Quantcast
Channel: พันศักดิ์ วิญญรัตน์
Viewing all articles
Browse latest Browse all 14385

Facebook โดนฟ้องฐานอ้างผู้ใช้ ‘ไลค์’ เพจที่ไม่ได้ ‘ไลค์’ จริงๆ

$
0
0

อวัตถุศึกษากับอธิป นำเสนอข่าวสารด้านลิขสิทธิ์รอบโลก สัปดาห์นี้ที่สวีเดน กลุ่มเยาวชนพรรคไพเรตปาร์ตี้ขอเอาคืน ตั้งเครื่องมือดักสัญญาณหน่วยงานความมั่นคง, เฟซบุ๊กถูกฟ้องหลังเอาชื่อผู้ใช้ไปโฆษณาสินค้า

 

Immaterial Property Research Center ตั้งขึ้นในวันที่ 18 มกราคม หรือ "วันเสรีภาพอินเทอร์เน็ต"เพื่อเป็นศูนย์ข่าว ศูนย์ข้อมูล และศูนย์วิจัยด้านความสัมพันธ์ระหว่างระบบทรัพย์สินที่ไม่เป็นวัตถุ (หรือที่เป็นที่รู้จักทั่วไปว่าทรัพย์สินทางปัญญา) ต่างๆ อย่างสัมพันธ์กับระบบกฎหมาย ระบบเศรษฐกิจ และระบบการเมืองในโลก ทางศูนย์ฯ หวังเป็นอย่างยิ่งว่างานของศูนย์ฯ จะนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงของระบบทรัพย์สินที่ไม่เป็นวัตถุที่เอื้อให้เกิดเสรีภาพในเชิงบวกไปจนถึงความเท่าเทียมกันของผู้คนในโลก
 

งงกันทุกฝ่ายเมื่อหนังสือพิมพ์ New York Times ลงโฆษณาที่มีแต่ภาพ "แคป"หน้าจอมาจาก Twitter

ภาพที่ท่านเห็นอยู่ คือหน้าหนึ่งของหนังสือพิมพ์ New York Times ในวันที่ 7 มกราคมที่ผ่านมา

มันคือโฆษณาภาพยนตร์ได้รางวัลสารพัดของ CBS นาม Inside Llewyn Davisหรือชื่อไทยว่า คน กีต้าร์ แมว (ไอ้ที่โปสเตอร์เป็นผู้ชายถือกีต้าร์แล้วอุ้มแมวนั่นแหละครับ)

มันไม่มีอะไรเลยนอกจากหน้าโล่งๆ ที่มีภาพหน้าจอของนักวิจารณ์ภาพยนตร์คนหนึ่งซึ่งพูดถึงภาพยนตร์เรื่องนี้บน Twitter ตัวเล็กๆ ตรงกลาง กับหน้าว่างเบ้อเริ่ม โดยมีข้อความด้านล่างว่า "The Best Picture of The Year"

CBS ซื้อโฆษณานี้ด้วยเงิน 70,000 ดอลลาร์สหรัฐหรือกว่า 2,300,000 บาท และก็ได้ผลตอบแทนที่น่าพอใจทีเดียวเพราะผู้คนต่างงงกับโฆษณาภาพยนตร์อันนี้ที่ไม่เอ่ยแม้แต่ชื่อเต็มของภาพยนตร์ออกมาด้วยซ้ำ และเป็นที่กล่าวขวัญกันอย่างกว้างขวาง

จากการตรวจสอบของหลายสำนักข่าวก็พบว่าทาง CBS ไม่ได้ขออนุญาต A. O. Scott นักวิจารณ์เจ้าของทวีตด้วยซ้ำ และก็มีหลายๆ ฝ่ายสงสัยว่าการที่ CBS ทำแบบนี้ผิดกฎหมาย มั้ย?

อย่างไรก็ดีผลสรุปก็ดูจะตรงกันว่าการทำแบบนี้ไม่น่าจะจะละเมิดลิขสิทธิ์ เพราะนักวิชาการด้านกฎหมายลิขสิทธิ์ก็ออกมาชี้ว่าแม้ว่าจะยังไม่มีความแน่ชัดว่าข้อความของการทวีตมีลิขสิทธิ์หรือไม่ แต่ถึงจะมีลิขสิทธิ์การนำมาใช้ในรูปแบบนี้ก็น่าจะอยู่ภายหลักการใช้โดยชอบธรรม (Fair Use) กล่าวคือไม่ถือว่าเป็นการละเมิดลิขสิทธิ์นั่นเอง ซึ่งการไม่ละเมิดลิขสิทธิ์นี้ ก็หมายความว่าแม้ว่าข้อตกลงผู้ใช้ของทวิตเตอร์จะห้ามนำข้อความบนทวิตเตอร์มาใช้ในการโฆษณา แต่ข้อห้ามนี้ก็ไม่ได้มีผลบังคับใช้ทางกฎหมายแต่อย่างใด

