Quantcast
Channel: พันศักดิ์ วิญญรัตน์
Viewing all articles
Browse latest Browse all 14385

สัมภาษณ์ ฟิตรี มะดาโอ๊ะประธาน JARUM “ ไม่ว่าจะสอนอะไร ขึ้นชื่อว่าครู ก็คือผู้นำการเปลี่ยนแปลง ”

$
0
0



รูปภาพนายฟิตรี มะดาโอ๊ะ ประธาน เครือข่ายอาสาสมัครครูตาดีกาจังหวัดชายแดนภาคใต้ (JARUM)

ในสถานการณ์ที่ครูสอนตาดีกาถูกเข้าใจผิดและถูกเพ่งเล็งจากฝ่ายความมั่นคงของรัฐไทย มาโดยตลอดระยะเวลา 10 ปี ของเหตุการณ์ความไม่สงบชายแดนใต้ หลายกรณีที่ครูสอนศาสนาหรือครูสอนตาดีกา ถูกลอบยิงเสียชีวิต ได้รับบาดเจ็บ พิการ ได้รับผลกระทบโดยตรงต่อชีวิตและทรัพย์สิน วันนี้เรามาฟังถ้อยคำที่กลั่นกรองมาจากส่วนลึกของคนที่ทำงานใกล้ชิดกับระดับชุมชนหรือชาวบ้านมากที่สุดกลุ่มหนึ่งในสังคมปาตานี

JARUM คือ ?

ชื่อเต็มๆ คือ JARINGAN GURU SEKOLAH MELAYU/TADIKA ภาษาไทยว่า “เครือข่ายอาสาสมัครครูตาดีกาจังหวัดชายแดนภาคใต้” คำย่อง่ายๆคือ Jarum

ซึ่ง Jarum เป็นภาษามลายูแปลว่า “เข็ม” มันมีความหมายน่ะ

โลโก้ เครือข่ายอาสาสมัครครูตาดีกาจังหวัดชายแดนภาคใต้ (JARUM)
บรรทัดแรก คำว่า “JARUM” เขียนด้วยอักษรญาวี (JAWI) ออกเสียงมลายู แปลว่า “เข็ม”
บรรทัดที่สอง คำว่า “JARINGAN GURU SEKOLAH MELAYU/TADIKA” เขียนด้วยอักษรรูมี (RUMI) ออกเสียงมลายู แปลว่า “เครือข่ายอาสาสมัครครูตาดีกาจังหวัดชายแดนภาคใต้”
บรรทัดที่สาม คำว่า “JARUM” เขียนด้วยอักษรรูมี (RUMI) ออกเสียงมลายู แปลว่า “เข็ม” เช่นเดียวกัน


มีนัยยะอะไร ?

ไม่มีนัยยะอะไรหรอกครับ แต่พวกเราชอบ เพราะเข็มแม้จะเล็กแต่แหลมคม ทะลุทะลวง ที่สำคัญใช้เย็บสิ่งของเชื่อมเข้าด้วยกันได้ ใช้เป็นอาวุธป้องกันตัวก็ยังได้เลย (หัวเราะ)

รวมตัวกันมานานหรือยัง ทำไมก่อนหน้านี้ไม่เคยได้ยิน ชื่อ JARUM ?

ก็รวมตัวกันได้สักพัก สัก 1-2 ปีหลังมานี้ จริงๆแล้วเราก็รวมตัวกันมาตลอดนะ แต่เราไม่ออกมาสื่อสารกับสาธารณะ ทำให้สังคมไม่รู้ถึงการมีตัวตนของเรา

งานหลักๆทำอะไรกันบ้าง ?

หลักๆก็มีสอนตาดีกา ทุกเสาร์-อาทิตย์ เมื่อก่อนจะเรียกว่า “โรงเรียนมลายู” แต่เปลี่ยนชื่อเพราะเหตุผลด้านความมั่นคงมั๊ง คิดว่านะ รัฐไทยสมัยนั้นเขากลัวชื่ออะไรก็ตามที่เกี่ยวข้องกับ “มลายู” และคนที่เกี่ยวข้องก็กลัวรัฐเพ่งเล็งว่าอาจจะมีส่วนเกี่ยวข้องกับกลุ่มที่ต้องการแบ่งแยกดินแดน ก็เลยเปลี่ยนเป็นตาดีกา

ผมมองว่ามัน วิน-วิน นะ เราก็ยังคงรักษาระบบขัดเกลาการอ่านออกเขียนได้ภาษามลายู ตัวอักษรญาวี ตัวเขียนรูมี ของเด็กๆก่อนที่จะเข้าสู่การศึกษาของระบบราชการไทย ที่สำคัญเรามีพันธกิจร่วมกัน คือ

