Quantcast
Channel: พันศักดิ์ วิญญรัตน์
Viewing all articles
Browse latest Browse all 14385

เครือข่ายการย้ายถิ่นในอนุภูมิภาคลุ่มน้ำโขง ร้องรัฐไทยคุ้มครองผู้ลี้ภัยโรฮิงญา

$
0
0

องค์กรภาคประชาสังคมเรียกร้องรัฐปิดศูนย์พักพิงลับ ช่วยเหลืออย่างโปร่งใส อ้างอิงตามรายงานรอยเตอร์ที่ระบุไทยมีนโยบายลับ “ย้ายผู้ลี้ภัยชาวโรฮิงญาจากศูนย์กักขังของสำนักงานตรวจคนเข้าเมือง และนำพวกเขาไปส่งต่อให้กับผู้ค้ามนุษย์ที่รออยู่ในทะเล” 

18 ธ.ค.2556 เครือข่ายการย้ายถิ่นในอนุภูมิภาคลุ่มน้ำโขง (Mekong Migration Network: MMN) เผยแพร่แถลงข่าวเนื่องในวันแรงงานข้ามชาติสากล ซึ่งตรงกับวันที่ 18 ธ.ค.ของทุกปี โดยเรียกร้องให้รัฐบาลไทยปิดศูนย์พักพิงลับสำหรับควบคุมผู้ลี้ภัยชาวโรฮิงญาทันที พร้อมร่วมกับกลุ่มองค์กรภาคประชาสังคมในการจัดหาบ้านพักที่ปลอดภัยสำหรับผู้ที่ถูกควบคุมอยู่ในศูนย์พักพิงต่างๆ


ศูนย์พักพิงลับสำหรับควบคุมผู้ลี้ภัยชาวโรฮิงญาจะต้องปิดลงทันที

เนื่องในวันแรงงานข้ามชาติสากล เครือข่ายการย้ายถิ่นในอนุภูมิภาคลุ่มน้ำโขงขอเรียกร้องให้มีการดำเนินการอย่างเร่งด่วนในการปกป้องคุ้มครองผู้แสวงหาที่ลี้ภัย

เครือข่ายการย้ายถิ่นในอนุภูมิภาคลุ่มน้ำโขง (MMN) ขอประณามการปฏิบัติที่ไม่เหมาะสมต่อชาวโรฮิงญา ในประเทศพม่าและประเทศไทยอย่างรุนแรง สมาชิกของเครือข่าย MMN ซึ่งเป็นตัวแทนของกลุ่มภาคประชาสังคมที่ทำงานในประเด็นเกี่ยวกับแรงงาน สตรี และผู้ย้ายถิ่นในทุกประเทศในอนุภูมิภาคลุ่มน้ำโขงต่างต้องตกใจอย่างยิ่งจากการปฏิบัติต่อชาวโรฮิงญา

ชาวโรฮิงญาได้รับความทุกข์ทรมานจากความรุนแรงด้านเชื้อชาติและปราศจากการปกป้องคุ้มครองในบ้านเกิดของพวกเขาในประเทศพม่า และเมื่อพวกเขาหลบหนีออกมา พวกเขากลับไม่สามารถเข้าถึงกระบวนการสากลใดๆ ว่าด้วยผู้แสวงหาที่ลี้ภัยเลย ตามรายงานพิเศษโดยสำนักข่าวรอยเตอร์ที่ชื่อ “เปิดเผยนโยบายลับของว่าด้วยโรฮิงญาของไทย” ซึ่งกล่าวว่าได้มีนโยบายลับในการ “ย้ายผู้ลี้ภัยชาวโรฮิงญาจากศูนย์กักขังของสำนักงานตรวจคนเข้าเมือง และนำพาพวกเขาไปส่งต่อให้กับผู้ค้ามนุษย์ที่รออยู่ในทะเล” จากนั้นตามที่รายงานพบว่าชาวโรฮิงญาถูกเคลื่อนย้ายข้ามไปยังภาคใต้ของประเทศไทย และถูกควบคุมเป็นตัวประกันในศูนย์พักพิงลับต่างๆ ที่ซ่อนอยู่ในป่าใกล้กับชายแดนมาเลเซียจนกว่าญาติของพวกเขาจะจ่ายเงิน 1,000 ดอลลาร์สำหรับเป็นค่าไถ่ตัวได้ ความมีมนุษยธรรมของคนท้องถิ่นชาวไทยที่ได้ให้การช่วยเหลือต่อชาวโรฮิงญาที่หลบหนีออกมาจากศูนย์พักพิงนั้นตรงข้ามอย่างชัดเจนกับการเพิกเฉยที่ไม่สามารถให้อภัยได้ของเจ้าหน้าที่รัฐไทย และสำนักงานข้าหลวงใหญ่ผู้ลี้ภัยแห่งสหประชาชาติ (UNHCR)

