Quantcast
Channel: พันศักดิ์ วิญญรัตน์
Viewing all articles
Browse latest Browse all 14385

บริษัทวิจัยชี้ระดับความเชื่อมั่นในเศรษฐกิจของนักธุรกิจไทยต่ำกว่า ASEAN และทั่วโลก

$
0
0

ผลการสำรวจของแกรนท์ ธอร์นตันชี้ความเชื่อมั่นของนักธุรกิจไทยยังอยู่ในระดับต่ำ ระบุผลกระทบยาวจากน้ำท่วม และปัจจัยใหม่คือค่าแรง 300 บาท หนี้ครัวเรือนที่เพิ่มสูงขึ้นและนโยบายจำนำข้าว ขณะที่ตลาดส่งออกยังชะลอตัว

ผลการสำรวจล่าสุดจากรายงานผลการสำรวจธุรกิจนานาชาติของแกรนท์ ธอร์นตัน (The Grant Thornton International Business Report: IBR) พบว่าทัศนคติด้านบวกของผู้บริหารธุรกิจในประเทศไทยยังคงอยู่ในระดับที่ต่ำกว่าช่วงก่อนการเกิดเหตุการณ์อุทกภัยเมื่อปี 2554 ค่อนข้างมาก

แม้ว่าทัศนคติด้านบวกของนักธุรกิจในไตรมาสที่ 2 ของปี 2556 เพิ่มสูงขึ้นเป็น 22% จาก 14% เมื่อไตรมาสที่ 1 แต่ยังเป็นระดับที่ต่ำกว่าค่าเฉลี่ยรวมของ 3 ไตรมาสแรกของปี 2554 ซึ่งอยู่ที่ 42% โดยภายหลังจากเหตุการณ์อุทกภัยเป็นต้นมา ค่าเฉลี่ยของทัศนคติด้านบวกอยู่ที่ 16%

ผลการสำรวจเปรียบเทียบทัศนคติด้านบวกก่อนเหตุการณ์อุทกภัยและแนวทางการดำเนินธุรกิจที่มุ่งเน้นผลสัมฤทธิ์เพื่อความสำเร็จภายหลังเหตุการณ์ดังกล่าว ซึ่งทัศนคติด้านบวกมีความชะลอตัว เนื่องมาจากผลกระทบระยะแรกจากเหตุการณ์อุทกภัย สภาวะเศรษฐกิจที่ในกลุ่มเศรษฐกิจที่สำคัญของโลกและประเทศคู่ค้า ตลอดจนปัจจัยภายในประเทศที่น่าวิตกกังวล อาทิ ผลกระทบจากนโยบายจำนำข้าวต่อสภาวะเศรษฐกิจ การเพิ่มสูงขึ้นของหนี้ครัวเรือน และความกังวลต่อความโปร่งใสของโครงการขนาดใหญ่เพื่อพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานของประเทศไทย

ทั้งนี้ นักธุรกิจมีความเชื่อมั่นลดลงต่อความสามารถในการขยายธุรกิจ โดยมีนักธุรกิจ 28% ที่คาดว่ารายรับจะเพิ่มสูงขึ้น และ 28% มองว่าผลกำไรจะเพิ่มสูงขึ้นภายในช่วง 12 ข้างหน้า เปรียบเทียบกับผลการสำรวจของปีก่อนหน้าซึ่งอยู่ที่ 56% และ 52% ตามลำดับ นอกจากนี้ ความคาดหวังต่ความสามารถในการทำกำไรเมื่อปี 2554 โดยเฉลี่ยอยู่ที่ 50% เปรียบเทียบกับ 39% เมื่อ 4 ไตรมาสที่ผ่านมา

เอียน แพสโค กรรมการบริหาร แกรนท์ ธอร์นตัน ประเทศไทย กล่าวว่า “ณ เวลานี้ ผู้บริหารธุรกิจชาวไทยกำลังมุ่งเน้นแนวทางการดำเนินธุรกิจเพื่อให้เกิดสัมฤทธิผล เนื่องจากกลุ่มเศรษฐกิจหลักยังมีการขยายตัวที่ต่ำ ซึ่งประเทศจีนยังคงมีการชะลอตัว และธนาคารกลางในประเทศต่างๆ ได้ริเริ่มทดสอบการตอบรับของตลาดในเรื่องของการลดมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจ”

