Quantcast
Channel: พันศักดิ์ วิญญรัตน์
Viewing all articles
Browse latest Browse all 14385

สถานการณ์แรงงานประจำสัปดาห์ 6 - 12 ส.ค. 2556

$
0
0

โอทอปเหนือโดนเต็มๆ ค่าแรง 300 บาท ทำวัตถุดิบ-ค่าแรง-ค่าขนส่งพุ่ง

ศูนย์วิจัยเศรษฐกิจและพยากรณ์ทางการเกษตร คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ เผยแพร่ผลการสำรวจความคิดเห็นของตัวแทนกลุ่มผู้ผลิตสินค้าโอทอปในหัวข้อ "ธุรกิจสินค้า OTOP ภาคเหนือ กับการเตรียมความพร้อมขู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน"ผ่าน www.maejopoll.mju.ac.th โดยระบุว่า จากการสำรวจความเห็นผู้ประกอบการ OTOP จำนวน 377 กลุ่ม ระหว่างวันที่ 1-29 กรกฎาคมที่ผ่านมา ในประเด็นความพร้อมด้านการแข่งขัน เมื่อเปิดประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนหรือเออีซี กลุ่มOTOP ถึง 74.3% มีความพร้อม เพราะเห็นว่าสินค้ามีคุณภาพ และได้มาตรฐาน มีเพียง 25.7% ที่ยังไม่มีความพร้อม เนื่องจากเห็นว่าผู้บริหารของกลุ่ม ยังไม่มีความรู้ด้านภาษาต่างประเทศเพียงพอ

รายงานยังระบุด้วยว่า กลุ่ม OTOP ที่มีความพร้อมมากที่สุด ส่วนใหญ่จะเป็นกลุ่มที่ผลิตสินค้าประเภทศิลปะประดิษฐ์ และของที่ระลึก รองลงมาเป็นกลุ่มสมุนไพรที่ไม่ใช่อาหาร เช่น เครื่องสำอางสมุนไพร ยาจากสมุนไพร สมุนไพรไล่ยุง

ส่วนกลุ่มที่มีความพร้อมน้อยที่สุด คือ กลุ่มผู้ผลิตสินค้าประเภทอาหาร เช่น ผลผลิตทางการเกษตรที่ใช้บริโภคสด หรือใช้เป็นวัตถุดิบ กลุ่มเครื่องดื่มทั้งที่มีและไม่มีแอลกอฮอล์

เมื่อสอบถามถึงผลดีของ OTOP เมื่อเปิดประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน พบว่า 91.2% เห็นว่าจะสามารถสร้างรายได้ให้กับประเทศไทยเพิ่มขึ้น ขณะที่ 83.8% เห็นว่าสามารถขยายฐานการส่งออกสินค้าไปยังกลุ่มอาเซียนได้เพิ่มขึ้น ส่วน 82.5% เห็นว่าจะสามารถสร้างแบรนด์สินค้าให้เป็นที่ยอมรับอย่างกว้างขวางได้

และเมื่อสอบถามถึงการเตรียมความพร้อมของธุรกิจ พบว่าส่วนใหญ่ 54.9% มีการศึกษาหาความรู้ ในการพัฒนาคุณภาพสินค้า ให้เป็นที่ยอมรับของนานาประเทศ ส่วน 27.3% มีการศึกษาหาข้อมูลเกี่ยวกับการค้ากับต่างประเทศ เช่น กฎระเบียบ ข้อบังคับต่างๆ ขณะที่ 17.8% มีการศึกษาภาษาต่างประเทศเพิ่มเติม เพื่อใช้ในการติดต่อสื่อสาร

รายงานยังระบุถึงความเห็นเกี่ยวกับผลกระทบจากการขึ้นค่าแรงขั้นต่ำ 300 บาทต่อวัน ว่า 58.9% เห็นว่า ได้รับผลกระทบ โดยเฉพาะราคาวัตถุดิบที่สูงขึ้นจะได้รับผลกระทบมากที่สุด รองลงมา คือ ผลกระทบด้านค่าจ้างแรงงานที่เพิ่มขึ้น ค่าใช้จ่ายในการขนส่งสินค้าที่เพิ่มขึ้น

