โทนี แบลร์แนะปรองดองเริ่มจากคนที่คุยกันเป็นส่วนตัวได้ และระวังเรื่องภาษาที่ใช้ ควรแสดงความเห็นใจฝ่ายตรงข้าม ผู้เชี่ยวชาญด้านกระบวนการยุติธรรมเปลี่ยนผ่านระบุ การปรองดองต้องไม่ปิดบังความแตกต่าง
โทนี แบลร์อดีตนายกรัฐมนตรีอังกฤษ กล่าวในการปาฐกถาพิเศษ “ผนึกกำลังสู่อนาคต: เรียนรู้ร่วมกันจากประสบการณ์” ว่าประชาธิปไตยนั้นไม่ได้หมายถึงเพียงรูปแบบคือการเลือกตั้ง แล้วเสียงข้างมากสามารถควบคุมได้ทั้งหมด หากแต่ต้องเปิดพื้นที่ให้กับเสียงส่วนน้อย และต้องมีนิติธรรม โดยสิ่งสำคัญที่ทำให้เกิดนิติธรรมคือความเป็นอิสระของตุลาการ ขณะที่การปรองดองนั้นก็ไม่ได้มีเพียงมิติทางการเมือง หน้าที่หนึ่งของรัฐบาลที่จะทำให้เกิดการปรองดองก็คือ การบริหารให้เกิดสิ่งที่ดีขึ้น ให้ประชาชนรู้สึกได้ว่ารัฐบาลกำลังนำพาประเทศให้เปลี่ยนแปลงไปในทางที่ดี
โทนี แบลร์ เสนอเพิ่มเติมสองประเด็นสำหรับแนวทางการปรองดอง คือ ต้องมีคนที่จะเสวนากันได้อย่างตรงไปตรงมา ต้องหาคนหลักๆ ทีจะเจรจากันอย่างเป็นส่วนตัว ในงานเจรจาปรองดองทุกครั้งที่เขาทำงานต้องมีคนหลักๆ ที่มาสร้างความสัมพันธ์ในระดับส่วนตัวกัน
สอง ภาษาที่ใช้ เป็นเรื่องสำคัญอย่างยิ่ง ซึ่งจะทำให้เห็นว่าคุณละเอียดอ่อนหรือดื้อดึง ต้องใช้ภาษาที่แสดงความเห็นอกเห็นใจอีกฝ่ายหนึ่งด้วย
เขากล่าวถึงการแก้ปัญหาความขัดแย้งกับไอร์แลนด์ว่า เขายอมรับอย่างซื่อสัตย์ว่ารัฐบาลอังกฤษในอดีตล้มเหลว ฉะนั้นรัฐบาลต้องพยายามลองนึกดูว่าถ้าเป็นอีกฝ่ายหนึ่งจะทำอย่างไร ต้องการอะไร และอีกฝ่ายต้องยอมที่จะคิดและยื่นมือเข้าร่วม นอกจากนี้ประชาชนต้องสามารถเข้าร่วม
จากประสบการณ์ของเขาต่อความขัดแยงกับที่แก้ปัญหาลงได้ในรัฐบาลของเขา คือ ต้องมีความสำพันธ์ในระดับส่วนตัวกับผู้นำของคู่ขัดแย้งและสร้างสภาวะแวดล้อมที่ความมั่นคง และทำให้คนผ่อนคลายเพียงพอที่จะยอมรับ และทำให้คนรู้สึกว่าไม่ได้มีนอกมีในหรือมีวาระซ่อนเร้น และเริ่มพูดคุยจากประเด็นที่ไม่ใช่ประเด็นโดยตรงเกี่ยวกับความขัดแย้ง แต่ต้องมีข้อตกลงร่วมกันบางอย่างในกรณีที่พอจะพูดกันได้ เช่น การพัฒนาการศึกษา และการพัฒนาเศรษฐกิจ เรียกว่าเป็นการตั้งหัวสะพานไปสู่การเจรจากันต่อไป
ผู้ปาฐกถาคนต่อมาได้แก่ นายมาร์ตี อาห์ติซารี อดีตประธานาธิบดีฟินแลนด์ ผู้ที่ได้รับรางวัลโนเบล สาขาสันติภาพ เมื่อปี 2551 และเป็นผู้มีส่วนสำคัญในกระบวนการเจรจาสันติภาพในโคโซโว ผู้ก่อตั้งและประธาน Crisis Management Initiative (CMI) ที่เน้นการแก้ข้อพิพาททางสันติวิธี และเป็นหัวหน้าคณะไกล่เกลี่ยในกระบวนการสันติภาพระหว่างรัฐบาลอินโดนีเซียและกลุ่มเคลื่อนไหวเพื่ออิสรภาพของอาเจะห์ (Free Aceh Movement)
