 ครั้ง บาดเจ็บ 3,040 คน และเสียชีวิตทั้งสิ้น 321 ราย สาเหตุทั้งจากเมาสุรา ขับรถเร็วเกินกำหนด ตัดหน้ากระชั้นชิด ขับขี่มอเตอร์ไซค์ไม่ปลอดภัย ทัศนวิสัยไม่ดี และหลับใน (ตามลำดับ) ส่งผลให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องภาครัฐและเอกชนต่างร่วมกันรณรงค์เพื่อป้องกันอุบัติเหตุ เพื่อลดจำนวนผู้บาดเจ็บและเสียชีวิต
 
นายแพทย์วินัย กล่าวว่า ในด้านการรักษาพยาบาลนั้น สปสช.ในฐานะหน่วยงานที่ดูแลการเข้าถึงการรักษาของคนไทย กรณีที่ประสบเหตุอุบัติเหตุและเจ็บป่วยฉุกเฉินนั้น ที่ผ่านมา สปสช.ได้ร่วมบูรณาการ 3 กองทุนสุขภาพ ได้แก่ ระบบสวัสดิการข้าราชการ ระบบประกันสังคม และระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า เพื่อดูแลผู้ป่วยกลุ่มนี้ตามนโยบายของรัฐบาลตั้งแต่ปี 2555 ทำให้ผู้ป่วยภาวะวิกฤตฉุกเฉินได้รับการรักษาพยาบาลเร่งด่วนเพื่อช่วยชีวิต เนื่องจากสามารถเข้ารักษายังหน่วยบริการใกล้จุดเกิดเหตุที่สุดทั้งของภาครัฐหรือเอกชน ก่อนส่งต่อไปรักษาต่อยังหน่วยบริการประจำต่อไป
 
"การใช้สิทธิการเจ็บป่วยฉุกเฉินดังกล่าวนั้น ไม่ต้องถามสิทธิ์ และไม่จำกัดจำนวนครั้ง ขึ้นอยู่กับความจำเป็นเพื่อให้ประชาชนเข้าถึงบริการรักษาพยาบาลในภาวะฉุกเฉินที่เป็นไปตามเกณฑ์ที่กำหนด เน้นผู้ป่วยวิกฤตถึงแก่ชีวิต  ซึ่งกรณีอุบัติเหตุบาดเจ็บและเจ็บป่วยฉุกเฉินในระหว่างเดินทางช่วงสงกรานต์ ประชาชนสามารถเข้ารักษาพยาบาลยังหน่วยบริการที่ใกล้ที่สุดตามนโยบายนี้ได้ ทั้งนี้หากพบเหตุฉุกเฉินหรืออุบัติเหตุโทรแจ้ง 1669 ทั่วประเทศเพื่อขอรับความช่วยเหลือ” เลขาธิการสปสช.กล่าวและว่า ทั้งนี้ในการจัดบูรณาการเจ็บป่วยฉุกเฉินนี้ รวมถึงการรักษาพยาบาลของกลุ่มข้าราชการพนักงานส่วนท้องถิ่น (อปท.) ที่ได้มอบให้ สปสช.เป็นผู้บริหารจัดการกองทุนรักษาพยาบาล เริ่มตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2556 ส่งผลให้เข้าถึงการรักษาพยาบาลมากขึ้น
 
นายแพทย์วินัย กล่าวต่อว่า สำหรับผู้ที่เดินทางไปต่างจังหวัดและมีความจำเป็นต้องเข้ารักษาที่โรงพยาบาลจากอาการป่วยกระทันหัน เช่น ความดันโลหิตสูง ปวดศีรษะมาก ท้องเสียรุนแรง ซึ่งเป็นอาการเจ็บป่วยที่ไม่อยู่ในเกณฑ์เจ็บป่วยฉุกเฉินวิกฤตถึงแก่ชีวิต สามารถเข้ารับบริการยังโรงพยาบาลของรัฐได้ ไม่ต้องสำรองจ่าย แต่หากประสบอุบัติเหตุเป็นเหตุฉุกเฉินวิกฤติถึงแก่ชีวิต สามารถเข้ารักษาได้ทุกโรงพยาบาลที่อยู่ใกล้ได้ทันทีและไม่ต้องสำรองจ่ายเช่นกัน หากมีข้อสงสัยสามารถสอบถามได้ที่สายด่วน สปสช. โทร. 1330 หรือ สายด่วน 1669 ได้ทั่วประเทศ
ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

Viewing all articles
Browse latest Browse all 14385

Trending Articles