59 องค์กรเรียกร้องหยุดความรุนแรงต่อเด็ก ผู้หญิงและพลเรือน ในวันครบรอบ 1 ปีการพูดคุยสันติภาพ งานมหกรรมวันสื่อสันติภาพชายแดนใต้/ปาตานี P 101: 10 ปี ความรุนแรง, 1 ปีสนามสันติภาพชายแดนใต้/ปาตานี
เมื่อเวลา 14.00 น. วันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2557 ที่คณะวิทยาการสื่อสาร มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี (ม.อ.ปัตตานี) 59 องค์กรเรียกร้องหยุดความรุนแรงต่อเด็ก ผู้หญิงและพลเรือน ในวันครบรอบ 1 ปีการพูดคุยสันติภาพ ในงานมหกรรมวันสื่อสันติภาพชายแดนใต้/ปาตานี P 101: 10 ปี ความรุนแรง, 1 ปีสนามสันติภาพชายแดนใต้/ปาตานี โดยระบุว่าตลอด 10 ปีของความรุนแรงในจังหวัดชายแดนภาคใต้ มีเด็กเสียชีวิต 62 คน ได้รับบาดเจ็บ 374 คน
ในโอกาสนี้ จึงมีข้อเรียกร้อง 5 ข้อต่อทุกฝ่ายให้หยุดความรุนแรงต่อเด็ก ผู้หญิงและพลเรือน รวมทั้งเรียกร้องไม่ให้ใช้ความรุนแรงทุกรูปแบบ โดยนางคำนึง ชำนาญกิจ จากเครือข่ายผู้หญิงภาคประชาสังคมเพื่อสันติภาพชายแดนใต้เป็นผู้นำอ่านแถลงการณ์ โดยข้อเรียกร้องดังกล่าวมีเนื้อหาดังนี้
ข้อเรียกร้องเนื่องในโอกาสครบรอบ 1 ปี ของการพูดคุยเพื่อสันติภาพชายแดนใต้ และวันสตรีสากล หยุดความรุนแรงต่อเด็ก ผู้หญิง และพลเรือน
10 ปีของเหตุการณ์ความรุนแรงในชายแดนใต้ ทำให้มีผู้เสียชีวิตและบาดเจ็บกว่า 15,000 คน ส่วนใหญ่เป็นพลเรือน ระยะหลัง มีเด็กและผู้หญิงกลายเป็นเหยื่อเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะเดือนกุมภาพันธ์นี้ มีเหตุการณ์สะเทือนจิตใจ ที่ทำให้ผู้หญิงเสียชีวิตถึง 10 คน เด็กเสียชีวิต 4 คน ส่วนก่อนหน้านี้ ตั้งแต่เดือนมกราคม 2547 – ตุลาคม 2556 มีผู้หญิงเสียชีวิตไปแล้ว 395 คน บาดเจ็บ 1,596 คน เด็กเสียชีวิต 62 คน บาดเจ็บ 374 คน
ในนามของผู้ได้รับผลกระทบที่เป็นผู้หญิง เด็ก พลเรือนทั่วไป รวมทั้งกลุ่มองค์กรประชาสังคม ขอใช้วาระโอกาสครบรอบ 1 ปีของการพูดคุยเพื่อสันติภาพ และในโอกาสที่จะถึงวันสตรีสากล 8 มีนาคมนี้ แถลงจุดยืน และข้อเรียกร้องผ่านเวทีวันสื่อสันติภาพชายแดนใต้/ปาตานี ดังนี้
1.ขอให้กองกำลังติดอาวุธจากทุกฝ่าย ยุติการใช้ความรุนแรงทั้งโดยตรง และโดยอ้อม ที่ส่งผลกระทบต่อเด็ก ผู้หญิง รวมทั้งพลเรือนทั่วไป
