กลุ่มฅนรักษ์บ้านเกิด จ.เลย เตรียมทำประชาคม 6 หมู่บ้าน ค้านคณะกรรมการปัญหามาจากคู่กรณี ไร้การมีส่วนร่วม หวั่นถูกทหารสกัดซ้ำรอยเดิม ด้านจังหวัดเลย-ทหารเดินหน้าประชุมแก้ปัญหาเหมืองทองคำ ชี้คนในพื้นที่ยังมีข้อเสนอ-ความต้องการบางประเด็นที่รัฐต้องทำความเข้าใจและสร้างความมั่นใจให้เกิดขึ้น
17 ก.ค. 2557 เพจ Facebook เหมืองแร่ เมืองเลยแจ้งข่าวว่าช่วงเช้าวันที่ 18 ก.ค.นี้ กลุ่มฅนรักษ์บ้านเกิด ต.เขาหลวง อ.วังสะพุง จ.เลย จะทำประชาคม 6 หมู่บ้าน โดยคณะกรรมการจัดประชาคมที่มีการคัดเลือกมาจากคนใน 6 หมู่บ้านในฐานเจ้าของปัญหาเป็นผู้จัดและดำเนินการเอง จากกรณีปัญหาการประกอบกิจการเหมืองแร่ทองคำของบริษัททุ่งคำส่งผลกระทบกับคนในพื้นที่
ข้อมูลในเพจดังกล่าวระบุว่า การประชาคมจะเป็นการร่วมแสดงความคิดเห็นของชาวบ้านใน 2 เรื่อง คือ 1.เรื่องการไม่ยอมรับคณะกรรมการแก้ไขปัญหาความขัดแย้งอันเนื่องมาจากการประกอบกิจการเหมืองแร่ทองคำพื้นที่ เขาหลวง อ.วังสะพุง จ.เลย ทั้ง 4 ชุด ที่ทหารและหน่วยงานส่วนจังหวัดเป็นผู้จัดตั้งขึ้นมา เนื่องจากชาวบ้านไม่มีส่วนรับรู้และไม่มีส่วนร่วมในการจัดตั้งคณะกรรมการดังกล่าว อีกทั้งชาวบ้านได้เคยร้องเรียนปัญหาผลกระทบจากการทำเหมืองที่เกิดขึ้นในพื้นที่ต่อหน่วยงานราชการที่เกี่ยวข้องซึ่งปัจจุบันอยู่ในคณะกรรมการดังกล่าวมานานแล้ว แต่ไม่ได้มีการแก้ไขปัญหาอะไรแต่อย่างใด นอกจากนั้น ชาวบ้านยังเห็นว่าคณะกรรมการดังกล่าวถือเป็นคู่กรณีกับชาวบ้าน และไม่มีความโปร่งใสในการดำเนินงาน
และ 2.ยืนยันข้อเสนอ 6 ข้อ ของชาวบ้าน 6 หมู่บ้าน ที่เคยเสนอกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องและทหารไปแล้ว อีกครั้ง
ทั้งนี้ กลุ่มฅนรักษ์บ้านเกิด ได้ทำหนังสือถึงหน่วยงานรัฐที่เกี่ยวข้อง เช่น ผู้ว่าจังหวัดเลย อุตสาหกรรมจังหวัดเลย ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมจังหวัดเลย ฯลฯ ให้เข้าร่วมสังเกตการณ์การประชาคมด้วย โดยขณะนี้ในหมู่บ้านกำลังประกาศให้ชาวบ้านมาประชาคมจากหอกระจายข่าว 6 หมู่บ้าน แต่ยังไม่ทราบว่าการประชาคมพรุ่งนี้จะเกิดอะไรขึ้นบ้าง เนื่องจากความเคลื่อนไหวอีกด้านในวันนี้ ทหารได้นัดคุยกับผู้ใหญ่บ้าน และ สวล.ภาค 9 รวมถึงมีการนัดหมายกับ สมาชิกสภา อบต. และนายสุรพันธ์ รุจิไชยวัฒน์ แกนนำชาวบ้านกลุ่มฅนรักษ์บ้านเกิด ซึ่งยังไม่ได้เข้าพบเพื่อพูดคุยกับทหาร
และ 2.ยืนยันข้อเสนอ 6 ข้อ ของชาวบ้าน 6 หมู่บ้าน ที่เคยเสนอกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องและทหารไปแล้ว อีกครั้ง
ทั้งนี้ กลุ่มฅนรักษ์บ้านเกิด ได้ทำหนังสือถึงหน่วยงานรัฐ
นอกจากนี้ เพจ เหมืองแร่ เมืองเลยยังเผยแพร่ภาพเหตุการณ์ในคืนวันที่ 18 มิ.ย. 2557 ซึ่งทหารที่ชาวบ้านขอให้มารักษาความปลอดภัยได้ประกาศใช้กฎอัยการศึกไม่ให้ชาวบ้านทำการประชุม โดยเข้ารื้อค้น ถ่ายรูปในบ้านของชาวบ้าน และห้ามไม่ให้ชาวบ้านเคลื่อนไหวทำกิจกรรมหรือการรณรงค์เพื่อคัดค้านเหมืองทองที่สร้างความเดือดร้อนให้ชาวบ้านมายาวนานนับ 10 ปี พร้อมระบุหวังว่าพรุ่งนี้จะไม่มีเหตุการณ์ซ้ำรอย
