Quantcast
Channel: พันศักดิ์ วิญญรัตน์
Viewing all articles
Browse latest Browse all 14385

สุเนตร ชุตินธรานนท์: วัฒนธรรมหนังสือในอุษาคเนย์

$
0
0

การปาฐกถาพิเศษ "วัฒนธรรมหนังสือในอุษาคเนย์"โดย รศ.ดร.สุเนตร ชุตินธรานนท์

ในงานประชุมวิชาการ Thailand Conference on Reading 2013 จัดโดยสำนักงานอุทยานการเรียนรู้หรือ TK Park ระหว่างวันที่ 21 และ 22 มีนาคมที่ผ่านมา ซึ่งจัดขึ้นเพื่อแลกเปลี่ยนองค์ความรู้จากผู้เชี่ยวชาญที่มีบทบาทด้านการส่งเสริมการอ่านของไทยเพื่อนบ้านอาเซียนอีก 3 ประเทศ ได้แก่ อินโดนีเซีย พม่า และเวียดนาม และมีการบรรยายโดยผู้เชี่ยวชาญจากอินเดียนั้น

โดยในวันที่ 22 มี.ค. มีการปาฐกถาพิเศษ “วัฒนธรรมหนังสือในอุษาคเนย์” โดย รศ.ดร.สุเนตร ชุตินธรานนท์ ผู้อำนวยการสถาบันเอเชียศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โดยตอนหนึ่งของปาฐกถาอาจารย์สุเนตรกล่าวว่า ทุกชาติไม่เฉพาะประเทศไทย มักมองเพื่อนบ้านในฐานะที่ไม่ได้มองโดยเน้นความเป็นมนุษย์ แต่เน้นที่มิติการเป็นศัตรูในประวัติศาสตร์ หรือเฉพาะด้านเศรษฐกิจการค้า ดังนั้น ประตูสู่ความเข้าใจความเป็นมนุษย์และมีความสำคัญที่จะทำความเข้าใจประเทศเพื่อนบ้านอีกด้านหนึ่งก็คือ โลกของการอ่านหนังสือ

ในการปาฐกถาตอนหนึ่งอาจารย์สุเนตรยกตัวอย่างวรรณกรรมของประเทศเพื่อนบ้าน 2 เรื่อง เรื่องแรก คือ มาลาดวงจิต นวนิยายในกัมพูชา ที่สะท้อนเรื่องราวความรักของนักศึกษาชาวกัมพูชาในวิทยาลัยสีสุวัติ กับนิสิตหญิงที่เรียนจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 ซึ่งในเรื่องได้สะท้อนภาพความรับรู้ของชาวกัมพูชาต่อชาวไทยอย่างน่าสนใจ

นอกจากนี้ เรายังสามารถเรียนรู้ภูมิหลังทางสังคมของประเทศเพื่อนบ้าน ผ่านวรรณกรรมได้ด้วย โดยอาจารย์สุเนตรยังกล่าวถึงวรรณกรรมเด็กของเวียดนาม เรื่อง "ขอตั๋วหนึ่งใบกลับไปสู่วัยเด็ก"ผลงานของ "เหงวียน เหญิต อั๋นห์"ซึ่งแปลเป็นภาษาไทยแล้วโดย มนธิรา ราโท โดยวรรณกรรมนี้ได้รับรางวัลซีไรต์ในปี 2554 ซึ่งเป็นเรื่องไม่บ่อยครั้งนักสำหรับเวียดนาม ที่วรรณกรรมเยาวชน และไม่ใช่เรื่องราวของการปฏิวัติจะได้รับรางวัลในเวียดนาม

ท้ายของการปาฐกถา อาจารย์สุเนตรกล่าวว่าหนังสือคือหน้าตาที่เผยความเป็นมนุษย์ ทำให้มนุษย์เข้าใจมนุษย์อย่างที่เป็นมนุษย์ และการศึกษาหนังสือ ไม่ใช่ศึกษาแต่ตัวหนังสือ แต่ต้องทำศึกษาบริบทที่มาของหนังสือด้วย เพื่อให้เข้าใจว่าเพราะเหตุใดหนังสือเล่มนั้นจึงถูกพิมพ์ จึงเป็นที่นิยม และในขณะที่หนังสือมีบริบทของสังคมเป็นปัจจัยขับเคลื่อนให้เกิดหนังสือ หนังสือเองก็ผลักดันให้สังคมเปลี่ยนแปลงด้วยพร้อมกันไปด้วย

โดยอาจารย์สุเนตรหวังว่าการอ่านหนังสือจะเป็นพาหนะที่จะทำความเข้าใจจิตวิญญาณภูมิภาคอาเซียน และเปิดพื้นที่ให้กับสังคมไทยและเพื่อนบ้านอาเซียน

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

Viewing all articles
Browse latest Browse all 14385

Trending Articles