Quantcast
Channel: พันศักดิ์ วิญญรัตน์
Viewing all articles
Browse latest Browse all 14385

เกม Rockman เตรียมสร้างใหม่ ระดมผ่าน Kickstarter ไม่ง้อเจ้าของลิขสิทธิ์

$
0
0

อวัตถุศึกษากับอธิป ประมวลข่าวสารด้านลิขสิทธิ์รอบโลก นำเสนอแอปเปิ้ลเตรียมคืนเงินค่ายอมความให้ผู้บริโภค ฐานร่วมสนพ. ขึ้นราคาอีบุ๊กส์, สนพ. เยอรมันฟ้องสำนักข่าวเยอรมันฐานเผยแพร่เว็บไซต์ละเมิดลิขสิทธิ์ ฯลฯ 

Immaterial Property Research Center ตั้งขึ้นในวันที่ 18 มกราคม หรือ "วันเสรีภาพอินเทอร์เน็ต"เพื่อเป็นศูนย์ข่าว ศูนย์ข้อมูล และศูนย์วิจัยด้านความสัมพันธ์ระหว่างระบบทรัพย์สินที่ไม่เป็นวัตถุ (หรือที่เป็นที่รู้จักทั่วไปว่าทรัพย์สินทางปัญญา) ต่างๆ อย่างสัมพันธ์กับระบบกฎหมาย ระบบเศรษฐกิจ และระบบการเมืองในโลก ทางศูนย์ฯ หวังเป็นอย่างยิ่งว่างานของศูนย์ฯ จะนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงของระบบทรัพย์สินที่ไม่เป็นวัตถุที่เอื้อให้เกิดเสรีภาพในเชิงบวกไปจนถึงความเท่าเทียมกันของผู้คนในโลก
 

 

30-08-2013

สมาคมภาพยนตร์แห่งอเมริกา (MPAA) ชนะคดีเว็บฝากไฟล์ Hotfile ฐานเกื้อหนุนให้มีการละเมิดลิขสิทธิ์แล้ว

Hotfile เป็นหนึ่งในสิบในเว็บฝากไฟล์ที่ใหญ่ที่สุดของโลก ซึ่งก็ไม่แปลกที่จะเป็นเป้าใหญ่ของการฟ้องร้องของอุตสาหกรรมลิขสิทธิ์ ซึ่งทาง Hotfile ก็เป็นเว็บที่ถูกฟ้องร้องเป็นเว็บแรกๆ ตั้งแต่ต้นปี 2011 (ทั้งหลังจากกรณีบุกจับ Kim Dotcom และยึดเซิร์ฟเวอร์ Megaupload ตอนต้นปี 2012 แล้วบรรดาเว็บฝากไฟล์ก็ล้วนร้อนๆ หนาวๆ และ "ปรับตัว"การดำเนินการของเว็บให้ถูกต้องตามครรลองระบอบลิขสิทธิ์กันเป็นการใหญ่ ไม่ว่าจะเป็น 4Share, Mediafire, Rapidshare ถ้าไม่เช่นนั้นปิดตัวไปเลยดังหลายๆ เว็บ)

ในการสู้คดีอันยาวนาน 2 ปีเศษๆ ในที่สุด Hotfile ก็แพ้คดีในศาลชั้นต้น โดยศาลตัดสินว่าทาง Hotfile จงใจจะละเลยไม่จัดการกิจกรรมละเมิดลิขสิทธิ์ที่เกิดขึ้นบนเว็บ

ทั้งนี้ นี่เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นแม้ว่าทาง Hotfile จะให้เครื่องมือพิเศษในการให้เครื่องมือลบลิงค์ละเมิดลิขสิทธิ์กับทางเจ้าของลิขสิทธิ์แล้ว และทางบริษัทอย่าง Warner Bros (ซึ่งเป็นสมาชิก MPAA ด้วย) ก็ใช้มันอย่างผิดๆ แล้วลบลิงค์ที่ตนไม่ใช่เจ้าของลิขสิทธิ์จนโดน Hotfile ฟ้องร้องมาแล้ว