ขณะที่ผู้ตอบแบบสำรวจความเห็นอีก 41.1% มองว่าไม่ได้รับผลกระทบ เนื่องจากค่าจ้างแรงงานของกลุ่มสูงกว่าค่าแรงขั้นต่ำ 300 บาทอยู่แล้ว และมีรายได้เพียงพอต่อการจ้างแรงงาน

เมื่อแยกตามประเภทกลุ่มประเภทสินค้า พบว่าที่ได้รับผลกระทบมากที่สุดถึง 76.0% คือ สินค้าประเภทเครื่องดื่ม รองลงมา คือ กลุ่มอาหาร ได้รับผลกระทบ 64.9% ส่วนกลุ่มที่ได้รับผลกระทบน้อยที่สุด คือ กลุ่มศิลปะประดิษฐ์และของที่ระลึก รองลงมา คือ สมุนไพรที่ไม่ใช่อาการ

สำหรับความต้องการสนับสนุนจากภาครัฐ ในการเตรียมความพร้อมเข้าสู่เออีซี พบว่า 71.0% ต้องการให้รัฐพาไปศึกษาดูงานธุรกิจในประเทศเพื่อนบ้าน ที่มีคุณภาพและมาตรฐาน ส่วน 30.7% ต้องการให้รัฐจัดอบรมฝึกฝีมือพัฒนาแรงงาน และ12.4% ต้องการให้รัฐจัดอบรบเรื่องความรู้ กฎระเบียบ ข้อบังคับเกี่ยวกับการค้ากับประเทศในเออีซี

(ASTV ผู้จัดการออนไลน์, 6-8-2556)

 

เตรียมชง ครม.ขยายเวลาออกเอกสารให้ "แรงงานต่าวด้าว"อีก 1 ปี

เมื่อวันที่ 5 สิงหาคม นายประวิทย์ เคียงผล อธิบดีกรมการจัดหางาน (กกจ.) กระทรวงแรงงาน (รง.) กล่าวว่า ในวันที่ 6 สิงหาคมนี้ กระทรวงแรงงานจะเสนอต่อคณะรัฐมนตรี (ครม.) เพื่อขอผ่อนผันการออกใบอนุญาตทำงานและให้อาศัยอยู่ในประเทศไทยเป็นการชั่ว คราวเป็นเวลา 1 ปี แก่แรงงาน 3 สัญชาติทั้งพม่า ลาว และกัมพูชา ที่ขึ้นทะเบียนไว้กับ กกจ.และจะครบกำหนดผ่อนผันในวันที่ 11 สิงหาคมนี้ แต่ยังออกเอกสารรับรองให้เป็นแรงงานต่างด้าวถูกกฎหมายไม่แล้วเสร็จ เพราะขณะนี้นายจ้างยังมีความต้องการแรงงาน โดยก่อนหน้านี้ กกจ.ได้ให้แรงงานต่างด้าวผิดกฎหมายมาขึ้นทะเบียนเพื่อออกเอกสารรับรองให้ เป็นแรงงานต่างด้าวถูกกฎหมายโดยมีแรงงานต่างด้าวมาขึ้นทะเบียนไว้ทั้งหมด 651,143 คน โดยในจำนวนนี้ได้ออกเอกสารรับรองไปแล้ว 413,162 คน ยังเหลือไม่ได้ออกเอกสารรับรองอีก 237,981 คน 

นายประวิทย์กล่าวต่อไปว่า โดยปัจจุบันมีแรงงานพม่ายังไม่ได้ออกเอกสารรับรอง 59,000 คน จากที่ขึ้นทะเบียนไว้ 462,162 คน ลาวยังไม่ได้ออกเอกสารรับรอง 63,082 คน จากที่ขึ้นทะเบียนไว้ 66,082 คน และกัมพูชายังไม่ได้เอกสารรับรอง 115,899 คน จากที่ขึ้นทะเบียนไว้ 122,899 คน ในส่วนของกัมพูชาและลาวยังไม่สามารถดำเนินการออกเอกสารต่อได้ เนื่องจากยังไม่ได้ส่งเจ้าหน้าที่มาดำเนินการที่ไทย ดังนั้น กกจ.จะเร่งประสานงานไปยังทั้งสองประเทศเพื่อให้ส่งเจ้าหน้าที่มาดำเนินการ ออกเอกสารโดยเร็ว

