ภาคีหมออนามัยฯ จับมือ สปสช.-สปส. ตรวจสาวโรงงานเสี่ยง 'เอชพีวี'
ตามที่สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) สำนักงานประกันสังคม (สปส.) และภาคีหมออนามัยแห่งประเทศไทย เดินหน้าโครงการลดอัตราการป่วยเสียชีวิตของแรงงานสตรีจากมะเร็งปากมดลูก โดยออกตรวจคัดกรองเชิงรุกถึงโรงงานอุตสาหกรรม นำร่อง จ.สมุทรปราการ ก่อนขยายไปยังจังหวัดอื่นๆ นั้น
เมื่อวันที่ 22 มกราคม นพ.พูลชัย จิตอนันตวิทยา ที่ปรึกษาภาคีหมออนามัยแห่งประเทศไทย กล่าวว่า จากความร่วมมือดังกล่าวได้ทำการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกในแรงงานสตรีจำนวน 4,545 ราย จากโรงงานทั้งหมด 40 แห่ง โดยพบว่ามีแรงงานสตรีที่มีเซลล์ผิดปกติระยะเริ่มต้น ที่จะกลายไปเป็นมะเร็งปากมดลูก จำนวน 46 ราย จากโรงงาน 20 แห่ง ซึ่งทั้งหมดมีอายุเฉลี่ย 27-46 ปี โดยเป็นผู้ประกันตนในระบบประกันสังคมทั้งหมด อย่างไรก็ตาม เมื่อผลการตรวจคัดกรองออกมาเช่นนี้ ก็เป็นหน้าที่ของโรงพยาบาลต้นสังกัดประกันสังคมในการตรวจพิเศษเพิ่มเติม เช่น การตรวจหา DNA ของเชื้อไวรัส การส่องกล้องเพื่อดูความผิดปกติของเนื้อเยื่อบริเวณปากมดลูก ร่วมกับการตัดชิ้นเนื้อไปตรวจทางพยาธิวิทยา (Colposcope and Biopsy) พร้อมทั้งการรักษา ซึ่งส่วนใหญ่เมื่อพบระยะแรกก็จะรักษาได้
"ปัญหาของการทำโครงการเริ่มแรก คือ หลังจากพบเคสที่มีความเสี่ยงเกิดมะเร็งปากมดลูก ก็จะทำการส่งตัวให้กับโรงพยาบาลในเครือข่ายของ สปส. แต่พบว่าขั้นตอนมีความยุ่งยาก เนื่องจาก รพ.เหล่านี้จะไม่เชื่อผลตรวจที่เราเข้าไปตรวจสอบให้ และต้องการให้ตรวจคัดกรองซ้ำ ซึ่งต้องเสียค่าใช้จ่ายเพิ่ม ทำให้แรงงานสตรีไม่ตรวจ สุดท้ายทำให้เสียโอกาสการรักษาในระยะเริ่มแรก แต่จากโครงการดังกล่าวได้มีความร่วมมือกับ สปส. และ รพ.ในเครือข่าย ซึ่งทำการรักษาเป็นกลุ่ม คือ จำนวนเคสเสี่ยงป่วยมะเร็งปากมดลูกทั้ง 46 ราย จะได้รับการตรวจเพิ่มเติมและรักษาต่อเนื่องในโรงพยาบาลเปาโลเมมโมเรียล จ.สมุทรปราการ ซึ่งถือเป็นการรักษาแบบกลุ่มครั้งแรก"นพ.พูลชัยกล่าว
นพ.พูลชัยกล่าวต่อว่า สำหรับในปีนี้จะมีการขยายตรวจคัดกรองมะเร็งในแรงงานสตรีตามสถานประกอบการที่ เหลือใน จ.สมุทรปราการอีก ซึ่งปัจจุบันมีประมาณ 2 หมื่นแห่ง อย่างไรก็ตาม สปส.อยู่ระหว่างทยอยหารือกับสถานประกอบการเหล่านี้ เพื่อขอให้แรงงานสตรีได้รับการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก เพื่อป้องกันการเกิดโรคที่นอกจากจะส่งผลต่อสุขภาพของแรงงาน ยังส่งผลต่อการทำงานอีกด้วย
(มติชน, 22-1-2557)
สธ.เผยจ้างลูกจ้างเป็น พกส.แล้วกว่าแสนคน
สำนักงานประกันสังคมเจรจา 3 โรงพยาบาลดัง"ศิริราช-รามาฯ-จุฬาฯ"เพิ่มสิทธิให้ผู้ประกันตนกรณีผ่าตัดเปลี่ยน"หัวใจ-ตับ-ตับอ่อน"คาดเริ่มใช้เดือนมีนาคมนี้
เมื่อวันที่ 21 มกราคม นพ.สุรเดช วลีอิทธิกุล รองเลขาธิการสำนักงานประกันสังคม (สปส.) เปิดเผยว่า สปส.เตรียมที่จะเพิ่มสิทธิประโยชน์การรักษาพยาบาลให้ผู้ประกันตน ในกรณีผ่าตัดเปลี่ยนหัวใจ ตับ ตับอ่อน ซึ่งผู้ป่วยที่เป็นโรคหัวใจ หรือมีปัญหาที่ตับ ตับอ่อน จำเป็นต้องได้รับการรักษาด้วยวิธีการผ่าตัดเปลี่ยนอวัยวะ