News Source: http://torrentfreak.com/mpaa-wins-piracy-battle-against-hotfile-130829/

 

กฎหมายสิทธิบัตรฉบับใหม่ของนิวซีแลนด์ที่แบนไม่ให้มีสิทธิบัตรซอฟต์แวร์ผ่านการลงมติอย่างถล่มทลาย

หลังจากที่รัฐสภานิวซีแลนด์ได้ถกเถียงเรื่องดังกล่าวมาเป็นเวลาราว 5 ปี ก็ได้ลงมติเห็นชอบผ่านกฎหมายสิทธิบัตรฉบับใหม่ด้วยคะแนน 114 ต่อ 5 ซึ่งระบุว่าโปรแกรมคอมพิวเตอร์ “ไม่ใช่สิ่งประดิษฐ์” โดยบางส่วนมองว่าการใช้ถ้อยคำดังกล่าวเป็นไปเพื่อหลีกเลี่ยงถ้อยคำตามสัญญา TRIPS (The Agreement on Trade Related Aspects of Intellectual Property Rights) หรือ การอนุญาตให้ใช้สิทธิตามสัญญา ซึ่งเป็นเงื่อนไขที่มาพร้อมกับข้อตกลงการค้าเสรี โดยสัญญา TRIPS ระบุว่า สิ่งประดิษฐ์ ไม่ว่าจะเป็นสินค้า หรือขั้นตอนใดๆ ในสาขาเทคโนโลยี จำเป็นต้องจดสิทธิบัตร

News Source: http://arstechnica.com/tech-policy/2013/08/in-historic-vote-new-zealand-bans-software-patents/

 

31-08-2013

ผู้บริโภคอีบุ๊คส์จาก iBookstore  เตรียมรับเงินส่วนแบ่งค่ายอมความกรณี Apple ร่วมมือกับ 6 สำนักพิมพ์ขึ้นราคาอีบุ๊คส์ สูงสุดถึงเล่มละ 3.06 ดอลลาร์สหรัฐ (ประมาณ 92 บาท)

สืบเนื่องจากกรณีละเมิดกฎหมายต่อต้านการผูกขาดอันลือลั่น จากการร่วมมือกันขึ้นราคาอีบุ๊คของแอปเปิ้ลและ 6 สำนักพิมพ์อันนำมาสู่การแพ้คดีของทั้งหมดและต้องจ่ายค่ายอมความ ตอนนี้ผลประโยชน์ได้คืนสู่ผู้บริโภคอีบุ๊คในช่วงที่มีการตึงราคาแล้ว

ผู้ซื้ออีบุ๊คจาก iBookstore ในช่วง 1 เมษายน 2010 - 1 พฤษภาคม 2012 จะได้รับเงินคืนจากการซื้อหนังสือทุกเล่มในช่วงดังกล่าวเพื่อเป็นเครดิตในการซื้อครั้งต่อไป โดยเงินคือที่ได้รับสูงสุดคือ 3.06 ดอลลาร์สหรัฐ (ประมาณ 92 บาท) ในกรณีที่หนังสือเคยติดอันดับหนังสือขายดีของ New York Times และ 0.73 ดอลลาร์สหรัฐ (ประมาณ 22 บาท) ในกรณีที่ไม่เคยติดอันดับหนังสือขายดีของ New York Times

เงินทดแทนนี้เพิมขึ้นราว 3 เท่าตัวหลังจากสำนักพิมพ์ Penguin (ซึ่งตอนนี้รวมกับ Random House แล้ว) และ Macmillan เพิ่งจะยอมตกลงค่ายอมความ (ในเดือนธันวาคม 2012 และกุมภาพันธ์ 2013 ตามลำดับ) หลังจากทาง HarperCollins, Hachette และ Simon & Schuster ยอมตกลงจ่ายค่ายอมความกับทางกระทรวงยุติธรรมทันทีในเดือนเมษายน 2012