หลังจากการเผยแพร่รายงานของสำนักข่าวรอยเตอร์ สหประชาชาติและสหรัฐอเมริกาได้เรียกร้องให้รัฐบาล
ไทยดำเนินการสอบสวนอย่างจริงจังและโปร่งใสต่อกรณีดังกล่าว

เครือข่าย MMN ได้ทำการตรวจสอบการใช้การจับ การกักขัง และการส่งกลับของประเทศไทยในการควบคุมประชากรผู้ย้ายถิ่นจากประเทศพม่า กัมพูชา และลาวมากว่า 9 ปีและนำเสนออย่างต่อเนื่องถึงความห่วงกังวลเนื่องจากการปราศจากความโปร่งใสและกระบวนการตรวจสอบและการปฏิบัติอย่างไม่เหมาะสมต่อผู้ย้ายถิ่นในระหว่างกระบวนการเหล่านี้ [1]

ดังนั้น เครือข่าย MMN จึงขอเรียกร้องให้มีการดำเนินการอย่างเร่งด่วน ดังต่อไปนี้:
1. รัฐบาลไทยควรปิดศูนย์พักพิงลับเหล่านี้อย่างทันทีและปิดอย่างถาวร และร่วมกับกลุ่มองค์กรภาคประชาสังคมในการจัดหาบ้านพักที่ปลอดภัยสำหรับผู้ที่ถูกควบคุมอยู่ในศูนย์พักพิงต่างๆ

2. จะต้องมีการประชุมเพื่อปรึกษาหารือ เพื่อแสวงหาแนวทางการแก้ปัญหาในระยะยาวสำหรับเรื่องความเป็นพลเมืองและการดำรงชีวิต เพื่อดำเนินการดังกล่าว ทางเครือข่ายฯ เรียกร้องให้เจ้าหน้าที่รัฐปรึกษาหารือร่วมกับตัวแทนของชาวโรฮิงญา เพื่อให้มั่นใจได้ว่าการดำเนินการใดๆ นั้นสะท้อนความต้องการของชุมชนที่ได้รับผลกระทบอย่างแท้จริง

3. รัฐบาลไทยภายใต้การประสานความร่วมมือกับสหประชาชาติควรจะดำเนินการสอบสวนตรวจสอบอย่างละเอียดรอบคอบและเป็นอิสระต่อข้อกล่าวหาเรื่องการดำเนินการตั้งศูนย์พักพิงชั่วคราวสำหรับผู้ลี้ภัยในป่า และการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ผู้ใช้กฎหมายที่สมรู้ร่วมคิดกับผู้ลักลอบข้ามแดน

4. สำนักงานข้าหลวงใหญ่ผู้ลี้ภัยแห่งสหประชาชาติ (UNHCR) ควรทำงานร่วมกับเจ้าหน้าที่รัฐของไทย โดยอย่างแรกเพื่อปกป้องคุ้มครองผู้แสวงหาที่ลี้ภัยเป็นอย่างแรก และอย่างที่สองคือเพื่อคัดกรองบุคคลที่เป็นผู้อยู่ในความห่วงใยเพื่อให้พวกเขาได้สิทธิยื่นขอสถานะผู้ลี้ภัย

5. คณะกรรมาธิการระหว่างรัฐบาลอาเซียนว่าด้วยสิทธิมนุษยชน (AICHR) ควรดำเนินการสอบสวนตรวจสอบอย่างเป็นอิสระ ต่อกรณีการละเมิดด้านเชื้อชาติและชาติพันธุ์ในทุกกรณีที่เกิดขึ้นในทุกประเทศในภูมิภาคอาเซียน

6. รัฐบาลของประเทศสมาชิกอาเซียนควรพัฒนาแนวปฏิบัติและกระบวนการต่างๆ ที่ชัดเจน เป็นไปตามมาตรฐานสากล เพื่อปฏิบัติต่อผู้แสวงหาที่ลี้ภัย คนไร้สัญชาติ ผู้ลี้ภัย และผู้ย้ายถิ่น


[1] For the findings of the MMN past research, please see MMN and Asian Migrant Centre, Migration in the Greater Mekong Sub-region; In-depth Study: Arrest, Detention and Deportation (2008), available at: http://www.mekongmigration.org/?p=1595&preview=true.  Also see MMN, No Choice in the Mater: Migrants’ experiences of arrest, detention and deportation (2013),available at:http://www.mekongmigration.org/?page_id=1827.

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

Viewing all articles
Browse latest Browse all 14385

Trending Articles