ที่มาภาพ: เหมืองแร่ เมืองเลย
ด้าน breakingnews.nationtvรายงานว่า วันนี้ (17 ก.ค. 2557) ที่ห้องประชุมศรีสองรัก ศาลากลางจังหวัดเลย พล.ต.วรทัต สุพัฒนานนท์ ผู้บังคับการจังหวัดทหารบกเลย ในฐานะผู้บังคับการกองกำลังรักษาความสงบประจำพื้นที่ จ.เลย พร้อมด้วย นายวิโรจน์ จิวะรังสรรค์ ผู้ว่าราชการจังหวัดเลย ได้ร่วมประชุมคณะกรรมการแก้ไขปัญหาความขัดแย้งอันเนื่องมาจากการประกอบกิจการเหมืองแร่ทองคำพื้นที่ เขาหลวง อ.วังสะพุง จ.เลย
ที่ประชุมได้รับทราบผลการปฏิบัติงานของหน่วยเฉพาะกิจเขาหลวง ชุดปฏิบัติการจิตวิทยาและประชาสัมพันธ์ ของจังหวัดทหารบกเลยและคณะอนุกรรมการรวบรวมปัญหาความต้องการของประชาชน คณะอนุกรรมการประสานความต้องการของบริษัททุ่งคำ คณะอนุกรรมการฟื้นฟูคุณภาพชีวิตและสิ่งแวดล้อม ซึ่งได้ลงปฏิบัติงานในพื้นที่ และแก้ไขปัญหาเบื้องต้น ไม่ว่าจะเป็นการตรวจสอบคุณภาพสิ่งแวดล้อมด้านน้ำ ดิน ตรวจสุขภาพประชาชนและพนักงานบริษัท การศึกษาข้อมูลเพื่อวางแผนพัฒนาคุณภาพชีวิตและสิ่งแวดล้อมของประชาชน ในพื้นที่ที่ได้รับผลกระทบทั้ง 6 หมู่บ้าน
ผลสรุปข้อมูลจากการประชุม ประชาชนมีความวิตกกังวลเรื่องปัญหาสุขภาพ มลพิษ สารปนเปื้อนในแหล่งน้ำ ผลผลิตการเกษตรลดลง มีความต้องการให้เหมืองหยุดกิจการและเพิกถอนประทานบัตร แล้วกำหนดมาตรการฟื้นฟูสภาพแวดล้อม ระบบนิเวศ และสุขภาวะ รวมทั้งเยียวยาประชาชนที่ได้รับผลกระทบ
พล.ต.วรทัต กล่าวว่า แม้จะมีการลงพื้นที่ของคณะทำงานและอนุกรรมการด้านต่างๆ ในระยะที่ผ่านมา และมีการกำหนดแผนและมาตรการแก้ไขแล้ว แต่ประชาชนในพื้นที่ก็ยังมีข้อเสนอและความต้องการบางประเด็นที่ภาครัฐจะต้องทำความเข้าใจและสร้างความมั่นใจให้เกิดขึ้น จึงต้องมีการพบปะทำความเข้าใจกันต่อไป ซึ่งคณะกรรมการแก้ไขปัญหาความขัดแย้งอันเนื่องมาจากการประกอบกิจการเหมืองแร่ทองคำจะได้ดำเนินการอย่างต่อเนื่อง จริงจังและรวดเร็วต่อไป
ผลสรุปข้อมูลจากการประชุม ประชาชนมีความวิตกกังวลเรื่องปัญหาสุขภาพ มลพิษ สารปนเปื้อนในแหล่งน้ำ ผลผลิตการเกษตรลดลง มีความต้องการให้เหมืองหยุดกิจการและเพิกถอนประทานบัตร แล้วกำหนดมาตรการฟื้นฟูสภาพแวดล้อม ระบบนิเวศ และสุขภาวะ รวมทั้งเยียวยาประชาชนที่ได้รับผลกระทบ
พล.ต.วรทัต กล่าวว่า แม้จะมีการลงพื้นที่ของคณะทำงานและอนุกรรมการด้านต่างๆ ในระยะที่ผ่านมา และมีการกำหนดแผนและมาตรการแก้ไขแล้ว แต่ประชาชนในพื้นที่ก็ยังมีข้อเสนอและความต้องการบางประเด็นที่ภาครัฐจะต้องทำความเข้าใจและสร้างความมั่นใจให้เกิดขึ้น จึงต้องมีการพบปะทำความเข้าใจกันต่อไป ซึ่งคณะกรรมการแก้ไขปัญหาความขัดแย้งอันเนื่องมาจากการประกอบกิจการเหมืองแร่ทองคำจะได้ดำเนินการอย่างต่อเนื่อง จริงจังและรวดเร็วต่อไป
ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai