Quantcast
Channel: พันศักดิ์ วิญญรัตน์
Viewing all articles
Browse latest Browse all 14385

CCPP 2014 เวทีวิชาการนานาชาติเพื่อบทเรียนสันติภาพชายแดนใต้

$
0
0

มอ.ปัตตานีพร้อมจัดการประชุมวิชาการนานาชาติ เรื่อง “การสื่อสาร ความขัดแย้งและกระบวนการสันติภาพ : ภูมิทัศน์ความรู้จากเอเชียและจังหวัดชายแดนภาคใต้ของไทย” (CCPP 2014) เปิดเวทีวิชาการตั้งแต่เรื่องระเบิดถึงป้ายผ้า ศักยภาพของสื่อในสถานการณ์ความขัดแย้ง วารสารศาสตร์เพื่อสันติภาพตลอดจนถึงการเสวนาในประเด็นปาตานีในสถานการณ์ใหม่

เปิดกำหนดการ CCPP เวทีวิชาการเพื่อสันติภาพ

สำหรับกำหนดการประชุมวิชาการนานาชาติ เรื่อง “การสื่อสาร ความขัดแย้งและกระบวนการสันติภาพ : ภูมิทัศน์ความรู้จากเอเชียและจังหวัดชายแดนภาคใต้ของไทย” (International Conference on Communication, Conflicts and Peace Processes: Landscape of Knowledge from Asia and the Deep South of Thailand) หรือ CCPP ในวันที่ 21-22 สิงหาคม 2557 ที่มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี (ม.อ.ปัตตานี) โดยมีการแปลเป็นสองภาษา ทั้งภาษาไทยและอังกฤษ ในห้องบรรยายและเสวนาหลัก ดังนี้

สู้ด้วยการไม่ใช้อาวุธ-ศักยภาพสื่อใหม่เพื่อเปลี่ยนผ่าน

วันที่ 21 สิงหาคม 2557 เวทีแรกเริ่มเวลา 09.00 น.ที่อาคารวิทยาลัยอิสลามนานาชาติ ด้วยพิธีเปิดและกล่าวต้อนรับโดย รศ.ดร.ชูศักดิ์ ลิ่มสกุล อธิการบดี ม.อ. จากนั้นเป็นการปาฐกถาพิเศษ เรื่อง “จากระเบิดถึงป้ายผ้า? การเปลี่ยนยุทธวิธีการต่อสู้ด้วยอาวุธสู่การไม่ใช้อาวุธ” โดย ศ.ดร.Stein Tønnesson สถาบันวิจัยสันติภาพแห่งออสโล ประเทศนอร์เวย์

จากนั้นเวลา 10.00 น.เป็นการปาฐกถาพิเศษ เรื่อง “ระหว่างสองทางเลือกอันเป็นหายนะ: การใช้ศักยภาพของสื่อใหม่เพื่อเปลี่ยนผ่านความขัดแย้ง” โดย Sanjana Yajitha Hattotuwa ศูนย์ศึกษานโยบายทางเลือก ประเทศศรีลังกา

จากนั้นเวลา 11.00 น. เริ่มแบ่งห้องย่อยเพื่อนำเสนอผลงานทางวิชาการ 2 ห้องที่คณะวิทยาการสื่อสาร ได้แก่

การเมือง ขบวนการทางสังคม

ห้อง B301 หัวข้อความขัดแย้งทางการเมือง ขบวนการทางสังคมและสันติภาพ ผู้นำเสนอประกอบด้วย Ahmad (Shinwari) Naveed นำเสนอเรื่อง ‘Hostility’ of Ungoverned Borderland Pakhtunsto Outside World: A Case Study of Pakistan’s Federally Administered Tribal Areas (FATA),

Kersin Duell นำเสนอเรื่อง From Diaspora Activism to Conflict Resolution: Political Exiles and Ethnic Leaders in Burma/Myanmar

Onanong Thippimol นำเสนอเรื่อง The Political Role of Acehnese Ulama and Debates Over Islamic Law in Aceh, 1945 – 1962 และ

Wattana Sugunnasil นำเสนอเรื่อง Democracy and Decentralization: People’s Perception in the North ผู้วิพากษ์คือ รศ.ดร.ฉันทนา บรรพศิริโชต หวันแก้ว จากคณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

วารสารศาสตร์เพื่อสันติภาพ

ห้อง B302 หัวข้อวารสารศาสตร์เพื่อสันติภาพ สื่อมวลชนและสันติภาพ ผู้นำเสนอประกอบด้วย Pirongrong Ramasoota นำเสนอเรื่อง Hate Speech in the Media

Phansasiri Kularb นำเสนอเรื่อง Beyond Conventional Professionalism: The Diverse Roles of Thai Journalism in the Southern Conflict

Kanuengkwan Nunkaew and Raja Pokharapurkar นำเสนอเรื่อง Cross Media Ownership and its impact: A Comparative Study of Media Organization in India and Thailand in the Context of Conflict และ

