Quantcast
Channel: พันศักดิ์ วิญญรัตน์
Viewing all articles
Browse latest Browse all 14385

โลกต้องการความยุติธรรม มนุษย์ต้องการผลประโยชน์: แง่คิดจาก "อิสมาอีลลุตฟี"

$
0
0

อธิการบดีวิทยาลัยอิสลามยะลา บรรยายเรื่องการขัดกันแห่งผลประโยชน์ ให้แง่คิด "อิสลามกับการคอรัปชั่น"ย้ำ "โลกต้องการความยุติธรรม แต่มนุษย์ต้องการผลประโยชน์"ทั้งส่วนตัวและส่วนรวม มีทั้งฮาลาลและฮารอม เผยเคล็ด 6 ประการขจัดผลประโยชน์ทับซ้อน

ดร.อิสมาอีลลุตฟี จะปะกียา อธิการบดีวิทยาลัยอิสลามยะลาและคณะมนตรีสันนิบาตโลกมุสลิม บรรยายในงานสัมมนาเชิงปฏิบัติการ เรื่อง การขัดกันแห่งผลประโยชน์ เมื่อวันที่ 22 สิงหาคม 2556 ที่โรงแรมซี.เอส.ปัตตานี จัดโดยสภาพัฒนาการเมือง มีเนื้อหาดังนี้

000

เมื่อประเทศไทยเป็นประเทศของศาสนา ผมจึงมีส่วนร่วมในการพัฒนาศาสนาสัมพันธ์ในประเทศไทยที่มีศาสนาทั้ง 5 ศาสนาหลัก

ผมมั่นใจว่าศาสนาเป็นเรื่องสำคัญเป็นที่นิยมของคนไทย เพราะเหตุนี้ผมจึงคิดว่า “ศาสนานำชีวิต” เพราะวิถีชีวิตคือศาสนา ดังนั้นใครที่ไม่มีศาสนาถือว่าไม่มีวิถีชีวิต ไม่ว่าจะนับถือศาสนาใดก็ตาม

บางคนยอมรับว่าตัวเองไม่มีศาสนา แต่เราต้องดำเนินชิวิตอยู่ ดังนั้นเราจำเป็นต้องมีศาสนา เพราะศาสนาคือการดำเนินวิถีชีวิต โดยไม่จำเป็นว่าต้องนับถือศาสนาอิสลาม

ศาสนาเป็นสิ่งจำเป็นมาก เพราะศาสนาเป็นสิ่งที่เราต้องยึดมั่นนับถืออย่างลึกซึ้ง ดังนั้นเราจะต้องเอาชีวิตก่อนอาชีพ “สร้างชีวิตก่อนสร้างอาชีพ” เพราะชีวิตเป็นเรื่องสำคัญ แม้ว่าเราจะต้องตายแต่ชีวิตมันก็จะตามคล้อยไปในระดับต่างๆ เพราะชีวิตมันจะอยู่กับเราตลอด

แต่ถ้าอาชีพจะอยู่กับเราอย่างมากก็ 40 ปี ถ้าชีวิตสกปรก อาชีพก็จะสกปรกตามมาด้วย เหมือนกับการมีผลประโยชน์ทับซ้อน มีการคอร์รัปชั่น

ศาสนาต้องการในการประกอบอาชีพ คือ วิญญาณที่ต้องมีกฎหมายซึ่งคือศาสนา ดังนั้นศาสนาคือความรู้สึกสำนึกในหัวใจ ซึ่งเป็นเรื่องสำคัญโดยมีกฎหมายมาครอบคลุมอีกชั้นหนึ่ง ถ้าไม่มีวิถีชีวิต(ศาสนา)มาครอบคลุม อาชีพที่เราทำมันก็จะเสียหายหมด เพราะชีวิตมันเสียหายก่อน

เพราะ “ศาสนานำชีวิต” ถ้ากฎหมาย(ศาสนา)ไม่ได้เรื่อง วิญญาณก็ไม่ได้เรื่องเหมือนกัน ศาสนาต้องอยู่เหนือกฎหมาย (ความรู้สึกด้านวิญญาณสำคัญมาก) โลกต้องมีปรโลกและต้องมีความยุติธรรม และความยุติธรรมก็เป็นส่วนหนึ่งของลมหายใจตั้งแต่เด็ก