ทั้งนี้ผู้ได้รับการคืนเงินในส่วนนี้ จะได้รับอีเมลล์จากทางผู้ขายอีบุ๊คเพื่อยืนยันอีกที

News Source: http://gigaom.com/2013/08/30/heads-up-ebook-buyers-heres-how-much-youre-likely-to-get-in-the-apple-ebook-settlement/

 

สำนักพิมพ์เยอรมันฟ้องสำนักข่าวเยอรมันฐานลงข่าวเกี่ยวกับเว็บไซต์ละเมิดลิขสิทธิ์

Boox.to เป็นเว็บที่ให้บริการโหลดหนังสือละเมิดลิขสิทธิ์เว็บใหม่ (เพิ่งตั้งมาปลายปี 2012) ของเยอรมันที่อ้างว่ามีคนโหลดหนังสือจากเว็บกว่า 1.5 ล้านเล่มต่อเดือน

ทางสำนักข่าว Der Tagesspiegel ได้ไปสัมภาษณ์เจ้าของเว็บไซต์นี้ แล้วตีพิมพ์บทสัมภาษณ์ออกมาออนไลน์ (อ่านได้ที่ http://www.tagesspiegel.de/kultur/internet-piraterie-buecher-stehlen-als-geschaeftsmodell/8690178.html  - เป็นภาษาเยอรมัน)

ผลคือทางสำนักพิมพ์หลายสำนักร่วมกันฟ้อง Der Tagesspiegel และเว็บข่าวอื่นที่นำบทสัมภาษณ์ไปเผยแพร่ต่อ ฐานการช่วยสนับสนุนการละเมิดลิขสิทธิ์ผ่านการลง URL ของเว็บ Boox.to

อย่างไรก็ดีเรื่องก็ยังไม่ถึงไหน ก็มีการค้นพบว่าแม้แต่ในเว็บทางการของสมาคมสำนักพิมพ์ของเยอรมันก็มีการลง URL ของเว็บ Boox.to เช่นกัน ดังนั้นคดีนี้จึงดูจะไม่มีอนาคตในชั้นศาลเท่าใดนัก

News Source: http://torrentfreak.com/journalists-face-criminal-complaint-for-mentioning-name-of-pirate-site-130830/ 

 

03-08-2013

อดีตทีมสร้าง Rockman ระดมทุนจากฝูงชนในเว็บ Kickstarter เพื่อสร้างเกมแบบ Rockman ขึ้นมาใหม่โดยไม่ง้อบริษัทเจ้าของลิขสิทธิ์ Rockman อย่าง Capcom

ผู้นำโครงการนี้คือ Keiji Mifune ที่ออกจาก Capcom มาตั้งบริษัท Comcept ของตัวเอง เขาเป็นหนึ่งในผู้สร้าง Rockman ขึ้นมาเมื่อกว่า 25 ปีก่อนในปี 1987 ซึ่งตัวเขามีส่วนสำคัญในการออกแบบตัว Rockman และตัวละครต่างๆ ใน Rockman ภาคแรกๆ

ในทีมของเขาจากญี่ปุ่นมีอดีตผู้เคยสร้างสรรค์เกมของ Capcom มากมายทั้งผู้ออกแบบเสียงประกอบอันคลาสสิคของเกม ผู้ออกแบบด่านต่างๆ ในภาคแรก ไปจนถึงโปรแกรมเมอร์ของ Rockman ภาคหลังๆ และอดีต "เลือดใหม่"ที่ออกแบบเกมในบริษัท Capcom ในช่วงหลังๆ

