Quantcast
Channel: พันศักดิ์ วิญญรัตน์
Viewing all articles
Browse latest Browse all 14385

โฆษก สตช. ระบุผู้ร่วมรายการ 'ตอบโจทย์'บางคนเข้าข่ายผิดกฎหมาย

$
0
0

"เฉลิม อยู่บำรุง"สั่ง ผบ.สตช. ถอดเทปละเอียด พร้อมดำเนินคดีทั้งพิธีกรและผู้ร่วมรายการถ้ามีความผิด ด้านโฆษกสำนักงานตำรวจแห่งชาติระบุจากการตรวจสอบเบื้องต้น บางช่วงเข้าข่ายผิด จึงตั้ง พนง.สืบสวนสอบสวนเพราะเป็นเรื่องความมั่นคงแห่งราชอาณาจักร

ภาพคัดลอกจากเว็บของสถานีโทรทัศน์ไทยพีบีเอส ซึ่งคืนวันที่ 18 มี.ค. ได้ออกอากาศรายการตอบโจทย์ประเทศไทย หัวข้อ "สถาบันพระมหากษัตริย์ภายใต้รัฐธรรมนูญ"ตอนที่ 5 ซึ่่งเป็นตอนสุดท้าย โดยเป็นการดีเบตระหว่างสมศักดิ์ เจียมธีรสกุล และ ส.ศิวรักษ์ ตอนสุดท้าย หลังจากเลื่อนออกอากาศตอนดังกล่าวมาจากวันที่ 15 มี.ค.

 

ต่อกรณีที่มีการเผยแพร่รายการ "ตอบโจทย์ประเทศไทย"ตอน "สถาบันพระมหากษัตริย์ ภายใต้รัฐธรรมนูญ"ดำเนินรายการโดยนายภิญโญ ไตรสุริยธรรมา ทางสถานีโทรทัศน์ไทยพีบีเอสนั้น ล่าสุด ข่าวสดรายงานคำพูดของ ร.ต.อ.เฉลิม อยู่บำรุง รองนายกรัฐมนตรี ที่กล่าวว่า ถือเป็นเรื่องไม่ดี และได้สั่งการให้ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติถอดเทปอย่างละเอียด และพิมพ์มาเป็นรายงาน ตนจะอ่านเองพร้อมกับทีมกฎหมายและจะดำเนินคดีทั้งพิธีกรและผู้ร่วมดำเนินรายการ ถ้ามีความความผิด ส่วนที่อ้างว่าเป็นการละเมิดสิทธิ์นั้น ถือเป็นหน้าที่ของรัฐบาลตามกฎหมายรัฐธรรมนูญ มาตรา 77 ที่ต้องปกป้องสถาบันพระมหากษัตริย์

ด้านมติชนออนไลน์รายงานว่า พล.ต.ต.ปิยะ อุทาโย โฆษกสำนักงานตำรวจแห่งชาติ เปิดเผยว่า กรณีที่สถานีโทรทัศน์ไทยพีบีเอส ได้เสนอรายการ “ตอบโจทย์ประเทศไทย” เมื่อวันที่ 11 – 14 และ 18 มี.ค. 2556 จากการตรวจสอบเบื้องต้นพบว่าคำกล่าวของของผู้ร่วมรายการบางท่าน ในรายการดังกล่าวบางช่วงบางตอน เป็นการกระทำที่มีลักษณะเข้าข่ายน่าจะเป็นความผิดตามกฎหมาย ซึ่งสำนักงานตำรวจแห่งชาติ พิจารณาแล้วเห็นว่าเรื่องดังกล่าวเป็นเรื่องสำคัญเกี่ยวกับความมั่นคงแห่งราชอาณาจักร และอยู่ในความสนใจของประชาชน จึงแต่งตั้งพนักงานสืบสวนสอบสวนดังนี้

1.พล.ต.อ.ชัชวาลย์ สุขสมจิตร์ ที่ปรึกษา (กม 1) เป็นหัวหน้าพนักงานสืบสวนสอบสวน

2.พล.ต.ท.สฤษฎ์ชัย เอนกเวียง ผู้บัญชาการตำรวจสันติบาล เป็นรองหัวหน้าพนักงานสืบสวนสอบสวน

โดยมีพนักงานสืบสวนสอบสวนจากหน่วยต่างๆที่เกี่ยวข้องเป็นคณะทำงานในคำสั่งดังกล่าว ได้แก่ สำนักงานกฎหมายและคดี, สำนักงานยุทธศาสตร์ตำรวจ, กองบัญชาการตำรวจนครบาล และ กองบัญชาการตำรวจสันติบาล

ทั้งนี้ให้พนักงานสืบสวนสอบสวนดังกล่าว มีหน้าที่สืบสวนสอบสวนตามประมวลวิธีพิจารณาความอาญา ให้เสร็จสิ้นโดยด่วน และหากการสืบสวนสอบสวนพบว่ามีการกระทำผิดฐานอื่น หรือมีผู้อื่นร่วมกระทำความผิดก็ให้มีอำนาจดำเนินการและหาตัวผู้กระทำผิด แล้วรายงานให้สำนักงานตำรวจแห่งชาติทราบทุกระยะ 30 วัน นอกจากนี้หากมีผู้ร้องทุกข์หรือกล่าวโทษต่อพนักงานสอบสวนในพื้นที่อื่นใด ให้พนักงานสืบสวนสอบสวนตามคำสั่งนี้เป็นพนักงานผู้รับผิดชอบ

