Quantcast
Channel: พันศักดิ์ วิญญรัตน์
Viewing all articles
Browse latest Browse all 14385

[ข้อมูลประกอบข่าว] ค้านยุบ กอช. - ตารางเปรียบเทียบหลักเกณฑ์เดิมของ กอช.

$
0
0

ตารางเปรียบเทียบหลักเกณฑ์เดิมของกองทุนการออมแห่งชาติ
และหลักเกณฑ์ใหม่ภายใต้กองทุนประกันสังคม มาตรา ๔๐ ทางเลือกที่ ๓
(ประกอบบันทึกความเห็นและข้อเสนอแนะ เรื่อง ร่างพระราชบัญญัติยุบเลิกกองทุนการออมแห่งชาติ พ.ศ. ....)

ประเด็นพ.ร.บ. กองทุนการออมแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๕๔พ.ร.บ. ประกันสังคม พ.ศ. ๒๕๓๓ มาตรา ๔๐ ทางเลือกที่ ๓
๑. วัตถุประสงค์ของกองทุน- เพื่อส่งเสริมการออมเพื่อการชราภาพ และเป็นหลักประกันการจ่ายบำนาญและให้ประโยชน์ตอบแทนแก่สมาชิก- เพื่อเป็นทุนใช้จ่ายให้ผู้ประกันตนได้รับประโยชน์ทดแทนกรณีชราภาพ
๒. การบริหารจัดการกองทุน

- บริหารโดยคณะกรรมการกองทุนการออมแห่งชาติ และมีคณะอนุกรรมการการลงทุนให้คำปรึกษาด้านการลงทุน

- คณะกรรมการ กอช. ประกอบด้วย กรรมการโดยตำแหน่ง กรรมการที่ได้รับเลือกจาก สมาชิก ๖คน ผู้รับบำนาญ ๑ คนและผู้ทรงคุณวุฒิ ๔ คน

- การเลือกกรรมการกอช.ที่เป็นสมาชิกและผู้รับบำนาญโดยคำนึงถึงการกระจายตัวในทุกภูมิภาค และความเท่าเทียมกันระหว่างหญิงชาย

- กำหนดให้คณะกรรมการ กอช. แต่งตั้งคณะอนุกรรมการการลงทุน 

- บริหารโดยคณะกรรมการประกันสังคม  คณะอนุกรรมการพัฒนาระบบบริหารมาตรา ๔๐ และมีคณะอนุกรรมการบริหารการลงทุนให้คำปรึกษาด้านการลงทุน

- คณะกรรมการประกันสังคมเป็นระบบไตรภาคี ประกอบด้วย กรรมการโดยตำแหน่ง ผู้แทนฝ่ายนายจ้าง และผู้แทนฝ่ายลูกจ้าง ซึ่งมาจากผู้แทนของสหภาพแรงงาน รัฐมนตรีแต่งตั้งผู้ทรงคุณวุฒิเป็นที่ปรึกษา

๓. เลขาธิการกองทุน

- คณะกรรมการกอช.พิจารณาแต่งตั้ง เลขาธิการ และรองเลขาธิการด้านการลงทุน โดยไม่ต้องได้รับความเห็นชอบจากรัฐมนตรี

- เลขาธิการมีคุณสมบัติที่พระราชบัญญัติกำหนด เช่น สามารถทำงานเต็มเวลา  ไม่เคยถูกปลดออก ไล่ออกเพราะเหตุทุจริตต่อหน้าที่ ไม่ส่วนได้เสียในกิจการหรือสัญญากับกองทุนฯ

- การดำรงตำแหน่งและเงื่อนไขการทำงานเป็นไปตามสัญญาจ้างที่คณะกรรมการกำหนด มีสัญญาจ้างคราวละไม่เกิน ๔ ปี ต่อได้ไม่เกิน ๔ ปี 

- เป็นข้าราชการ พลเรือนประเภทบริหารระดับสูงโดยกระทรวงแรงงาน เสนอให้คณะรัฐมนตรีแต่งตั้ง

- ไม่มีคุณสมบัติ เงื่อนไข และไม่มีวาระดำรงตำแหน่งชัดเจน  การออกจากตำแหน่งเพราะเกษียณอายุหรือถูกโยกย้ายโดยมติครม.

