Quantcast
Channel: พันศักดิ์ วิญญรัตน์
Viewing all articles
Browse latest Browse all 14385

การแสดงจากคณะ "Mawar Merah"สานมิตรภาพไทย-อินโดนีเซียปีที่ 64

$
0
0

การแสดงโดยคณะ Mawar Merah หรือกุหลาบแดงที่โรงละครวังหน้า เมื่อวันที่ 4 มี.ค. 2557 คลิปนี้ประกอบด้วยการแสดงดนตรีและขับร้องในเพลง Pakarena, เพลง Bengawan Solo (แม่น้ำโซโล) และเพลง Burung Kakak Tua (นกกระตั้ว) และสัมภาษณ์หัวหน้าคณะกุหลาบได้แก่ คุณโมริซ ทุมันดุง และคุณอูมิ อัมรอน

การแสดงชุด "อินโดไทยไมตรี"โดยนักศึกษาสถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์ กระทรวงวัฒนธรรม ที่โรงละครวังหน้า เมื่อวันที่ 4 มี.ค. 2557

การแสดงจากคณะ "Mawar Merah"หรือคณะกุหลาบแดง จากอินโดนีเซีย เดินทางมาแสดงในงาน "The Rhythm of ASEAN Kolintang - Ranad" ที่โรงละครวังหน้า กรุงเทพฯ เมื่อวันที่ 4 มีนาคมที่ผ่านมา

การแสดงดนตรีร่วมกันระหว่างคณะ Mawar Merah และนักศึกษาสถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์ กระทรวงวัฒนธรรม

การแสดงระบำเกี่ยวข้าว ของนักศึกษาสถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์ ในงาน "The Rhythm of ASEAN Kolintang - Ranad" ที่โรงละครวังหน้า กรุงเทพฯ เมื่อวันที่ 4 มีนาคมที่ผ่านมา

คณะ Mawar Merah และนักศึกษาสถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์ ได้รับเสียงปรบมือหลังสิ้นสุดการแสดง

 

เมื่อวันที่ 4 มีนาคมที่ผ่านมา ที่โรงละครวังหน้า กรุงเทพฯ มีการแสดง "The Rhythm of ASEAN Kolintang - Ranad"โดยเป็นการแสดงดนตรีจากคณะ "Mawar Merah"หรือ"คณะกุหลาบแดง"ซึ่งเป็นนักดนตรีระนาด "Kolintang"จากกรุงจาการ์ตา ประเทศอินโดนีเซีย และการแสดงนาฏศิลป์จากนักศึกษาสถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์ กระทรวงวัฒนธรรม

โดยการแสดงนี้เป็นความร่วมมือระหว่างสถานเอกอัครราชทูตสาธารณรัฐอินโดนีเซีย ประจำประเทศไทย กระทรวงวัฒนธรรมของไทย และสถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์ กระทรวงวัฒนธรรม เพื่อเป็นการแลกเปลี่ยนวัฒนธรรมดนตรีระหว่างไทย-อินโดนีเซีย และยังเป็นการฉลองการสถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตระหว่างไทยและอินโดนีเซีย ที่ดำเนินมาตั้งแต่ 7 มีนาคม 2493 หรือเมื่อ 64 ปีก่อน

ในงานดังกล่าวลุตฟี่ ราอุฟ เอกอัครราชทูตสาธารณรัฐอินโดนีเซีย ประจำประเทศไทย ได้กล่าวเปิดงานตอนหนึ่งระบุว่างานวันนี้นับเป็นโอกาสพิเศษ เป็นส่วนหนึ่งของการส่งเสริมความสัมพันธ์ทวิภาคีระหว่างอินโดนีเซียและประเทศไทย และกระชับเสาหลักทางสังคมของสมาคมอาเซียน แสดงความร่วมมือกันผ่านการแลกเปลี่ยนทางวัฒนธรรม ส่งเสริมความสัมพันธ์ของประชาชนดังคำขวัญอาเซียนที่ว่า "หนึ่งวิสัยทัศน์ หนึ่งอัตลักษณ์ หนึ่งประชาคม"ทั้งนี้สองประเทศมีความหลากหลายทางวัฒนธรรมที่คล้ายคลึงกัน ทั้งที่เป็นวัฒนธรรมเชิงจับต้องได้และที่จับต้องไม่ได้ เช่น เพลง การรำ ละคร เรื่องเล่า ทัศนคติความเชื่อ รวมทั้งสถาปัตยกรรม

โดยโมริซ ทุมันดุง หัวหน้าคณะ "Mawar Merah"หรือคณะกุหลาบแดง ให้สัมภาษณ์ด้วยว่าแม้ว่าเครื่องดนตรีประเภทระนาด Kolintang นี้จะทำจากไม้ แต่เครื่องดนตรีนี้ก็สามารถเล่นได้หลายจังหวะ เข้ากับเพลงสากลได้ดี และคนทุกเพศทุกวัยก็สามารถเล่นเครื่องดนตรีนี้ได้ และตอนนี้มีสมาคมส่งเสริม Kolintang แห่งชาติและกำลังจะได้รับการส่งเสริมให้ได้รับการจดทะเบียนเป็นมรดกโลกด้วย

ขณะที่อูมิ อัมรอน สมาชิกคนสำคัญในคณะกุหลาบแดงกล่าวด้วยว่า แม้เครื่องดนตรีชนิดนี้จะกำเนิดมาจากสุลาเวสีภาคเหนือ แต่ปัจจุบันคนทุกเกาะทุกภูมิภาคของอินโดนีเซียก็นำไปเล่นอย่างแพร่หลาย และสมาชิกของคณะ "กุหลาบแดง"นี้ก็เป็นการรวมตัวของข้าราชการและภรรยาของข้าราชการ แม้สมาชิกของคณะจะมีอายุมากแล้ว แต่พวกเราก็สามารถมาเรียนรู้และเล่นเครื่องดนตรีประเภทนี้ได้

ทั้งนี้สมาชิกของคณะ "กุหลาบแดง"คาดหวังว่าจะได้เผยแพร่เสียงเพลงจากเครื่องดนตรี Kolintang ให้กับผู้ฟังชาวไทย ซึ่งเครื่องดนตรีชนิดนี้สามารถเล่นกับเครื่องดนตรีของหลากหลายชาติได้ทั้งเพลงสากลและเพลงท้องถิ่น โดยสามารถประสานสอดเสียงได้อย่างลงตัว

 

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

Viewing all articles
Browse latest Browse all 14385

Trending Articles