"สปส.ได้ให้สมาคมปลูกถ่ายอวัยวะแห่งประเทศไทย ศึกษาถึงความคุ้มค่าในการรักษาผู้ป่วยด้วยการผ่าตัดเปลี่ยนหัวใจ ตับ ตับอ่อน ทั้งในประเทศไทยและต่างประเทศ พบว่าผู้ป่วยที่เข้ารับการผ่าตัดมีอัตราเสี่ยงต่อการเสียชีวิตน้อย เพราะเทคโนโลยีทางการแพทย์และยาที่ให้การรักษามีความก้าวหน้าและทันสมัยมาก ขึ้นเรื่อยๆ ส่วนใหญ่หลังผ่าตัดเปลี่ยนอวัยวะแล้ว ผู้ป่วยสามารถกลับมาใช้ชีวิตได้ตามปกติ แต่จะต้องได้รับยากดภูมิคุ้มกันไปตลอดชีวิต ดังนั้นการรักษาด้วยวิธีการผ่าตัดเปลี่ยนอวัยวะจึงมีความคุ้มค่าและเป็น ประโยชน์ต่อผู้ประกันตนอย่างมาก เพราะถือเป็นการให้ชีวิตใหม่แก่ผู้ประกันตน"นพ.สุรเดชกล่าว และว่า ล่าสุด คณะกรรมการการแพทย์ สปส.ได้เห็นชอบเรื่องนี้ และจัดทำร่างประกาศเตรียมเสนอเข้าสู่การพิจารณาของคณะกรรมการประกันสังคม (บอร์ด สปส.) ในเร็วๆ นี้ คาดว่าประกาศดังกล่าวจะมีผลบังคับใช้ในเดือนมีนาคมนี้
นพ.สุรเดชกล่าวอีกว่า สปส.ได้ประมาณการในปีแรก ภาพรวมจะใช้งบประมาณในการผ่าตัด ดูแลรักษา และให้ยากดภูมิคุ้มกันแก่ผู้ประกันตนที่ป่วยอย่างต่อเนื่องตลอดชีวิตประมาณ 15 ล้านบาท หรือเฉลี่ยรายละประมาณ 1 ล้านบาท หลังจากนั้นในปีต่อไปจะใช้งบฯ 50-60 ล้านบาท แต่จำนวนผู้ประกันตนที่จะรับการผ่าตัดเปลี่ยนหัวใจ ตับ ตับอ่อน ยังไม่สามารถประมาณการได้ ขึ้นอยู่กับการได้รับบริจาคอวัยวะ สำหรับโรงพยาบาลที่ให้การผ่าตัดเปลี่ยนหัวใจ ตับ ตับอ่อน ให้แก่ผู้ประกันตนที่เจ็บป่วย ได้แก่ รพ.ศิริราช รพ.รามาธิบดี และ รพ.จุฬาลงกรณ์ และ สปส.จะต้องประสานงานกับศูนย์บริจาคอวัยวะ สภากาชาดไทย เพื่อขอรับบริจาคอวัยวะมาเปลี่ยนให้แก่ผู้ประกันตนด้วย
นพ.สุรเดชกล่าวว่า หลังบอร์ด สปส.เห็นชอบร่างประกาศดังกล่าวแล้ว จะทำหนังสือไปยังโรงพยาบาลในเครือข่ายประกันสังคมทุกแห่ง รวมถึง รพ.ศิริราช รพ.รามาฯ รพ.จุฬาฯ และสภากาชาดไทย เพื่อให้ทุกฝ่ายได้รับทราบรายละเอียดในการดำเนินการรักษา การเบิกจ่ายค่ารักษาพยาบาลและการผ่าตัดโดยตรงจาก สปส. และทำข้อตกลงความร่วมมือระหว่างกัน
"ส่วนขั้นตอนการรักษานั้น เมื่อโรงพยาบาลที่ผู้ประกันตนมีบัตรรับรองสิทธิอยู่ให้การรักษาแล้วพบว่า ผู้ประกันตนจะต้องได้รับการรักษาด้วยวิธีผ่าตัดเปลี่ยนหัวใจ ตับ หรือตับอ่อน ให้แจ้งต่อ สปส.เพื่อพิจารณาอนุมัติ โดยจะวินิจฉัยยึดตามเกณฑ์ของแพทยสภา และสมาคมปลูกถ่ายอวัยวะฯ รวมทั้งโรงพยาบาลบัตรรับรองสิทธิฯ จะต้องประสานไปยังโรงพยาบาลที่มีศักยภาพสูงทั้ง 3 แห่ง และสภากาชาดไทยด้วย สำหรับผู้ประกันตนที่ป่วยจะต้องเข้ารับการผ่าตัดเปลี่ยนอวัยวะจะต้องเตรียม พร้อมร่างกาย จิตใจและรอการผ่าตัด ซึ่งขึ้นอยู่กับว่าจะได้รับบริจาคอวัยวะเมื่อใด เนื่องจากกรณีนี้ไม่เข้าข่ายการรักษากรณีเจ็บป่วยฉุกเฉิน จึงไม่สามารถเข้ารับการผ่าตัดได้ทันที"นพ.สุรเดชกล่าว
(สำนักข่าวไทย, 22-1-2557)
สปส.เพิ่มสิทธิผู้ประกันตน ผ่าเปลี่ยนอวัยวะ "หัวใจ-ตับ"
สำนักงานประกันสังคมเจรจา 3 โรงพยาบาลดัง"ศิริราช-รามาฯ-จุฬาฯ"เพิ่มสิทธิให้ผู้ประกันตนกรณีผ่าตัดเปลี่ยน"หัวใจ-ตับ-ตับอ่อน"คาดเริ่มใช้เดือนมีนาคมนี้
เมื่อวันที่ 21 มกราคม นพ.สุรเดช วลีอิทธิกุล รองเลขาธิการสำนักงานประกันสังคม (สปส.) เปิดเผยว่า สปส.เตรียมที่จะเพิ่มสิทธิประโยชน์การรักษาพยาบาลให้ผู้ประกันตน ในกรณีผ่าตัดเปลี่ยนหัวใจ ตับ ตับอ่อน ซึ่งผู้ป่วยที่เป็นโรคหัวใจ หรือมีปัญหาที่ตับ ตับอ่อน จำเป็นต้องได้รับการรักษาด้วยวิธีการผ่าตัดเปลี่ยนอวัยวะ
"สปส.ได้ให้สมาคมปลูกถ่ายอวัยวะแห่งประเทศไทย ศึกษาถึงความคุ้มค่าในการรักษาผู้ป่วยด้วยการผ่าตัดเปลี่ยนหัวใจ ตับ ตับอ่อน ทั้งในประเทศไทยและต่างประเทศ พบว่าผู้ป่วยที่เข้ารับการผ่าตัดมีอัตราเสี่ยงต่อการเสียชีวิตน้อย เพราะเทคโนโลยีทางการแพทย์และยาที่ให้การรักษามีความก้าวหน้าและทันสมัยมาก ขึ้นเรื่อยๆ ส่วนใหญ่หลังผ่าตัดเปลี่ยนอวัยวะแล้ว ผู้ป่วยสามารถกลับมาใช้ชีวิตได้ตามปกติ แต่จะต้องได้รับยากดภูมิคุ้มกันไปตลอดชีวิต ดังนั้นการรักษาด้วยวิธีการผ่าตัดเปลี่ยนอวัยวะจึงมีความคุ้มค่าและเป็น ประโยชน์ต่อผู้ประกันตนอย่างมาก เพราะถือเป็นการให้ชีวิตใหม่แก่ผู้ประกันตน"นพ.สุรเดชกล่าว และว่า ล่าสุด คณะกรรมการการแพทย์ สปส.ได้เห็นชอบเรื่องนี้ และจัดทำร่างประกาศเตรียมเสนอเข้าสู่การพิจารณาของคณะกรรมการประกันสังคม (บอร์ด สปส.) ในเร็วๆ นี้ คาดว่าประกาศดังกล่าวจะมีผลบังคับใช้ในเดือนมีนาคมนี้
