Quantcast
Channel: พันศักดิ์ วิญญรัตน์
Viewing all articles
Browse latest Browse all 14385

Facebook และ Microsoft เปิดเผยข้อมูลจำนวนคำขอจากรัฐบาลได้บางส่วน

$
0
0
หลังจากรัฐบาลสหรัฐฯ ถูกเปิดโปงเรื่องโครงการสอดแนมซึ่งมีส่วนเกี่ยวข้องกับบริษัทยักษ์ใหญ่โลกอินเตอร์เน็ต ทางบริษัทต่างๆ ก็ขออนุญาตทางการให้ตนเปิดเผยข้อมูลคำขอจากรัฐบาลสหรัฐฯ ซึ่งทาง Facebook และ Microsoft ก็สามารถเปิดเผยตัวเลขได้บางส่วนแล้ว แต่ส่วนใหญ่เป็นข้อมูลอาชญากรรมทั่วไป ไม่ใช่ข้อมูลด้านความมั่นคงซึ่งยังถูกสั่งห้าม

15 มิ.ย. 2013 - ทาง Facebook และบริษัท Microsoft ได้ตกลงกับรัฐบาลสหรัฐฯ ในการเปิดเผยข้อมูลตัวเลขจำนวนคำขอที่พวกเขาได้รับจากรัฐบาลในการสอดแนมข้อมูล หลังจากที่รัฐบาลสหรัฐฯ ถูกเปิดโปงเรื่องโครงการสอดแนม PRISM เมื่อสัปดาห์ที่แล้ว
 
โดยเมื่อวันที่ 14 มิ.ย. ที่ผ่านมา Facebook เป็นรายแรกที่เปิดเผยข้อมูลจำนวนคำขอของรัฐบาล โดยระบุว่าทางรัฐบาลสหรัฐฯ ได้ส่งคำขอข้อมูลของผู้ใช้จำนวนระหว่าง 9,000 ถึง 10,000 ครั้งในช่วงครึ่งปีหลังของปี 2012 โดยมีจำนวนผู้ใช้ที่ถูกขอข้อมูลจำนวนระหว่าง 18,000 ถึง 19,000 ราย จากผู้ใช้ทั้งหมด 1,100 ล้านรายทั่วโลก
 
คนใกล้ชิดกับบริษัท Facebook บอกว่าคำขอส่วนใหญ่เป็นกระบวนการสืบสวนลงบันทุกประจำวันของตำรวจ แต่จากการสัญญาตกลงกันกับกระทรวงยุติธรรมของสหรัฐฯ ทำให้ Facebook ไม่สามารถเปิดเผยได้ว่ามีคำขอลับที่มาจากคำสั่งภายใต้กฏหมายตรวจตราข่าวกรองต่างประเทศ (Foreign Intelligence Surveillance Act หรือ FISA) ซึ่งในตอนนี้คำสั่งทั้งหมดภายใต้ FISA ยังถือเป็นความลับ
 
ทางด้าน Microsoft กล่าวว่าพวกเขาได้รับคำขอข้อมูลทุกประเภทจากบัญชีผู้ใช้ 31,000 ราย ในช่วงครึ่งปีหลังของปี 2012 โดยก่อนหน้านี้ Microsoft ก็ได้เผยแพร่รายงานความโปร่งใสโดยที่ไม่มีการนำเสนอเรื่องความมั่นคงของสหรัฐฯ  ซึ่งในรายงานฉบับดังกล่าว Microsoft ระบุว่าทั้งปี 2012 มีคำขอที่เกี่ยวข้องกับเรื่องอาชญากรรมรวม 24,565 บัญชีรายชื่อ
 
ซึ่งหากประเมินว่าครึ่งหนึ่งของจำนวนในรายงานความโปร่งใสเป็นคำขอในช่วงที่สองของปี (คือราว 12,282 บัญชี) นั่นหมายความว่าคำขอจากฝ่ายข่าวกรองมีมากกว่าคำขอของฝ่ายเจ้าหน้าที่สอบสวนของรัฐ ซึ่ง Microsoft ไม่ได้แสดงความเห็นในเรื่องนี้
 