ซึ่งแน่นอนว่าทั้งหมดนี้ก็เป็นเพียงการคาดเดาของนักกฎหมายในสิ่งที่ศาลยังไม่เคยตัดสินเท่านั้น ทั้งทาง A. O. Scott และ Twitter ก็อาจจะดำเนินคดีบางอย่างกับทั้งทาง CBS และ New York Times ได้ในทางเทคนิค แต่ก็ยังไม่มีการรายงานว่าการดำเนินคดีจะเกิดขึ้นแต่อย่างใด

ทั้งนี้กรณีนี้ก็ดูจะทำให้เราต้องระมัดระวังว่าข้อความที่เราเขียนในที่สาธารณะก็อาจถูกนำไปเป็นส่วนหนึ่งของโฆษณาได้ทุกเมื่อโดยที่ผู้โฆษณาก็ไม่ต้องมาขออนุญาตเราแต่อย่างใด และมันก็เป็นไปได้อย่างชอบธรรมเสียด้วย

อย่างไรก็ดี หากไม่เป็นดังนั้น คำถามก็จะตามมาเช่นกันว่าถ้าการ "โควต"เป็นสิ่งที่ต้องขอ “เจ้าของ” ข้อความตลอดเวลาแล้ว พวกงานข่าวนี่จะทำกันอย่างไร? และก็ยังไม่ต้องไปพูดถึงว่าเหล่านักวิชาการจะเขียนงานกันอย่างไร เพราะกิจกรรมข่าวและกิจกรรมวิชาการที่เป็นอยู่ในปัจจุบันก็ดำเนินไปบนปทัสฐานว่าการโควตนั้นไม่จำเป็นต้องขออนุญาต

ดังนั้นปัญหาเรื่องการชอบธรรมของโฆษณาที่แคปหน้าจอทวิตเตอร์นี้มันก็ดูจะวนเวียนกับ "สิทธิในการโควต"เป็นหลัก ที่ไม่เกี่ยวกับว่าการโควตนั้นจะทำไปในเชิงพาณิชย์หรือไม่ เพราะเนื่องจากโควตนี้ ได้ปรากฎบนหนังสือพิมพ์ที่มีขายในท้องตลาด ก็คงจะปฏิเสธได้ยากว่านี่ไม่ใช่เป็นการโควตเพื่อกิจกรรมในเชิงพาณิชย์ แต่ตามธรรมเนียมปฏิบัติที่มีมา นี่ไม่ใช่สิ่งที่ละเมิดลิขสิทธิ์ เพราะหลักการว่าการนำเสนอข่าวนั้นได้รับการยกเว้นจากการถือว่าละเมิดลิขสิทธิ์ก็ถือเป็นหลักข้อยกเว้นทั่วไปของกฎหมายลิขสิทธิ์ที่เป็นไปภายใต้แนวทางการคุ้มครองสิทธิในการแสดงออก ซึ่งที่ผ่านๆ มาศาลอเมริกันก็ดูจะถือว่าเป็นสิทธิที่สูงกว่าสิทธิในทางเศรษฐกิจอย่างลิขสิทธิ์

หรือพูดง่ายๆ ก็คือถ้าสามารถพิงกับหลัก “Free Speech” ได้เมื่อใด ลิขสิทธิ์ก็จะหมดฤทธิ์ไปเมื่อนั้น แต่การโหน Free Speech นั้นก็ไม่ได้จะทำได้ไปในทุกกรณีเช่นกัน

Source: http://gigaom.com/2014/01/07/go-ahead-use-that-tweet-no-one-can-stop-you/

 

App Store ทำยอดขายในเดือนธันวาคมที่ทำลายสถิติที่เคยมามาแล้วด้วยยอดขาย 1,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ และยอดดาวน์โหลดกว่า 3,000 ล้านแอปป์

ทั้งปี 2013 App Store ทำรายได้กว่า 10,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐหรือประมาณ 330,000 ล้านบาท (ซึ่งนี่น้อยกว่างบประมาณแผ่นดินประเทศราว 80 ประเทศ แต่มากกว่างบประมาณแผ่นดินของประเทศอีกราว 180 ประเทศ ดู http://www.photius.com/rankings/economy/budget_expenditures_2012_0.html)

ซึ่งก็ไม่น่าแปลกใจอะไรนักสำหรับผู้ติดตามการโตของธุรกิจสมาร์ทโฟนและแทบเล็ตที่ยังโตอย่างต่อเนื่อง

