Quantcast
Channel: พันศักดิ์ วิญญรัตน์
Viewing all articles
Browse latest Browse all 14385

ชวนอ่าน รายงาน iLaw ว่าด้วยสถานการณ์เสรีภาพการแสดงออก ประเทศไทย ปี 55-56

$
0
0

ศูนย์ข้อมูลกฎหมายและคดีเสรีภาพ โครงการอินเทอร์เน็ตเพื่อกฎหมายประชาชน (iLaw) เผยแพร่รายงาน สถานการณ์เสรีภาพการแสดงออก ประเทศไทย ประจำปี 2555-2556 โดยรวบรวมสถานการณ์ที่เป็นอุปสรรคต่อการใช้สื่อ การบริโภคข่าวสาร และการแสดงออกในสังคมไทย ทั้งที่เป็นสื่อดั้งเดิมอย่างหนังสือพิมพ์ ภาพยนตร์ วิทยุ โทรทัศน์ และการใช้สื่อใหม่อย่างอินเทอร์เน็ต

รายงานดังกล่าว ประกอบด้วยข้อมูลการปิดกั้นและละเมิดเสรีภาพในการแสดงออก ประมวลคำพิพากษาใหม่ ความเคลื่อนไหวคดี และร่างกฎหมาย-คำสั่ง-นโยบายใหม่ๆ ที่เกิดขึ้นตั้งแต่มกราคม พ.ศ. 2555 ถึง เมษายน 2556


อ่านรายงานฉบับเต็มได้ที่ : http://freedom.ilaw.or.th/th/2012_2013

 


(ส่วนหนึ่งจากรายงาน)
การปิดกั้นและการละเมิดเสรีภาพในการแสดงออก

เหตุผลทางศีลธรรม การหมิ่นประมาทกษัตริย์ฯ ความมั่นคงของประเทศ ความสามัคคีของคนในชาติ การหมิ่นศาสนา และการหมิ่นประมาทบุคคล เป็นเหตุผลหลักที่ถูกใช้เพื่อการปิดกั้นและละเมิดเสรีภาพ เมื่อจำแนกตามประเภทสื่อพบรายละเอียดการละเมิดที่น่าสนใจ ดังนี้

  •     พลเมืองพบการแสดงความคิดเห็นในประเด็นสาธารณะแล้วถูกดำเนินคดี โดยมีพลเมืองถูกฟ้องคดีหมิ่นประมาทกษัตริย์ฯ คดีใหม่อย่างน้อย 3 คดี และคดีหมิ่นประมาทบุคคลธรรมดาอย่างน้อย 2 คดี
  •     สื่อสิ่งพิมพ์ไม่ปรากฏรายชื่อหนังสือที่ถูกสั่งแบนตาม พ.ร.บ.จดแจ้งการพิมพ์ พ.ศ.2550 แต่มีหนังสือพิมพ์ถูกฟ้องคดีหมิ่นประมาททางอาญา ตามมาตรา 326 อย่างน้อย 15 คดี สาเหตุส่วนใหญ่เป็นการฟ้องเพราะหมิ่นประมาทบุคคลให้เสียหาย หัวหนังสือที่นักข่าว คอลัมนิสต์ และบรรณาธิการ ถูกฟ้องใหม่ในปี 2012 ได้แก่ หนังสือพิมพ์สยามดารา หนังสือพิมพ์มติชน หนังสือพิมพ์สยามกีฬารายวัน หนังสือพิมพ์พิมพ์ไทย หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ หนังสือพิมพ์โพสต์ทูเดย์ หนังสือพิมพ์เดลินิวส์ ส่วนผู้ฟ้องคดีหมิ่นประมาทต่อหนังสือพิมพ์ในปี 2012 ได้แก่ บุคลากรในแวดวงดารานักแสดง นักธุรกิจ สโมสรฟุตบอล บริษัทเอกชน รัฐวิสาหกิจ ข้าราชการการเมือง ข้าราชการประจำ ข้าราชการทหาร และ ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ
  •     สื่อภาพยนตร์ภาพยนตร์ถูกแบนและเซ็นเซอร์รวม 2เรื่อง คือ เรื่องเชคสเปียร์ต้องตาย ถูกสั่งห้ามฉายตาม พ.ร.บ.ภาพยนตร์และวีดิทัศน์ พ.ศ. 2551 ด้วยเหตุผลว่าภาพยนตร์ดังกล่าวอาจก่อให้เกิดความแตกแยกในสังคม และภาพยนตร์เรื่อง ฟ้าต่ำแผ่นดินสูง ถูกสั่งห้ามฉายเช่นกันแต่ต่อมา คณะกรรมการภาพยนตร์แจ้งให้ตัดบางฉากแล้วเผยแพร่ได้
  •     สื่อโทรทัศน์มีรายการที่ถูกสั่งให้งดออกอากาศโดยอำนาจเจ้าของสถานีอย่างน้อย 3 รายการ และถูกปรับโดยอำนาจของ กสทช. 1 รายการ และถูกชะลอการออกอากาศและอยู่ระหว่างการตั้งคณะกรรมการสอบสวน 1 รายการ เหตุผลของการละเมิดคือ มีเนื้อหาที่ขัดต่อศีลธรรมอันดี มีการดูหมิ่นศาสนา และดูหมิ่นสถาบันกษัตริย์ฯ
  •     สื่ออินเทอร์เน็ตมีคำสั่งปิดกั้นเว็บไซต์ ตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ.2550 มากกว่าสองหมื่นยูอาร์แอล โดยร้อยละ 80 เป็นเพจที่มีเนื้อหาหมิ่นประมาทกษัตริย์ฯ ร้อยละ 20 มีเนื้อหาลามกอนาจาร และมี 1 ยูอาร์แอลเป็นเนื้อหาดูหมิ่นศาสนา

อย่างไรก็ดี การปิดกั้นหรือห้ามเผยแพร่ อาจเป็นตัวชี้วัดการละเมิดเสรีภาพได้เพียงมิติเดียวเท่านั้น หากแต่ยังมีรูปแบบการละเมิดเสรีภาพด้วยวิธีอื่นๆ อีก โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การเซ็นเซอร์ตัวเองที่ถือเป็นวิกฤตสื่อรูปแบบใหม่ที่กำลังดำเนินอยู่

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

Viewing all articles
Browse latest Browse all 14385

Trending Articles