(มติชนออนไลน์, 5-8-2556)

 

กอศ.เร่งแก้ครูอาชีวะขาดแคลน

นายชัยพฤกษ์ เสรีรักษ์ เลขาธิการคณะกรรมการการอาชีวศึกษา (กอศ.) เปิดเผยถึงกรณีที่จะมีข้าราชการครูเกษียณอายุราชการในระยะเวลา5ปีข้างหน้า ระหว่างปี 2556-2560 จำนวน 103,797 คน โดยในส่วนของสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา (สอศ.) จะมีครูเกษียณประมาณ 3,320 คน ว่า ขณะนี้ สอศ.ได้ประสานไปยังคณะกรรมการการกำหนดเป้าหมายและนโยบายกำลังคนภาครัฐ (คปร.) เพื่อขอคืนจำนวนอัตราเกษียณทันที ตั้งแต่ปี 2557 เป็นต้นไป เพราะปกติแล้วการคืนอัตราเกษียณจะต้องใช้เวลา 1-2 ปี ซึ่งหาก สอศ.ได้คืนอัตราเกษียณในทันที ก็จะสามารถแก้ปัญหาขาดแคลนครูในเบื้องต้นได้
         
นอกจากนี้ยังได้จัดทำคำขออนุมัติกรอบอัตราพนักงานราชการเพิ่มเติม 15,973 อัตรา ไปยังสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี แบ่งเป็น พนักงานราชการ ประเภทครูผู้สอน 10,000 อัตรา พนักงานราชการ ประเภทสายสนับสนุนการสอน 4,564 อัตรา และข้าราชการครู 1,409 อัตรา เพื่อให้มีจำนวนครูเพียงพอตามเกณฑ์ และแก้ปัญหาขาดครูด้วย เพราะปัจจุบัน สอศ.ขาดครูกว่า 10,000 คน
         
"ครูที่จะเกษียณอายุราชการถือเป็นผู้ที่อาวุโส และมีความรู้มาก ดังนั้นในปี 2557 สอศ.มีแนวทางที่จะเชิญครูที่เกษียณฯ มาถ่ายทอดประสบการณ์การสอน และความรู้ให้แก่ครูรุ่นใหม่ นอกจากนี้จะขอให้ครูที่เกษียณฯ มาช่วยทำงานเพื่อเป็นประโยชน์แก่วงการอาชีวศึกษา โดยจะมีการจัดทำในลักษณะคลังสมอง ซึ่งเป็นแหล่งรวบรวมความรู้ทางด้านอาชีวศึกษา"นายชัยพฤกษ์ กล่าว
         
นายไพฑูรย์ สินลารัตน์ ประธานคณะกรรมการคุรุสภา กล่าวว่า ยังไม่มีความชัดเจนว่าใครจะมาเป็นเจ้าภาพ ตอนนี้ทางคุรุสภาจะหารือกับคณบดีคณะครุศาสตร์ ศึกษาศาสตร์ ทั่วประเทศเพื่อกำหนดแนวทางการผลิตครูในอนาคตให้สอดคล้องเหมาะสมกับจำนวนและ ความต้องการแต่ละสาขาวิชาเอก ซึ่งถึงแม้ว่าขณะนี้จะมีคนที่จบสายครูอยู่ในตลาดจำนวนมาก แต่ปัญหายังไม่มีความชัดเจนว่าความต้องการแต่ละสาขามีเท่าไร ทำให้ที่ผ่านมาบางสาขาผลิตมากจนล้นและบางสาขาผลิตน้อยจนไม่พอ และทำให้โรงเรียนได้ครูที่ไม่ตรงกับสาขาวิชาเอกที่สอน
         
ด้านนายพิษณุ ตุลสุข รองเลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (กพฐ.) กล่าวว่าเรื่องนี้คงต้องเสนอรมว.ศึกษาธิการ เพื่อเสนอคณะรัฐมนตรี(ครม.) ขอให้คงอัตราเกษียณ100% เนื่องจากการคืนอัตราเกษียณดังกล่าวจะหมดในปีนี้ และจะได้อัตราเกษียณคืนเพียง 20%เท่านั้น ซึ่งหากสพฐ.ได้อัตราเกษียณคืนมาเพียงเท่านี้จะทำให้เกิดปัญหารุนแรงกับ โรงเรียนแน่นอนเพราะจะไม่มีครูไปทดแทนในตำแหน่งที่เกษียณ อย่างไรก็ตามทั้งหมดนี้จะต้องมาวางแผนกันทั้งระบบไม่ใช่แก้ปัญหาเฉพาะการ ปรับหรือขอคืนอัตราเกษียณเท่านั้น

