Quantcast
Channel: พันศักดิ์ วิญญรัตน์
Viewing all articles
Browse latest Browse all 14385

เวทีประชุมการแพทย์ฉุกเฉินของ อปท. ชี้ลดช่องว่าง ช่วยผู้ป่วยฉุกเฉินได้ทันท่วงที

$
0
0

เวทีประชุมการแพทย์ฉุกเฉินขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นระดับชาติ ชี้ พรบ.การแพทย์ฉุกเฉินปี 51 ส่งเสริมให้ อปท.เข้ามามีส่วนร่วมในการดำเนินงาน หน่วยกู้ชีพของ อปท. เพิ่มมากขึ้น ลดช่องว่างของการขาดแคลนหน่วยกู้ชีพ ช่วยผู้ป่วยฉุกเฉินได้ทันท่วงที

27 ส.ค. 2557 สถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ (สพฉ.) รายงานว่า ที่โรงแรมสุนีย์ แกรนด์ อำเภอเมือง จังหวัดอุบลราชานี  นายเสริม ไชยณรค์ ผู้ว่าราชการจังหวัดอุบลราชธานี เป็นประธานในพิธีเปิดการประชุมการแพทย์ฉุกเฉินขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นระดับชาติ ครั้งที่ 1 โดยมีนายแพทย์อนุชา เศรษฐเสถียร เลขาธิการสถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ  นายพรชัย โควสุรัตน์ นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดอุบลราชธานี พร้อมด้วยผู้แทนจากภาคีเครือข่ายการแพทย์ฉุกเฉิน ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นทั่วประเทศ และเข้าร่วมงาน

นายแพทย์อนุชา เศรษฐเสถียร เลขาธิการสถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ (สพฉ.) กล่าวว่า ภารกิจหนึ่งที่สำคัญของ สพฉ. คือการทำให้ผู้เจ็บป่วยฉุกเฉิน สามารถเข้าถึงระบบบริการการแพทย์ฉุกเฉินที่ได้มาตรฐาน เท่าเทียม มีประสิทธิภาพทันต่อสถาณการณ์ทั่วทุกพื้นที่ของประเทศ ทั้งภาวะปกติและภัยพิบัติ ซึ่ง สพฉ. มีหน้าที่ในการประสานทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ทั้งภาครัฐและเอกชน ในการให้บริการระบบการแพทย์ฉุกเฉินผ่านสายด่วน 1669  โดยจากสถิติในปีที่ผ่านมาพบว่า การให้บริการการแพทย์ฉุกเฉิน ยังไม่ครอบคลุมพื้นที่ทั้งหมด โดยเฉพาะในเขตนอกเมือง ซึ่งจากเจตนารมณ์ของ พรบ.การแพทย์ฉุกเฉินปี 2551 ได้มีการส่งเสริมให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นทั่วประเทศ เข้ามามีส่วนร่วมในการดำเนินงานดังกล่าว โดยมีหน่วยกู้ชีพขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นต่างๆเพิ่มมากขึ้น  อันจะทำให้ช่องว่างของการขาดแคลนหน่วยกู้ชีพในบางพื้นที่นั้นลดน้อยลง และเป็นกำลังสำคัญในการช่วยชีวิตผู้เจ็บป่วยฉุกเฉินได้อย่างทันท่วงที

ด้าน นายพรชัย โควสุรัตน์ นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดอุบลราชธานี กล่าวว่า จากพระราชบัญญัติแผนและขั้นตอนการกระจายอำนาจให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2542 กำหนดให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมีอำนาจหน้าที่ในเรื่องการแพทย์ฉุกเฉิน เพื่อให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นสามารถดำเนินงานและบริหารจัดการการแพทย์ฉุกเฉินได้ตามมาตรฐาน ซึ่งที่ผ่านมาในหลายพื้นที่ได้มีการดำเนินงานในด้านนี้อย่างต่อเนื่อง มีการพัฒนาในด้านองค์ความรู้ การบริหารจัดการ มีหน่วยกู้ชีพและรถพยาบาล ที่ได้มาตรฐานการในการให้บริหาร นอกจากนี้ยังเป็นการส่งเสริมให้ชุมชนมีความรู้ ความเข้าใจและมีส่วนร่วมในการให้บริการการแพทย์ฉุกเฉินอีกด้วย

“องค์การบริหารส่วนจังหวัดอุบลราชธานี จึงได้ร่วมกับสถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ จัดการประชุมการแพทย์ฉุกเฉินขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นระดับชาติขึ้นเป็นครั้งแรกในปีนี้ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้การประชุมนี้ เป็นเวทีที่จะสร้างองค์ความรู้และแลกเปลี่ยนเรียนรู้งานการแพทย์ฉุกเฉินขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นต่างๆ สร้างความเข้มแข็งของภาคีเครือข่าย ให้สามารถดำเนินงานและพัฒนาระบบบริหารจัดการการแพทย์ฉุกเฉินได้อย่างยั่งยืนและมีประสิทธิภาพ” นายก อบจ.อุบลราชธานี กล่าว

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

Viewing all articles
Browse latest Browse all 14385

Trending Articles