ขณะที่บริษัท Google กล่าวในช่วงวันที่ 14 มิ.ย. ที่ผ่านมาว่าพวกเขากำลังเจรจากับรัฐบาลแต่ถูกสั่งว่าพวกเขาสามารถเผยแพร่ข้อมูลคำขอโดยรวมทุกประเภทได้เท่านั้น ซึ่ง Google บอกว่าการทำเช่นนั้นเป็นเรื่องถอยหลังเข้าคลอง เนื่องจากพวกเขาเคยนำเสนอจำนวนคำขอแยกกันระหว่างคำขอด้านอาชญากรรมและจดหมายจากหน่วยงานความมั่นคงแห่งชาติซึ่งเป็นคำขอด้านงานข่าวกรองประเภทหนึ่
 
โดยก่อนหน้านี้ทั้งสามบริษัทยักษ์ใหญ่ต่างก็เรียกร้องให้ทางการสหรัฐฯ อนุญาตให้พวกเขาเปิดเผยจำนวนคำขอด้านการสอดแนม หลังจากที่มีการเปิดโปงเอกสารของหน่วยงานความมั่นคงของสหรัฐฯ ในเรื่องโครงการ PRISM ที่ให้รัฐบาลสหรัฐฯ สามารถเข้าถึงข้อมูลคอมพิวเตอร์ได้โดยตรง ทำให้เกิดความตื่นตัวในเรื่องนี้ และมีการตั้งคำถามว่าการรวบรวมข้อมูลด้วยการสอดแนมมีการจำกัดวงแค่ไหน
 
Facebook กล่าวในเว็บไซต์ว่า "พวกเราหวังว่าข้อมูลตัวเลขที่นำเสนอนี้จะช่วยให้สื่อบางแห่งที่นำเสนอเรื่องเหล่านี้ผิดและอย่างเกินจริงได้ทราบว่าคำขอต่างๆ ที่พวกเราได้รับมีการจำกัดวงและมีจำนวนมากเท่าใด"
 
Facebook กล่าวอีกว่าพวกเขาจะเรียกร้องให้สามารถเปิดเผยข้อมูลให้ได้มากกว่านี้ โดยที่บุคคลใกล้ชิดกับบริษัทเปิดเผยว่าทาง Facebook ปฏิบัติตามคำขอของทางการสหรัฐฯ เพียงบางส่วนอย่างน้อยร้อยละ 79 จากคำขอทั้งหมด และพวกเขาก็ไม่ได้ส่งเนื้อหาหรือข้อความที่บุคคลนั้นๆ โพสท์ แต่ส่งแค่อีเมลล์ หมายเลขไอพี และชื่อของผู้ใช้ที่ถูกร้องขอให้แทน
 
โดยที่ Facebook เชื่อว่าตามกฏหมาย FISA น่าจะเรียกร้องข้อมูลมากกว่า แต่พวกเขาก็ยังไม่แน่ใจว่าคำสั่งภายใต้กฏหมาย FISA จะกินความกว้างแค่ไหน
 
นอกจากนี้ยังมีคำถามเกี่ยวกับ "การลดทอน"กระบวนการที่ได้รับการรับการรับรองจากศาล ซึ่งจำกัดการใช้ข้อมูลจากพลเมืองสหรัฐฯ และสภาความมั่งคงแห่งชาติสหรัฐฯ (NSA) ก็ถูกห้ามไม่ให้ตั้งเป้ากับกับพลเมืองในประเทศตนเอง
 
เควิน แบงค์สตัน ทนายความจากศูนย์เพื่อประชาธิปไตยและเทคโนโลยี กล่าวว่า "ภ้าหากพวกเขาได้รับข้อมูลจำนวนมากแต่ไม่ได้มีคำสั่งอนุญาตให้เข้าดูข้อมูลนั้นได้ คำถามคือมีกระบวนการใดที่บ่งชี้ว่าพวกเขาสามารถดูข้อมูลได้ หรือว่าพวกเขาแค่นำข้อมูลแช่ไว้เช่นนั้นจนกว่าในอนาคตพวกเขาจะมีคำสั่งให้ตรวจดูข้อมูลได้"
 
นอกจากนี้แล้ว ยังมีผู้เชี่ยวชาญด้านกฏหมายบางคนเปิดเผยว่า กฏหมายของสหรัฐฯ อนุญาตให้มีการเก็บข้อมูลเพียงเพื่อเป้าหมายด้านนโยบายการต่างประเทศ โดยไม่จำเป็นต้องเป็นการค้นหาตัวผู้ก่อการร้ายหรือสายลับเลยก็ได้
 
 
 
ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

Viewing all articles
Browse latest Browse all 14385

Trending Articles