รายการ "ตอบโจทย์ประเทศไทย"ดำเนินรายการโดยภิญโญ ไตรสุริยธรรมา ออกอากาศทางสถานีโทรทัศน์สาธารณะ "ไทยพีบีเอส"ตลอดทั้งสัปดาห์นี้ตั้งแต่วันที่ 11 มี.ค. เป็นต้นมา ได้มีการออกอากาศในหัวข้อ "สถาบันพระมหากษัตริย์ภายใต้รัฐธรรมนูญ"โดยมีแผนออกอากาศ 5 วัน ได้แก่

ทั้งนี้โฆษกสำนักงานตำรวจแห่งชาติไม่ได้ระบุว่า "ผู้ร่วมรายการบางท่าน"ที่มีคำกล่าวเข้าข่ายผิดกฎหมายคือใคร แต่สำหรับผู้ร่วมรายการทั้ง 5 วันดังกล่าวประกอบด้วย  1. สุรเกียรติ์ เสถียรไทย อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ออกอากาศวันที่ 11 มี.ค. 2.สมศักดิ์ เจียมธีรสกุล นักวิชาการประวัติศาสตร์ คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ออกอากาศวันที่ 12 มี.ค. 3.พล.ต.อ.วสิษฐ เดชกุญชร นักเขียนและนายตำรวจราชสำนักประจำ ออกอากาศวันที่ 13 มี.ค.

และ 4.การอภิปรายระหว่างสมศักดิ์ เจียมธีรสกุล กับสุลักษณ์ ศิวรักษ์ หรือ ส.ศิวรักษ์ ออกอากาศวันที่ 14 มี.ค. และวันที่ 15 มี.ค. แต่ต่อมามีการเลื่อนการออกอากาศมาเป็น 18 มี.ค.

 

 
กสทช.ระบุ เริ่มสอบสวนเนื้อหา "ตอบโจทย์"แล้วหลังมีผู้วิจารณ์ว่าเกี่ยวข้องกับสถาบันกษัตริย์

นอกจากนี้ พล.ท.พีระพงษ์ มานะกิจ กรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) ในฐานะประธานอนุกรรมการด้านผังรายการและเนื้อหารายการ ได้แถลงในกรณี สถานีโทรทัศน์องค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทย (ไทยพีบีเอส) ชะลอการออกอากาศรายการ ตอบโจทย์ประเทศไทย โดยกล่าวว่า "ในฐานะประธานอนุกรรมการฯ ได้ดำเนินการตามมติของที่ประชุม คณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ (กสท.) ให้สอบสวนในเรื่องดังกล่าว จึงได้เชิญผู้อำนวยการของไทยพีบีเอสมาให้ข้อมูล ในเรื่องของกระบวนการ และผลจากการรับฟังข้อมูลปรากฏว่า เป็นการตัดสินใจชะลอการออกอากาศตอนที่ 5 บนพื้นฐานของการดูแล รับผิดชอบและการรักษาความปลอดภัยของสถานีและผู้ปฏิบัติงานในสถานี เนื่องจากในวันที่ 15 มีนาคม มีประชาชนที่ไม่พอใจไปที่สถานีจำนวนมาก และเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ และการเจรจาก็ไม่ประสบความสำเร็จ หากไม่ตัดสินใจให้เป็นที่พอใจแก่ประชาชนที่ไม่พอใจ เกรงว่าจะเกิดความรุนแรง ดังนั้นการตัดสินใจ จึงชอบด้วยเหตุผลในสถานการณ์ตอนนั้น ส่วนการนำกลับมาออกอากาศก็เป็นกระบวนการของทางสถานีอีกเช่นกัน ว่าเห็นชอบให้นำมาออกอากาศ เมื่อสถานการณ์ปลอดภัยแล้วในวันที่ 18 มีนาคม"

"ส่วนเรื่องเนื้อหา เนื่องจากยังมีข้อวิพากษ์วิจารณ์จากสังคมว่า มีความเกี่ยวข้องกับสถาบันพระมหากษัตริย์ ดังนั้น อนุกรรมการด้านผังรายการและเนื้อหารายการ จึงได้เริ่มกระบวนการพิจารณาสอบสวนในด้านเนื้อหา และได้ขอเทปทุกตอนจากผู้อำนวยการสถานีมาพิจารณาแล้ว"

พล.ท.พีระพงษ์ กล่าวด้วยว่า "หนึ่ง เสรีภาพของสื่อเป็นสิ่งที่ต้องได้รับการประกัน อย่างไรก็ตามเสรีภาพต้องมีขอบเขต เช่น การทำรายการต้องดูว่าขัดต่อกฎหมายอื่นใดหรือไม่ สอง จริยธรรมของคนทำสื่อต้องมีความเป็นกลาง ไม่ฝักใฝ่ฝ่ายใด สาม สื่อต้องมีความรับผิดต่อสังคม ยกตัวอย่าง การทำรายการสักรายการหนึ่ง ต้องนึกถึงผลกระทบต่อสังคม และต้องมีความรับผิดชอบต่อสังคม เช่น ประเด็นว่าถ้าทำรายการนั้นแล้ว สังคมจะเกิดความแตกแยก อันนำไปสู่ความรุนแรง จะต้องพิจารณาว่า เส้นแบ่งระหว่างเสรีภาพนั้น ความรับผิดชอบต่อสังคมอยู่ตรงไหน"

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

Viewing all articles
Browse latest Browse all 14385

Trending Articles