(โพสต์ทูเดย์, 7-8-2556)

 

สปส. เผยแรงงานนอกระบบเข้าสู่ประกันสังคม ม.40 พุ่ง 1.4 ล้าน

(7 ส.ค.) ร.ต.อ.เฉลิม  อยู่บำรุง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน (รมว.รง.) กล่าวในการเป็นประธานพิธีเปิดโครงการ “ประกันสังคมมอบสุข...ครอบครัวอุ่นใจ”  และปล่อยขบวนคาราวานรถโมบายเคลื่อนที่เพื่อประชาสัมพันธ์และเชิญชวนแรงงาน นอกระบบเข้าสู่ประกันสังคมมาตรา 40  ว่า ตนมีนโยบายส่งเสริมให้แรงงานในระบบและแรงงานนอกระบบมีหลักประกันและความมั่น คงในการดำเนินชีวิต เพราะแรงงานทุกกลุ่มล้วนมีความสำคัญต่อเศรษฐกิจของประเทศ หากไม่มีแรงงานจะทำให้ผู้ประกอบการไม่สามารถผลิตสินค้าได้ และรัฐบาลก็ไม่สามารถจัดเก็บภาษีเพื่อเป็นรายได้ของประเทศ  โดยในส่วนของแรงงานนอกระบบ จะส่งเสริมให้เข้าสู่ประกันสังคมมาตรา 40  เพื่อให้ได้รับการคุ้มครองและสิทธิประโยชน์ต่างๆ
      
นายจีรศักดิ์   สุคนธชาติ   เลขาธิการสำนักงานประกันสังคม (สปส.)  กล่าวว่า ปัจจุบันมีแรงงานนอกระบบเข้าสู่ประกันสังคมแล้วประมาณ 1.4 ล้านคน และ สปส.จะส่งเสริมให้แรงงานนอกระบบเข้าสู่ประกันสังคมมาตรา 40  ทั้งในกรุงเทพฯ และต่างจังหวัดให้มากขึ้น   ซึ่ง สปส.ได้สั่งการให้สำนักงานประกันสังคมจังหวัดและสำนักงานประกันสังคม กรุงเทพฯเขตต่างๆ รณรงค์ในเรื่องนี้  และได้ทำงานเป็นเครือข่ายร่วมกับหน่วยงานต่างๆ   

“ขณะนี้ สปส.ได้จัดโครงการอุดรธานีโมเดล  ซึ่งได้รับความร่วมมือจากผู้ว่าราชการจังหวัด นายอำเภอ และปลัดอำเภอในพื้นที่จังหวัดอุดรธานี  ช่วยประชาสัมพันธ์และเชิญชวนให้แรงงานนอกระบบในพื้นที่ชุมชนต่างๆ เข้าสู่ประกันสังคมมาตรา 40  รวมทั้งช่วยรวบรวมเก็บเงินสมทบจากแรงงานนอกระบบนำมาจ่ายให้แก่สำนักงาน ประกันสังคมจังหวัดอุดรธานี  และจะมีการขยายผลไปสู่จังหวัดอื่นๆ ต่อไป ทั้งนี้หากจังหวัดใดสนใจก็สามารถเข้าร่วมโครงการนี้กับ สปส.ได้” เลขาธิการ สปส.กล่าว
      
นายจีรศักดิ์  กล่าวอีกว่า ประกันสังคมมาตรา  40  นั้นขณะนี้มี 2 ทางเลือกได้แก่ จ่ายเงินสมทบเดือนละ 100 บาท โดยผู้ประกันตนจ่ายเดือนละ 70 บาท และรัฐบาลอุดหนุนคนละ 30 บาทต่อเดือน ได้รับสิทธิประโยชน์ 3 กรณีคือ เจ็บป่วย ทุพพลภาพ และตาย และทางเลือกที่ 2 จ่ายเงินสมทบเดือนละ 150 บาทโดยผู้ประกันตนจ่ายเดือนละ 100 บาท และรัฐบาลอุดหนุนคนละ 50 บาทต่อเดือน ได้รับสิทธิประโยชน์ 4  กรณีคือ เจ็บป่วย ทุพพลภาพ ตาย และเงินชราภาพ 

