Quantcast
Channel: พันศักดิ์ วิญญรัตน์
Viewing all articles
Browse latest Browse all 14385

เผยพบกระบวนการฟอกน้ำมันประกอบอาหารมือ 2 ก๊อบปี้ยี่ห้อวางขายตลาดนัด ไซต์ก่อสร้างคนงาน

$
0
0
เผยพบกระบวนการฟอกน้ำมันประกอบอาหารมือ 2 ก๊อบปี้ยี่ห้อวางขายตลาดนัด ไซต์ก่อสร้างคนงาน แถมนำไปผสมอาหารสัตว์ส่งผลให้สารก่อโรคเข้าสู่วงจรอาหารมนุษย์ ชี้ ก่อ “โรคมะเร็ง – ความดันสูง” เตรียมผลักดันกฎหมายให้พ่อค้ารับซื้อน้ำมันเก่าต้องขึ้นทะเบียน อึ้ง พบเครื่องจักรฟอกน้ำมันเก่าจัดโชว์สินค้าอล่างฉ่าง

 
25 ก.ค. 2557 ที่อิมแพ็คเมืองทองธานี ในงานประชุมวิชาการมหกรรมอาหารและสุขภาพ วิถีไท ครั้งที่ 1 ภายใต้แคมเปญ “กินเปลี่ยนโลก:บทบาทอาหารกับสุขภาพ สังคมและสิ่งแวดล้อม” จัดโดย มูลนิธิสุขภาพไทย มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค มูลนิธิชีววิถี มูลนิธิเพื่อเด็กพิการ มูลนิธิเกษตรยั่งยืน (ประเทศไทย) สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) และภาคีเครือข่ายความมั่นคงทางอาหารและสุขภาพวิถีไทย โดย ภภ. วรวิทย์ กิตติวงศ์สุนทร ศูนย์วิทยาศาสตร์การแพทย์ที่ 8 อุดรธานี กล่าวในการเสวนาประสบการณ์ทำงานเรื่องอาหารปลอดภัยของแต่ละประเทศ ว่าตนได้เฝ้าระวังเรื่องการใช้น้ำมันทอดซ้ำเพราะจะมีปัญหาว่าพบสารก่อมะเร็ง (พาร์) หากสูดดมจะส่งผลให้เกิดมะเร็งปอดสูง และหากรับประทานจะก่อให้เกิดโรคมะเร็งกระเพาะอาหารและมะเร็งลำไส้ใหญ่ และสารที่ก่อให้เกิดภาวะความดันในเลือดสูง (โพลา) เกินค่ามาตรฐานสากลที่กำหนดอยู่ที่ 25% โดยในส่วนของประเทศไทยมีการใช้น้ำมันเพื่อการบริโภคจำนวน 1.2 ล้านตัน น้ำมันที่เหลือจะถูกนำไปผลิตไบโอดีเซล
 
สิ่งที่น่ากังวลขณะนี้คือพบว่ากระบวนการลักลอบซื้อน้ำมันเก่าหรือเรียกว่าน้ำมันขยะเหล่านี้ไปฟอกให้แต่ก็มีจำนวนหนึ่งที่มีการลักลอบไปฟอกให้ใสเหมือนกับน้ำมันใหม่ แล้วบรรจุหีบห่อสวยงาม บางครั้งพบว่าลอกเลียนแบบตราสัญลักษณ์ของน้ำมันพืชที่ได้รับความนิยมในท้องตลาด แต่ซึ่งในความเป็นจริงสารก่อโรคทั้ง 2 ยังคงอยู่ในปริมาณเท่าเดิม ที่น่ากลัว คือเมื่อ 2 ปีก่อนตนพบว่ามีการออกบูธจัดแสดงเครื่องมือในการฟอกน้ำมันเก่าที่ศูนย์การประชุมไบเทค บางนา เป็นการเสนอขายอย่างโจ่งแจ้ง จากเดิมที่พบการโฆษณาขายผ่านเว็บไซต์ของจีนเท่านั้น ที่สำคัญอุปกรณ์ดังกล่าวเป็นเครื่องจักรที่ยังไม่มีกฎหมายควบคุมเอาผิดได้
 
“เนื่องจากน้ำมันผ่านการฟอกจนใสเหมือนน้ำมันใหม่ทำให้สังเกตได้ยากดังนั้นขอให้ประชาชนเลือกซื้อน้ำมันจากแหล่งที่น่าเชื่อถือ ส่วนน้ำมันเก่า แถมยังตียี่ห้อปลอมนั้นส่วนใหญ่จะขายตามตลาดนัด แถวไซต์งานก่อสร้าง ส่วนราคาขายจะอยู่ที่ประมาณ 35-37 บาท ขณะนี้ที่ของจริงจะขายอยู่ที่ประมาณ 40 บาทขึ้นไป” ภภ. วรวิทย์ กล่าว
 
