9 เม.ย. เวลาประมาณ 9.00 น. กลุ่มศึกษาข้อตกลงเขตการค้าเสรี
นายอภิวัฒน์ กวางแก้ว ประธานเครือข่ายผู้ติดเชื้
"เราสงสัยว่าสหภาพยุโรปได้รางวั
ขณะที่ นายจักรชัย โฉมทองดี รองผู้ประสานงานกลุ่มศึกษาข้
"ปีที่แล้ว สภายุโรปมีมติไม่รับข้อตกลงว่
ข้อมูลจากเอฟทีเอวอทช์ระบุว่า การชุมนุมครั้งนี้ยังเป็นส่
ระหว่างการชุมนุม เครือข่ายประชาชนได้รั
9 เมษายน 2556
ถึง นายมาร์ติน ชัลซ์ ประธานรัฐสภายุโรป นายโจเซ่ มานูเอว บาร์โรโซ ประธานคณะกรรมาธิการยุโรป
ประชาคมโลกที่ทำงานเพื่อส่งเสริมการเข้าถึงยาในราคาที่เป็นธรรมรู้สึกผิดหวังเป็นอย่างยิ่ง เมื่อทราบข่าวการเริ่มเจรจาข้อตกลงเขตการค้าเสรี (เอฟทีเอ) ระหว่างสหภาพยุโรปและประเทศไทยที่เป็นทางการ ในช่วงที่นายกรัฐมนตรีของไทยเยือนกรุงบรัสเซลส์เมื่อวันที่ 4-8 มีนาคม องค์กรภาคประชาสังคมกังวลอย่างยิ่งว่าข้อผูกพันด้านทรัพย์สินทางปัญญา ที่เกินกว่ากฎเกณฑ์ด้านทรัพย์สินทางปัญญาขององค์การการค้าโลก (หรือที่รู้จักในชื่อ “ข้อผูกพันแบบทริปส์ผนวก”) ถูกกำหนดอยู่ในเนื้อหาการเจรจาและจะมีผลกระทบเสียหายต่อการเข้าถึงยาจำเป็น
เนื้อหาการเจรจาข้อตกลงเขตการค้าเสรีที่ผ่านมา ระหว่างสหภาพยุโรปกับเกาหลีใต้ กลุ่มประเทศอาเซียน และอินเดีย ล้วนแต่เต็มไปด้วยข้อผูกพันด้านทรัพย์สินทางปัญญาแบบทริปส์ผนวกทั้งสิ้น สิ่งนี้ชี้ให้เห็นได้ว่า สหภาพยุโรปกำลังพยายามเสนอให้มีข้อผูกพันด้านทรัพย์สินทางปัญญาในลักษณะเดียวกันไว้ในการเจรจาข้อตกลงเขตการค้าเสรี ที่สหภาพยุโรปจะเจรจากับประเทศไทย นอกจากนี้ มาตรการคุ้มครองการลงทุนเป็นอีกเรื่องหนึ่งที่น่าวิตกกังวล โดยเฉพาะกลไกระงับข้อพิพาทระหว่างนักลงทุนกับรัฐ ที่ระบุอยู่ในบทว่าด้วยการลงทุนของข้อตกลงเขตการค้าเสรี ด้วยมาตรการนี้ บริษัทต่างชาติจะสามารถฟ้องดำเนินคดีกับรัฐได้ ถ้ารัฐมีนโยบายหรือบัญญัติกฎหมายที่ทำให้ผลกำไรจากการลงทุนของบริษัทต่างชาตินั้นกระทบกระเทือน มาตรการเช่นี้จะทำให้ประเทศไม่สามารถบัญญัติกฎหมายหรือมีนโยบายแห่งชาติเพื่อคุ้มครองการสาธารณสุขได้
ข้อผูกพันเช่นนี้เป็นภัยคุกคามต่อการเข้าถึงยาจำเป็นของผู้ป่วยในประเทศกำลังพัฒนา และกีดกันไม่ใช้รัฐบาลสามารถมีนโยบายเพื่อประโยชน์ของสาธารณะชน ข้อผูกพันแบบทริปส์ผนวกที่เข้มงวดจะทำลายอุตสาหกรรมยาชื่อสามัญ ซึ่งเป็นหัวใจสำคัญที่ทำให้เกิดการแข่งขันและยามีราคาถูกลง และทำให้ประชาชนเข้าถึงยาจำเป็นได้อย่างทั่วถึงในระยะยาว ยิ่งไปกว่านั้น ข้อผูกพันด้านทรัพย์สินทางปัญญาและการคุ้มครองการลงทุนยังจะขัดขวางไม่ให้นำมาตรการยึดหยุ่นในข้อตกลงทริปส์มาใช้ เพื่อให้รัฐบาลสามารถที่จะจัดหายาต่างๆ ให้กับประชาชนได้ ข้อผูกพันแบบทริปส์ผนวกที่สหภาพยุโรปเรียกร้องให้มีในข้อตกลงเขตการค้าเสรีและผลกระทบมีรายละเอียดตามเอกสารแนบ
การที่สหภาพยุโรปเรียกร้องให้มีข้อบังคับแบบทริปส์ผนวก สหภาพยุโรปกำลังกระทำการที่ขัดแย้งกับคำสัญญาที่ให้ไว้ในปฏิญญาโดฮาว่าด้วยข้อตกลงทริปส์และสาธารณสุข ซึ่งให้ความสำคัญกับเรื่องการสาธารณสุขมากกว่าสิทธิในทรัพย์สินทางปัญญา และยังสนับสนุนให้สมาชิกขององค์การการค้าโลกนำมาตรการยึดหยุ่นในข้อตกลงทริปส์มาใช้อย่างเต็มที่ เพื่อคุ้มครองการสาธารณสุขและส่งเสริมการเข้าถึงยาของประเทศกำลังพัฒนา