นพ.สุรเดชกล่าวอีกว่า สปส.ได้ประมาณการในปีแรก ภาพรวมจะใช้งบประมาณในการผ่าตัด ดูแลรักษา และให้ยากดภูมิคุ้มกันแก่ผู้ประกันตนที่ป่วยอย่างต่อเนื่องตลอดชีวิตประมาณ 15 ล้านบาท หรือเฉลี่ยรายละประมาณ 1 ล้านบาท หลังจากนั้นในปีต่อไปจะใช้งบฯ 50-60 ล้านบาท แต่จำนวนผู้ประกันตนที่จะรับการผ่าตัดเปลี่ยนหัวใจ ตับ ตับอ่อน ยังไม่สามารถประมาณการได้ ขึ้นอยู่กับการได้รับบริจาคอวัยวะ สำหรับโรงพยาบาลที่ให้การผ่าตัดเปลี่ยนหัวใจ ตับ ตับอ่อน ให้แก่ผู้ประกันตนที่เจ็บป่วย ได้แก่ รพ.ศิริราช รพ.รามาธิบดี และ รพ.จุฬาลงกรณ์ และ สปส.จะต้องประสานงานกับศูนย์บริจาคอวัยวะ สภากาชาดไทย เพื่อขอรับบริจาคอวัยวะมาเปลี่ยนให้แก่ผู้ประกันตนด้วย
นพ.สุรเดชกล่าวว่า หลังบอร์ด สปส.เห็นชอบร่างประกาศดังกล่าวแล้ว จะทำหนังสือไปยังโรงพยาบาลในเครือข่ายประกันสังคมทุกแห่ง รวมถึง รพ.ศิริราช รพ.รามาฯ รพ.จุฬาฯ และสภากาชาดไทย เพื่อให้ทุกฝ่ายได้รับทราบรายละเอียดในการดำเนินการรักษา การเบิกจ่ายค่ารักษาพยาบาลและการผ่าตัดโดยตรงจาก สปส. และทำข้อตกลงความร่วมมือระหว่างกัน
"ส่วนขั้นตอนการรักษานั้น เมื่อโรงพยาบาลที่ผู้ประกันตนมีบัตรรับรองสิทธิอยู่ให้การรักษาแล้วพบว่า ผู้ประกันตนจะต้องได้รับการรักษาด้วยวิธีผ่าตัดเปลี่ยนหัวใจ ตับ หรือตับอ่อน ให้แจ้งต่อ สปส.เพื่อพิจารณาอนุมัติ โดยจะวินิจฉัยยึดตามเกณฑ์ของแพทยสภา และสมาคมปลูกถ่ายอวัยวะฯ รวมทั้งโรงพยาบาลบัตรรับรองสิทธิฯ จะต้องประสานไปยังโรงพยาบาลที่มีศักยภาพสูงทั้ง 3 แห่ง และสภากาชาดไทยด้วย สำหรับผู้ประกันตนที่ป่วยจะต้องเข้ารับการผ่าตัดเปลี่ยนอวัยวะจะต้องเตรียม พร้อมร่างกาย จิตใจและรอการผ่าตัด ซึ่งขึ้นอยู่กับว่าจะได้รับบริจาคอวัยวะเมื่อใด เนื่องจากกรณีนี้ไม่เข้าข่ายการรักษากรณีเจ็บป่วยฉุกเฉิน จึงไม่สามารถเข้ารับการผ่าตัดได้ทันที"นพ.สุรเดชกล่าว
(ประชาชาติธุรกิจ, 22-1-2557)
ช่างอุตสาหกรรมยานยนต์ขาดหนัก เร่งผลิตป้อนปีละ 1 พันคน
( 22 ม.ค.)นายนคร ศิลปอาชา อธิบดีกรมพัฒนาฝีมือแรงงาน (กพร.) เปิดเผยว่า ปัจจุบันอุตสาหกรรมยานยนต์ประสบปัญหาขาดแคลนแรงงานจำนวนมาก โดยเฉพาะช่างเคาะ ช่างสี และช่างยนต์ ดังนั้น กพร.โดยสถาบันพัฒนาฝีมือแรงงานภาค (สพภ.) และศูนย์พัฒนาฝีมือแรงงานจังหวัด (ศพจ.) ที่มีความพร้อม เช่น อุบลราชธานี นครราชสีมา ชลบุรี สุราษฎร์ธานี สงขลา สามารถผลิตช่างทั้ง 3 สาขา รวมถึงสาขาอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมยานยนต์รวมแล้วปีละประมาณ 1 พันคน
อธิบดี กพร.กล่าวอีกว่า สำหรับการผลิตช่างเคาะ ช่างสี และช่างยนต์ ในส่วนของภาคตะวันออกเฉียงเหนือนั้น ขณะนี้ สพภ.7 อุบลราชธานี ผลิตได้ปีละ 100 คน โดยส่วนหนึ่งเป็นการผลิตโดยงบของ กพร.และส่วนหนึ่งได้รับทุนสนับสนุนจากบริษัทเอกชน โดยบริษัท โตโยต้าได้ให้ทุนสนับสนุนมาอย่างต่อเนื่อง ซึ่งล่าสุดได้ลงนามความร่วมมือกันโดยโตโยต้าให้ทุนผลิตช่างเคาะ ช่างสี และช่างยนต์ ในช่วงเดือน ต.ค.2556-มี.ค.2557 รวมทั้งหมดกว่า 100 ทุน และมีการทำสัญญาจ้างงานทันที เมื่อ สพภ.จัดอบรมเสร็จแล้วก็จะส่งตัวผู้ผ่านการอบรมให้แก่บริษัท โตโยต้า เพื่อกระจายไปทำงานตามศูนย์ของโตโยต้าในจังหวัดต่างๆ ขณะเดียวกัน มีค่ายรถยนต์อื่นๆ เช่น เชฟโรเลต มาให้ช่วยผลิตและฝึกอบรมช่างยนต์และสาขาอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องด้วยเช่นกัน