อดีตประธานาธิบดีฟินแลนด์ กล่าวถึงประสบการณ์การปรองดองในนามิเบียว่า แม้ในแต่ละการปรองดองจะเกิดขึ้นในสถานการณ์ต่างๆ กัน แต่ความท้าทายนั้นเหมือนกัน โดยยกกรณีนามิเบียว่าในกระบวนการปรองดองไม่ได้มีเพียงเรื่องการเมือง แต่มีเรื่องขิงสิทธิมนุษยชนด้วย ขณะนี้นามิเบียมีความเป็นประชาธิปไตยและประชาชนเคารพในกันและกัน การพัฒนาเศรษฐกิจ ธรรมาภิบาล สิทธิมนุษยชน และทรัพยากรมนุษย์อย่างยั่งยืนด้วย ซึ่งกรณีของนามิเบียทำได้ดี
กรณีของนามิเบียได้รับความช่วยเหลืออย่างดีจากสหรัฐ สหภาพยุโรป และหน่วยงานระดับโลก ที่ร่วมกันหาทางออกอย่างยั่งยืน
กรณีของอาเจะห์ซึ่งเขาได้มีส่วนร่วมอย่างสำคัญ รวมถึงการใช้เมืองเฮลซิกิ เป็นพื้นที่เจรจาสันติภาพ บทเรียนที่สำคัญมากจากอาเจะห์คือ ถ้าฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งไม่ทำตามสัญญา การปรองดองจะไม่เกิดขึ้นได้เลย สิ่งที่สำคัญคือ ต้องทำตามสัญญาและต้องยอมบางอย่างเพื่อให้เกิดการปรองดองแม้จะมีบางอย่างที่เป็นไปไม่ได้อย่างที่ต้องการระหว่างการเจรจา ทุกคนมีส่วนรับผิดชอบในสังคมที่เปราะบางแต่ความรับผิดชอบของผู้นำยิ่งสูงขึ้นยิ่งกว่า การปรองดองจะเกิดได้ถ้าแต่ละพรรคมีความมุ่งมันอย่างแท้จริง
กรณีโคโซโว ขณะนี้มีรัฐธรรมนูญใหม่แล้ว และมีการตั้งศาลรัฐธรรมนูญซึ่งสำคัญมากในการปกป้องรัฐธรรมนูญโคโซโว เช่นเดียวกันกับกรณีนามิเบีย การที่จะเดินทางสู่สันติภาพและความสงบนั้นไม่ราบเรียบ มีการเสียชีวิตมากถึงหมื่นสามพันคน
การปรองดองทุกสถานการณ์ ความไว้วางใจซึ่งกันและกันเป็นเรื่องสำคัญที่สุด ตามที่คอป. ชี้ให้เห็นแล้วว่าสิ่งที่สำคัญคือกระบวนการ และความไว้วางใจความไว้เนื้อเชื่อใจคือการให้เครื่องมือแก่ประชาชนที่จะสร้างอนาคตตัวเองได้ ผู้นำรัฐบาลต้องให้อำนาจทั้งเสียงส่วนใหญ่และส่วนน้อย เปิดกว้างเพื่อร่วมกันหาทางแก้ปัญหา ความปรองดองสมานฉันท์ที่แท้อยู่ที่ประชาชน
การปรองดองไม่ใช่การลืม แต่ต้องเคารพการจำที่แตกต่างกัน และยอมรับในความแตกต่าง และไม่ใช่เพียงการยอมรับในอดีต แต่ต้องสร้างอนาคตร่วมกัน
การปรองดองอาจจะไม่ได้แก้ปัญหาได้ทุกอย่าง กรณีฟินแลนด์เองก็ยังเผชิญกับปัญหาเศรษฐกิจ เขากล่าวว่าผู้นำรัฐบาลจะต้องมุ่งมันทำงานเพื่อแก้ไขปัญหาความขัดแย้ง และแม้จะไม่ไว้วางใจกันมาเป็นสิบๆ ปี แต่การปรองดองก็เกิดขึ้นได้ แต่ต้องมีความมุ่งมั่นตั้งใจเพื่อสร้างอนาคต และพึงระลึกว่า เราสามารถเริ่มใหม่ได้ตลอดเวลา
พริสซิลลา เฮเนอร์ ที่ปรึกษาอาวุโสของ Centre for Humanitarian Dialogue หรือ HDC ผู้เชี่ยวชาญด้านความยุติธรรมในระยะเปลี่ยนผ่าน กล่าวว่าในการปรองดอง มีเรื่องของการจัดลำดับความสำคัญ กรณีของประเทศไทยนั้นเห็นได้ชัดว่าการสมานฉันท์นั้นได้ดำเนินมาหลายปีตั้งแต่รัฐบาลก่อนหน้า แต่ต้องพยายามมากกว่านี้ แต่ที่ไม่กระจ่างคือ อะไรคือความสมานฉันท์ปรองดอง เราพูดในความหมายเดียวกันหรือไม่ จากประสบการณ์เธอพบว่าคำนี้บางครั้งจะให้ความหมายแตกต่างกัน บางครั้งเราไม่ตระหนักรู้ในการใช่คำๆ เดียวกันแต่ความหมายต่างกัน