มติของรัฐสภายุโรปว่าด้วยข้อตกลงทริปส์และการเข้าถึงยา (เมื่อวันที่ 12 กรกฎาคม ค.ศ. 2007) เรียกร้องให้สหภาพยุโรป
ถึงแม้ว่ารัฐสภายุโรปได้ลงคะแนนเสียงไม่รับข้อตกลงว่าด้วยการค้าสินค้าปลอมแปลง (ACTA) ไปเมื่อวันที่ 4 กรกฎาคม ค.ศ. 2012 เรากังวลว่ามาตรการต่างๆ ที่คล้ายคลึงกับมาตรการชายแดนและการบังคับใช้กฎหมายทรัพย์สินทางปัญญา ที่ระบุอยู่ในข้อตกลง ACTA จะรวมอยู่ในข้อตกลงเขตการค้าเสรีที่สหภาพยุโรปกำลังเจรจาอยู่กับไทยและอินเดีย ทั้งนี้ มาตรการดังกล่าวจะทำลายการผลิตและการค้ายาชื่อสามัญทั่วโลก
เราเรียกร้องให้สหภาพยุโรปอย่าผิดคำสัญญาที่จะพัฒนาการสาธารณสุขในประเทศกำลังพัฒนา และเคารพมติของรัฐสภายุโรปในอันที่จะคุ้มครองการเข้าถึงยาให้มากกว่าทรัพย์สินทางปัญญาที่เข้มงวดจนเกินเหตุ ผู้ป่วยในประเทศกำลังพัฒนาควรเข้าถึงยาจำเป็นในราคาที่ย่อมเยาว์ รัฐบาลประเทศเหล่านั้นควรสามารถนำมาตรการคุ้มครองสาธารณสุขมาใช้และมีนโยบายเพื่อการสาธาณสุขได้ ในการเจรจาข้อตกลงเขตการค้าเสรี องค์กรระหว่างประเทศ เช่น UNDP, UNAIDS, WHO, UNITAID หรือ กองทุนโลกฯ ได้มีข้อแนะนำเกี่ยวกับทรัพย์สินทางปัญญาและการสาธารณสุข ประเทศต่างๆ ควรนำข้อแนะนำเหล่านั้นมาพิจารณาและปฏิบัติตามอย่างจริงจัง
เราในฐานะองค์กรภาคประชาสังคมในประเทศไทย ดังรายชื่อที่ลงนามในจดหมายฉบับนี้ ขอแสดงความสมัครสมานเป็นหนึ่งร่วมกับองค์กรภาคประชาสังคมในยุโรปและประเทศกำลังพัฒนาต่างๆ เรียกร้องให้คณะกรรมาธิการยุโรปสังวรถึงความจำเป็นเรื่องการเข้าถึงยาในการเจรจาข้อตกลงเขตการค้าเสรี และหยุดกดดันประเทศกำลังพัฒนาให้ยอมรับข้อผูกพันแบบทริปส์ผนวก รวมถึงบทว่าด้วยการคุ้มครองการลงทุนที่เป็นภัยและทำให้ให้รัฐบาลต่างๆ ไม่สามารถมีหรือนำนโยบายเพื่อสาธาณสุขมาใช้
เราหวังว่าสหภาพยุโรปจะได้ยินและรับฟังข้อกังวลที่กล่าวมาทั้งหมด เรายินดีเสมอที่จะร่วมหารือในประเด็นเหล่านี้ต่อไป หากมีความประสงค์
ขอแสดงความนับถือ
ผศ. ภญ. สำลี ใจดี ประธาน กลุ่มศึกษาข้อตกลงเขตการค้เสรีภาคประชาชน
เครือข่ายผู้ติดเชื้อเอชไอวี/เอดส์ ประเทศไทย, เครือข่ายองค์กรงดเหล้า, เครือข่ายเกษตรกรรมทางเลือก, สมัชชาคนจน, เครือข่ายสลัม ๔ ภาค, ชมรมเพื่อนโรคไต, เครือข่ายเพื่อนมะเร็ง, คณะกรรมการองค์การพัฒนาเอกชนด้านเอดส์, มูลนิธิเข้าถึงเอดส์, มูลนิธิศูนย์คุ้มครองสิทธิด้านเอดส์, มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค, มูลนิธิเภสัชชนบท, ชมรมเภสัชชนบท, กลุ่มศึกษาปัญหายา, มูลนิธิชีววิถี, มูลนิธิบูรณะนิเวศ, มูลนิธิสุขภาพไทย, กลุ่มเพื่อนแรงงาน, เครือข่ายรณรงค์ป้องกันภัยแอลกอฮอล์, เครือข่ายชุมชนผู้ได้รับผลกระทบจากแอลกอฮอล์, เครือข่ายชุมชนเฝ้าระวังภัยแอลกอฮอล์ กทม., เครือข่ายเยาวชนป้องกันนักดื่มหน้าใหม่, เครือข่ายคนทำงานด้านการลดอันตรายจากการใช้สารเสพติด (12D), โครงการศึกษาและปฏิบัติการงานพัฒนา, ศูนย์วิจัยและจัดการความรู้เพื่อการควบคุมยาสูบ, เครือข่ายพันธมิตรเพื่อการควบคุมยาสูบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (SEATCA), และโครงการศึกษาและปฏิบัติการงานพัฒนา
|