“ผู้ที่จะมาสมัครเข้าอบรมนั้น ขอให้มีใจรักและอดทนในการทำงานด้านช่างยนต์ พร้อมที่จะไปทำงานในจังหวัดต่างๆ ส่วนการฝึกอบรมของ สพภ.และ ศพจ.ในสาขาช่างเคาะ ช่างสี และช่างยนต์ แยกเป็นสาขาช่างยนต์รับผู้ที่จบ ปวช.สาขาช่างยนต์จากโรงเรียนอาชีวศึกษาเอกชนต่างๆ ซึ่งร่วมมือกับ กพร.มาฝึกอบรม และสาขาช่างเคาะ และช่างสี รับผู้เรียนจบชั้น ม.3 มาเรียนโดยระหว่างฝึกอบรมจะได้รับค่าเบี้ยเลี้ยงวันละ 150 บาทตลอดการฝึกอบรม และหลักสูตรอบรมมีทั้ง 2 เดือน และ 4 เดือน มีการอบรมความรู้ด้านช่างเน้นภาคปฏิบัติ ภาษาอังกฤษสำหรับช่างยนต์ รวมทั้งคอมพิวเตอร์ ซึ่งเฉพาะคอมพิวเตอร์อบรมเพิ่มเติมให้แก่ผู้เข้าอบรมสาขาช่างยนต์ ซึ่งผู้ที่สนใจติดต่อได้ที่ กพร. สพภ.หรือ ศพจ.ต่างๆ เช่น อุบลราชธานี นครราชสีมา ชลบุรี สุราษฎร์ธานี สงขลา หรือเว็บไซต์ www.dsd.go.th” นายนคร กล่าว
(ASTV ผู้จัดการออนไลน์, 23-1-2557)
สุ่มตรวจมะเร็งปากมดลูกสาวฉันทนา พบเสี่ยง 46 ราย จาก 4.5 พันราย
(22 ม.ค.) นพ.พูลชัย จิตอนันตวิทยา ที่ปรึกษาภาคีหมออนามัยแห่งประเทศไทย กล่าวว่า ตามที่สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) สำนักงานประกันสังคม (สปส.) และภาคีหมออนามัยแห่งประเทศไทย เดินหน้าโครงการลดอัตราการป่วยเสียชีวิตของแรงงานสตรีจากมะเร็งปากมดลูก โดยออกตรวจคัดกรองเชิงรุกถึงโรงงานอุตสาหกรรม นำร่อง จ.สมุทรปราการ ก่อนขยายไปยังจังหวัดอื่นๆ นั้น ขณะนี้ได้ทำการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกในแรงงานสตรีจำนวน 4,545 ราย จากโรงงานทั้งหมด 40 แห่ง พบว่ามีแรงงานสตรีที่มีเซลล์ผิดปกติระยะเริ่มต้นที่จะกลายเป็นมะเร็งปาก มดลูก จำนวน 46 ราย จากโรงงาน 20 แห่ง ซึ่งทั้งหมดมีอายุเฉลี่ย 27-46 ปี โดยเป็นผู้ประกันตนในระบบประกันสังคมทั้งหมด
“เมื่อผลการตรวจคัดกรองออกมาเช่นนี้ ก็เป็นหน้าที่ของโรงพยาบาลต้นสังกัดประกันสังคมในการตรวจพิเศษเพิ่มเติม เช่น การตรวจหา DNA ของเชื้อไวรัส การส่องกล้องเพื่อดูความผิดปกติของเนื้อเยื่อบริเวณปากมดลูก ร่วมกับการตัดชิ้นเนื้อไปตรวจทางพยาธิวิทยา (Colposcope and Biopsy) พร้อมทั้งการรักษา ซึ่งส่วนใหญ่เมื่อพบระยะแรกก็จะรักษาได้” นพ.พูลชัย กล่าว
นพ.พูลชัย กล่าวอีกว่า ปัญหาของการทำโครงการเริ่มแรก คือ หลังจากพบเคสที่มีความเสี่ยงเกิดมะเร็งปากมดลูกก็จะทำการส่งตัวให้กับโรง พยาบาลในเครือข่ายของ สปส.แต่พบว่าขั้นตอนมีความยุ่งยาก เนื่องจากโรงพยาบาลเหล่านี้จะไม่เชื่อผลตรวจที่เราเข้าไปตรวจสอบให้ และต้องการให้ตรวจคัดกรองซ้ำ ซึ่งต้องเสียค่าใช้จ่ายเพิ่ม ทำให้แรงงานสตรีไม่ตรวจ สุดท้ายทำให้เสียโอกาสการรักษาในระยะเริ่มแรก แต่หลังจากโครงการดังกล่าวได้มีความร่วมมือกับ สปส.และโรงพยาบาลในเครือข่าย ซึ่งทำการรักษาเป็นกลุ่ม คือ จำนวนเคสเสี่ยงป่วยมะเร็งปากมดลูกทั้ง 46 ราย จะได้รับการตรวจเพิ่มเติมและรักษาต่อเนื่องในโรงพยาบาลเปาโลเมมโมเรียล จ.สมุทรปราการ ซึ่งถือเป็นการรักษาแบบกลุ่มครั้งแรก
นพ.พูลชัย กล่าวด้วยว่า สำหรับในปีนี้จะมีการขยายตรวจคัดกรองมะเร็งในแรงงานสตรีตามสถานประกอบการที่ เหลือใน จ.สมุทรปราการ อีก ซึ่งปัจจุบันมีประมาณ 2 หมื่นแห่ง อย่างไรก็ตาม สปส.อยู่ระหว่างทยอยหารือกับสถานประกอบการเหล่านี้ เพื่อขอให้แรงงานสตรีได้รับการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก เพื่อป้องกันการเกิดโรคที่นอกจากจะส่งผลต่อสุขภาพของแรงงาน ยังส่งผลต่อการทำงานอีกด้วย
(ASTV ผู้จัดการออนไลน์, 23-1-2557)
กงสุลไทยประจำมาเลย์เตือนแรงงานไทยเข้าเมืองผิด กม.กลับไทยด่วน