2.เจ้าหน้าที่รัฐ ต้องเพิ่มมาตรการป้องกันการก่อเหตุต่อเด็ก ผู้หญิง และพลเรือนอย่างสุดความสามารถ กรณีเหตุการณ์เกิดขึ้น ต้องทำความจริงให้ปรากฏอย่างตรงไปตรงมา พร้อมสื่อสารสู่สาธารณะ เพื่อมิให้เกิดความเข้าใจผิด โดยเฉพาะต่อเหตุการณ์ที่จะทำให้ความรุนแรง ยิ่งลุกลามบานปลายระหว่างประชาชนกันเอง รวมทั้งเหตุการณ์สะเทือนจิตใจ ทั้งที่เกิดกับชาวพุทธ และชาวมลายูมุสลิม
3.ขอให้ผู้ได้รับผลกระทบ ประชาชนทุกศาสนา และเจ้าหน้าที่รัฐ มีสติ อดทน อดกลั้น ไม่ใช้และไม่สนับสนุนให้ใช้ความรุนแรงตอบโต้ความรุนแรง หรือตั้งศาลเตี้ย
4.ขอให้รัฐบาลสานต่อการพูดคุยเพื่อสันติภาพในระหว่างคู่ขัดแย้ง พร้อมทั้งส่งเสริมการพูดคุยสันติภาพในทุกกลุ่ม ทุกระดับ รวมทั้งเปิดพื้นที่ปลอดภัยให้มีการแสดงออกทางการเมือง เพื่อร่วมแสวงหาทางออกจากความขัดแย้ง ของผู้ที่เห็นต่าง และผู้มีส่วนได้เสียทุกฝ่าย ทุกชาติพันธุ์และทุกศาสนา
5.ขอให้สื่อมวลชน สื่อทางเลือก ร่วมทำหน้าที่สื่อสันติภาพ รายงานให้คนในสังคมไทย ได้เข้าใจในปัญหา และเห็นใจในชะตากรรมของประชาชนชายแดนใต้ จนนำไปสู่การกำหนดเป็นวาระประเทศ ที่จะทำให้เกิดความร่วมมือจากทุกภาคส่วนในการแก้ไขปัญหาอย่างจริงจัง และสร้างสันติภาพได้อย่างแท้จริง
28 กุมภาพันธ์ 2557
คณะวิทยาการสื่อสาร มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี
กลุ่ม/องค์กรที่ร่วมลงนาม
กลุ่มผู้หญิง
(1) เครือข่ายผู้หญิงภาคประชาสังคมเพื่อสันติภาพชายแดนใต้
(2) เครือข่ายผู้หญิงยุติความรุนแรงแสวงหาสันติภาพ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้
(3) สมาคมผู้หญิงเพื่อสันติภาพ
(4) ศูนย์ประสานงานวิชาการให้ความช่วยเหลือผู้ได้รับผลกระทบจากเหตุความไม่สงบ จังหวัดชายแดนใต้ (ศวชต.) มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี
(5) กลุ่มเซากูน่า
(6) ศูนย์ประสานงานอาสาสมัครเพื่อสันติภาพ
(7) เครือข่ายสตรีชายแดนใต้
กลุ่มเยาวชน
(1) กลุ่มด้วยใจ
(2) ศูนย์ฟ้าใสเครือข่ายเยาวชนจังหวัดยะลา
(3) สมาคมเด็กและเยาวชนเพื่อสันติภาพชายแดนใต้ (ลูกเหรียง)
(4) กลุ่มเยาวชนใจอาสาและภรรยาอันวา
(5) สมาคมเยาวชนจิตอาสาปัตตานี
กลุ่มศาสนาและวัฒนธรรม
(1) เครือข่ายชาวพุทธเพื่อสันติภาพ
(2) กลุ่มชนพุทธกลุ่มน้อยยะลา
(3) มูลนิธิศูนย์ประสานงานตาดีกาจังหวัดชายแดนภาคใต้ (KSPI)
สภาประชาสังคมชายแดนใต้
(1) สภาประชาสังคมชายแดนใต้
(2) สมาพันธ์ครูจังหวัดชายแดนภาคใต้
(3) มูลนิธิฮิลาลอะห์มัร