Zakee Phithakkumpol นำเสนอเรื่อง Re-examining the Past in the Indonesia Present: An Analysis of the Documentary Film ‘The Act of Killing’ ผู้วิพากษ์ คือ รศ.ดร.อุบลรัตน์ ศิริยุวศักดิ์

ความขัดแย้งและกระบวนการสันติภาพ

เวลา 13.30 น. แบ่งออกเป็น 3 ห้อง ได้แก่ ห้อง B301 เรื่อง การแก้ปัญหาความขัดแย้งและกระบวนการสันติภาพ ผู้นำเสนอ ได้แก่ Douglas Olthof นำเสนอเรื่อง Living Together Separately: Nationalism, Decentralization and the Absence of Shared Identity in Thailand’s Southernmost Provinces

Apichaya O-In นำเสนอเรื่อง Partnerships of International and Local Actors for the Transformation of Peace Constituencies in the Far South of Thailand และ

Bussabong Chaijaroenwatana นำเสนอเรื่อง Evaluating the Initiatives of the Insider Peacebuilders Platform in the Context of the Southern Thailand/Pattani Peace Process ผู้วิพากษ์ คือ Dr. Norbert Ropers จาก ม.อ.ปัตตานี

ขบวนการทางสังคมและสันติภาพ

ห้อง B302 เรื่อง ความขัดแย้ง ขบวนการทางสังคมและสันติภาพ ผู้นำเสนอได้แก่ Samak Kosem นำเสนอเรื่อง Peaceful Subjectivation to Islam?: Conversion and Internal Conflicts of Ethnic Youth in Muslimization Process

Akkanut Wantanasombut นำเสนอเรื่อง Unheard Voices: The Youth’s Movements Toward the Conflict in Thailand’s Southernmost Provinces และ

Ekkarin Tuansiri นำเสนอเรื่อง Dynamism, Changes and Social Reform of Pattani Society ผู้วิพากษ์ คือ ผศ.ดร.สุชาติ เศรษฐมาลินี จากมหาวิทยาลัยพายัพ

กระบวนการสันติภาพปาตานี

ห้อง B303 เรื่อง กระบวนการสันติภาพปาตานี ผู้นำเสนอ ได้แก่ Don Pathan and Ekkarin Tuansiri นำเสนอเรื่อง Negotiating the Future of Patani: Negotiating Peace in the Malay Provinces of Thailand

Punpipit Pipitpun นำเสนอเรื่อง Thailand’s National Security Policies toward the Islamic Unrest in the Deep South: Comparing Thaksin, Surayud and Abhisit Governments

Rungrawee Chalermsripinyorat นำเสนอเรื่อง Thinking Outside the Box? Lesson Learnt from Peace Dialogue in Southern Thailand และ

Srisompob Jitpiromsri and Norbert Ropers นำเสนอเรื่อง Discourses on Conflict and Peace in Southern Thailand: The Power of Framing Ethnopolitical Relationships ผู้วิพากษ์คือ Prof.Dr.P.Sahadevan, Jawaharlal Nehru University, India

ความสำเร็จและสิ่งท้าทาย

เวลา 15.15 น. เป็นเวทีเสวนา เรื่อง ภูมิทัศน์กระบวนการสันติภาพในเอเชีย : ความสำเร็จและสิ่งท้าทาย ที่ห้อง B103 ชั้น 1 คณะวิทยาการสื่อสาร และในช่วงเย็นเป็นงานเลี้ยงต้อนรับที่คณะรัฐศาสตร์

วารสารศาสตร์เพื่อแก้ไขความขัดแย้ง

วันที่ 22 สิงหาคม 2557 ที่วิทยาลัยอิสลามศึกษาและคณะวิทยาการสื่อสาร เริ่มเวลา 09.15 น. โดยการปาฐกถาพิเศษ เรื่อง “วารสารศาสตร์สันติภาพเพื่อการแก้ไขปัญหาความขัดแย้ง” (Peace Journalism as a Contribution to Conflict Resolution) โดย รศ.ดร.Jake Lynch ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยความขัดแย้งและสันติศึกษา มหาวิทยาลัยซิดนีย์ ประเทศออสเตรเลีย

เวลา  10.45 น.แบ่งห้องย่อยอีกครั้งมี 2 ห้อง ได้แก่ ห้อง B301 เรื่องการแก้ปัญหาความขัดแย้งและกระบวนการสันติภาพ ผู้นำเสนอ ได้แก่ Iulia Padeanu นำเสนอเรื่อง Face to Face: Assessing the Managed Contact Theory and its Role in Peace building and Reconciliation,

P.Sahadevan นำเสนอเรื่อง How India Makes Peace? และ Yasmin Sattar นำเสนอเรื่อง The Lesson Learned from an Ongoing Turkish-Kurdish Peace Process ผู้วิพากษ์คือ รศ.ดร.วัฒนา สุกัณศีล จากมหาวิทยาลัยเชียงใหม่

เทคโนโลยีและการสื่อสารความขัดแย้ง

ห้อง B302 หัวข้อ เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารในสถานการณ์ความขัดแย้ง ผู้นำเสนอ ได้แก่ G.Balasubramania Raja and Jone Antony Raja นำเสนอเรื่อง Social Issues Shared and Discussed in Social Networking Sites by College Youth

Muazzan Binsaleh and Sariya Binsaleh นำเสนอเรื่อง Mobile Learning Implementation Framework in the Conflict Area of the Four Southernmost Provinces of Thailand และ Aminoh Jehwae and Siti Hajar CheMan นำเสนอเรื่อง Conflict Resolution in Southern Border Provinces of Thailand in the Novel Promdaen ผู้วิพากษ์ คือ รศ.อิ่มจิต เลิศพงษ์สมบัติ จากม.อ.