(23 ม.ค.) นายจักรกฤษณ์ กาญจนศูนย์ กงสุลใหญ่ ณ เมืองโกตาบารู รัฐกลันตัน ประเทศมาเลเซีย เปิดเผยว่า ขณะนี้ทางประเทศมาเลเซียได้ดำเนินการกวาดล้างกลุ่มแรงงานที่เข้าประเทศอย่าง ผิดกฎหมาย เนื่องจากปัจจุบันประเทศมาเลเซียมีกลุ่มแรงงานที่เข้ามาทำงานอย่างผิดกฎหมาย เพิ่มขึ้น และเกิดอาชญากรรมในประเทศเพิ่มขึ้น ซึ่งทางกงสุลจึงได้เร่งทำการประชาสัมพันธ์โดยเฉพาะกลุ่มแรงงานไทยที่เข้าไป ทำงานแบบผิดกฎหมาย ที่ไม่มีใบอนุญาตเข้าเมือง หรือใบอนุญาตทำงาน ให้เดินทางออกนอกประเทศในระยะนี้ ซึ่งหากทางการของประเทศมาเลเซียควบคุมตัวได้ ก็จะมีการดำเนินคดีตามกฎหมาย โดยการจำคุก
กงสุลใหญ่ ณ เมืองโกตาบารู เปิดเผยด้วยว่า แรงงานที่เข้าไปทำงานแบบผิดกฎหมายของไทยนั้นมีอยู่บ้าง ซึ่งส่วนใหญ่ไปรับจ้างทั้งกรีดยาง และดูแลบุตร รวมถึงรับจ้างทั่วไป จึงอยากให้มีการแจ้งเตือนเพื่อป้องกันการถูกดำเนินคดีด้วย
(ASTV ผู้จัดการออนไลน์, 23-1-2557)
รัฐบาลยันไม่นำเงินประกันสังคมจ่ายจำนำข้าว
25 ม.ค. 2557 - กรุงเทพธุรกิจออนไลน์รายงานว่าร.ท.หญิง สุณิสา เลิศภควัต รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ในฐานะคณะทำงานโฆษกศรส. แถลงภายหลังการประชุมศรส.ประจำวันที่ 25 ม.ค. ว่า ร.ต.อ.เฉลิม อยู่บำรุง รมว.เเรงงาน ในฐานะผอ.ศรส. ได้แจ้งต่อที่ประชุมว่า ข้อกล่าวหาของ แกนนำ กปปส. ที่ปราศรัยบนเวทีว่า น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรีและรมว.กลาโหม ตั้งใจจะหนีผู้ชุมนุมกปปส. ไม่เป็นความจริงแต่อย่างใด ซึ่งวานนี้(24 ม.ค.) นายกฯ เดินทางไปตรวจเยี่ยมโรงเรียนนายร้อยตำรวจสามพราน จ.นครปฐม เพื่อดูความพร้อมในเรื่องพัฒนาการเรียนการสอนของโรงเรียนและการจัดหลักสูตร ต่าง ๆ ในการรองรับความเปลี่ยนแปลงที่จะเกิดขึ้นของประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนหรือ AEC เพียงแต่เป็นการเดินทางไปโดยไม่มีสื่อมวลชนติดตามเท่านั้น
นอกจากนี้ ร.ต.อ.เฉลิม ยังปฏิเสธข้อกล่าวหาที่ แกนนำกปปส. ระบุว่า รัฐบาลจะแก้ปัญหาเงินจำนำข้าวของชาวนา โดยการกู้เงินจากกองทุนประกันสังคม ในความกำกับดูแลของร.ต.อ.เฉลิม เพราะเป็นเรื่องที่เป็นไปไม่ได้อยู่แล้ว เนื่องจาก เงินกองทุนประกันสังคม มีการบริหารจัดการในลักษณะไตรภาคี ภายใต้การดูแลของ 3 ฝ่าย คือ นายจ้าง-ลูกจ้าง-กระทรวงแรงงาน ซึ่งมีหลักเกณฑ์และกรอบกติกาที่ชัดเจนในการใช้เงินดังกล่าว และมีกม.เฉพาะคอยกำกับและควบคุมการดำเนินการเกี่ยวกับกองทุนอยู่ โดยที่ ร.ต.อ.เฉลิม แม้จะเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน แต่ก็ไม่มีส่วนเกี่ยวข้อง และไม่สามารถเข้าไปแทรกแซง หรือ บงการการดำเนินงานของกองทุนได้ตามใจ
(กรุงเทพธุรกิจ, 25-1-2557)
บอร์ดทีจีอนุมัติ 600 ล้าน ขึ้นเงินเดือนสวนขาดทุน
นายโชคชัย ปัญญายงค์ รองกรรมการผู้อำนวยการใหญ่อาวุโสสายการพาณิชย์ รักษาการกรรมการผู้อำนวยการใหญ่ (ดีดี) บมจ.การบินไทย (THAI) เปิดเผยว่า ในการประชุมคณะกรรมการ (บอร์ด) เมื่อวันที่ 24 ม.ค.2557 ที่ประชุมมีการพิจารณา เห็นชอบปรับขึ้นเงินเดือนแก่พนักงาน เนื่องจากในปีที่ผ่านมาบริษัทมีการเพิ่มปริมาณการผลิตมากขึ้นตามแผนธุรกิจ ของบริษัท เนื่องจากยังอยู่ในภาวะการแข่งขันที่รุนแรง และต้องเผชิญกับภาวะเศรษฐกิจและการเมือง แต่ภาระงานที่พนักงานทุกคนทุ่มเทกำลังกายกำลังใจจนทำให้งานบรรลุตามเป้าหมาย อีกทั้งพนักงานชั้นผู้น้อยต้องเผชิญกับค่าครองชีพและค่าใช้จ่ายต่างๆ ที่สูงขึ้น
บอร์ดทีจีอนุมัติ600ล้าน ขึ้นเงินเดือนสวนขาดทุน
ข่าวเศรษฐกิจ หนังสือพิมพ์ไทยโพสต์ -- เสาร์ที่ 25 มกราคม 2557 00:00:09 น.