ภภ. วรวิทย์ กล่าวต่อว่า นอกจากนี้ยังพบว่ามีการนำเอาน้ำมันขยะเหล่านี้ไปผสมเป็นอาหารสัตว์ ทำให้สารโพลา และพาร์กลับเข้ามาอยู่ในวงจรอาหารของมนุษย์อีกรอบโดยที่ไม่มีการควบคุมดูแล ในขณะที่สหภาพยุโรป (EU) ประกาศห้ามใช้น้ำมันเก่ามาปรุงเป็นอาหารสัตว์เด็ดขาดตั้งแต่ปี 2547 ดังนั้นขณะนี้จึงพยายามผลักดันให้มีการแก้กฎหมายให้บุคคลที่ต้องการใช้ประโยชน์จากน้ำมันเก่าต้องไปขึ้นทะเบียนตามกฎหมายเพื่อให้สามารถระบุตัวตน และสามารถตรวจสอบติดตามที่มา ที่ไปของน้ำมันเก่า ป้องกันการนำไปใช้ผิดวัตถุประสงค์  อย่างไรก็ตาม ขณะนี้สมัชชาสุขภาพแห่งชาติให้การรับรองแล้วว่าเรื่องน้ำมันเก่าเป็นปัญหาที่ต้องได้รับการแก้ไข และต้องผลักดันให้เป็นวาระแห่งชาติ จัดการให้มีหน่วยงานเข้ามาดูแลเรื่องนี้อย่างจริงจัง ให้ความรู้กับประชาชนถึงอันตรายจากการใช้น้ำมันทอดซ้ำให้ได้ อย่างล่าสุดขณะนี้ได้มีการร่วมมือกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นกว่า 100 แห่ง ในการนำเอาน้ำมันใช้แล้วไปทำเป็นน้ำมันดีเซลล์ รวมถึงโรงงานอุตสาหกรรมบางแห่งที่ใช้น้ำมันดีเซลล์จากน้ำมันใช้แล้วทำให้สามารถประหยัดเงินได้กว่าล้านบาท จึงเป็นเรื่องที่น่าจะผลักดันต่อ
 
ด้านนางลิซ ฟาม องค์กรผู้บริโภคเวียดนาม (CUTS International) กล่าวว่า ที่ประเทศเวียดนามมีปัญหาเรื่องของคุณภาพอาหารมาก โดยเฉพาะร้านค้าข้างถนนที่มีอยู่กว่า 400,000 ร้าน ซึ่งผู้ประกอบกิจการร้านอาหารไม่ค่อยมีจรรยาบรรณเท่าไหร่ มีการลักลอบใส่สารต้องห้ามในอาหาร เช่น สารฟอกขาวในเส้นก๋วยเตี๋ยวที่พบมากกว่า 80% โดยสารดังกล่าวจะก่อให้เกิดโรคมะเร็งในอนาคต อีกทั้งยังพบการปรุงอาหารที่ไม่ได้มาตรฐานอีกหลายอย่างทำให้ประชาชนเป็นโรคที่มาจากอาหารจำนวนมาก โดย 6 เดือนแรกของปี 2557 พบผู้ป่วยเป็นโรคท้องเสียกว่า 2,400  ราย บางรายรุนแรงถึงขั้นเสียชีวิต แต่รัฐบาลพยายามปกปิดเรื่องเอาไว้ ล่าสุดขณะนี้รัฐบาลของประเทศเวียดนามได้ อนุญาตให้มีการปลูกพืชตัดต่อพันธุกรรมได้ (GMO) ซึ่งเรื่องนี้ประชาชนยังไม่ทราบจึงยังไม่มีการเคลื่อนไหวต่อต้านนโยบาย 
 
“เรามีกฎหมายความปลอดภัยด้านอาหาร และมาตรฐานของชาติ แต่ไม่มีการควบคุมอย่างจริงจัง ถ้าพบผิดกฎหมายค่อยมาดู ดังนั้นจึงไม่มีอะไรมาป้องกันเราได้ อย่างไรก็ตาม สินค้าทางการเกษตรที่มีปัญหามาในประเทศเวียดนามขณะนี้คือสินค้าที่นำเข้าจากประเทศจีน ซึ่งพบว่าสารตกค้างมากกว่า 3-4 เท่าของมาตรฐานที่ยอมรับในเวียดนาม"นางลิซ กล่าว 
ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

Viewing all articles
Browse latest Browse all 14385

Trending Articles