Quantcast
Channel: พันศักดิ์ วิญญรัตน์
Viewing all articles
Browse latest Browse all 14385

สมาพันธ์แรงงาน ออกแถลงการณ์เรียกร้องรัฐจัดการปัญหาแรงงานข้ามชาติ

$
0
0

เมื่อวันที่ 21 ส.ค.56 สมาพันธ์แรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ (สรส.) คณะกรรมการสมานฉันท์แรงงานไทย (คสรท.)  เครือข่ายเพื่อแรงงานข้ามชาติ (MWRN.) มูลนิธิเพื่อสิทธิมนุษยชนและการพัฒนา (HRDF.) ได้ร่วมกันออกแถลงการณ์เรียกร้องให้รัฐบาลกำหนดความชัดเจนเกี่ยวกับแรงงานข้ามชาติ จากกรณีที่กำหนดให้มีการสิ้นสุดระยะเวลาการทำงานของแรงงานข้ามชาติ

“ปี พ.ศ. 2555 มีการจัดตั้งศูนย์เพื่อพิสูจน์สัญชาติ 7 แห่งทั่วประเทศ การจัดตั้งศูนย์เพื่อพิสูจน์สัญชาติย่อยๆ อีก 11 แห่ง พร้อมทั้งรัฐบาลได้ขยายกรอบของเวลาการพิสูจน์สัญชาติจนถึงวันที่ 11 สิงหาคม 2556 ที่ผ่านมามีแรงงานข้ามชาติเพียง 750,000 คนเท่านั้นทำงานที่ถูกต้อง และในจำนวนนี้มีแรงงานข้ามชาติเพียงแค่ 200,000 คน ที่เข้าถึงหลักประกันสังคมและหลักประกันทางสุขภาพ ทั้งๆ ที่รัฐบาลพม่าได้ออกหนังสือเดินทางให้กับแรงงานข้ามชาติสัญชาติพม่าให้เข้ามาทำงานในประเทศไทยกว่า 1.7 ล้านคน ตามข้อตกลง MOU เมื่อปี พ.ศ. 2546 ระหว่างรัฐบาลไทยและรัฐบาลพม่า แรงงานข้ามชาติสัญชาติพม่าที่อยู่ในประเทศไทยครบ 4 ปี จำเป็นต้องเดินทางกลับไปยังประเทศพม่าเป็นระยะเวลา 3 ปีก่อนที่เดินทางกลับเข้ามาทำงานใหม่ในประเทศไทยได้ แต่นโยบายนี้ไม่สามารถทำได้จริงในทางปฏิบัติไม่ว่าจะเป็น ตัวแรงงานเอง นายจ้าง หรือแม้แต่รัฐบาล เนื่องจากทุกฝ่ายคำนึงถึงด้านเศรษฐกิจเป็นหลัก” แถลงการณระบุ

แถลงการณ์ระบุข้อเรียกร้องต่อรัฐบาล คือ 1. ขอให้แรงงานข้ามชาติสามารถเข้าถึงประกันสังคมและหลักประกันสุขภาพได้มากขึ้น 2. ขอให้กำหนดนโยบายและแนวทางปฏิบัติให้ชัดเจนเกี่ยวกับแรงงานข้ามชาติที่ได้รับการพิสูจน์สัญชาติและแรงงานข้ามชาติที่เข้ามาทำงานในประเทศไทยผ่านระบบ MOU และแรงงาน ข้ามชาติที่เข้ามาทำงานในประเทศไทยหลังจาก 4 ปี พร้อมทั้งรณรงค์ให้แรงงานข้ามชาติ นายจ้าง และส่วนที่เกี่ยวข้องมีความเข้าใจที่ถูกต้องตรงกัน 3. ขอให้รัฐบาลสองประเทศดำเนินการจริงจังกับขบวนการนายหน้าค้าแรงงาน ข้ามชาติเพื่อให้แรงงานข้ามชาติไม่ถูกเอารัดเอาเปรียบ

===============================

 

แถลงการณ์ให้รัฐบาลกำหนดความชัดเจนเกี่ยวกับแรงงานข้ามชาติ

กรณีการสิ้นสุดระยะเวลาทำงานของแรงงานข้ามชาติ

 

ปัจจุบันมี จำนวนแรงงานข้ามชาติกว่า 3 ล้านคนทำงานอยู่ในประเทศไทย ในจำนวนนี้กว่า 80 เปอร์เซ็นต์ เป็นแรงงานข้ามชาติสัญชาติพม่า ตั้งแต่ปี 2523 ที่ผ่านมาแรงงานเหล่านี้เดินทางเพื่อเข้ามาทำงานในประเทศไทยโดยไม่มีเอกสาร แรงงานข้ามชาติส่วนมากทำงานประเภทงานสกปรกที่คนไทยปฏิเสธที่จะไม่ทำ และงานประเภทงานอันตราย พวกเขาถือ เป็นกำลังสำคัญในการขับเคลื่อนและพัฒนาเศรษฐกิจไทย แต่อย่างไรก็ตามคนงานเหล่านี้ยังคงเผชิญกับการเอารัดเอาเปรียบและนโยบายด้านแรงงานข้ามชาติที่ยังไม่ชัดเจน