(ASTV ผู้จัดการออนไลน์, 7-8-2556)

 

สปส.ส่งรถโมบายแจ้งสิทธิประโยชน์

วันที่ 7 สิงหาคม ร.ต.อ.เฉลิม อยู่บำรุง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน เป็นประธานเปิดโครงการ "ประกันสังคมมอบสุข...ครอบครัวอุ่นใจ"และปล่อยคาราวานรถโมบายเคลื่อนที่ไปยังอนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ ประตูน้ำ และถนนเยาวราช เพื่อเชิญชวนแรงงานนอกระบบเข้าสู่ประกันสังคม มาตรา 40 พร้อมประชาสัมพันธ์สิทธิประโยชน์ของผู้ประกันตน

นายจีรศักดิ์ สุคนธชาติ เลขาธิการสำนักงานประกันสังคม (สปส.) กล่าวว่า ปัจจุบันมีแรงงานนอกระบบเข้าสู่ประกันสังคม มาตรา 40 ประมาณ 1.4 ล้านคน และจะส่งเสริมให้แรงงานนอกระบบทั้งในกรุงเทพมหานคร และต่างจังหวัด เข้าประกันสังคมให้มากขึ้น โดยสั่งการให้สำนักงานประกันสังคมจังหวัด และสำนักงานประกันสังคมกรุงเทพฯเขตต่างๆ รณรงค์ในเรื่องนี้ และทำงานเป็นเครือข่ายร่วมกับหน่วยงานอื่นๆ

"ขณะนี้ได้จัดโครงการอุดรธานีโมเดล ซึ่งได้รับความร่วมมือจากผู้ว่าราชการจังหวัด นายอำเภอ และปลัดอำเภอในพื้นที่ จ.อุดรธานี ช่วยประชาสัมพันธ์ และเชิญชวนให้แรงงานนอกระบบในชุมชนต่างๆ เข้าสู่ประกันสังคม มาตรา 40 รวมทั้งรวบรวมเงินสมทบจากแรงงานนอกระบบจ่ายให้แก่สำนักงานประกันสังคม จังหวัด และจะมีการขยายผลไปสู่จังหวัดอื่นๆ ต่อไป"นายจีรศักดิ์ กล่าว และว่า โครงการประกันสังคมมอบสุข...ครอบครัวอุ่นใจ จะไปให้บริการประชาชนเขตบางบอน ในวันที่ 9 สิงหาคม ที่ศูนย์เยาวชนบางขุนเทียน ถนนพระราม 2 ด้วย

(ประชาชาติธุรกิจ, 8-8-2556)

 

มรธ. ปรับอัตราค่าตอบแทนพนักงานมหาวิทยาลัย

เมื่อวันพฤหัสบดีที่ 8 สิงหาคม 2556 ผศ.ดร.ยุวลักษณ์ เวชวิทยาขลัง อธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี ได้ประชุมคณะกรรมการพนักงานมหาวิทยาลัยเพื่อพิจารณาเห็นชอบในการปรับเงิน เพิ่มคุณวุฒิแก่พนักงานมหาวิทยาลัยของมหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรีตามมติคณะ รัฐมนตรี โดยคณะกรรมการพนักงานมหาวิทยาลัยมีมติเห็นชอบตามที่มหาวิทยาลัยนำเสนอโดยใช้ เงินงบประมาณเหลือจ่ายในปีงบประมาณ พ.ศ.2556 ซึ่งในการปรับเพิ่มครั้งนี้ มีผลทำให้พนักงานมหาวิทยาลัยของ มรธ. จำนวน 209 คน ได้รับเงินตกเบิกการปรับเพิ่มคุณวุฒิในครั้งนี้ สำหรับพนักงานมหาวิทยาลัยที่จะรับบรรจุใหม่ คณะกรรมการฯได้เห็นชอบอัตราเงินเดือนของพนักงานมหาวิทยาลัย สายวิชาการ คุณวุฒิปริญญาเอก 28,000 บาท ปริญญาโท 22,960 บาท และสายสนับสนุนวิชาการ คุณวุฒิปริญญาโท 21,320 บาท ปริญญาตรี 17,290 บาท ซึ่ง มรธ. กำลังอยู่ในระหว่างการดำเนินการสรรหาพนักงานมหาวิทยาลัยทั้งสายวิชาการและ สายสนับสนุนวิชาการกว่าร้อยอัตรา ผู้สนใจสามารถติดตามรายละเอียดการประกาศรับสมัครได้ที่เว็บไซต์ www.dru.ac.th