ชายแดนใต้/ปาตานีในสถานการณ์ใหม่

เวลา 13.30 น. ที่ห้อง B103 ชั้น 1 คณะวิทยาการสื่อสาร เสวนาเรื่อง บนเส้นทางสันติภาพ : ชายแดนใต้/ปาตานีในสถานการณ์ใหม่ Open discussion : On the (Peace) Road Again. Pa(t)tani in New Conditions เป็นการเสวนาภาษาไทย กล่าวเปิดงานโดย นายสิทธิพงษ์ จันทรวิโรจน์ เลขาธิการมูลนิธิศูนย์ทนายความมุสลิม

ผู้ร่วมเสวนา ประกอบด้วย ศ.ดร.กามารุซซามาน อัสกันดาร์ ผศ.ดร.บุษบง ชัยเจริญวัฒนะ พลตรีนักรบ บุญบัวทอง ดอน ปาทาน รุ่งระวี เฉลิมศรีภิญโญรัช รอมดอน ปันจอร์ และพรเพ็ญ คงขจรเกียรติ ดำเนินรายการโดย ฐปณีย์ เอียดศรีไชย ผู้ประกาศข่าวภาคสนามรายการ “ข่าว 3 มิติ” ไทยทีวีสีช่อง 3

เวลา 16.45 น.พิธีปิดและสรุปการประชุม โดย ผศ.ดร.ศรีสมภพ จิตร์ภิรมย์ศรี ผู้อำนวยการสถานวิจัยความขัดแย้งและความหลากหลายทางวัฒนธรรมภาคใต้ ม.อ. ปัตตานี

วันที่ 23 สิงหาคม 2557 เยี่ยมชมสถานที่สำคัญทางประวัติศาสตร์และวัฒนธรรมจังหวัดชายแดนภาคใต้ ในจังหวัดนราธิวาสและปัตตานี เริ่มตั้งแต่เวลา 09.00 – 15.00 น.

เจ้าภาพพร้อมรับกองทัพสื่อมวลชน

อาจารย์อมรรัตน์ ชนะการณ์ อาจารย์คณะวิทยาการสื่อสารซึ่งเป็นผู้รับผิดชอบฝ่ายประชาสัมพันธ์งานงานประชุมวิชาการนานาชาติครั้งนี้กล่าวว่า ฝ่ายจัดงานได้มีการประชาสัมพันธ์การจัดงานอย่างรอบด้านและทั่วถึง เช่น การผลิตสปอตวิทยุออกอากาศในสถานีวิทยุต่างๆ การทำป้ายประชาสัมพันธ์ทั้งในวิทยาเขตและนอกสถานที่ จัดทำอักษรวิ่งที่ป้ายประชาสัมพันธ์ในเมืองหาดใหญ่และเผยแพร่รายละเอียดของการจัดงานตามสื่อต่างๆ อย่างต่อเนื่องทั้งสื่อสิ่งพิมพ์และเวบไซต์โดยมีทั้งเวบไซต์ของ CCPP และเพจในเฟซบุ๊ก

สำหรับในวันงานได้จัดให้มีการถ่ายทอดสดทางโทรทัศน์ออนไลน์ในเว๊บไซต์ของ ThaiPBS ตลอดงานพร้อมกับถ่ายทอดเสียงการประชุมที่แปลเป็นเสียงภาษาไทยผ่านรายการวิทยุของ มอ.ปัตตานีไปยังกลุ่มเป้าหมายในพื้นที่ ในส่วนของสื่อมวลชนที่เข้าร่วมในงานนี้ ฝ่ายประชาสัมพันธ์ได้จัดเตรียมห้องสำหรับสื่อมวลชนเป็นการเฉพาะอีกทั้งได้เตรียมคอมพิวเตอร์กลางสำหรับเก็บสต๊อกภาพการจัดงานสำหรับให้บริการสื่อมวลชนที่ต้องการภาพจากเวทีต่างๆ ที่มีการจัดประชุม ในส่วนของการประสานงานให้กับสื่อมวลชนที่ต้องการสัมภาษณ์หรือต้องการติดต่อกับวิทยากร นักวิชาการที่มาร่วมประชุมนั้นสามารถประสานงานผ่านเจ้าหน้าที่งานประชาสัมพันธ์ได้ทันที

         

 

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

Viewing all articles
Browse latest Browse all 14385

Trending Articles