Quantcast
Channel: พันศักดิ์ วิญญรัตน์
Viewing all articles
Browse latest Browse all 14385

อรอนงค์ ทิพย์พิมล: กฎหมายชารีอะห์กับผู้หญิงในอาเจะ

$
0
0

ในเวทีวิชาการ "มุสลิมและกระแสอิสลามในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้"ซึ่งจัดโดย ศูนย์อาเซียนศึกษา มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ร่วมกับ วารสารธรรมศาสตร์และกองบริหารการวิจัย มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ระหว่างวันที่ 13-14 ก.ย. ที่คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ การนำเสนอวันแรกช่วงบ่าย หัวข้อ  "อิสลามกับเพศสภาพ"อรอนงค์ ทิพย์พิมล ภาควิชาประวัติศาสตร์ คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ได้นำเสนอหัวข้อ "กฎหมายชารีอะห์กับผู้หญิงในอาเจะ"

อรอนงค์ ทิพย์พิมล นำเสนอหัวข้อ "กฎหมายชารีอะห์กับผู้หญิงในอาเจะ"

ช่วงแลกเปลี่ยนโดยยศ สันตสมบัติ และผู้ร่วมการประชุม

ตอนหนึ่ง อรอนงค์อภิปรายว่า ความเป็นชายขอบของผู้หญิงอาเจะ ในกรณีของกฎหมายชารีอะห์ ผู้หญิงอาเจะถูกทำให้เป็นชายขอบของอำนาจ ถูกกันออกจากการเมือง อย่างที่บอกว่าอาเจะถูกทำให้เป็นชายขอบแล้ว ผู้หญิงอาเจะถูกทำให้เป็นชายขอบของชายของอีก โดยในยุคระเบียบใหม่ (New Order) ของอดีตประธานาธิบดีซูฮาร์โต ผู้หญิงถูกวางบทบาทให้เป็นแม่และเมียที่ดี ซึ่งอาเจะก็ไม่ได้หลุดพ้นจากอุดมคติแบบนี้ นอกจากนี้ผู้หญิงยังถูกมองว่าเป็นกลุ่มที่ต้องรักษาศีลธรรมจารีตอันดีงาม เป็นเสาหลักของชาติ มีภาระต้องแบกรับศีลธรรม

ผู้หญิงไม่มีส่วนร่วมในการกำหนดหรือร่างกฎหมายชารีอะห์เลย ทีมในการร่างกฎหมายเป็นผู้ชายล้วน แน่นอนคนที่ร่างไม่ได้คำนึงว่าจะส่งผลกระทบอย่างไร เพราะไม่ใช่ตัวเอง กฎหมายชารีอะห์ถูกใช้เป็นเครื่องมือต่อรองทางการเมืองของผู้ชายทั้งระดับท้องถิ่น และระดับท้องถิ่นกับจาการ์ตา ซึ่งผู้หญิงไม่ได้มีส่วนร่วมทางการเมืองเลย

ความเป็นชายขอบต่อไปของผู้หญิงอาเจะ กับกฎหมายชารีอะก็คือ เป็นชายขอบของกลุ่มนักเคลื่อนไหว ทั้งนี้ในอาเจะมีขบวนการเอ็นจีโอมากมายเคลื่อนไหวประเด็นต่างๆ โดยเฉพาะเรียกร้องเรื่องสิทธิมนุษยชน โดยเฉพาะเรียกร้องให้ผู้ที่ถูกข่มขืนหรือทำร้ายช่วงสงคราม แต่ว่าในประเด็นผู้ได้รับผลกระทบจากกฎหมายชารีอะห์ กลับได้รับความสำคัญน้อยมาก เพราะหลายคนที่เป็นนักเคลื่อนไหวทั้งผู้หญิงและผู้ชายเห็นดีด้วยกับการแต่งตัวตามกฎหมายชารีอะห์"แต่งตัวแบบนั้นดีแล้ว"

ประเด็นสุดท้าย กฎหมายชารีอะห์กับผู้หญิงอาเจะ ยังเป็นชายขอบของความรู้ความเข้าใจทั้งคนภายในและภายนอก ยกตัวอย่างเวลาเจอเพื่อนคนไทยหรือชาวต่างชาติ ทุกคนยังมองว่ากฎหมายชารีอะห์น่ากลัว มีบทลงโทษน่ากลัว ซึ่งที่จริงแล้วเป็นเพียงสิ่งที่สื่อเลือกที่จะหยิบยกนำเสนอ และคนก็ติดกับดักนั้น

อรอนงค์สรุปตอนท้ายด้วยว่า การประกาศใช้กฎหมายชารีอะห์ที่อาเจะ ผูกโยงกับการสร้างรัฐชาติของอินโดนีเซีย ซึ่งกระบวนการสร้างรัฐชาติทำให้เกิดพื้นที่ศูนย์กลางและพื้นที่ชายขอบขึ้นมา ทั้งนี้พื้นที่อย่างอาเจะถูกทำให้เป็นพื้นที่ชายขอบของอำนาจ และในกระบวนการเครื่องมือทั้งหมดทั้งมวล ผู้หญิงถูกกันออกไปจากกระบวนการร่างกฎหมายชารีอะห์นี้ และเมื่อกฎหมายชารีอะห์ถูกบังคับใช้ ผู้หญิงในอาเจะก็กลายเป็นชายขอบของชายขอบอีกทีหนึ่ง

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

Viewing all articles
Browse latest Browse all 14385

Trending Articles