เมื่อปี พ.ศ. 254 6 ได้มีการลงนามในข้อตกลงร่วมกันระหว่างรัฐบาล ( MOU) ในการยกสถานะแรงงานข้ามชาติที่ลักลอบเข้ามาทำงานในประเทศไทยให้เป็นแรงงานที่ถูกกฎหมาย จนเมื่อวันที่ 15 กรกฎาคม พ.ศ.2552 แรงงานข้ามชาติสัญชาติพม่าได้รับโอกาสในการพิสูจน์สัญชาติ โดยแรงงานข้ามชาติเหล่านี้จะต้องเป็นแรงงานข้าม ชาติที่มีเอกสารเป็นหนังสือเดินทางชั่วคราวประเภท 3 ปี ที่ใช้เดินทางได้เฉพาะในประเทศไทยและประเทศพม่าเท่านั้น วีซ่า 2 ปี ที่สามารถต่ออายุวีซ่าได้ทุกๆ สองปี และใบอนุญาตทำงาน ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2553 มีแรงงานพม่ากว่า 70,000 คนเดินทางเข้ามาทำงานในประเทศไทยโดยผ่านระบบ MOU

ปี พ.ศ. 2555 มีการจัดตั้งศูนย์เพื่อพิสูจน์สัญชาติ 7 แห่งทั่วประเทศ การจัดตั้งศูนย์เพื่อพิสูจน์สัญชาติย่อยๆ อีก 11 แห่ง พร้อมทั้งรัฐบาลได้ขยายกรอบของเวลาการพิสูจน์สัญชาติจนถึงวันที่ 11 สิงหาคม 2556 ที่ผ่านมามีแรงงานข้ามชาติเพียง 750,000 คนเท่านั้นทำงานที่ถูกต้อง และในจำนวนนี้มีแรงงานข้ามชาติเพียงแค่ 200,000 คน ที่เข้าถึงหลักประกันสังคมและหลักประกันทางสุขภาพ ทั้งๆ ที่รัฐบาลพม่าได้ออกหนังสือเดินทางให้กับแรงงานข้ามชาติสัญชาติพม่าให้เข้ามาทำงานในประเทศไทยกว่า 1.7 ล้านคน ตามข้อตกลง MOU เมื่อปี พ.ศ. 2546 ระหว่างรัฐบาลไทยและรัฐบาลพม่า แรงงานข้ามชาติสัญชาติพม่าที่อยู่ในประเทศไทยครบ 4 ปี จำเป็นต้องเดินทางกลับไปยังประเทศพม่าเป็นระยะเวลา 3 ปีก่อนที่เดินทางกลับเข้ามาทำงานใหม่ในประเทศไทยได้ แต่นโยบายนี้ไม่สามารถทำได้จริงในทางปฏิบัติไม่ว่าจะเป็น ตัวแรงงานเอง นายจ้าง หรือแม้แต่รัฐบาล เนื่องจากทุกฝ่ายคำนึงถึงด้านเศรษฐกิจเป็นหลัก