วิภาวดีฯ * บอร์ดบินไทยไฟเขียว ปรับขึ้นเงินเดือนประจำปีให้พนักงาน 600 ล้านบาท เพื่อสร้างขวัญและกำลังใจในการปฏิบัติงาน แม้บริษัทจะตกอยู่ในภาวะผลประกอบการขาดทุน
นายโชคชัย ปัญญายงค์ รองกรรมการผู้อำนวยการใหญ่อาวุโสสายการพาณิชย์ รักษาการกรรมการผู้อำนวยการใหญ่ (ดีดี) บมจ.การบินไทย (THAI) เปิดเผยว่า ในการประชุมคณะกรรมการ (บอร์ด) เมื่อวันที่ 24 ม.ค.2557 ที่ประชุมมีการพิจารณา เห็นชอบปรับขึ้นเงินเดือนแก่พนักงาน เนื่องจากในปีที่ผ่านมาบริษัทมีการเพิ่มปริมาณการผลิตมากขึ้นตามแผนธุรกิจ ของบริษัท เนื่องจากยังอยู่ในภาวะการแข่งขันที่รุนแรง และต้องเผชิญกับภาวะเศรษฐกิจและการเมือง แต่ภาระงานที่พนักงานทุกคนทุ่มเทกำลังกายกำลังใจจนทำให้งานบรรลุตามเป้าหมาย อีกทั้งพนักงานชั้นผู้น้อยต้องเผชิญกับค่าครองชีพและค่าใช้จ่ายต่างๆ ที่สูงขึ้น
ทั้งนี้ การปรับขึ้นเงินเดือน ถือเป็นแนวทางการบริหารจัด การองค์กรที่บริษัทได้ดำเนินการทุกปี เพื่อสร้างขวัญและกำลังใจให้พนักงานปฏิบัติหน้าที่เต็มความสามารถ แม้ว่าบริษัทจะตกอยู่ในภาวะผลประกอบการขาดทุน โดยแนวทางการพิจารณาในครั้งนี้ไม่ได้นำเรื่องผลกระทบจากปัจจัยต่างๆ รวมถึงผลประกอบการขาดทุนมาพิจารณาร่วม เพราะถือว่าเป็นคนละส่วนกัน
แหล่งข่าวจากการบิน ไทย กล่าวว่า การพิจารณาปรับขึ้นเงินเดือนพนักงานครั้งนี้ คาดว่าจะใช้งบประมาณ กว่า 600 ล้านบาท/ปี โดยจะพิจารณาพนักงานที่มีฐานเงินเดือนน้อย สามารถรับเงินเพิ่มแรงจูงใจในการทำงานมากกว่า 1 เดือน
อย่างไรก็ตาม การขึ้นเงินเดือนในครั้งนี้มองว่า ฝ่ายบริหารและบอร์ดต้องการลดกระแสการขับไล่ นายอำพน กิตติอำพน เลขาธิการคณะรัฐ มนตรี ในฐานะประธานบอร์ดการบินไทย ออกจากตำแหน่ง รวมถึงนายโชคชัยออกจากรักษา การดีดี.
