Quantcast
Channel: พันศักดิ์ วิญญรัตน์
Viewing all articles
Browse latest Browse all 14385

3 ปีฟุกุชิมะไดอิชิ - สนง.ปรมาณูเพื่อสันติยังคงเฝ้าระวังกัมมันตรังสี

$
0
0

สำนักงานปรมาณูเพื่อสันติ ยังคงเฝ้าระวังการแพร่กระจายของสารรังสีในสิ่งแวดล้อม หลังผ่าน 3 ปี เหตุการณ์สึนามิที่ประเทศญี่ปุ่น โดยได้ร่วมกับ อย.ตรวจวัดการปนเปื้อนของสารกัมมันตรังสีในอาหารแต่ไม่พบสิ่งใดผิดปกติ

11 มี.ค. 2557 - สำนักข่าว กรมประชาสัมพันธ์ รายงานว่า นายสุพรรณ แสงทอง เลขาธิการสำนักงานปรมาณูเพื่อสันติ (ปส.) กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี กล่าวว่า เป็นเวลา 3 ปีแล้ว นับตั้งแต่วันที่ 11 มีนาคม 2554 เกิดเหตุการณ์แผ่นดินไหวที่ประเทศญี่ปุ่น ส่งผลกระทบต่อโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ในญี่ปุ่นระเบิด และเหตุการณ์รั่วไหลของน้ำที่มีการปนเปื้อนสารกัมมันตรังสีรั่วออกจากบริเวณถังเก็บภายในโรงไฟฟ้าฟูกูชิมา ไดอิชิ เมื่อวันที่ 20 สิงหาคม 2556  ส่งผลให้หลายประเทศต้องเพิ่มความระมัดระวังในการเฝ้าระวังรังสีในสิ่งแวดล้อมเป็นพิเศษ ทั้งนี้ ปส. ยังคงดำเนินการเฝ้าระวังรังสีในอาหารมาอย่างต่อเนื่องโดยร่วมมือกับสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) ตรวจวัดการปนเปื้อนของสารกัมมันตรังสีในอาหาร  เพื่อเป็นการย้ำความมั่นใจในการบริโภคอาหารนำเข้าจากประเทศญี่ปุ่น โดยอาหารนำเข้าจากประเทศญี่ปุ่น จำนวน 988 ตัวอย่าง อาทิ แป้งสาลี ปลาซาร์ดีน ชาเขียว ปลาแมคเคอเรว ปลาหมึก ไม่ปรากฏว่ามีการปนเปื้อนของสารกัมมันตรังสีในอาหารเกินมาตรฐานตามประกาศกระทรวงสาธารณสุข  เพื่อเป็นการเฝ้าระวังความปลอดภัยต่อไป ทาง อย. ยังคงส่งตัวอย่างอาหารมาวัดการปนเปื้อนของสารกัมมันตรังสีอย่างต่อเนื่องจนกว่าเหตุการณ์รั่วไหลของโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ที่ประเทศญี่ปุ่นจะเป็นปกติ นอกจากนี้ ปส. ได้วัดค่าปริมาณรังสีในสิ่งแวดล้อมจากสถานีเฝ้าระวังภัยทางรังสี ซึ่งติดตั้งกระจายอยู่ตามภูมิภาคต่างๆ ของประเทศไทย โดยผลปรากฏว่าค่าปริมาณรังสีอยู่ในระดับปกติ รวมถึงยังได้บูรณาการความร่วมมือกับกรมประมงและกรมควบคุมมลพิษ ดำเนินการสำรวจและเก็บตัวอย่างจากสิ่งแวดล้อมทางทะเล (ไทย) อาทิ น้ำทะเล และอาหารทะเล มาตรวจสอบอย่างต่อเนื่อง พบว่าค่าปริมาณรังสีอยู่ในระดับปกติเช่นเดียวกัน

นายสุพรรณ กล่าวเพิ่มเติมว่า ปัจจุบัน ปส. มีเครือข่ายสถานีเฝ้าระวังภัยทางรังสีในอากาศ จำนวน 12 สถานี ซึ่งติดตั้งครอบคลุมในทุกภูมิภาคทั่วประเทศ โดยในปีนี้มีแผนขยายการติดตั้งสถานีเฝ้าระวังภัยฯ ทางอากาศเพิ่ม ใน 3 จังหวัด ได้แก่ เชียงราย หนองคาย และภูเก็ต นอกจากนี้ประชาชนทั่วไปสามารถเข้าถึงข้อมูลของสถานีเฝ้าระวังภัยทางรังสีนี้ได้ ผ่านเว็บไซต์ของสำนักงานฯที่ www.oaep.go.th ด้วย

สำหรับเหตุการณ์ภัยพิบัตินิวเคลียร์ฟุกุชิมะไดอิชิ เป็นเหตุการณ์ที่อุปกรณ์เครื่องมือขัดข้องและปลดปล่อยสารกัมมันตรังสีที่เกิดขึ้น ณ โรงไฟฟ้านิวเคลียร์ฟุกุชิมะไดอิชิ หลังจากเหตุการณ์แผ่นดินไหวและคลื่นสึนามิในโทโฮะกุ พ.ศ. 2554 ที่เกิดขึ้นเมื่อวันที่ 11 มีนาคม โรงไฟฟ้านิวเคลียร์ดังกล่าวประกอบด้วยเครื่องปฏิกรณ์นิวเคลียร์แบบน้ำเดือดจำนวน 6 เครื่องแยกกัน บำรุงรักษาโดยบริษัทผลิตไฟฟ้าโตเกียว (TEPCO)

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

Viewing all articles
Browse latest Browse all 14385

Trending Articles