ทั้งนี้ทาง Apple ได้รายงานเพิ่มว่าตั้งแต่เปิด App Store มา เหล่าผู้พัฒนาแอปป์ทั้งหลายจากทั่วโลกก็มีรายได้จาก App Store รวมกันมากกว่า 15 ล้านดอลลาร์สหรัฐเข้าไปแล้ว

Source: http://www.apple.com/pr/library/2014/01/07App-Store-Sales-Top-10-Billion-in-2013.html

 

ยอดขายแผ่นเสียงไวนีลในอเมริกายังคงพุ่งกระฉูดในปี 2013

นับแต่แผ่นเสียงไวนีลมียอดขายพุ่งพรวดมาเกือบเท่าตัวจากราว 1 ล้านแผ่นปี 2007 มาเป็น 1.9 ล้านแผ่นในปี 2008 หลังจากนั้นยอดขายแผ่นเสียงไวนีลก็เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องมาตลอด

และล่าสุดในปี 2013 ยอดขายก็ยังเพิ่มมาจากปี 2012 ถึง 30% ซึ่งทำให้ยอดสูงถึง 6 ล้านแผ่นเข้าไปแล้ว

แน่นอนว่ายอดขายของแผ่นเสียงที่เพิ่มขึ้นก็ไม่อาจทดแทนยอดขาย CD ที่ลดลงอย่างต่อเนื่องในทศวรรษที่ 2000 ได้ แต่อย่างไรก็ดี การขายแผ่นไวนีลก็เป็นทางออกที่ยอดเยี่ยมของวงดนตรีจำนวนมากที่มีแฟนเพลงที่จงรักภักดีและมีกำลังซื้อ เพราะอัตรากำไรต่อหน่วยในการขายแผ่นไวนีลก็สูงกว่าซีดีมาก (เท่าที่ผู้เขียนเคยอ่านมา)

ทั้งนี้แผ่นไวนีลในยุคนี้ก็ไม่ได้มีความ "อนาล็อก"ในแบบยุคก่อนที่การฟังแผ่นไวนีลหมายถึงการฟังดนตรีแบบอนาล็อกตั้งแต่การบันทึกเสียง

เพราะในยุคนี้ระบบบันทึกเสียงแบบอนาล็อกเพียวๆ ทั้งระบบก็แทบจะไม่มีใครใช้แล้ว แผงมิกเซอร์ใหญ่ยักษ์จำนวนมากก็กลายมาเป็นวัตถุเพิ่มความขลังของห้องอัดมากกว่าที่จะถูกใช้งานจริงๆ เพราะอย่างน้อยๆ งาน "มิกซ์"ดนตรีสมัยนี้ก็แทบจะทำกันในคอมพิวเตอร์หมดแล้วเป็นอย่างน้อยไม่ว่าจะเป็นงานดนตรีในรูปแบบใด กล่าวคือแม้แต่การบันทึกเสียงจากเครื่องดนตรีสด สัญญาณเสียงของแต่ละเครื่องดนตรีที่เป็นอนาล็อกก็ต้องถูกแปลงเป็นสัญญาณดิจิทัลผ่านอุปกรณ์ที่เรียกว่าออดิโออินเทอร์เฟส (audio interface) อยู่แล้ว (ในทางปฏิบัติเส้นทางของสัญญาณคือ เครื่องดนตรี>ไมโครโฟน>ออดิโออินเทอร์เฟส>คอมพิวเตอร์) ก่อนที่เสียงนั้นจะถูกนำมาปรับแต่งและผสมกับเสียงดนตรีอื่นๆ มาเป็นงานบันทึกเสียงดนตรีที่สมบูรณ์ในท้ายที่สุด

ทั้งหมดหมายความว่างานดนตรียุคนี้แม้แต่งานต้นแบบก็เป็นงานแบบดิจิทัลไปหมดแล้ว และการเอางานดิจิทัลมาอัดลงแผ่นไวนีลก็ดูจะไม่มีทางทำให้ได้สุ้มเสียง "อุ่นๆ"แบบแผ่นเสียงในยุคก่อน

อย่างไรก็ดีทั้งหมดนี้ก็ไม่ได้ทำให้กระแสนิยมแผ่นไวนีลลดลงแต่อย่างใด ซึ่งที่มาที่ไปของความนิยมนี้มาอย่างไรก็คงจะต้องศึกษาวิเคราะห์กันต่อไป

Source: http://www.digitalmusicnews.com/permalink/2014/01/07/vinylsurge

 