กล่าวคือ แรงงานข้ามชาติจำเป็นต้องทำงานอยู่ในประเทศไทยเพื่อทำงานหาเงินส่งกลับไปให้ครอบครัวที่ประเทศพม่า ส่วนนายจ้าง ไม่ต้องการสูญเสียคนงานที่มีทักษะในการทำงานอยู่แล้วโดยเฉพาะในช่วงขาดแคลนแรงงาน ในขณะที่รัฐบาลพม่ายังไม่พร้อมที่จะรับแรงงานสัญชาติพม่ากลับบ้านเกิดในช่วงพัฒนาและการเปิดประเทศ แต่ในทางกลับกัน มีข้อมูลปรากฏออกมาว่าแรงงานข้ามชาติสัญชาติพม่าที่ทำงานในประเทศไทย ครบ 4 ปี จะต้องเดินทางกลับไปประเทศพม่า อาจจะเป็นระยะเวลา 1 วัน 1 เดือน หรือ 1 ปี หากพวกเขาต้องการที่จะเดินทางกลับมาเข้ามาทำงานในประเทศไทยอย่างถูกต้องตามกฎหมาย แต่ทั้งนี้ก็ยังไม่มีนโยบายหรือคำประกาศของรัฐที่ชัดเจนออกมาให้เห็นในขณะนี้ แรงงานข้ามชาติสัญชาติสัญชาติพม่าหลายแสนคน ทำงานครบและเกินกำหนด 4 ปีแล้ว และไม่สามารถต่อวีซ่าเพื่อที่จะทำงานได้อีก จะเห็นได้ว่าผลลัพธ์ของนโยบายที่ไม่ชัดเจนของรัฐทำให้แรงงานข้ามชาติหลายแสนคนจากประเทศพม่ากำลังเผชิญกับชะตากรรมที่ท้าทายอยู่ในประเทศไทย คนงานถูกหลอก ถูกเอารัดเอาเปรียบและถูกขมขู่จากนายหน้าทั้งชาวไทยและชาวพม่า หรือแม้แต่จากบริษัทจัดหางานและเจ้าหน้าที่ของรัฐโดยการให้ข้อมูล ที่ไม่ถูกต้องชัดเจนเกี่ยวกับการต่ออายุวีซ่าหรือความจำเป็นในการเดินทางกลับไปประเทศพม่าแล้วกลับเข้าประเทศไทยใหม่อีกครั้งโดยผ่านขั้นตอนนายหน้าแบบระบบ MOU ที่มีค่าใช้จ่ายสูง ตอนนี้มีแรงงานข้ามชาติหลายคนยอมเสียค่าใช้จ่ายกว่า 15,000 บาท/ต่อคน (500 เหรียญสหรัฐ) ในการทำหนังสือเดินทางเล่มใหม่ หรือเพื่อเปลี่ยนชื่อและนามสกุลของตนเอง ซึ่งเป็นที่แน่นอนว่าจะมีผลต่อการใช้สิทธิประกันสังคมที่คนงานเหล่านั้นถืออยู่จากการทำหนังสือเดินทางเล่มใหม่ แต่ยังมีคนงานและนายจ้างเลือกที่จะใช้เอกสารปลอมและ ทิ้งหนังสือเดินทางและใบอนุญาตทำงานเล่มจริงเพื่อให้ตนเองมีสถานะผิดฏหมาย และในที่สุดนโยบายที่ให้คนงานอยู่ในประเทศไทยอย่างถูกต้องตามกฎหมายต้องล้มเหลวต่อไป

สมาพันธ์แรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ (สรส.) ร่วมดัวย คณะกรรมการสมานฉันท์แรงงานไทย (คสรท.) เครือข่ายเพื่อสิทธิแรงงานข้ามชาติ และมูลนิธิเพื่อสิทธิมนุษยชนและการพัฒนามีความกังวลอย่างมากต่อการพัฒนาในเชิงลบที่เป็นผลมาจากความไม่ชัดเจนต่อนโยบายด้านแรงงานข้ามชาติของรัฐดังนั้น จึงขอเรียกร้องให้รัฐบาลไทยและรัฐบาลพม่าตามข้อเรียกร้องดังต่อไปนี้

1. ขอให้รัฐบาลไทยมีการเปิดโอกาสให้แรงงานข้ามชาติสามารถเข้าถึงประกันสังคมและหลักประกันสุขภาพได้มากขึ้นพร้อมทั้งให้มีความชัดเจนในการดำเนินการเกี่ยวกับประกันสังคมและหลักประกันสุขภาพสำหรับแรงงานข้ามชาติ

2. ขอให้รัฐบาลไทยกำหนดนโยบายและแนวทางปฏิบัติให้ชัดเจนเกี่ยวกับแรงงานข้ามชาติที่ได้รับการพิสูจน์สัญชาติและแรงงานข้ามชาติที่เข้ามาทำงานในประเทศไทยผ่านระบบ MOU และแรงงาน ข้ามชาติที่เข้ามาทำงานในประเทศไทยหลังจาก 4 ปี พร้อมทั้งรณรงค์ให้แรงงานข้ามชาติ นายจ้าง และส่วนที่เกี่ยวข้องมีความเข้าใจที่ถูกต้องตรงกัน

3. ขอให้รัฐบาลไทยและรัฐบาลพม่าดำเนินการอย่างจริงจังกับขบวนการนายหน้าค้าแรงงาน ข้ามชาติเพื่อให้แรงงานข้ามชาติไม่ถูกเอารัดเอาเปรียบ

4. ขอให้รัฐบาลไทยและรัฐบาลพม่าเผยแพร่ข้อมูลให้ผู้ที่มีส่วนได้ส่วนเสียได้รับทราบอย่างทั่วถึง

 

สมาพันธ์แรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ (สรส.)

คณะกรรมการสมานฉันท์แรงงานไทย (คสรท.)

เครือข่ายเพื่อแรงงานข้ามชาติ (MWRN.)

มูลนิธิเพื่อสิทธิมนุษยชนและการพัฒนา (HRDF.)

วันที่ 21 สิงหาคม 2556

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

Viewing all articles
Browse latest Browse all 14385

Trending Articles