Quantcast
Channel: พันศักดิ์ วิญญรัตน์
Viewing all articles
Browse latest Browse all 14385

รองเลขาฯ กสทช. โต้ทีดีอาร์ไอ ไม่ได้ทำประเทศเสียหาย กรณียังไม่ประมูลคลื่น 1800

$
0
0

รองเลขาฯ กสทช. โต้ทีดีอาร์ไอ ระบุไม่ได้สร้างความเสียหายกับประเทศชาติ กรณีขยายเวลาให้เอกชนใช้สิทธิคลื่นความถี่ 1800 MHz อีก 1 ปี แต่มุ่งคุ้มครองประชาชนผู้ใช้บริการกว่า 18 ล้านรายไม่ให้ได้รับผลกระทบ

(8 ส.ค.56) สำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) เผยแพร่ข่าวระบุ ก่อกิจ ด่านชัยวิจิตร รองเลขาธิการ กสทช. ในภารกิจโทรคมนาคม กล่าวว่า จากกรณีที่ เดือนเด่น นิคมบริรักษ์ ผู้อำนวยการวิจัย มูลนิธิสถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (ทีดีอาร์ไอ) ให้ข้อมูลแก่สื่อมวลชนว่า การที่ กสทช. จะขยายเวลาให้เอกชนมีสิทธิใช้คลื่นความถี่ย่าน 1800 MHz ออกไปอีก 1 ปี เพื่อคุ้มครองผู้ใช้บริการให้มีเวลาพียงพอในการตัดสินใจย้ายผู้ให้บริการตามความต้องการ  สร้างความเสียหายให้กับประเทศและประชาชนเบื้องต้นเป็นมูลค่า 1.6 แสนล้านบาทหากไม่สามารถเปิดประมูลได้ในปีนี้  โดยอ้างว่าตัวเลขดังกล่าวเป็นไปตามผลการวิจัยของสถาบันอนาคตประเทศไทยที่เคยประเมินความเสียหายจากความล่าช้าในการประมูลใบอนุญาตให้บริการ 3G คลื่น 2.1 GHz   รวมถึงตัวอย่างผลการศึกษาของประเทศอังกฤษที่ประมูลคลื่น 3G ล่าช้าเช่นเดียวกัน และทำให้ประเทศต้องเสียโอกาสทางธุรกิจประมาณ 1.4 แสนล้านบาท นั้น

สำนักงาน กสทช. ขอชี้แจงว่า ตัวเลขความเสียหายที่อ้างอิงเป็นสมมติฐาน ซึ่งในความเป็นจริงไม่สามารถนำการคำนวณค่าเสียหายจากความล่าช้ากรณีการประมูล 3G คลื่นความถี่ 2.1 GHz มาเทียบเคียงกับการประมูลคลื่น 1800 MHz ได้ เนื่องจากลักษณะของคลื่นความถี่ 2.1 GHz และ 1800 MHz มีความแตกต่างกันและสถานการณ์การใช้งานคลื่นความถี่ก็มีความแตกต่างกันกล่าวคือ คลื่น 2.1 GHz เป็นคลื่นว่างที่ไม่มีการใช้งาน แต่คลื่นความถี่ย่าน 1800 MHz เป็นคลื่นที่ยังมีการใช้งานอยู่ ในช่วงระยะเวลาการเยียวยารายได้ทั้งหมดหลังหักค่าใช้จ่ายจะนำส่งรัฐเป็นรายได้แผ่นดิน  รัฐจึงยังได้รับประโยชน์จากการใช้งานคลื่นความถี่อยู่ซึ่งประมาณการว่ามากกว่ารายได้ที่ได้จากสัมปทาน

นายก่อกิจ กล่าวว่า สิ่งที่ควรคำนึงในกรณีของคลื่นความถี่ 1800 MHz ที่อายุสัญญาสัมปทานกำลังจะสิ้นสุดลง คือ การดำเนินการที่ทำให้ผู้ใช้บริการสามารถใช้งานได้อย่างต่อเนื่อง ตามหลักปฏิบัติทางสากลและที่หลายประเทศดำเนินการกัน คือ ต้องสอบถามผู้ที่ใช้งานความถี่นั้นๆ ว่าจะดำเนินการต่อได้เลยหรือไม่ และจะจัดสรรคลื่นความถี่อย่างไร สำหรับประเทศไทย พ.ร.บ. องค์กรจัดสรรคลื่นความถี่และกำกับการประกอบกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม พ.ศ. 2553 กำหนดให้ใช้วิธีการประมูลเท่านั้นในการจัดสรรคลื่นความถี่ เท่ากับว่า การดำเนินการและการปฏิบัติหลายเรื่องตามที่หลายประเทศปฏิบัติกัน เราดำเนินการไม่ได้เลย

สำนักงาน กสทช. เห็นว่า การเร่งรัดการประมูลโดยละเลยปัจจัยแวดล้อมที่เกี่ยวข้อง อาจจะทำให้ประเทศชาติเสียหายยิ่งกว่า เนื่องจากประชาชนผู้ใช้บริการไม่สามารถใช้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ได้อย่างต่อเนื่อง ซึ่งอาจจะเป็นผลเสียมากกว่าผลดี และมองว่าคำกล่าวดังกล่าวส่งผลด้านลบต่อบรรยากาศและความเชื่อมั่นทางการลงทุนของประเทศไทย
 

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

Viewing all articles
Browse latest Browse all 14385

Trending Articles