“ในขณะเดียวกัน ธุรกิจในประเทศรับรู้ถึงผลกระทบอย่างชัดเจนจากนโยบายการขึ้นค่าแรงขั้นต่ำที่ดำเนินการก่อนหน้านี้ และหนี้ครัวเรือนก็เพิ่มสูงขึ้นอย่างเห็นได้ชัด นอกจากนี้ รัฐบาลยังคงดำเนินนโยบายจำนำข้าวต่อไปแม้ว่าจะสูญเสียรายรับอย่างมากและเกิดความเสียหายที่ไม่อาจระบุได้ต่อเกษตรกรผู้ปลูกข้าวในระยะยาว ทั้งยังมีความวิตกกังวลต่อความคุ้มทุนและการสนับสนุนเงินลงทุนของโครงการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน และธนาคารแห่งประเทศไทยยังปรับลดคาดการณ์ GDP อีกด้วย”

ในการนี้ การชะลอตัวของเศรษฐกิจในประเทศจีนซึ่งถือเป็นยักษ์ใหญ่ของภูมิภาคยังเห็นได้ชัดเจนในตัวเลขจากรายงาน IBR กล่าวคือมีธุรกิจเพียง 4% ที่มีทัศนคติด้านบวกต่อภาพรวมเศรษฐกิจ ซึ่งลดลงจาก 19% เมื่อไตรมาสที่ 1 ดังนั้น การที่ธุรกิจไทย 51% มีการรายงานในช่วง 4 ไตรมาสที่ผ่านมาว่าข้อจำกัดที่สำคัญต่อการขยายตัวของธุรกิจคือการลดลงของอุปสงค์จึงไม่ได้เป็นเรื่องบังเอิญ อย่างไรก็ตาม ข้อจำกัดที่สำคัญที่สุดที่ธุรกิจไทยรายงานคือการแปรปรวนของเศรษฐกิจ ซึ่งอยู่ที่ 60% โดยสูงกว่าทั้งค่าเฉลี่ยของ ASEAN ที่ 43% และทั่วโลกที่ 41%

ในขณะที่ตลาดหลักของการส่งออกส่งผลกระทบต่อประเทศไทย อาทิ เศรษฐกิจในสหภาพยุโรปยังคงอ่อนแอ และเศรษฐกิจในจีนซึ่งเป็นตลาดการส่งออกรายประเทศที่ใหญ่ที่สุดมีการชะลอตัว อย่างไรก็ตาม การส่งออกช่วงเดือนมกราคม-มีนาคมปีนี้ได้เพิ่มสูงขึ้น 8.3% เมื่อเปรียบเทียบกับปี 2012 โดยสามารถระบุสาเหตุได้ว่าเกิดจากทัศนคติด้านบวกที่ดีขึ้นของธุรกิจญี่ปุ่น ซึ่งช่วยหักล้าง “ผลกระทบจากประเทศจีน (China Effect)” ที่มีต่อภาคการผลิตของประเทศไทย

มร. แพสโค กล่าวเพิ่มเติมว่า "คติพจน์ที่สำคัญคือต้องใช้ความระมัดระวัง แม้การลงทุนจากต่างประเทศ (FDI) ที่ต่อเนื่องตลอดจนอัตราภาษีนิติบุคคลที่ลดลงได้ชดเชยปัจจัยลบบางประการ อย่างไรก็ดี ธุรกิจไทยยังคงมีความกังวลต่อปัจจัยในระดับประเทศ ภูมิภาค และทั่วโลก สูงกว่าธุรกิจในประเทศอื่นๆ โดยโครงการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานนั้นจะช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจ แต่อาจจะยังไม่เพียงพอที่จะส่งเสริมให้ความเชื่อมั่นทางธุรกิจกลับคืนสู่ระดับก่อนหน้าเหตุการณ์อุทกภัย"

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

Viewing all articles
Browse latest Browse all 14385

Trending Articles