Quantcast
Channel: พันศักดิ์ วิญญรัตน์
Viewing all articles
Browse latest Browse all 14385

สรส.- เครือข่ายแรงงานพม่า คว้ารางวัลสิทธิแรงงานระหว่างประเทศ

$
0
0

เครือข่ายสิทธิแรงงานข้ามชาติชาวพม่า(MWRN) และสมาพันธ์แรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ (สรส.) รับรางวัลจากกลุ่มสิทธิแรงงานสหรัฐฯ ILRF สำหรับการทำงานที่ก้าวหน้าในการปกป้องแรงงานข้ามชาติในประเทศไทย


(22 พ.ค.56) วอชิงตัน ดีซี - องค์กร The International Labor Rights Forum (ILRF) ซึ่งเป็นองค์กรรณรงค์เพื่อการจ้างงานที่เป็นธรรมและการปฏิบัติต่อแรงงานทั่วโลกด้วยมนุษยธรรม จะมอบรางวัลสิทธิแรงงานระหว่างประเทศ พ.ศ.2556 แก่เครือข่ายสิทธิแรงงานข้ามชาติจากการรวมกลุ่มของแรงงานข้ามชาติพม่า (MWRN) และสมาพันธ์แรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ (สรส.) สำหรับการทำงานที่มีผลงานก้าวหน้าในการปกป้องแรงงานข้ามชาติในประเทศไทย
 
รางวัลสิทธิแรงงานระหว่างประเทศ ILRF มอบให้เป็นประจำทุกปีแก่หน่วยงานที่มีส่วนร่วมสำคัญในการสนับสนุนสิทธิแรงงาน เพื่อนำไปสู่การบรรลุการจ้างงานที่เป็นธรรมและมีมนุษยธรรมสำหรับคนงานทั่วโลก

แรงงานข้ามชาติจากประเทศเพื่อนบ้านของไทย ได้แก่ พม่า กัมพูชา และลาวคิดเป็นร้อยละ 10 ของกำลังแรงงานทั้งหมดในประเทศไทย โดยเฉพาะในอุตสาหกรรมการส่งออกที่ใช้แรงงานเข้มข้น เช่น แปรรูปอาหารทะเล เกษตรกรรม เครื่องนุ่งห่ม  ก่อสร้าง และการดูแลรับใช้ในบ้าน แรงงานจำนวนหนึ่งจะถูกส่งเข้าสู่กระบวนการค้ามนุษย์ข้ามชาติโดยนายหน้าแรงงานและมักจะถูกเอารัดเอาเปรียบในการจ้างงาน สภาพการทำงานที่เลวร้าย รวมทั้งการจ่ายค่าจ้างต่ำกว่าที่ตกลงและไม่ชำระเงินค่าจ้าง การละเมิดกฎหมายค่าจ้างขั้นต่ำ การทำงานล่วงเวลาเป็นเวลานาน การทำงานที่เป็นอันตรายและสภาพแวดล้อมการทำงานไม่ถูกสุขลักษณะ ทั้งยังการปฏิเสธเสรีภาพในการสมาคมและสิทธิในการเจรจาต่อรองรวมหมู่ ซึ่งเป็นปัญหาที่พบได้ทั่วไป ที่เลวร้านกว่านั้นคือการทำงานเพื่อปลดหนี้ การบังคับใช้แรงงานและการใช้แรงงานเด็กอย่างแพร่หลายในอุตสาหกรรมเหล่านี้
 
เมื่อ พ.ศ.2552 แรงงานข้ามชาติจากประเทศพม่าที่ทำงานอยู่ในภาคการแปรรูปอาหารทะเลของประเทศไทยตั้งกลุ่ม MWRN เพื่อแก้ไขปัญหาที่เกี่ยวข้องกับการค้ามนุษย์ การบังคับใช้แรงงาน การใช้แรงงานเด็ก และการละเมิดสิทธิมนุษยชนแรงงานอื่นๆ ด้วยความช่วยเหลือจากนายสาวิทย์ แก้วหวาน ผู้รับรางวัล ILRF และเลขาธิการ สรส.โดยมีนาย Aung Kyaw ผู้รับรางวัล ILRF ดำรงตำแหน่งประธาน MWRN ต่อมา MWRN เติบโตขึ้นในฐานะองค์กรระดับรากหญ้าที่ใหญ่ที่สุดที่มีสมาชิกเป็นคนงานข้ามชาติในประเทศไทย
 
ในช่วง 3 ปีที่ผ่านมา MWRN เปิดโปงการละเมิดสิทธิแรงงานในโรงงานแปรรูปอาหารทะเลอย่างกล้าหาญ โดยโรงงานดังกล่าวเป็นโรงงานผลิตที่ใหญ่ที่สุดที่ส่งสินค้าไปยังผู้ค้าปลีกในประเทศสหรัฐอเมริกา ทั้งยังได้ต้อนรับการเยือนของนาง อองซาน ซูจี ผู้ได้รับรางวัลโนเบล สาขาสันติภาพ ในการเดินทางไปต่างประเทศครั้งแรกของเธอในรอบ 24 ปีที่ มหาชัย จ.สมุทรสาคร ประเทศไทย โดยมีจุดประสงค์เพื่อสนับสนุนการปฏิรูปกฎหมายตรวจคนเข้าเมืองในประเทศไทยอย่างมีนัยสำคัญ

แม้ว่าแรงงานข้ามชาติไม่สามารถจัดตั้งสหภาพแรงงานได้ตามกฎหมายประเทศไทย ทว่าการทำงานร่วมกันระหว่างสรส.และ MWRN ได้ช่วยลดช่องว่างระหว่างการเคลื่อนไหวในรูปแบบสหภาพเคลื่อนไหวดั้งเดิมในประเทศไทยกับการต่อสู้ของแรงงานข้ามชาติ สรส.และ MWRN ได้จัดตั้งโครงการ ‘การขนส่งเพื่อมนุษยธรรม’ จนสำเร็จเพื่อให้แรงงานพม่าไปเยี่ยมบ้านเกิดอย่างปลอดภัยด้วยความร่วมมือกับบริษัทขนส่ง จำกัด
 
นอกจากนี้ สรส.ภายใต้การนำของนาย สาวิทย์ แก้วหวานยังได้ยื่นคำร้องกับองค์การแรงงานระหว่างประเทศ อ้างว่าการปฏิเสธของการชดเชยอุบัติเหตุการทำงานให้กับแรงงานข้ามชาติโดยรัฐบาลของประเทศไทยเป็นการละเมิดอนุสัญญา ILO ฉบับที่ 19 อย่างชัดเจน

จูดี้ เกียร์ฮาร์ท กรรมการบริหารของ ILRF กล่าวว่า MWRN อยู่ในเส้นทางที่จะกลายเป็นตัวแทนแรงงานข้ามชาติที่ได้รับการยอมรับทั่วโลกในประเด็นที่เกี่ยวข้องกับการค้ามนุษย์ การบังคับใช้แรงงาน และการละเมิดสิทธิมนุษยชนอื่นๆ ในกลุ่มแรงงานในประเทศไทย
 
“เรามีความมุ่งมั่นที่จะยืนเคียงข้าง MWRN และ สนับสนุนองค์กรที่ทำงานในอนาคต” กรรมการบริหารของ ILRF ระบุ

 
ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

Viewing all articles
Browse latest Browse all 14385

Trending Articles