Quantcast
Channel: พันศักดิ์ วิญญรัตน์
Viewing all articles
Browse latest Browse all 14385

ดีเอสไอยุติการสอบ "บางกอกอารีนา"ไม่พบความผิดตาม พ.ร.บ.ฮั้วประมูล

$
0
0

เลขานุการผู้ว่า กทม. เผยผลสอบโครงการสนามฟุตซอล ที่หนองจอก ดีเอสไอระบุไม่ปรากฏพยานหลักฐานเพียงพอว่าการก่อสร้างสนามฟุตซอลสมัย ม.ร.ว.สุขุมพันธ์ บริพัตร และธีระชน มโนมัย พิบูลย์ มีความผิดตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยความผิดเกี่ยวกับการเสนอราคาต่อหน่วยงานของรัฐ

21 มิ.ย. 2557 - มติชนออนไลน์รายงานเมื่อวันที่ 20 มิ.ย. ว่านายสัญญา จันทรัตน์ เลขานุการผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร เปิดเผยถึง ผลการตรวจสอบโครงการก่อสร้างสนามฟุตบอล Futsal Stadium หรือบางกอกอารีนา ของกรุงเทพมหานคร จากกรณีที่มีการร้องเรียนโครงการดังกล่าวไปยังกรมสอบสวนคดีพิเศษ โดยกรมสอบสวนคดีพิเศษ (ดีเอสไอ)แจ้งว่า

"จากการสืบสวนยังไม่ปรากฏพยานหลักฐานชัดเจนเพียงพอที่จะชี้ว่า การดำเนินการจัดจ้างบริษัท อี เอ็ม ซี จำกัด (มหาชน) ในโครงการก่อสร้างอาคาร Futsal Stadium และการใช้งบประมาณการก่อสร้างอาคาร Futsal Stadium ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร ของอดีต ผู้ว่ากทม. ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ บริพัตร และนายธีระชน มโนมัยพิบูลย์ อดีตรองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครกับพวก มีการกระทำความผิด ตามพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดเกี่ยวกับการเสนอราคาต่อหน่วยงานของรัฐ พ.ศ.2542 ดังนั้น จึงได้ยุติเรื่องดังกล่าว"

สนามฟุตซอล บางกอกอารีนา ในเดือนพฤศจิกายน 2555 ช่วงการแข่งขันฟุตซอลชิงแชมป์โลก (ที่มา: วิกิพีเดีย)

จากข้อมูลใน วิกิพีเดียระบุว่า สำหรับสนามกีฬาบางกอก อารีนา อยู่ที่ศูนย์ฝึกอบรมข้าราชการกรุงเทพมหานคร เขตหนองจอก กรุงเทพมหานคร สร้างขึ้นเพื่อรองรับการแข่งขันฟุตซอลชิงแชมป์โลกครั้งที่ 7 ซึ่งประเทศไทยเป็นเจ้าภาพในปี 2555 ทั้งนี้เริ่มดำเนินโครงการก่อสร้างสนามฟุตซอลเพื่อใช้เป็นสนามหลักในการแข่งขัน พร้อมทั้งการจัดพิธีเปิดและพิธีปิดการแข่งขัน ในปี พ.ศ. 2553 คณะรัฐมนตรีซึ่งมีอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ เป็นนายกรัฐมนตรี โดยมีมติให้กรุงเทพมหานครที่มีหม่อมราชวงศ์สุขุมพันธุ์ บริพัตรเป็นผู้ว่าราชการ รับผิดชอบโครงการด้วยวงเงินประมาณ 1,300 ล้านบาท โดยลงนามในสัญญาจ้างบริษัท อีเอ็มซี จำกัด (มหาชน) เพื่อเริ่มการก่อสร้าง เมื่อวันที่ 13 มกราคม พ.ศ. 2555 และมีพิธีวางศิลาฤกษ์ โดยหม่อมราชวงศ์สุขุมพันธุ์เป็นประธานในพิธี เมื่อวันที่ 24 มกราคม พ.ศ. 2555 อย่างไรก็ตามมีเวลาก่อสร้างจำกัด โดยมีการเร่งก่อสร้างให้เสร็จภายใน 250 วัน จากเวลาปกติ 500 วัน

นอกจากนี้ในวันที่ 5 ต.ค. ฟีฟ่าประกาศเปลี่ยนแปลงสถานที่จัดการแข่งขัน โดยให้ย้ายการแข่งขันในช่วงแรก ไปจัดที่อินดอร์ สเตเดียม ภายในสนามกีฬาหัวหมากแทน และเริ่มการแข่งขันที่บางกอกฟุตซอลอารีนาเป็นครั้งแรก ในรอบก่อนรองชนะเลิศ ตั้งแต่วันที่ 14 พฤศจิกายน จนถึงนัดชิงชนะเลิศ

อย่างไรก็ตามสนามยังก่อสร้างไม่เสร็จ ต่อมาวันที่ 6 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555 ขณะที่การแข่งขันฟุตซอลชิงแชมป์โลกครั้งที่ 7 กำลังแข่งขันเป็นวันสุดท้ายของนัดที่สอง คณะกรรมการฟุตซอลของสหพันธ์ฟุตบอลนานาชาติ แถลงข่าวที่สำนักงานใหญ่ฟีฟ่า นครซูริก ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ ประกาศให้ยกเลิกการใช้สนามบางกอกฟุตซอลอารีนาอย่างเป็นทางการ เป็นผลให้ฟีฟ่าต้องย้ายสถานที่แข่งขันตั้งแต่รอบก่อนรองชนะเลิศ เปลี่ยนไปใช้อาคารกีฬานิมิบุตร กรีฑาสถานแห่งชาติ ในรอบก่อนรองชนะเลิศ และอินดอร์ สเตเดียม สนามกีฬาหัวหมาก ในรอบรองชนะเลิศ กับนัดชิงชนะเลิศตามลำดับ

ทั้งนี้ฟีฟ่าสาเหตุที่เลิกใช้สนามว่า ในการก่อสร้าง มีการเร่งการก่อสร้างต่อเนื่องตลอด 24 ชั่วโมง มีการใช้เหล็กแทนสายเคเบิลเพื่อรับแรงดึง ใช้คอนกรีตซึ่งหล่อสำเร็จรูปมาแล้ว แทนการหล่อคอนกรีตขึ้นภายในสถานที่ก่อสร้าง ตลอดจนปฏิบัติงานหลายอย่างในบริเวณเดียวกันไปพร้อมกันเพื่อเร่งรัดให้การก่อสร้างดำเนินไปอย่างรวดเร็วที่สุด เป็นผลให้การก่อสร้างสนามไม่เป็นไปตามมาตรฐานความปลอดภัยที่ฟีฟ่ากำหนด

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

Viewing all articles
Browse latest Browse all 14385

Trending Articles