เธอกล่าวถึงกรณีของอียิปต์ ว่าบางช่วงทหารยึดเมืองโดยและอ้างว่าฝ่ายตรงข้ามมีเวลา 48 ชม. ที่จะเข้ามาร่วมปรองดอง ซึ่งนี่คือการข่มขู่ไม่ใช่การปรองดอง
กรณีของรวันดา รัฐบาลใหม่ที่ออกมาแบนเอกสารเกี่ยวกับความขัดแย้งของสองชาติพันธุ์ใหญ่ซึงเธอเห็นว่าเป็นอุปสรรคต่อการปรองดอง ฉะนั้น การจะปรองดองได้ต้องไม่เป็นการปิดบังในการเปิดเผยถึงรากเหง้าของความขัดแย้ง การปรองดองไม่ใช่เรื่องการบังคับขู่เข็ญ และไม่ใช่เรื่องการปกปิดความแตกต่าง
ตัวอย่างที่ดีที่สุดจากทั่วโลกคือการเน้นเรื่องกระบวนการมากกว่าผลลัพธ์ ที่อาจจะเป็นไปได้คือ การปรองดองอาจจะไม่ได้ไปสู่จุดหมาย แต่เป็นทางเดินที่ต้องมุ่งมั่นอุตสาหะ และขึ้นกับความคิดสร้างสรรค์ ความคิดริเริ่ม เป็นเรื่องที่ขึ้นกับบริบทวัฒนธรรมของแต่ละประเทศ ไม่สามารถนำเข้าความคิดจากภายนอกได้
ทั้งนี้การปรองดองที่มีวาระซ่อนเร้น ไม่อาจะบรรลุเป้าหมายได้ การปรองดองไม่ชาการหลอกฝ่ายตรงข้ามเพื่อบรรลุความต้องการทางการเมือง ซึ่งนี่เป็นสิ่งที่เห็นได้บ่อยครั้งในหลายๆ กรณี ต้องสร้างจดยืนร่วมกัน การปรองดองรีบเร่งไม่ได้ แต่ต้องมีความเคารพและเอาใจใสต้อการสื่อสาร รับฟังและการก้าวข้ามฝ่ายที่แตกต่างกัน
กระบวนการไม่ใช่ไม่สำคัญ แต่กระบวนการเช่น การให้อภัย หรือการพัฒนาทางเศรษฐกิจ คอป. ได้เสนอหลายข้อและควรจะนำมาพิจารณา สิ่งที่เห็นได้ชัดเจนคือกรณีที่สถาบันพระปกเปล้าและรายงานของภาคประชาชนทีเกี่ยวข้องล้วนมีข้อเสนอแนะ ซึ่งควรนำมาพิจารณา
เธอกล่าวถึงกรณีการนิรโทษกรรม โดยยกกรณีตัวอย่างอาร์เจนตินา ว่าอาจจะผิดพลาดได้หากตีความแคบเกินไป ไปใช้แนวทางสากลมากเกินไปเพราะอาจจะไม่สามารถนำมาใช้ได้ในบริบทภายในประเทศซึ่งอาจมีลักษณะเฉพาะ การนิรโทษกรรมต้องมีความเคารพผู้ประสบเคราะห์ ไม่ควรมองว่าเป็นไปเพื่อจุดหมายทางการเมือง ควรมีกระบวนการเสวนาเพื่อสร้างแนวทางนิรโทษกรรมและคิดต่อไปว่า การนิรโทษกรรมจะมีกระบวนการต่อไปอย่างไร นิรโทษกรรมอาจจะไม่ลงโทษอาชญากรรมบางอย่างแต่ต้องไม่ละเลยที่จะศึกษาว่าเกิดเหตุการณ์อะไรขึ้นบ้าง
การปรองดองนั้น ควรจะมีหลักการประชาธิปไตยรองรับอยู่ และแม้จะพรรคต่างๆ จะมีแนวทางแก้ปัญหาที่แตกต่างกันต่อการแก้ปัญหาของประเทศ แต่เราควรปล่อยให้มีการสานเสวนากัน เคารพความคิดที่แตกต่างกัน ให้พื้นที่ในการพูดคุย ล็อบบี้ หรือถกเถียงและมีธรรมาภิบาลที่ดี แต่ใจกลางความขัดแย่งทางการเมืองต้องมีความยอมรับว่าจะต้องให้ประชาธิปไตยนำพาไป เพื่อประโยชน์ของประเทศ