(ThaiPR.net, 8-8-2556)

 

สื่อนอกเผย แรงงานไทยในไนจีเรีย 4 รายถูกลักพาตัว คาดเรียกค่าไถ่ ยังไม่ทราบชะตากรรม

รอยเตอร์สเปิดเผยรายงานอ้างรัฐบาลท้องถิ่นไนจีเรีย ระบุว่า แรงงานไทย 4 คน ได้ถูกลักพาตัว ขณะกำลังเดินทางไปทำงานในไร่แห่งหนึ่งในรัฐริเวอร์สสเตทของไนจีเรียเมื่อวัน ที่ 10 ส.ค. โดยเบื้องต้นคาดว่า แรงงานไทยทั้งหมดอาจถูกลักพาตัวเพื่อเรียกค่าไถ่

เอมมานูอัล ชินดาห์ กรรมาธิการด้านเกษตรกรรมของไนจีเรีย ให้สัมภาษณ์ทางโทรศัพท์ ระบุว่า มือปืนไม่ทราบจำนวนได้ใช้กำลังหยุดรถที่กำลังมุ่งหน้าไปไร่โอมิดา พร้อมจับตัวแรงงานซึ่งเป็นชาวไทย 4 คนและชาวไนจีเรียอีก 2 คน โดยแรงงานไนจีเรีย 2 คนได้รับการปล่อยตัวในเวลาต่อมา ขณะที่อีกหนึ่งคนกระโดดลงน้ำหลบหนีออกไปได้

ทั้งนี้ ไนจีเรีย เป็นหนึ่งในประเทศที่เกิดเหตุลักพาตัวมากที่สุดของโลก โดยเกิดเหตุบ่อยครั้งในพื้นที่ซึ่งเป็นฐานผลิตน้ำมัน ขณะที่มีคนงานต่างชาติในอุตสาหกรรมน้ำมันและก่อสร้างตกเป็นเป้าหมายการลักพา ตัวมากที่สุดเช่นกัน

(โพสต์ทูเดย์, 10-8-2556)

 

เร่งประสานไนจีเรียติดตาม 4 แรงงานไทยถูกจับ

นายสุรพงษ์ โตวิจักษณ์ชัยกุล รองนายกรัฐมนตรีและรมว.การต่างประเทศ กล่าวว่า กรณี 4 แรงงานไทยที่ทำงานในฟาร์มเลี้ยงปลาแห่งหนึ่งของบริษัทอิสราเอล ถูกคนร้ายลักพาตัวที่ประเทศไนจีเรียนั้น ขณะนี้ยังไม่ทราบชะตากรรมของคนไทยทั้ง 4 แต่ได้รายงานเบื้องต้นทราบว่า ลูกจ้างท้องถิ่นชาวไนจีเรีย1ใน 2 รายที่พยายามหลบหนีขณะถูกจับกุมตัวถูกสังหารชีวิต

อย่างไรก็ตามได้สั่งการให้นายณรงค์ ศศิธร อธิบดีกรมเอเชียใต้ ตะวันออกและแอฟริกาเร่งพูดคุยกับเอกอัครราชทูตไนจีเรียประจำประเทศไทยว่า หากรัฐบาลไนจีเรียจะดำเนินการอย่างไรขอให้คำนึงถึงความปลอดภัยของคนไทยด้วย