“ความยุติธรรม 100% ในโลกนี้คงไม่มี” ความยุติธรรมที่แท้จริงจะปรากฏในปรโลกเท่านั้น ดังนั้นเราจะต้องคำนึงถึงวันปรโลกด้วย และยังเป็นสิ่งที่เราสามารถเคลียร์ให้ชัดเจนในทุกระดับได้ (ในวันปรโลก) ดังนั้นโลกต้องการปรโลก ปรโลกต้องการความยุติธรรม ไม่มีใครที่ไม่ต้องการความยุติธรรม

มนุษย์ทุกคนต้องการผลประโยชน์ส่วนตัวและประโยชน์ส่วนร่วม เพราะเป็นความรู้สึกของมนุษย์ที่ต้องการผลประโยชน์ แต่ศาสนาไม่ได้ขัดกับเรื่องของผลประโยชน์ แต่ผลประโยชน์จะต้องมาทีหลัง หลังจากที่เราสามารถขจัดภัยที่จะตามหลังมาได้

เพราะผลประโยชน์จะมีทั้งผลดีและผลเสีย ดังนั้น เราจำเป็นที่จะต้องขจัดภัยก่อน แล้วคอยแสวงหาผลประโยชน์ ผลประโยชน์ก็จะตามมา แต่ผลประโยชน์จะไม่ได้เต็ม 100 % ถ้าภัยยังมีอยู่ ความขัดแย้งหรือการขัดขวางยังมีอยู่ หมายถึงภัยตามหลักกฎหมายอิสลาม

ผลประโยชน์ไม่ได้ขัดกับศาสนาอิสลาม แต่เราจำเป็นต้องขจัดภัยหรือปัญหาที่จะตามมาด้วย จึงจะสามารถแสวงหาผลประโยชน์ได้

ผลประโยชน์ส่วนรวมสำคัญกว่าผลประโยชน์ส่วนตัว และยังเป็นสิ่งที่ทุกคนต้องการ แต่ผลประโยชน์เหล่านั้นจะต้องไม่ขัดกัน หมายถึงผลประโยชน์ส่วนตัวกับผลประโยชน์ส่วนรวม แต่ต้องมีขอบเขตในการแสวงหาผลประโยชน์

ในศาสนาอิสลาม คำว่าผลประโยชน์หรือการแสวงหาผลประโยชน์นั้น จะสิ่งที่ฮารอม(ต้องห้าม)หรือสิ่งที่ฮาลาล(อนุญาตหรืออนุมัติ)แฝงอยู่ คือถ้าในผลประโยชน์นั้นเป็นสิ่งที่ฮาลาลก็สามารถทำได้ แต่ถ้าเป็นสิ่งที่ฮารอมก็ไม่สามารถทำได้แม้จะไม่ขัดกับกฎหมายก็ตาม บางผลประโยชน์หรือการแสวงหาผลประโยชน์ไม่ผิดกฎหมายแต่ศาสนาอิสลามถือเป็นเรื่องผิด

ดังนั้นคำว่า ฮาลาล กับ ฮารอม ยังสามารถครอบคลุมถึงความพอเพียงในการแสวงหาผลประโยชน์ให้ตัวเอง ดังนั้นมุสลิมทุกคนก็ควรขอดุอา(ขอพร)ให้เกิดความพอเพียงกับตัวเองด้วย ต้องไม่ขาดไม่เกินในการดำเนินชีวิตประจำวันด้วย และเป็นความพอเพียงตามที่อัลลอฮฺกำหนดมาด้วย

กล่าวโดยสรุป สิ่งที่สามารถขจัดผลประโยชน์ที่ทับซ้อนได้ มี 6 ประการ คือ

1. ศาสนา เพราะศาสนาคือชีวิต

2. ชีวิตต้องมาก่อนอาชีพ ชีวิตคือวิญญาณที่ต้องมาพร้อมกับกฎหมาย ไม่ใช่อย่างใดอย่างหนึ่ง

3. โลกต้องมีวันปรโลก ไม่เช่นนั้นโลกก็จะไม่มีความหมาย ชีวิตก็จะไม่มีความหมายตามมาด้วย

4. ถ้าไม่มีวันปรโลกก็จะไม่มีความยุติธรรมที่แท้จริง

5. ผลประโยชน์ส่วนตัวและส่วนรวมจะมีทั้งสิ่งที่ฮาลาลหรือฮารอม ซึ่งจะเป็นตัวควบคุมในการหาผลประโยชน์

6. ต้องขจัดภัยที่จะตามมาก่อนที่จะแสวงหาผลประโยชน์

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

Viewing all articles
Browse latest Browse all 14385

Trending Articles