(4) โครงการวิจัยพื้นที่ชุ่มน้ำ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี
(5) สมาคมยุวมุสลิมแห่งประเทศไทย
(6) มูลนิธิวัฒนธรรมอิสลามภาคใต้ / เครือข่ายพัฒนาการมีส่วนร่วมทางการเมืองการปกครองจังหวัดชายแดนใต้
(7) มูลนิธิบ้านเด็กกำพร้าปัญญาเลิศ
(8) กองทุนเกื้อหนุนครอบครัวที่ทำงานเพื่อสังคมชายแดนใต้
(9) ชมรมคุ้มครองผู้บริโภคด้านฮาลาล
(10) สถาบันอัสสลาม มหาวิทยาลัยอิสลามยะลา
(11) ศูนย์ฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติด “บ้านชีวิตใหม่”
(12) ศูนย์อัลกุรอานและภาษา โรงเรียนจริยธรรมศึกษามูลนิธิ
(13) ศูนย์ประสานงานสมัชชาสุขภาพจังหวัดปัตตานี
(14) เครือข่ายสื่อภาคประชาสังคมชายแดนใต้
(15) เครือข่ายชุมชนศรัทธา
(16) สถาบันชุมชนท้องถิ่นพัฒนา ปัตตานี
(17) ศูนย์ประชาสังคมจังหวัดยะลา
(18) เครือข่ายวิทยุชุมชนมุสลิมจังหวัดชายแดนภาคใต้
(19) สมาคมเสริมสร้างสิทธิชุมชน
(20) ศูนย์ประสานเครือข่ายประชาสังคมนราธิวาส
(21) ทีมยือรีงา
สมาคม/มูลนิธิ/ศูนย์
(1) กาชาดสากล
(2) Patani Forum (ปาตานีฟอรั่ม)
(3) วิทยาลัยประชาชน
(4) ภาคีสถาปัตยกรรมปาตานี
(5) ศูนย์การเมืองภาคพลเมืองสงขลา
(6) มูลนิธิศักยภาพชุมชน
สถาบันวิชาการ
(1) สถานวิจัยความขัดแย้งและความหลากหลายทางวัฒนธรรมภาคใต้ (CSCD)
(2) ศูนย์เฝ้าระวังสถานการณ์ภาคใต้
(3) คณะวิทยาการสื่อสาร มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี
(4) โครงการเสริมสร้างความเข้มแข็งและการมีส่วนร่วมในภาคใต้ของประเทศไทย (Step Project)
(5) โครงการนักศึกษาหลักสูตรประกาศนียบัตรชั้นสูง การเสริมสร้างสังคมสันติสุข (4ส.จชต.) สำนักสันติวิธีและธรรมาภิบาล สถาบันพระปกเกล้า
สื่อ
(1) สำนักสื่อหัวใจเดียวกัน / เฌอบูโด
(2) เครือข่ายช่างภาพชายแดนใต้
(3) กลุ่มช่างภาพเพื่อสันติชายแดนใต้
(4) สถานีวิทยุกระจายเสียง มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี
(5) สถานีวิทยุคลื่นฟ้าใสหัวใจเรียนรู้
(6) เครือข่ายวิทยุเพื่อเด็กและครอบครัวภาคใต้
(7) เครือข่ายวิทยุชุมชนจังหวัดปัตตานี
(8) สถานีวิทยุมีเดียสลาตัน
(9) เครือข่ายวิทยุจุดเมืองปัตตานี
(10) ยะลาเคเบิลเน็ทเวิร์ค
(11) โรงเรียนนักข่าวพลเมือง
(12) กลุ่มต้มยำ
บุคคล
(1) นางเรืองรวี พิชัยกุล
(2) นายวัลลภ ภุมรา
(3) นายพลธรรม จันทร์คำ
(4) นางสาวยุรี แก้วชูช่วง (นักศึกษาปริญญาโท สันติศึกษา)