"ขณะนี้ยังไม่ชัดเจนว่าโจรไนเจียเรียจับคนไทยทั้งหมดไปเพื่อเรียกค่าไถ่ หรือเพื่อเป้าประสงค์อื่น เพราะยังรอรายละเอียดอยู่ โดยระหว่างนี้ นายสมชาย เภาเจริญ เอกอัครราชทูตไทยประจำไนจีเรีย ได้เฝ้าติดตามสถานการณ์อย่างใกล้ชิด นอกจากนี้ยังได้สั่งการให้ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องช่วยกันตรวจสอบข้อมูลเกี่ยว กับแรงงานไทยทั้งหมด เพราะในขณะนี้ทราบเพียงว่า เข้าไปทำงานกับบริษัทด้านการเกษตรของอิสราเอลเท่านั้น"นายสุรพงษ์กล่าว

(โพสต์ทูเดย์, 11-8-2556)

 

กลุ่มผู้ใช้แรงงานทยอยเดินทางกลับหลังร่วมเทศกาลฮารีรายอ

กลุ่มผู้ใช้แรงงานทยอยเดินทางกลับ หลังมาร่วมเฉลิมฉลองเทศกาลรายอ ส่งผลให้ที่สถานีรถไฟและด่านชายแดนโก-ลก เป็นไปอย่างคึกคัก

บรรยากาศบริเวณสถานีรถไฟสุไหงโก-ลก และด่านสุไหงโก-ลก ชายแดนไทย มาเลเซียวันนี้ไปด้วยความคึกคัก กลุ่มผู้ใช้แรงงานชาวไทยมุสลิมได้ทยอยเดินทางต่างจังหวัดและเดินทางออกจาก ประเทศไทยไปยังมาเลเซียเพื่อกลับไปทำงาน หลังจากที่ก่อนหน้านี้ได้มาร่วมเฉลิมฉลองเทศกาลฮารีรายอกับญาติพี่น้องที่ บ้านในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ ตลอดทั้งวันมีประชาชนใช้บริการรถไฟและรถตู้โดยสารจากจังหวัดอื่นๆ เดินทางมายังชายแดนอย่างต่อเนื่อง ทำให้กลุ่มผู้รับจ้างเกือบทุกประเภทมีรายได้เพิ่มขึ้น ขณะที่เจ้าหน้าที่ได้เข้มงวดในการดูแลความปลอดภัยทั้งบริเวณด่าน และจุดผ่อนปรนในเขตอำเภอสุไหงโก-ลกทั้งหมด

(สำนักข่าวไทย, 11-8-2556)

 

'สุรพงษ์'เผยนายจ้าง 4 แรงงานไทยเหยื่อถูกลักพาตัว รุดเจรจาขอคืนตัวประกัน

12 ส.ค.56 - นายสุรพงษ์ โตวิจักษณ์ชัยกุล รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ให้สัมภาษณ์เกี่ยวกับความคืบหน้าในการดูแลคนไทยที่ถูกลักพาตัวในไนจีเรีย ว่า ล่าสุดได้ตรวจสอบทราบชื่อคนไทยทั้ง 4 คนแล้ว คือนายพันพินิจ สมโมหก (Panpinij Sommohok) นางบุษยา ศรีปัญญา (Butsaya Sripanya) นายไชยยันต์ ไทชมพู (Chaiyan Taichompu) และนายบุญเทียน (Bontian) ไม่ทราบนามสกุล ทั้งหมดทำงานให้กับบริษัทโพมิดะของอิสราเอล โดยขณะนี้บริษัทกำลังรอการติดต่อจากกลุ่มที่จับตัวคนไทยทั้งหมดไปว่า จะเรียกร้องสิ่งใด เพื่อแลกกับตัวประกัน
                       
อย่างไรก็ดี ขณะนี้มีญาติของผู้ที่ถูกจับกุมบางรายได้โทรศัพท์ติดต่อสอบถามข้อมูลไปที่ บริษัทแล้วเช่นกัน ในส่วนของกระทรวงการต่างประเทศนั้น นายณรงค์ ศศิธร อธิบดีกรมเอเชียใต้ ตะวันออกกลางและแอฟริกา ได้พูดคุยกับทั้งเอกอัครราชทูตไนจีเรียและเอกอัครราชทูตอิสราเอลประจำประเทศ ไทยแล้ว เพื่อขอให้รัฐบาลของทั้งสองประเทศช่วยดูแลคนไทยที่ถูกจับ เพราะไม่ต้องการให้เกิดเหตุรุนแรงใดๆขึ้น

(คมชัดลึก, 12-8-2556)

 

 

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

Viewing all articles
Browse latest Browse all 14385

Trending Articles