1. พัฒนาบุคคลากรและครูโรงเรียนตาดีกา 
2. เสริมสร้างเครือข่ายครูโรงเรียนตาดีกา 
3. ส่งเสริมกิจกรรมโรงเรียนตาดีกา

สุดท้ายร่วมสร้างพื้นที่กลางเพื่อการมีส่วนร่วมต่อสันติภาพที่ยั่งยืน

ได้ข่าวว่า JARUM มีกิจกรรมเยี่ยมเยียนเพื่อนครูตาดีกา ที่ได้รับผลกระทบด้วย ?

ยอๆ (ใช่ๆ) ก่อนหน้านั้นมันมีกรณี คนร้ายยิงครูตาดีกา ชื่อคอรีเย๊าะ สาเล็ง อายุ 24 ปี ซึ่งเป็นครูสอนโรงเรียนตาดีกาบ้านบือแนสะแต ต.จะกว๊ะ อ.รามัน จ.ยะลา เสียชีวิตในที่เกิดเหตุ ขณะกำลังขับขี่รถจักรยานยนต์ออกจากบ้านเพื่อไปสอนนักเรียนโรงเรียนตาดีกาบ้านบือแนสะแต

ซึ่งข้อเท็จจริงจากการลงพื้นที่ คอรีเย๊าะ กำลังตั้งครรภ์ประมาณ 7 เดือน เรารู้สึกเจ็บปวดมากที่ครูสอนตาดีกาโดนถึงขนาดนี้ แต่เราไม่สามารถช่วยอะไรได้เลย และมาเจอกับกรณีล่าสุด ครอบครัวแบเจ๊ะมุ มะมัน ลูกๆทั้งสามคนของเขาไม่มีความผิดอะไร ทำไมต้องทำกันถึงขนาดนั้นด้วย เรื่องนี้เรารับไม่ได้เลยล่ะ

งั้นเคสล่าสุดที่ บ้านปะลุกาแปเราะ จะมีแถลงการณ์จาก JARUM มั๊ย ?

คิดว่า ต้องมีนะ ทำไมถามยังงี้ล่ะ

เพราะเห็นองค์กรภาคประชาสังคมต่างออกมาแถลงการณ์ประณาม แม้แต่ Unicef ก็ยังมี แต่ไม่เห็นของ JARUM ในฐานะที่ทำกิจกรรมของครูสอนตาดีกา ?

คือผมก็ต้องคุยกับทางเครือข่ายด้วยนะ เพราะเราทำงานกันเป็นทีม โอเคโดยส่วนตัวก็คิดว่าเพื่อนๆคงจะเห็นด้วยกับผม ผมมั่นใจ เพราะเราคิดว่าต้องมีบทบาทอะไรสักอย่างเพื่อมีส่วนร่วมในการเรียกร้องความเป็นธรรมให้กับครูสอนตาดีกา หลังจากที่ถูกกระทำมาตลอด และเพื่อที่จะมีจุดยืนในสังคมในฐานะ “ครู”


คณะทำงาน เครือข่ายอาสาสมัครครูตาดีกาจังหวัดชายแดนภาคใต้ (JARUM)

ซึ่งผม เชื่อว่า “ไม่ว่าจะสอนอะไร ขึ้นชื่อว่าครู ก็คือผู้นำการเปลี่ยนแปลง” ผมอยากเห็นสังคมปาตานีที่เปลี่ยนจากความหวาดกลัวแปรเป็นพลัง เพื่อสร้างสันติภาพที่เป็นความต้องการจริงๆของคนปาตานี

เพจเฟซบุ๊ก JARUM : https://www.facebook.com/pages/JARUM


คณะทำงาน เครือข่ายอาสาสมัครครูตาดีกาจังหวัดชายแดนภาคใต้ (JARUM)


กิจกรรมอบรมเพิ่มศักยภาพครูโรงเรียนตาดีกา


หนึ่งในกระบวนการวิธีคิด ของกิจกรรมอบรมเพิ่มศักยภาพครูโรงเรียนตาดีกา
โดยใช้ทฤษฎีการคิดแบบหมวก 6 ใบ (Six thinking hats) ของ ดร. เอ็ดเวิร์ด เดอ โบ โน (Dr. Edward de Bono

 

หมายเหตุ : ถอดจากบทสัมภาษณ์ภาษามลายู แปลเป็นภาษาไทย

 

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

Viewing all articles
Browse latest Browse all 14385

Trending Articles