(ไทยโพสต์, 25-1-2557)
บริษัทขอลดอัตราจ้างคนพิการ เหตุไม่จ้างต้องจ่ายเงินเข้ากองทุนวันละ 300 บาท
(27 ม.ค.) นายสุเมธ มโหสถ รองปลัดกระทรวงแรงงาน (รง.) เปิดเผยว่า เมื่อเร็วๆ นี้ กระทรวงแรงงานได้ส่งผู้แทนเข้าร่วมประชุมหารือผลกระทบจาก พ.ร.บ.ส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ พ.ศ.2550 ให้แก่ผู้ประกอบการในพื้นที่จังหวัดระยอง ที่โรงแรมโกลเด้นซิตี้ จ.ระยอง ซึ่งที่ประชุมมีข้อเสนอในหลายประเด็น ได้แก่ การขอให้กระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (พม.) ออกบัตรให้แก่คนพิการ สถานประกอบการขอปรับสัดส่วนการจ้างงานคนพิการจากอัตราลูกจ้างปกติ 100 คน ต้องจ้างผู้พิการ 1คน เป็นลูกจ้างปกติ 200 คน ต้องจ้างผู้พิการ 1 คน เพื่อให้การคำนวณมูลค่าเงินที่ต้องจ่ายเข้ากองทุนส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพ ชีวิตคนพิการลดลง ซึ่งปัจจุบันกฎกระทรวงกำหนดให้สถานประกอบการที่มีลูกจ้างปกติ 100 คน จะต้องจ้างงานผู้พิการ 1 คน หากไม่จ้างงานผู้พิการ ก็จะต้องจ่ายเงินเข้ากองทุนวันละ 300 บาท ในเวลา 365 วัน หรือคิดเป็นเงินทั้งหมดปีละ 109,500 บาทต่อผู้พิการ 1 คน แต่หากไม่จ้างผู้พิการก็ดำเนินการตามมาตรา 35 การให้สัมปทาน จัดสถานที่จำหน่ายสินค้าหรือบริการ จัดจ้างเหมาในช่วงงานฝึกงาน หรือการช่วยเหลืออื่นๆ แก่คนพิการ หรือผู้ดูแลคนพิการ ซึ่งผู้ประกอบการเห็นว่าการดำเนินการตามมาตรา 35 ไม่ควรจะส่งเงินเข้ากองทุนเท่ากันในทุกกิจกรรม เพราะเป็นการช่วยเหลือคนพิการ หรือผู้ดูแลคนพิการให้มีอาชีพและมีรายได้มั่นคง ผู้พิการอาจพอใจในรายได้ที่ต่ำกว่า แต่ไม่ต้องเดินทาง จะได้มีเวลาดูแลบ้านและครอบครัว
รองปลัด รง.กล่าวอีกว่า ที่ประชุมยังเห็นว่าการคิดจำนวนคนพิการที่ต้องรับเข้าทำงานในสถานประกอบการ ควรเริ่มคิดในช่วงปีปฏิทิน และขอขยายเวลาการจ่ายเงินสมทบเข้ากองทุนฯจากเดิมในเดือนตุลาคม-มกราคม ให้เป็น มกราคม-มีนาคม ของทุกปี รวมทั้งในโรงงานที่มีแผนกคนพิการไม่สามารถทำได้ เช่น กลุ่มยานยนต์แผนกที่มีหุ่นยนต์ แผนกอัตโนมัติต่างๆ ซึ่งไม่สามารถให้คนพิการเข้าไปทำงานได้ ก็ขอให้หักจำนวนลูกจ้างจากบางแผนกที่คนพิการไม่สามารถทำงานได้ออกไปจากฐาน การคำนวณการจ้างงานผู้พิการของสถานประกอบการแห่งนั้นด้วย และควรให้ผู้ประกอบการ หรือผู้แทนฝ่ายนายจ้างเข้าไปมีส่วนร่วมในการบริหารกองทุน เพราะผู้ประกอบการเป็นผู้นำส่งเงินเข้ากองทุน 85% ของเงินกองทุนทั้งหมด จึงมีส่วนร่วมในการบริหารกองทุน เช่นเดียวกับกองทุนประกันสังคม เพื่อความโปร่งใสและก่อประโยชน์สูงสุดต่อคนพิการอย่างแท้จริง ทั้งนี้ กระทรวงแรงงานจะนำประเด็นเหล่านี้ไปหารือกับ พม.และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องต่อไป
(ASTV ผู้จัดการออนไลน์, 27-1-2557)
แรงงาน-ลูกจ้าง-พนักงาน ประสานเสียงขอเพิ่มเงินออมชราภาพ
นพ.สุรเดช วลีอิทธิกุล รองเลขาธิการสำนักงานประกันสังคม (สปส.) กระทรวงแรงงาน เปิดเผยว่า สปส.ได้สำรวจความต้องการของผู้ประกันตนมาตรา 33 และมาตรา 39 เกี่ยวกับความต้องการเงินสิทธิประโยชน์กรณีชราภาพผ่านเว็บไซต์ www.sso.go.th ระหว่างเดือน ก.ย.-ต.ค.2556 ในทุกกลุ่มอายุจำนวน 900 คน ซึ่งผลสำรวจสรุปได้ว่า ผู้ประกันตนร้อยละ 89 เห็นว่าเมื่อส่งเงินสมทบครบ 180 เดือน หรือ 15 ปี และมีอายุครบ 55 ปีบริบูรณ์ อยากให้ สปส.เปิดโอกาสให้สามารถเลือกได้ว่าจะรับเป็นเงินบำเหน็จชราภาพ หรือเงินบำนาญชราภาพก็ได้ และร้อยละ 72 อยากให้ สปส.เปิดโอกาสสามารถเพิ่มเงินออมชราภาพได้มากขึ้น โดยการปรับเพดานอัตราเงินเดือนของผู้ประกันตนจากปัจจุบันกำหนดไว้สูงสุดที่ 15,000 บาทต่อเดือน ให้เพิ่มเพดานเงินเดือนผู้ประกันตนเป็น 25,000 บาท