๔. การจัดตั้งและสถานะของกองทุน- ให้จัดตั้งกองทุนการออมแห่งชาติ เป็นหน่วยงานของรัฐและมีฐานะเป็นนิติบุคคลที่ไม่เป็นส่วนราชการหรือรัฐวิสาหกิจ- เป็นกองทุนในสำนักงานประกันสังคม ซึ่งเป็นส่วนราชการ
๕. คุณสมบัติสมาชิก- บุคคลสัญชาติไทย อายุ ๑๕- ๖๐ ปี และ ไม่อยู่ในระบบบำเหน็จบำนาญ ที่มีการสมทบเงินจากรัฐหรือนายจ้าง- อายุ ๑๕–๖๐ ปี และไม่เป็นผู้ประกันตน ตามมาตรา ๓๓ (เช่น ลูกจ้างของสถานประกอบการ พนักงานบริษัทเอกชน) และมาตรา ๓๙ (ผู้ที่พ้นสภาพการเป็นผู้ประกันตนตามมาตรา ๓๓ แต่ประสงค์ที่จะส่งเงินต่อ)
๖) เงินสมทบจากสมาชิก

- สมาชิกจ่ายเงินออมไม่ต่ำกว่าครั้งละ ๕๐ บาท แต่เมื่อรวมกันแล้วในปีหนึ่งๆ ต้องไม่เกินจำนวนที่จะกำหนดในกฎกระทรวง (๑๓,๒๐๐ บาท/ปี)

- ไม่ต้องสะสมเท่ากันทุกเดือน หรือเดือนไหนไม่สะสม รัฐบาลก็จะไม่สมทบ

- เมื่อได้งานเป็นลูกจ้างเอกชนที่เข้าสู่ระบบประกันสังคมหรือข้าราชการ ยังคงเป็นสมาชิก มีสิทธิส่งเงินสะสมได้ แต่รัฐบาลไม่สมทบจนกว่ากลับเป็นแรงงานนอกระบบและส่งเงินสมทบตามกองทุนนี้

- ผู้ประกันตนสมทบเงินเข้ากองทุนประกันสังคมไม่ต่ำกว่าเดือนละ ๑๐๐ บาท แต่สูงสุดไม่เกินเดือนละ ๑,๐๐๐ บาท
๗) เงินสมทบจากรัฐ

- รัฐบาลจ่ายเงินสมทบตามระดับอายุของสมาชิก และเป็นอัตราส่วนกับจำนวนเงินสะสม โดยไม่เกินเงินสมทบตามที่จะกำหนดในกฎกระทรวง ซึ่งจะไม่เกินกว่าจำนวนเงินสมทบสูงสุดที่กำหนดในบัญชีแนบท้าย พระราชบัญญัติ กอช.

- อายุ ๑๕- ๓๐ ปี รัฐสมทบร้อยละ ๕๐ แต่ไม่เกินปีละ ๖๐๐  บาท (ไม่เกิน ๓,๐๐๐ บาทตาม พ.ร.บ.)

- อายุ ๓๑-๕๐ ปี รัฐสมทบร้อยละ๘๐  แต่ไม่เกินปีละ ๙๖๐ บาท

(ไม่เกิน ๔,๘๐๐ บาทตามพระราชบัญญัติฯ)

- อายุ ๕๐ ปีขึ้นไป รัฐสมทบร้อยละ ๑๐๐ แต่ไม่เกินปีละ ๑,๒๐๐ บาท

(ไม่เกิน ๖,๐๐๐ บาทตามพระราชบัญญัติฯ)

- ในระยะแรกรัฐบาลมีนโยบายอุดหนุนให้ ๑๐๐ บาท และผู้ประกันตนจ่าย ๑๐๐ บาทต่อเดือน (รัฐสมทบร้อยละ ๑๐๐ คิดเป็นจำนวนเงินไม่เกิน ๑,๒๐๐ บาทต่อปี)

- มาตรา ๔๐ทางเลือกที่ ๓ใช้หลักเกณฑ์กอช.และปรับให้สอดคล้องกับพ.ร.บ.ประกันสังคมฯให้ความคุ้มครองเฉพาะกรณีชราภาพ (บำนาญ-บำเหน็จ)

๗) ประโยชน์ทดแทนที่สมาชิกจะได้รับ- สมาชิกมีสิทธิ์ได้รับบำนาญเมื่ออายุครบ ๖๐ ปี หรือหากออมน้อยจนทำให้บำนาญที่คำนวณได้มีจำนวนน้อยกว่าเงินดำรงชีพ (จำนวนเงินดำรงชีพกำหนดในกฎกระทรวง) สมาชิกจะได้รับ เงินดำรงชีพเป็นรายเดือน จนกว่าเงินในบัญชีจะหมดไป