กลุ่มเยาวชนของ Pirate Party สวีเดนตั้งเครื่องมือสอดแนมหน่วยงานความมั่นคง

วันดีคืนดีหน้าที่ทำการหน่วยงานความมั่นคงของสวีเดน (หรือจะเรียกว่า NSA ฉบับสวีเดนก็ได้) ก็มีรถตู้สีม่วงมาจอดใกล้ๆ

บนรถตู้มีโลโก Pirate Party พรรคการเมืองเลื่องชื่อจากสวีเดนที่เน้นนโยบายปฏิรูปลิขสิทธิ์ พิทักษ์ความเป็นส่วนตัว ผ่านกระบวนการประชาธิปไตยแบบใหม่ไซเบอร์ที่โปร่งใส่กว่าเดิม

มีเด็กวัยรุ่นคนลงมาจากรถ เปิดท้ายรถมาพบเสาอาหาร เขาหันเสาอากาศไปทางสำนักงานของ FRA เตรียมติดตั้ง เครื่องมือเพื่อดักจับสัญญาณในอากาศ

ทันใดนั้น เจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยก็ตรงรี่เข้ามาที่รถ และตรวจรถเป็นเวลา 45 นาทีก่อนไล่รถไปพร้อมเตือนว่าถ้าคราวหน้าทำแบบนี้อีกถูกจับแน่

รถตู้นี้เป็นรถตู้ของกลุ่ม Young Pirate ซึ่งเป็นองค์กรเยาวชนของ Pirate Party หลังเหตุการณ์ทั้งหมด Gustav Nipe ประทานของกลุ่ม Young Pirate ก็ชี้ว่าคนของทางกลุ่มไม่ได้ทำอะไรผิดกฎหมายสวีเดน เพราะไม่มีกฎหมายข้อไหนห้ามดักจับสัญญาณในอากาศ

กิจกรรมนี้ของทางกลุ่มนี้โดยหลักการเป็นไปเพื่อสอดแนมหน่วยงานความมั่นคงกลับบ้าง เพราะประชาชนที่จ่ายภาษีให้หน่วยงานพวกนี้ก็ไม่เคยรู้ว่าหน่วยงานพวกนี้เอาเงินภาษีของตนกลับมาสอดแนมพวกตนอย่างไรบ้าง

อนึ่ง กลุ่ม Young Pirate เป็นองค์กรทางการเมืองของเยาวชนที่มีสมาชิกมากที่สุดในสวีเดน และมีสมาชิกว่า 22,000 คนในปัจจุบัน

Source: http://torrentfreak.com/pirate-party-turns-the-tables-and-spies-on-intelligence-agency-140108/

 

Facebook โดนผู้ใช้ฟ้องอีก คราวนี้ฐาน "โฆษณา"ว่าผู้ใช้ Like เพจที่ไม่ได้ Like

คุณเคยสงสัยมั้ยเวลา Facebook ขึ้นข้อมูลมาบอกว่าเพื่อนคุณได้กด Like เพจบางเพจที่เพื่อนคุณไม่น่าจะชอบ?

ชายจากโคโลราโดคนหนึ่งสงสัยว่าเพื่อเขาไปกดไลค์เพจ USA Today อีท่าไหน ก็เลยแคปหน้าจอไปให้เพื่อนดู

เพื่อนของเขาที่อยู่แคลิฟอร์เนียก็พบว่าเขาไม่เคยกดไลค์เพจ USA Today แน่ๆ และก็ไม่เคยเข้าไปที่เพจด้วยซ้ำ

แล้วเขาก็ฟ้อง Facebook ซะ ฐานละเมิดความเป็นส่วนตัวในการนำภาพของเขาไปใช้โดยไม่ได้รับอนุญาตซึ่งค่าเสียหายตามกฎหมายคิดเป็นราวๆ เกือบ 25,000 บาท

ทั้งนี้กฎหมายอเมริกันมีมาตรฐานมานานแล้วว่าการนำรูปบุคคลหรือกระทั่งภาพลักษณ์ไปใช้โดยไม่ได้รับอนุญาตถือเป็นความผิด (เข้าใจว่าทางแพ่ง) ซึ่งหลักกฎหมายเดียวกันนั้นก็เป็นฐานให้บรรดาพวกคนดังทั้งหลายไล่ฟ้องพวกบริษัทเกมต่างๆ ที่มีตัวละครคล้ายคลึงกับพวกเขา เช่นในกรณีล่าสุดที่ Lindsey Lohan ฟ้องบริษัทผู้ผลิตเกมยอดฮิตอย่าง GTA V

Source: http://gigaom.com/2014/01/10/facebook-hit-with-lawsuit-over-like-ads-user-says-he-never-liked-usa-today/

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

Viewing all articles
Browse latest Browse all 14385

Trending Articles