รองเลขาธิการ สปส.กล่าวอีกว่า ขณะเดียวกันผู้ประกันตนร้อยละ 50 ยินดีจ่ายเงินสมทบเพิ่มขึ้น หาก สปส.จะปรับเพิ่มอัตราเงินสมทบเฉพาะในส่วนของเงินออมชราภาพ และร้อยละ 65 ต้องการส่งเงินสมทบเพิ่มสูงขึ้นกว่าร้อยละ 5 โดยให้ สปส.ยังคงเก็บเงินสมทบจากฝายนายจ้างในอัตราร้อยละ 5 เท่าเดิม เพื่อจะได้เก็บเป็นเงินออมชราภาพ ส่วนผู้ประกันตนมาตรา 39 ที่ต้องส่งเงินสมทบเอง ซึ่ง สปส.กำหนดฐานเพดานเงินเดือนสูงสุดไว้ที่ 4,800 บาท และให้ส่งเงินสมทบเดือนละ 432 บาท ได้ขอให้ สปส.จัดเก็บเงินสมทบโดยกลับไปใช้ฐานเงินเดือนครั้งสุดท้ายในช่วงที่เป็นผู้ ประกันตนมาตรา 33
ทั้งนี้ ยกตัวอย่างเช่น ก่อนออกจากงานทำงานได้เงินเดือน 15,000 บาท จ่ายเงินสมทบเข้ากองทุนประกันสังคมเดือนละ 750 บาท เมื่อออกจากงานและมาสมัครเป็นผู้ประกันตนมาตรา 39 ก็ให้ สปส.จัดเก็บเงินสมทบในอัตราเดือนละ 750 บาทเช่นเดิม เพื่อที่เมื่ออายุครบ 55 ปี จะได้มีเงินสิทธิประโยชน์ชราภาพเพิ่มขึ้น เนื่องจากเมื่อ สปส.ใช้ฐานเงินเดือน 4,800 บาทมาคำนวณเงินสิทธิประโยชน์กรณีชราภาพ โดยนำเงินเดือน 60 เดือนสุดท้ายมาคูณด้วยร้อยละ 20 บวกจำนวนร้อยละที่เพิ่มให้อีกร้อยละ 1.5 ต่อปี ถ้าส่งเงินสมทบเกิน 180 เดือน จะได้รับสิทธิประโยชน์กรณีเงินชราภาพจำนวนไม่มาก ซึ่งไม่เพียงพอต่อการดำรงชีวิต
“จะนำเสนอผลสำรวจนี้ต่อคณะอนุกรรมการของสปส.ที่ดูแลสิทธิประโยชน์กรณี ชราภาพ เพื่อพิจารณานำเสนอต่อคณะกรรมการประกันสังคม (บอร์ด สปส.) ต่อไป ซึ่งข้อเสนอต่างๆ เหล่านี้จะมีการดำเนินการหรือไม่ขึ้นอยู่กับการพิจารณาของบอร์ด สปส.ส่วนความเห็นของผู้ประกันตนที่เสนอว่าเมื่อส่งเงินสมทบครบ 180 เดือน หรือ 15 ปี และมีอายุครบ 55 ปีบริบูรณ์ อยากให้ สปส.เปิดโอกาสให้สามารถเลือกได้ว่าจะรับเป็นเงินบำเหน็จชราภาพ หรือเงินบำนาญชราภาพก็ได้นั้น หากบอร์ด สปส.เห็นด้วยกับข้อเสนอดังกล่าว อนาคตก็คงจะต้องมีการเสนอแก้ไขกฎหมายประกันสังคมกันต่อไป” นพ.สุรเดช กล่าว
(ASTV ผู้จัดการออนไลน์, 27-1-2557)
เด็กเสิร์ฟ-ลูกจ้าง ถ.ข้าวสาร จ่อตกงานเซ่นม็อบ
นางฐนิวรรณ กุลมงคล นายกสมาคมภัตตาคารไทย เปิดเผยว่า หลังจากมีการประกาศพ.ร.ก.ฉุกเฉิน เมื่อวันที่ 22 ม.ค. 2557 ส่งผลให้รายได้ของธุรกิจร้านอาหาร ภัตตาคาร หายไปประมาณ 300 ล้านบาท โดยธรรมชาติของธุรกิจร้านอาหาร ภัตตาคาร จะมีเงินที่เป็นกระแสเงินสด หรือสภาพคล่องอยู่ได้ประมาณ 3 เดือน หากสถานการณ์ทางการเมืองไม่ยุติลงในเวลาอันเร็วนี้ พนักงานกลุ่มแรกที่จะถูกปลด คือ พนักงานเสิร์ฟ ดังนั้นหากการเมืองไม่จบ และยังยืดเยื้อต่อไป น่าจะทำให้ธุรกิจต้องปรับลดพนักงานเพื่อลดต้นทุนอีก ทั้งนี้ สมาชิกสมาคมขณะนี้มีประมาณ 3 หมื่นราย มากกว่า 1 หมื่นราย อยู่ในเขตกรุงเทพฯ และปริมณฑล ซึ่งได้รับผลกระทบจากการชุมนุมทางการเมือง
ด้านนายสง่า เรืองวัฒนกุล นายกสมาคมผู้ประกอบการธุรกิจถนนข้าวสาร กล่าวว่า ตั้งแต่มีสถานการณ์ทางการเมือง เมื่อเดือนพ.ย. 2556 ถนนข้าวสารรายได้หายไปประมาณ 40-50% ในขณะที่อัตราการเข้าพักก็เหลือ 50% จากปีก่อน และเมื่อมีการประกาศพ.ร.ก.ฉุกเฉิน ส่งผลให้รายได้ลดลงอย่างต่อเนื่อง จึงต้องลดต้นทุนโดยการลดพนักงานพาร์ตไทม์ และให้โอกาสกับพนักงานประจำพักร้อนแต่มีการจ่ายค่าจ้างไม่เต็มอัตรา หากการเมืองไม่จบก.พ.นี้ จะให้พนักงานพักยาวแบบไม่มีกำหนด ซึ่งปัจจุบันมีพนักงานทำงานในถนนข้าวสารมากกว่า 1 หมื่นคน
นายรณชิต มหัทธนะพฤทธิ์ รองประธานอาวุโสฝ่ายการเงินและบริหาร บริษัท โรงแรมเซ็นทรัลพลาซา จำกัด กล่าวว่า ขณะนี้โรงแรมเครือเซ็นทาราในพื้นที่กรุงเทพฯ ได้หยุดการจ้างพนักงานนอกเวลา (พาร์ตไทม์) แล้วทั้งหมด จากปกติหากเป็นช่วงฤดูกาลท่องเที่ยว (ไฮซีซั่น) จะจ้างเพิ่มขึ้น 30% ขณะที่ในส่วนของพนักงานประจำบางส่วนก็ต้องย้ายไปที่โรงแรมในหัวเมืองหลักๆ เช่น หัวหิน พัทยา ภูเก็ต เป็นต้น
(ข่าวสด, 28-1-2557)