- ประโยชน์ทดแทน ๑ กรณี คือ บำเหน็จ หรือบำนาญเมื่ออายุครบ ๖๐ ปีและแจ้งยุติการเป็นผู้ประกันตน

(๑) รับบำนาญเมื่อจ่ายเงินสมทบเป็นเวลาไม่น้อยกว่า๔๒๐ เดือน โดยไม่จำเป็นต้องจ่ายติดต่อกันทุกเดือน

(๒) รับบำเหน็จเมื่อจ่ายเงินสมทบเป็นเวลาน้อยกว่า ๔๒๐ เดือน

๘) การสิ้นสมาชิกภาพ

- อายุครบ ๖๐ ปี

- ตาย

- ลาออก

- อายุครบ ๖๐ ปี และไม่ประสงค์เป็นผู้ประกันตนต่อ

- ตาย

- ลาออก

๙) การค้ำประกัน ผลตอบแทน

- รัฐบาลจะรับประกันให้สมาชิกได้รับผลตอบแทนไม่น้อยกว่าอัตราดอกเบี้ย

เงินฝากประจำประเภท ๑๒ เดือน

โดยเฉลี่ยของธนาคารพาณิชย์แห่งใหญ่ ๕ แห่ง ธนาคารออมสิน และธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร โดยจะคำนวณเปรียบเทียบผลตอบแทนที่ได้รับกับอัตราดอกเบี้ยเงินฝากประจำดังกล่าวในวันที่สมาชิกสิ้นสมาชิกภาพเพราะอายุครบ ๖๐ ปี หรือเสียชีวิต

- ไม่ค้ำประกันผลตอบแทน ซึ่งการลงทุนจะเป็นไปตามแนวทางของสำนักงานประกันสังคม (ลงทุนในสินทรัพย์เสี่ยงไม่เกินร้อยละ ๔๐ ของเงินกองทุน)
๑๐) บทเฉพาะกาล

๑. ในวาระเริ่มแรกให้รัฐบาลจัดสรรเงินเข้าบัญชีเงินกองกลางจำนวน ๑,๐๐๐ ล้านบาท เพื่อเป็นค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานของกองทุน

๒. ให้มีคณะกรรมการคณะหนึ่งทำหน้าที่คณะกรรมการ กอช. และให้ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการคลังทำหน้าที่เลขาธิการ กอช. ไปพลางก่อน

๓. ให้คัดเลือกกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ และแต่งตั้งเลขาธิการ กอช. ภายใน ๙๐ วันนับแต่วันที่ พ.ร.บ. มีผลใช้บังคับ

๔. ให้เลือกกรรมการซึ่งเป็นสมาชิกภายใน ๓๖๐ วันนับจากวันที่หมวด ๓  ใช้บังคับ (นับจากวันที่เปิดรับสมาชิก)

๕. ภายใน ๑ ปีนับแต่วันที่กองทุนเปิดรับสมาชิก หากในวันที่สมัครเข้าเป็นสมาชิก ผู้สมัครคนใดมีอายุ ๕๐ ปีบริบูรณ์ขึ้นไป ให้ผู้นั้นมีสิทธิเป็นสมาชิกของกองทุนต่อไปได้อีก ๑๐ ปีนับแต่วันที่เป็นสมาชิก

- ภายใน ๑ ปีนับแต่วันที่กองทุนเปิดรับผู้ประกันตนตามมาตรา ๔๐ ทางเลือกที่ ๓ กำหนดให้

- ผู้ที่อายุเกิน ๖๐ ปี มีสิทธิสมัครเป็นผู้ประกันตนได้

- ผู้ประกันตนและรัฐบาลจ่ายเงินสมทบย้อนหลังได้จนวันที่ ๑ พฤษภาคม ๒๕๕๕

** รวบรวมข้อมูลจาก

๑. เปรียบเทียบ กอช. และ กองทุนประกันสังคมมาตรา ๔๐ซ้ำซ้อน หรือ ซ้ำเสริม, บัณฑิตย์ ธนชัยเศรษฐวุฒิ๒๕๕๖.

๒. เปรียบเทียบหลักเกณฑ์เดิมของกองทุนการออมแห่งชาติและหลักเกณฑ์ใหม่ภายใต้กองทุนประกันสังคม มาตรา ๔๐ทางเลือกที่๓, สำนักนโยบายการออมและการลงทุนสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง, ๒๕๕๖.

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

Viewing all articles
Browse latest Browse all 14385

Trending Articles