อีกด้านหนึ่งเขาก็มีทีมฝั่งอเมริกาที่ดูแลเรื่องการแปลเกม การระดมทุนผ่านฝูงชน ฯลฯ ซึ่งนี่เป็นทีมที่สำคัญทีเดียวเพราะขณะนี้การระดมทุนในเว็บ Kickstarter นั้นยังจำกัดอยู่แค่ผู้ขอระดมทุนในอเมริกาและอังกฤษเท่านั้น (ล่าสุดมีการประกาศไม่เดือนมิถุนายน 2013 ที่ผ่านมาว่าทาง Kickstarter กำลังจะขยายไปที่แคนาดาเท่านั้น)

โครงการ Kickstarter นี้จัดได้ว่ามาแปลกมากๆ ที่ปราศจากวีดีโอแนะนำโครงการ แต่ประกอบไปด้วยคำบรรยายอันยาวยืดแทน ซึ่งกว่าผู้เขียนจะอ่านจบการระดมทุนที่ขึ้นอย่างรวดเร็วก็ทำให้ระดมทุนได้ตามยอด 9 แสนดอลลาร์สหรัฐ (ราว 27 ล้านบาท) ในเวลา 2 วันหลังเปิดระดมทุนแล้ว

รายละเอียด "รางวัล" (reward) ของผู้สนับสนุนมีมากมายไปตามลำดับขั้น ตั้งแต่ระดับต่ำสุดที่จะได้เป็นสมาชิกกระดานสนทนาในการพัฒนาเกม Mighty No. 9 การได้สิทธิ์ดาวน์โหลดเกมไปครอบครอง การได้สิทธิ์โหลดสมุดภาพพร้อมเพลงประกอบเกม การได้กล่องเกมแบบจับต้องได้ การได้เสื้อยืดและสิทธิ์ในการเล่นเกมเวอร์ชั่นเบต้าและเวอร์ชั่นพิเศษ การมีส่วนในการออกแบบ "การท้าทาย" (achievement) ในเกม การได้ร่างตัวละครด้วยลายมือพร้อมลายเซ็นของ Keiji Mifune ไปครอบครอง การได้มีเสียงปรากฎในฉากจบของเกมตอนเครดิตขึ้น การมีหน้าไปปรากฎในตัวเกม การมีส่วนในการออกแบบศัตรูในเกมผ่านวีดีโอคอนเฟอร์เรนซ์กับทีมงาน การตัวโมเดลบอสในเกมแบบปริ๊น 3D พร้อมเสื้อยืดพิเศษลายบอสในเกม ไปจนถึงการได้มีส่วนร่วมในการออกแบบศัตรูในเกมไปจนถึงการได้รับประทานอาหารเย็นกับ Keiji Mifune

ทางทีมพัฒนาเกมดูจะเน้นการมีส่วนร่วมของผู้สนับสนุนมากๆ โดยจะมีการให้โหวตและแสดงความเห็นเกี่ยวกับการออกแบบตัวละครต่างๆ และรายละเอียดของเกมเป็นระยะในกระดานสนทนาที่ผู้สนับสนุนทุกคนจะได้สิทธิ์มีส่วนร่วม

ทั้งนี้ขณะที่ผู้เขียนกำลังเขียนนี้ การระดมทุนครั้งนี้ก็ทะลุเป้าการระดมทุนพิเศษอันแรกที่ 1.2 ล้านดอลลาร์ (ประมาณ 36 ล้านบาท) ที่ทางทีมงานจะเพิ่มด่านในเกมขึ้นมาอีก 2 ด่านเป็นที่เรียบร้อยแล้ว

อย่างไรก็ดีการระดมทุนได้สูงขนาดนี้เพื่อทำวีดีโอเกมก็ไม่ใช่เรื่องแปลกอะไรนัก เพราะจากสถิติการระดมทุนสูงที่สุดในเว็บ Kickstarter 10 อันดับแรกก็เป็นการระดมทุนทำวีดีโอเกมไปเสียครึ่งหนึ่งแล้ว (http://en.wikipedia.org/wiki/Kickstarter)

News Source: http://www.kickstarter.com/projects/mightyno9/mighty-no-9
 

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

Viewing all articles
Browse latest Browse all 14385

Trending Articles